ReadyPlanet.com


ห้องที่ชื่อว่า "ใจ"


อ่านเจอรู้สึกชอบก็เลยนำมาแบ่งปันกันค่ะ  เผื่อใครที่ไม่มีเวลาไปตระเวนอ่าน
ถ้าใครมีอะไรน่าสนใจก็นำมาฝากกันบ้างน่ะค่ะ
 
 
ห้องที่ชื่อว่า "ใจ"

ใจ ของเรานั้น ไม่ต่างอะไรกับห้องที่ว่างเปล่า

เมื่อเราใส่อะไรเข้าไปในห้องที่ว่างเปล่านั้น
สถานภาพของห้องก็จะเปลี่ยนไปทันที
เป็นต้นว่า เรามีห้องว่างเปล่าอยู่ห้องหนึ่ง
เมื่อ - -

เราใส่น้ำเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องน้ำ
เราใส่พระพุทธรูปเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องพระ
เราใส่เครื่องมือปรุงอาหารเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องครัว
เราใส่เครื่องนอนเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องนอน
เราใส่ชุดรับแขกเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องรับแขก
เราใส่บุคคลสำคัญเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องวีไอพี

ห้องแห่งหัวใจของเรา
ก็ไม่ต่างอะไรกับห้องว่างเปล่าที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเลย
ทุกครั้งที่เราบรรจุอะไรเข้าไปในใจ
ใจของเราก็จะเปลี่ยนสถานภาพเหมือนกัน

เราใส่ความเมตตาเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจดี
เราใส่ธรรมะเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจบุญ
เราใส่ความโกรธเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจร้อน
เราใส่ความเลวเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจทราม
เราใส่ความกลัวเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจเสาะ
เราใส่ความเป็นนักสู้เข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจสู้
เราใส่ความขาดสติเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจลอย

เห็นด้วยหรือไม่ว่า
ใจของเรานั้นเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือกาย
เป็นสิ่งที่คอยออกแบบชีวิตของเราให้เป็นไปอย่างไรก็ได้
พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า

ใจเป็นนาย ใจเป็นผู้นำ ใจเป็นผู้สร้างสรรค์ ...
หรือบางทีก็ตรัสว่า จิตฺเตน นียติ โลโก
แปลว่า โลกหมุนไปตามใจสั่งการ

โลกในที่นี้ หมายถึง ชีวิตของเรานั่นเอง
โลกคือชีวิต จะหมุนซ้าย หมุนขวา หมุนตรงหรือหมุนเอียง
หมุนไปข้างหน้า หรือว่าหมุนไปข้างหลัง
ทั้งหลายทั้งปวงนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของใจทั้งหมดทั้งสิ้น

ใจของเราไม่ต่างอะไรกับห้องที่ว่างเปล่า
เราบรรจุอะไรลงไป
ชีวิตของเราก็เป็นไปตามสิ่งที่บรรจุนั้น

ทุกวันนี้ เราเคยถามตัวเองบ้างไหมว่า
เราบรรจุอะไรลงไปในห้องแห่งหัวใจของเราบ้าง

ความรู้ ความงมงาย
ความรัก ความโกรธ ความเกลียด
ความโลภ ความดี ความชั่ว
ความริษยา ความหน้าด้าน ความสะอาด
สว่าง สงบ หรือความตื่นรู้

ชีวิตจะเป็นอย่างไร
รุ่งโรจน์หรือร่วงโรย
ขึ้นสูงหรือลงต่ำ
สำคัญที่เราบรรจุอะไรลงไปในใจของเราเอง ...

ว.วชิรเมธี

ที่มา เว็บพลังจิต


ขอบคุณเว็ป aranyawasee.igetweb.com


ผู้ตั้งกระทู้ ณี โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2011-02-13 18:11:50


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1531752)
อ่านเจอรู้สึกชอบก็เลยนำมาแบ่งปันกันค่ะ  เผื่อใครที่ไม่มีเวลาไปตระเวนอ่าน
ถ้าใครมีอะไรน่าสนใจก็นำมาฝากกันบ้างน่ะค่ะ
 
 
ห้องที่ชื่อว่า "ใจ"

ใจ ของเรานั้น ไม่ต่างอะไรกับห้องที่ว่างเปล่า
เมื่อเราใส่อะไรเข้าไปในห้องที่ว่างเปล่านั้น
สถานภาพของห้องก็จะเปลี่ยนไปทันที
เป็นต้นว่า เรามีห้องว่างเปล่าอยู่ห้องหนึ่ง
เมื่อ - -

เราใส่น้ำเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องน้ำ
เราใส่พระพุทธรูปเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องพระ
เราใส่เครื่องมือปรุงอาหารเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องครัว
เราใส่เครื่องนอนเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องนอน
เราใส่ชุดรับแขกเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องรับแขก
เราใส่บุคคลสำคัญเข้าไป ก็จะกลายเป็นห้องวีไอพี

ห้องแห่งหัวใจของเรา
ก็ไม่ต่างอะไรกับห้องว่างเปล่าที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเลย
ทุกครั้งที่เราบรรจุอะไรเข้าไปในใจ
ใจของเราก็จะเปลี่ยนสถานภาพเหมือนกัน

เราใส่ความเมตตาเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจดี
เราใส่ธรรมะเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจบุญ
เราใส่ความโกรธเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจร้อน
เราใส่ความเลวเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจทราม
เราใส่ความกลัวเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจเสาะ
เราใส่ความเป็นนักสู้เข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจสู้
เราใส่ความขาดสติเข้าไป ก็จะกลายเป็นคนใจลอย

เห็นด้วยหรือไม่ว่า
ใจของเรานั้นเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือกาย
เป็นสิ่งที่คอยออกแบบชีวิตของเราให้เป็นไปอย่างไรก็ได้
พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า

ใจเป็นนาย ใจเป็นผู้นำ ใจเป็นผู้สร้างสรรค์ ...
หรือบางทีก็ตรัสว่า จิตฺเตน นียติ โลโก
แปลว่า โลกหมุนไปตามใจสั่งการ

โลกในที่นี้ หมายถึง ชีวิตของเรานั่นเอง
โลกคือชีวิต จะหมุนซ้าย หมุนขวา หมุนตรงหรือหมุนเอียง
หมุนไปข้างหน้า หรือว่าหมุนไปข้างหลัง
ทั้งหลายทั้งปวงนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของใจทั้งหมดทั้งสิ้น

ใจของเราไม่ต่างอะไรกับห้องที่ว่างเปล่า
เราบรรจุอะไรลงไป
ชีวิตของเราก็เป็นไปตามสิ่งที่บรรจุนั้น

ทุกวันนี้ เราเคยถามตัวเองบ้างไหมว่า
เราบรรจุอะไรลงไปในห้องแห่งหัวใจของเราบ้าง

ความรู้ ความงมงาย
ความรัก ความโกรธ ความเกลียด
ความโลภ ความดี ความชั่ว
ความริษยา ความหน้าด้าน ความสะอาด
สว่าง สงบ หรือความตื่นรู้

ชีวิตจะเป็นอย่างไร
รุ่งโรจน์หรือร่วงโรย
ขึ้นสูงหรือลงต่ำ
สำคัญที่เราบรรจุอะไรลงไปในใจของเราเอง ...

ว.วชิรเมธี

ที่มา เว็บพลังจิต
ผู้แสดงความคิดเห็น ณี วันที่ตอบ 2011-02-13 18:13:15


ความคิดเห็นที่ 2 (1531761)

จิตประภัสสร"

 

@  ความหมายของ “จิตประภัสสร”    

"จิตประภัสสร หมายถึงจิตเดิมแท้ที่ยังว่างอยู่ ยังไม่ถูกอะไรปรุงแต่ง

ยังไม่ถูกหุ้มห่อด้วยกิเลส ไม่ถูกหุ้มห่อด้วยผลของกิเลส คือความดี ความชั่ว เป็นต้น

เหมือนอย่างเพชร มันมีรัศมีในตัวมันเอง มันเรืองแสงของมันได้ 

เหมือนอย่างจิตเดิมแท้ประภัสสร แต่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ มันจึงเปลี่ยนแปลงได้

มันจึงต้องมีการอบรมจนเป็นประภัสสรที่ถาวร ชนิดที่ไม่มีอะไรมาปรุงแต่งให้เปลี่ยนแปลงได้"

(พุทธทาสภิกขุ พจนานุกรมธรรมของท่านพุทธทาส  ธรรมสภา กรุงเทพ หน้า 144)

 

"ประภัสสร แปลว่า ซ่านออกแห่งรัศมี ประภา = รัศมี  สะระ =  ซ่านออกมา คือไม่มีมลทิน แต่มันอยู่ในลักษณะที่มลทินมาจับได้ มาครอบได้ เศร้าหมองได้ ก็เป็นทุกข์ได้ อบรมจนมลทินจับไม่ได้"  

(พุทธทาสภิกขุ พจนานุกรมธรรมของท่านพุทธทาส  ธรรมสภา กรุงเทพ หน้า 143)

 

@ จิตเสียความประภัสสรได้อย่างไร

 "....มาศึกษาให้รู้ให้เห็น ตามที่เป็นจริงว่า “เรา” ประกอบขึ้นมาด้วยอวิชชาทีไร จิตใจนี้ก็มีตัวตน และมีของตนขึ้นมา และมีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ต้องเข้าใจเสียก่อนว่า สิ่งที่เรียกว่า กิเลส หรือ ความทุกข์ นี้ ไม่ใช่เกิดอยู่เป็นพื้นฐาน สิ่งที่เรียกว่า กิเลส หรือความทุกข์นี้

 เพิ่งเกิดเป็นครั้งคราว

พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่า “ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ”

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ประภัสสร “อาคนฺตุเกหิ อุปกิเลเสหิ อุปกิลิฏฺฐํ” แต่ว่าจิตนี้เศร้าหมองแล้ว เพราะกิเลสที่เป็นอาคันตุกะเข้ามา"

พุทธทาสภิกขุ วิธีชนะความตาย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ กรุงเทพ (หน้า 28)

 

 

"เมื่อพูดถึงเป็นมนุษย์เป็นคนโตแล้วโดยสมบูรณ์แล้วก็จะพูดได้ว่า จิตของบุถุชนนั้นมันเศร้าหมองเสียโดยมาก, มีส่วนที่ไม่เศร้าหมองน้อยมาก ; แต่ถ้าเป็นจิตของพระอริยเจ้า มันก็เศร้าหมองน้อย บริสุทธิ์มาก เป็นประภัสสรมาก, แล้วประภัสสรสูงขึ้นไปเช่นว่าทำสมาธิได้ : อยู่ในสมาธิว่างจากกิเลส จิตก็ประภัสสรยิ่งๆขึ้นไปตามลำดับชั้นของสมาธิ, บรรลุอรหัตตผลนั้นเป็นประภัสสรสูงสุด ไม่มีกิเลสด้วยประการทั้งปวง"

(พุทธทาสภิกขุ จิตตภาวนาทุกรูปแบบ สำนักพิมพ์สุขภาพใจ กรุงเทพ หน้า 25)

 

  

@ อบรมจิตให้ประภัสสรได้อย่างไร

 "จิตตภาวนาแปลว่าทำจิตให้เจริญ : คำว่า “ภาวนา” นี้ แปลว่าทำให้เจริญ! จิตตภาวนาคือวิธีการอันหนึ่งที่จะทำจิตให้เจริญ  ;

เจริญไปถึงไหน? เจริญถึงขนาดที่ว่า ทำอย่างไรจิตนี้ไม่เป็นที่ตั้งแห่งการเกิดของกิเลสอีกต่อไป!

การที่ประพฤติพรหมจรรย์ : ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละเป็นจิตตภาวนา,

ทำให้จิตนี้ถึงสภาพประภัสสรชนิดถาวร ไม่กลับเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสอีกต่อไป. กิเลสก็ไม่อาจจะเกิดขึ้นแก่จิตนั้น, ความเป็นประภัสสรของจิตนั้นก็เป็นการถาวร :

ประภัสสรชนิดนี้เป็นจิตของพระอรหันต์ ;

ประภัสสรที่ยังกลับเศร้าหมองได้นั้นเป็นจิตของบุคคลทั่วไป :

เมื่ออบรมกระทำจนจิตกลับเศร้าหมองอีกไม่ได้

หรือจิตนั้นไม่เป็นที่ตั้งแห่งการเกิดของกิเลสอีกต่อไป,

ก็เป็นประภัสสรถาวร นี้คือิตของพระอรหันต์"

(พุทธทาสภิกขุ จิตนี้ประภัสสร สำนักพิมพ์สุขภาพใจ กรุงเทพ หน้า 45-46)

" 

ผู้แสดงความคิดเห็น ณี วันที่ตอบ 2011-02-13 19:17:38


ความคิดเห็นที่ 3 (1532220)

 

 

ขออนุโมทนาบุญนะคะที่นำสิ่งดี ๆ มาให้ได้อ่านกัน  สาธุ..

ผู้แสดงความคิดเห็น ฉันทนา ชูนุ่น วันที่ตอบ 2011-02-16 15:20:13


ความคิดเห็นที่ 4 (1532224)

ขออนุโมทนาบุญ ด้วยค่ะ

ล้วนแล้วแต่เป็นข้อความและข้อมูลดีๆ

สาธุ สาธุ สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น กัญญ์วิญาณ์ (tata_su22-at-windowslive-dot-com)วันที่ตอบ 2011-02-16 15:35:33


ความคิดเห็นที่ 5 (1535703)

อธิศีล

   คือ มีศีลเต็มเปี่ยม หรือ รักษาศีลได้บริสุทธิ์ ไม่ล่วงศีลแม้ในความคิด ไม่มีจิตปราถนาจะละเมิดศีลแม้แต่น้อย และควบคุมจิตได้โดยไม่มีการล่วงละเมิดศีลแม้แต่น้อย

ยกตัวอย่างเช่น

ข้อศีลข้อที่1 ปาณาติบาต

การไม่ฆ่าสัตว์ จะต้องรักษาให้สุทธิ

คือนอกจากจะไม่ลงมือฆ่า  รวมถึงไม่ออกวาจาสั่ง หรือพูดเลียบเคียงให้ผู้อื่นฆ่าโดยปริยาย

ไม่คิดว่าจะฆ่า ไม่คิดหาอุบายเพื่อฆ่า ไม่คิดหาอุบายเพื่อให้ผู้อื่นฆ่า

ไม่คิดแช่งในใจให้บุคคลอื่นหรือสัตว์อื่นตาย

ไม่คิดร้ายต่อใคร

ไม่โกรธ ไม่แค้น ไม่อาฆาต ไม่ริษยา ไม่เกลียดชัง ไม่รังเกียจ ฯลฯ

และต้องทำใจให้เมตตาต่อบุคคลทุกประเภท ทุกชาติ ทุกศาสนา ทุกชั้น ทุกวัย

แม้กับผู้ตั้งตัวเป็นศัตรูก็ต้องอภัยให้ได้ ไม่คิดเอาชนะ

ต้องมีใจเกื้อกูลไปจนกระทั่งถึงสัตว์ทุกชนิด แม้จะเป็นสัตว์มีพิษร้าย 

ต้องมีใจเอ็นดูต่อธรรมชาติ พืชพันธุ์ แม้แต่ต้นหญ้าฯลฯ

รวมถึงต้องไม่ใช้วาจา "เชือดเฉือน" ด้วยมีใจเจตนาให้ผู้อื่นเกิดความร้อนใจ

ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ผู้หิว ผู้ยากไร้

เลี้ยงดูแม้สุนัขของผู้อื่น หรือสุนัขข้างถนน


ไม่ทรมานสัตว์หรือผู้ใต้อำนาจให้ได้รับความลำบากกายหรือได้รับความลำบากใจ ฯลฯ

 

เมื่อบุคคลมีอธิศีลแล้วย่อมเกิดอธิจิต จิตอันยวดยิ่งนี้จะมี  "สติ" ตามติดอย่างใกล้ชิด 

ไม่เผอเรอปล่อยให้จิตตกต่ำ 

เมื่อจิตไม่ตกไปสู่ที่ชั่วแล้วก็ง่ายต่อการที่จะเกิดอาการ "จิตสงบ" ขึ้นมาในจิตได้

เมื่อ จิตสงบ แล้ว ปัญญาจะเกิดขึ้น โดยอัตโนมัติ

 

ศีลจึงเป็นบาทเป็นฐาน เป็นที่ตั้งอันสำคัญ

ถ้าเสาเข็มไม่แข็งแรง ตึก ก็ทนทานไม่ได้เช่นเดียวกัน

 

ตรวจดูตนเอง  ตรวจดูจิตของตนเอง แล้วแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองก่อน

สร้างทานบารมี ให้ได้ก่อน

สร้างศีลบารมี ให้ได้ก่อน

แล้วปัญญา จึงจะเกิดได้

อย่าเพิ่งคิดท้อถอยว่า โอ้โฮ เรานี่ทำบาปมาเยอะ เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ 

คิดแต่อยากร่ำรวย อยากโก้  อยากงาม อยากเด่น อยากดัง

จึงทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาสม อยาก  โดยปราศจากเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์

ไม่เป็นไร ...ลืมเสียเถิด ประพฤติตนเสียใหม่ ปฏิบัติตนเป็นคนใหม่

เริ่มต้นกันใหม่ ฝึกทำใจให้บริสุทธิ์  สร้างเสริมทานบารมี ศีลบารมี ให้เพิ่มขึ้น

อย่าคำนึงถึง อดีตที่ล่วงไปแล้ว อย่าคำนึงถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

จงทำปัจจุบันให้ดีที่สุด

สำรวมกาย วาจา ใจ

ตรงไหนบกพร่องก็แก้ไขเสียใหม่

ยังไม่สายเกินไป พยายามฝึกให้ได้ คือ

อภัยทานเป็นบารมีสำคัญ

 

ข้อสำคัญ การรักษาศีลนั้นต้องรักษาตลอดเวลา

 

อย่าเชื่อตามที่กล่าวมานี้

อ่านทบทวนแล้วนำไปพิจารณา

แต่ขอเพียงให้ท่านผู้ใฝ่ใจปฎิบัติตามอุบายนี้โดยละเอียด จนกว่า ท่านจะสำเร็จประโยชน์แล้วจึงค่อยเชื่อ

 

ขออนุโมทนาบุญ  ข้อความจากหนังสือประสบการณ์ฝึกจิตทำสมาธิ ผู้เขียน สุวิชาน 


ได้อ่านข้อความเหล่านี้แล้ว

ทำให้นึกถึงอาจารย์อุบล

ท่านย้ำนักย้ำหนาเรื่องศีล ต้องบริสุทธิ์  ต้องตลอดเวลา

อภัยทาน

ประพฤติตนเสียใหม่ ปฏิบัติตนเป็นคนใหม่

 สร้างเสริมทานบารมี ศีลบารมี


ตอนนี้เวลากระชั้นชิดเข้ามาแล้ว คนที่ไม่คิดเปลี่ยนแปลงตนเอง คนที่คิดเปลี่ยนแต่เปลี่ยนช้า

ก็อันตราย

ถ้าเราเปลี่ยนตัวเองเร็วเท่าไหร่ ก็จะเกิดผลเร็วเท่านั้น

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ณี วันที่ตอบ 2011-03-13 00:14:26



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.