ReadyPlanet.com


คาถาแผ่เมตตา


 
 


ผู้ตั้งกระทู้ แหวน โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2010-09-13 12:05:47


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1510339)

ขออนุโมทนาบุญกับคุณแหวนค่ะ ที่นำบทแผ่เมตตามาฝาก

ผู้แสดงความคิดเห็น ชนิดา วันที่ตอบ 2010-09-19 04:16:50


ความคิดเห็นที่ 2 (1517221)

อขอนุโมทนาบุญกับคุณแหวนอีกคนด้วยค่ะ  สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น kroonok วันที่ตอบ 2010-11-10 14:02:15


ความคิดเห็นที่ 3 (1524354)

ขออนุโมทนากับคุณแหวนด้วยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น กัญญ์วิญาณ์ (tata_su1-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-28 17:17:57


ความคิดเห็นที่ 4 (1524452)

 

                     ขอบคุณ  คุณแหวนด้วยนะคะ  ขออนุโมทนาบุญด้วย  สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล วันที่ตอบ 2010-12-29 10:21:08


ความคิดเห็นที่ 5 (1524455)

น้องทรายขออนุโมทนาบุญกับคุณพี่แหวนด้วยนะค่ะ

สาธุ  สาธุ  สาธุ...ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น น้องทราย (lukkana_1234-at-windowslive-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-29 10:30:27


ความคิดเห็นที่ 6 (1524457)

ยินดีคะทุกท่าน ขอให้มีความสุขในวันขึ้นปีใหม่นี้นะคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น แหวน วันที่ตอบ 2010-12-29 10:49:03


ความคิดเห็นที่ 7 (1525153)

ขออนุโมทนาผลบุญด้วยค่ะ คุณแหวน

ผู้แสดงความคิดเห็น ณัฐธิญาณ์ อนุรักษ์ วันที่ตอบ 2011-01-04 13:21:38


ความคิดเห็นที่ 8 (1525437)

คำอุทิศบุญของแม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม

กรรมใดก็ดี ที่ข้าพเจ้าเคยมีกรรมต่อทรัพย์ของแผ่นดิน คนของแผ่นดิน

ทำผิดเป็นถูก ทำถูกเป็นผิด และกรรมใดที่ข้าพเจ้าเคยสร้างกรรมกับผู้ใดไว้

ไม่ว่าอดีตชาติหรือปัจจุบันชาติ ไม่ว่ามนุษย์และสัตว์

 

ข้าพเจ้าขอให้ท่านทั้งหลายที่ข้าพเจ้าเคยสร้างเวรสร้างกรรมต่อท่าน

จงได้รับอานิสงส์ผลบุญของข้าพเจ้า เมื่อได้รับผลบุญของข้าพเจ้าแล้ว

 

จงปลดปล่อยกรรมปลดเปลื้องกรรม งดเว้นการจองเวร

และขอดวงจิตที่เกิดในภพนี้ ชาตินี้ ได้หลุดพ้นจากความทุกข์

ทั้งปวง ด้วยกุศลในคราวครั้งนี้ด้วยเทอญ


นิพพานะ ปัจะโย โหตุ

 

คำอุทิศบุญนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น บทเต็มๆ เข้าไปดูได้ที่

http://www.dhammajak.net/kram/5-2.html

บอกให้รู้นิดหนึ่ง ผมเคยได้สนทนากับแม่ชี ประมาณ ๔ ครั้ง

ท่านอ่านใจคนได้ บอกธรรมะได้ตรงใจ


หนูแหวนอย่าลืมแผ่เมตตาให้ตัวเองนะครับ จะได้หายวีนลงบ้าง

เรื่องนี้แม่ชีทศพร เคยบอกให้ผมแผ่เมตตาให้ตัวเอง ตอนแรกผมก็งงๆ

แต่ก็คิดได้ทันทีว่า ผมเป็นคนโทสะกล้า พูดง่ายๆก็คือ โกรธง่ายนั่นเอง

การแผ่เมตตาให้ตัวเอง จะช่วยให้ลดโทสะลงได้

มีความลับจะบอกอยู่อย่างหนึ่ง

พระวิปัสสนาจารย์ชื่อดังองค์หนึ่งกล่าวว่า

"คนโทสะกล้า เป็นคนมีบุญ"

มีบุญอย่างไรนั้น หากมีโอกาสจะมาเล่าสู่กันฟัง


คราวหน้าจะมาบอกว่า การแผ่เมตตานั้น สามารถแผ่ให้ได้ทุกคนรึเปล่า

ขอตอบว่า "ไม่ได้ครับ มีข้อห้ามสำหรับคนบางคน"

จะมาเฉลยรายละเอียดให้ในวันต่อไป

ขอเป็นกำลังให้เพื่อนร่วนทุกข์ทุกท่าน

"บุญใดที่ข้าพเจ้าพึ่งมีพึ่งได้รับฉันใด ขอให้ทุกท่านพึงได้รับฉันนั้น"

ผู้แสดงความคิดเห็น ปุ้ม ณฐพลสรรค์ (nathaponson-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-01-05 10:21:47


ความคิดเห็นที่ 9 (1525443)

 โมทนาสาธุกับพี่ปุ้มในเรื่องดีๆ เช่นนี้ครับ...

เคยมีบุญได้เจอแม่ชีทศพรในงานหล่อพระนาคปรกที่วัดพิชัยญาติ บอกแม่ชีว่าเป็นน้องพี่ปุ๊ที่อยู่ฟลอริดา แกดึงคอไปกอดเลย...ปลื้มปิติน้ำตาร่วงในพลังแห่งความเมตตาของท่านมากๆ 

ผู้แสดงความคิดเห็น คุณสิทธิ์ (สุรสิทธิ์ ศรประสิทธิ์) วันที่ตอบ 2011-01-05 10:46:41


ความคิดเห็นที่ 10 (1525471)

ขอบคุณพี่ปุ้ม ที่ช่วยชี้แนะนำ และรู้ว่าหนูแหวนขี้วีน

แหม.. มาหยอดให้อยาก(รู้).. แล้วจากไป  (อีกแล้ว)

ยังไงก็รอฟังคำเฉลยนะคะ

ว่าาใครบ้างที่แผ่เมตตาให้ไม่ได้ และเหตุใดจึงมีข้อห้าม???

 

และปลื้มใจกับคุณสิทธิ์ด้วยนะคะ ที่ได้รับพลังเมตตาจากท่านแม่ชี

 

ผู้แสดงความคิดเห็น แหวน วันที่ตอบ 2011-01-05 13:00:26


ความคิดเห็นที่ 11 (1525473)

สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะลุงปุ้ม แต่ถ้าจะให้ดีกลับมาเฉลยเร็ว ๆ ดีกว่านะค่ะ น้องทรายจะได้ยึดถือปฏิบัติเลยและอยากจะบอกว่าน้องทรายแผ่เมตตาให้ตัวเองทุกครั้งเลยค่ะและก็แผ่ไปให้คนอื่น ๆ ด้วย แต่ที่แผ่ไม่ได้ทุกคนนี่ซิต้องรอให้ลุงปุ้มมาบอกนะรีบ ๆ หน่อยค่ะ น้องทรายรออยู่นะ....

ผู้แสดงความคิดเห็น น้องทราย วันที่ตอบ 2011-01-05 13:14:53


ความคิดเห็นที่ 12 (1525666)

มตตาและวิธีเจริญเมตตา

 

เมตตาเป็นพรหมวิหารหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ซึ่งได้แก่
เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา

คำว่า พรหมวิหารนั้น แปลว่า ธรรมอันเป็น เครื่องอยู่อันประเสริฐ หรือไม่มีโทษ ก็ธรรม

เหล่านี้มีเมตตาเป็นต้น จัดว่าเป็นเครื่องอยู่อัน ประเสริฐ
ก็ เพราะความที่เป็นการปฏิบัติชอบ
ในสัตว์ทั้งหลาย โดยเหตุที่จะนำความสุข
ความ สวัสดีมาสู่สัตว์เหล่านั้น.................

รักด้วยเมตตากับรักด้วยตัณหาต้องแยกแยะ

 

ความหมายของคำว่า "รัก" ของเมตตานี้ แตกต่างไปจากความรักของตัณหา
ด้วยความรักมีสองอย่างคือ รักด้วยเมตตา และ รักด้วยตัณหา

 

รัก ด้วยเมตตาเป็นอย่างไร ?
รัก ด้วยตัณหาเป็นอย่างไร ?

ความรักด้วย เมตตา เป็นความเยื่อใยในคนอื่น ใคร่ จะให้เขาได้ดีมีสุข
โดยไม่ ได้คำนึงว่า การได้ดีมีสุขของคนเหล่านั้น ตนเองจะมีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่

ส่วนความรักด้วยตัณหา เป็นเพียงความอยากได้
เป็น เพียงความเพลิดเพลินว่า ถ้าบุคคลนั้นมีอยู่เป็นไป อยู่ก็เป็นความสุขแก่เรา
แม้ว่าบางครั้งจะเป็นการกระทำ ที่คิดว่าจะให้ผู้อื่นได้ดีมีสุขก็ตาม
ตนเอง ต้องมีส่วน เกี่ยวข้องในความได้ดีมีสุขนั้นด้วย จึงจะกระทำ


ความรักด้วยเมตตา ไม่มีการหวังผลตอบแทน แม้เพียงให้ผู้อื่นเห็นความดีของตน
จึง ไม่เป็นเหตุแห่งความ ทุกข์ ความเสียใจเนื่องจากความผิดหวังในภายหลัง

 

ส่วน ความรักด้วยตัณหา มีการหวังตอบแทน ต้องการให้เขารักตอบ
เพียงให้เขาเห็น ความดีของตน

เพราะฉะนั้น จึงมีโอกาสเป็นเหตุแห่งความ ทุกข์ความเสียใจ
อัน เนื่องมาแต่ความผิดหวังในภายหลังได้
สมตามพระดำรัสที่ว่า "ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์"

นี่เป็นความแตกต่างระหว่าง เมตตา กับ ตัณหา

 

ความจริง คนเรายังละตัณหาไม่ได้อย่างพระอรหันต์
ก็มีทั้งความรักด้วยเมตตา และตัณหา
เพียงแต่ว่า ในทั้งสองอย่างนั้น อย่างไหนมากกว่ากันเท่านั้น

 

เมตตามีลักษณะอย่างไร
เพื่อเป็นการทำความรู้จักกับธรรมชาติ ที่ชื่อว่า "เมตตา" นี้ ดียิ่งขึ้น
จึงควรทราบลักษณะเป็นต้นแห่งความเมตตานี้ก่อน ดังต่อไปนี้

เมตตา
- มีความเป็นไปโดยอาการเกื้อกูล เป็นลักษณะ
- มีความนำเข้าไป ซึ่งประโยชน์เกื้อกูลเป็นรส (กิจ)
- มีการกำจัดความอาฆาตเป็นอาการปรากฏ
- มีการเล็งเห็นภาวะ ที่สัตว์ทั้งหลายน่าพอใจ เป็นเหตุใกล้ให้เกิดก็สมบัติ คือ


คุณของเมตตานี้ ได้แก่ความเข้าไปสงบความ พยาบาทได้นั่นเอง
เพราะธรรมชาติของเมตตา เป็นไปเพื่อกำจัดโทสะ ความเกิดขึ้นแห่งความใคร่
จัดว่าเป็นความวิบัติ ของเมตตา เพราะเหตุที่จะกลับกลายเป็นความรักด้วยตัณหาไป

ผู้แสดงความคิดเห็น ปุ้ม ณฐพลสรรค์ (nathaponson-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-01-06 14:27:09


ความคิดเห็นที่ 13 (1525667)

วิธีเจริญเมตตา ต้องมีขันติก่อน

 

อันดับแรก ก่อนที่จะเจริญเมตตา ควรพิจารณาคุณของขันติ คือความอดกลั้น
และโทษของ ความโกรธก่อน

 

ถามว่า เพราะเหตุใด
เพราะว่าการ เจริญเมตตานี้เป็นไปเพื่อละโทสะ และเพื่อบรรลุธรรม คือ ขันติ
ถ้า เราไม่รู้จักโทษของความโกรธ เราก็จะละความโกรธไม่ได้
และถ้าไม่รู้จัก คุณของขันติ ก็จะบรรลุขันติไม่ได้

 

ควรพิจารณา เสมอว่า คนเราถ้าขาดความอดกลั้นเสียอย่างเดียว
จะทำการงานอะไรๆ ให้สำเร็จมิได้เลยเพราะมีปัญหาอะไรนิดๆหน่อยๆ
เขาก็ทนไม่ได้ คืองานหนักหน่อยก็บ่น ไม่ถูกใจผู้บังคับบัญชา หรือเพื่อนร่วมงาน
แม้ใน เรื่องเล็กๆน้อยๆก็บ่น ก็ทนไม่ได้ จะหยุดงาน จะลาออก

อย่างนี้แล้วจะไป ประสบความสำเร็จในการงานอาชีพอะไรได้ เพราะมัวแต่ตั้งต้นกันใหม่
เริ่มกันใหม่อยู่ร่ำไป


ทางโลกซึ่งเป็นเรื่องหยาบ ยังเป็นอย่างนี้
ทางธรรม โดยเฉพาะการปฏิบัติธรรมในส่วนเบื้องสูง จะป่วยกล่าวไปใยถึงความสำเร็จ

ขันติจึงเป็นธรรมที่ต้องการอย่างยิ่ง ในเบื้องต้น ขาดขันติแล้ว

การเจริญกุศลทุกอย่าง ย่อมสำเร็จไปไม่ได้

แม้แต่กุศลขั้นต่ำสุด คือทาน ได้แก่การให้ก็จะทำได้ไม่ดี

เพราะพอรู้สึกว่ายากลำบากหน่อยก็จะทำได้ไม่ดี
เพราะพอรู้สึกว่ายากลำบาก หน่อยก็จะไม่ทำ


เมื่อกุศลขั้นต่ำสุด ยังทำไม่ได้ กุศลที่สูงยิ่งไปกว่านี้ จึงมิจำเป็นต้องพูดถึง
เพราะเป็นเรื่องที่ต้อง ฝืนกิเลสมากกว่า จึงต้องใช้ความอดกลั้นมากกว่า

 

ก็เป็นอันว่า ขันติคือความอดกลั้น เป็นธรรมที่จำเป็นต้องมีกำกับใน
การกระทำกุศล ทุกอย่าง

โทษของความโกรธ

ส่วนสำหรับโทษของความโกรธนั้น มองเห็นได้ง่าย เช่นว่า

 

 

- คนเราจะประสบความสำเร็จในงานอาชีพ เพราะความโกรธ
ก็หาไม่ ที่แท้แล้วมันจะล้มเหลวพินาศไปก็เพราะความโกรธนั่นแหละ

 

 

 

- คนมักโกรธ ไม่มีใครอยากเข้าใกล้อยากคบเพราะเขากลัวจะ
มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งขัด เคืองใจกัน

 

 

 

 

 

- คนเราเมื่อความโกรธครอบงำ โอกาสที่จะขาดสติสัมปชัญญะ
กระทำ กรรมชั่วด้วยกาย วาจา และด้วยใจ ย่อมมีได้ ทั้งๆที่ไม่คิดว่าจะทำได้มาก่อน
ซึ่งอย่างน้อยมันก็จะเป็นเหตุให้ต้องเสียใจ เสวยทุกข์โทมนัสในการกระทำของตน

ในภายหลังได้ ในเมื่อได้สำนึก

 

- หลายคนต้องเสวยทุกข์ เสวยความลำบากเพราะการถูกลงโทษลงอาญา
จากทางบ้านเมือง รวมทั้งต้องเสวยทุกข์ด้วยความเดือดร้อนในอบาย
เพราะกรรมชั่วที่ทำด้วย ความโกรธ
ฯลฯ

 

อนึ่ง โทษของความโกรธ พึงทราบโดยนัยตรงข้ามกับอานิสงส์ของเมตตา
ที่กล่าวมาแล้วนั่นเทียว

นี้เป็นโทษของความโกรธที่พึงพิจารณาเนืองๆ

ก็เมื่อจะอบรมจิต เจริญเมตตา ควรแยกบุคคลที่เป็นอารมณ์ของเมตตาออกก่อน

ผู้แสดงความคิดเห็น ปุ้ม ณฐพลสรรค์ (nathaponson-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-01-06 14:29:46


ความคิดเห็นที่ 14 (1525668)

 

บุคคลที่เป็นโทษไม่ควรแผ่เมตตาให้
ไม่ควรเจริญเมตตาในบุคคล ๔ ประเภทก่อน คือ

 

๑. คนที่เกลียด

๒. คนกลางๆ
๓. คนที่รักมาก

๔. คนมีเวร หรือเป็นศัตรูกัน
เพราะ จิตใจที่ยังไม่คุ้นเคยกับความรู้สึกของเมตตา เมื่อพยายามจะ
แผ่ความรักไป ยังคนที่เกลียด โดยทำให้เป็นที่รัก ย่อมลำบาก ทำได้ยาก

ถ้าพยายามแผ่ ไปในคนที่รักมาก เช่น บุตร ภรรยา หรือสหายรัก โอกาสที่
จะเกินเลยกลาย เป็นตัณหาไปก็มีมาก

สำหรับบุคคลที่เป็นกลางๆ ไม่ได้รักแต่ไม่ถึงกับเกลียด
การที่จะทำให้ความรู้สึกพอใจ อิ่มเอิบใจเป็นไปในบุคคลนั้นได้นานๆ
ย่อมเป็นการลำบาก

ส่วนผู้ที่ มีเวรเป็นศัตรูกันมาก่อนนั้นก็แทบจะไม่ต้องพูดถึงกันเลย
เพราะปกติเพียง แต่นึกถึงเขาในแง่ดีบ้าง ก็ยังยากอยู่แล้ว
จะป่วยการกล่าวไปใยถึงการที่ จะแผ่เมตตาไปในเขา

หากต้องการแผ่เมตตาให้บุคคลที่เป็นโทษ ต้องแผ่ให้ตัวเองก่อน

เพราะฉะนั้น แรกเริ่มเดิมที ควรเว้นบุคคลเหล่านี้เอาไว้ก่อน

เมื่อเป็นเช่นนี้จะให้เริ่มที่ใคร ก่อนเล่า ?

ตอบว่าในตนเองก่อน ควรสงสัยว่า ทำไมจะต้องให้แผ่เมตตาไปในตนก่อน
เพราะตามปกติ คนเราก็มีความรักในตนเองอยู่แล้ว?


ตอบว่า ความรักที่มีในตนนั้น สำหรับผู้ที่มิได้มีจิตอบรมมาทางเมตตา
จนเกิดความคุ้นเคยแล้ว มักจะเป็นไปด้วยอำนาจตัณหาไม่ใช่เมตตา


เพราะมันเกิดขึ้นโดยสักแต่เห็น ว่า "เป็นเรา" เมื่อเป็นเช่นนี้อะไรๆ
ที่เกี่ยวกับตัวเรามันก็เป็นไปได้ ในด้านดีไปเสียทั้งนั้น

ก็แต่ว่า ความเมตตาที่เป็นไปในตนที่ประสงค์เอาในที่นี้ ได้แก่ที่ทำให้เกิดขึ้นในฐานะว่า
เราก็เป็นสัตว์โลกผู้หนึ่งเช่นเดียว กับคนอื่นๆที่รักสุขเกลียดทุกข์เท่านั้นเอง


พูดง่ายๆว่า การเจริญเมตตาในตนก็คือการทำความใคร่ต่อประโยชน์สุข
และประโยชน์ เกื้อกูลต่อบุคคลอื่นให้เกิดขึ้นโดยตั้งตนไว้ในฐานะแห่งพยานนั่นเอง
โดย ว่า


"เราเป็นผู้ใคร่สุขเกลียดทุกข์ รักชีวิตและไม่อยากตายฉันใด
บุคคลอื่น สัตว์อื่นทั้งหลายก็ฉันนั้น"

 

เมื่อตนเองมีเมตตาแล้ว ต่อไปก็แผ่ให้บุคคลอื่น


เมื่อได้อบรมเมตตา โดยตั้งต้นไว้ในฐานะพยานอย่างนี้ จนคุ้นเคย
คล่องแคล่วดีแล้ว ต่อไปก็ให้แผ่ไปในบุคคลอื่นๆ คือในบุคคลผู้เป็น
ที่รักอย่างกลางๆ ไม่ถึงกับเป็นที่รักมากค่อนไปในทางเคารพบูชา เช่น
ผู้ตั้งอยู่ในฐานะ เป็นครูเป็นอาจารย์เป็นต้น จนคุ้นเคยคล่องแคล่วดีแล้ว


ต่อจากนั้นก็แผ่ ไปในบุคคลที่รักมาก ที่มีเวร หรือเป็นศัตรูกันถ้าหากว่า
มีตามลำดับ ก็แต่ว่าเวลานึกถึงบุคคลผู้มีเวรกันนั้น ความขัดเคืองย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้

หากมีความโกรธต้องหาอุบายดับความโกรธ

 

 

 

เพราะ ได้ระลึกถึงโทษที่เขาได้ทำไว้แก่เรา ก็เป็นเหตุขัดขวางการเจริญเมตตา
เพราะฉะนั้น ต้องทำให้ความขัดเคืองอันนั้นสงบลงไปโดยอุบายวิธีดังต่อไปนี้ก่อน

 


 

- ลำดับแรกตักเตือนตนเองว่า พระพุทธเจ้าทรงติเตียนผู้ที่โกรธตอบผู้อื่นว่า
เลวกว่า เขา เพราะเหตุที่รู้อยู่แล้วว่า ความโกรธนั้นเป็นของไม่ดี ก็ยังทำให้มัน
เกิด ขึ้นในใจของตนอีก เท่ากับช่วยขยายความโกรธนั้นให้แผ่กว้างออกไป

 

- คนที่เป็นศัตรูย่อมปรารถนาไม่ดีต่อศัตรูของตนว่า "ขอให้ผิวพรรณทราม"
บ้าง "ขอให้อัตคัด ยากจน" บ้าง "ขอให้ทรัพย์สมบัติพินาสวอดวาย" บ้าง
ตลอดจน "ขอให้ตกนรก" บ้าง

 

ก็แต่ว่าการที่เราโกรธเขาแล้วปรารถนาอย่างนี้นั้น

ผู้ที่มีโอกาสประสบความไม่สวัสดีก่อนเป็นคนแรกคือ เรานี้เอง

เพราะความ โกรธที่เกิดขึ้นขณะนี้ กำลังทำให้เรามีหน้าตาขมึงทึง ผิวพรรณทราม
และ ถ้าหากว่าลุแก่อำนาจของความโกรธแล้ว เราก็ต้องทำกรรมชั่ว มีหวังว่า
จะ ต้องประสบกับความอัตคัด ยากจน เป็นต้น ตลอดแม้จน ตกนรกก็ได้

เพราะฉะนั้น การโกรธเขาก็คือการให้ทุกข์แก่ตน เหมือนซัดทรายทวนลม
ไปฉะนั้น

 

 

ถ้าได้ตักเตือนตนอย่างนี้แล้วยังมิได้ผล ก็ลองใช้วิธีอื่นดู คือ
ความ ประพฤติของคนเรามี 3 แบบ คือ

 

ความประพฤติทางกาย
ความประพฤติทางวาจา และความประพฤติทางใจ

 

บางคนความประพฤติทางกายไม่ดี เช่น เป็นคนหยาบคายทางกริยา
ลุกลี้ลุกลน ไม่สำรวม แต่ความประพฤติทางวาจาของเขาดี คือ
พูดจาอ่อนหวาน พูดจาชัดถ้อยชัดคำ พูดง่ายๆ ว่าดีทางเจรจาให้คน
ฟังชอบใจ

 

 

กรณีนี้ให้เรานึกถึงแต่ความประพฤติทางวาจาของเขา
โดยอย่าพยายามนึกถึง ความประพฤติทางกายของเขา ความขัดเคือง
ก็มีโอกาสสงบลงได้ หรือ บางคนความประพฤติทางวาจาไม่ดี มีพูดจาสามหาว

มากไปด้วย คำหยาบเป็นต้น

 

แต่มีความประพฤติทางใจดี เช่น เป็นผู้มากในการทำกุศล
เช่นชอบช่วยเหลือ ผู้อื่นเป็นต้น อย่างที่เราเรียกว่า ปากร้ายใจดีนั่นแหละ
เราก็อย่า พยายามนึกถึงความประพฤติทางวาจาของเขาให้พยายามนึกถึง
ความประพฤติทางใจ ของเขาเท่านั้น ความขัดเคืองก็มีโอกาสสงบลงได้

 

อานิสงส์ของการเจริญเมตตามี ๑๑ประการ คือ

๑. ผู้เจริญเมตตาย่อมหลับเป็นสุข

๒. ตื่นเป็นสุข

๓. ไม่ฝันลามก

๔. ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์

๕. ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์

๖. เทวดาย่อมรักษา  

๗. ไฟ ยาพิษ หรือศาตราย่อมไม่กล้ำกลาย

๘. จิตของผู้เจริญเมตตาเป็นสมาธิได้รวดเร็ว

๙. สีหน้าของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส

๑๐. ย่อมไม่หลงใหลกระทำกาละ

๑๑. เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่ง ย่อมเข้าถึงพรหมโลก

 

จาก ปัญญาสาร ฉบับที่ ๖
เรื่อง เมตตา
โดย ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์
(เก็บความจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค มาเรียบเรียงอธิบาย)

ที่มา http://lovesuck.exteen.com/20051224/entry

ผู้แสดงความคิดเห็น ปุ้ม ณฐพลสรรค์ (nathaponson-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-01-06 14:33:22


ความคิดเห็นที่ 15 (1525795)

เราควรเริ่มต้นทุกอย่างที่ตัวเรา

จิตเราต้องแข็งแรงก่อน

จึงจะเผื่อแผ่ไปสู่ผู้อื่น เรื่อย ๆ

ขอบคุณพี่ปุ้มมากคะ หนูจะแผ่เมตตาให้จิตตัวเองดีกว่านี้คะ

ขอบคุณพี่จริง ๆ ที่เมตตาต่อหนู และทุก ๆ คน 

จะพยายามให้ดีที่สุดนะคะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น แหวน วันที่ตอบ 2011-01-07 10:13:11


ความคิดเห็นที่ 16 (1525832)

 หนููแหวนเป็นคนมีบุญครับ ผมขอยืนยันคำพูดเดิม

ธรรมะอยู่รอบๆตัวหนูแหวนนั่นแหละ  ขึ่นอยู่ทีตัวหนูเองว่า

หนูจะคว้ามันได้หรือเปล่า วิธีที่จะคว้าให้ได้นั้น   กัลยาณมิตรจะช่วยได้ 

หนูรู้หรือไม่ ใครคือ กัลยาณมิตร

ผู้แสดงความคิดเห็น ปุ้ม ณฐพลสรรค์ (nathaponson-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-01-07 12:42:21


ความคิดเห็นที่ 17 (1525837)

ใครหรือคะ???

ผู้แสดงความคิดเห็น แหวน วันที่ตอบ 2011-01-07 13:15:54


ความคิดเห็นที่ 18 (1525920)

    คุ้นๆนะพี่ใช่  อ.ฉลอง หรือเปล่า...ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ตัวเล็ก (phongdech1665-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-01-07 22:17:51


ความคิดเห็นที่ 19 (1558799)

ขอร่วมอนุโมทนาบุญคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น บุญภิบาล คงเขียว ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-07-19 11:41:09


ความคิดเห็นที่ 20 (1561764)

 อนุโมทนาบุญกับคุณแหวนและทุกท่านค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น สมจิต โพธิ์นิล (shindo_ploy-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-08-02 19:03:42


ความคิดเห็นที่ 21 (1565021)

 

 

 อนุโมทนาบุญกับคุณแหวน และคุณปุ้ม

ผู้แสดงความคิดเห็น ศุภรัฐ ปานธุเดช ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-08-20 23:16:07



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.