ReadyPlanet.com


ประโยชน์ของสมาธิ


การทำสมาธิช่วยให้มีสุขภาพดีเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

ประโยชน์ทางสุขภาพที่ได้จากการทำสมาธินั้นมีอยู่มากมาย ไม่เพียงเฉพาะแต่ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจะบรรเทาอาการได้เท่านั้น ในผู้ที่ฝึกทำสมาธิเป็นประจำยังช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพได้ และป้องกันโรคต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ การทำสมาธินั้นได้ถูกนำมาใช้กันในวงกว้างกับโรคร้ายแรงหลาย ๆ โรค โดยเฉพาะโรคที่ประสบความสำเร็จและมีการบันทึกไว้ก็คือเกี่ยวกับปัญหาทางด้านจิตใจ เช่นอาการสะเทือนใจและอื่น ๆ แล้วการทำสมาธิช่วยเรื่องสุขภาพได้อย่างไร?? ต่อไปนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นขณะที่ทำสมาธิ:

*คุณจะรับออกซิเจนน้อยลง
*คุณจะหายใจได้ดีขึ้น
*การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง
*ร่างกายจะแข็งแรงขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของหัวใจของผู้ป่วย
*ร่างกายจะพักผ่อนได้ลึกขึ้น
*ทำให้ความดันเลือดที่สูงลดต่ำลง
*ลดความกังวล
*ลดความตึงของกล้ามเนื้อ และลดอาการปวดศีรษะ
*เพิ่มความมั่นใจในตัวเอง
*การผลิตฮอร์โมน serotonin ช่วยให้ทำให้จิตใจดีขึ้น
*ช่วยทำให้อาการก่อนมีประจำเดือนในผู้หญิงลดลง
*ช่วยให้ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดหายได้เร็วขึ้น
*กระตุ้นการสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
*ช่วยให้อารมณ์คงที่ไม่แปรปรวน

ชนะความเครียด
ทุก ๆ คนล้วนมีแนวโน้มที่จะเกิดความเครียดได้จากชีวิตประจำวัน อาจเป็นจากที่ทำงานหรือที่บ้าน ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคนในการจัดการกับปัญหา ความเครียดและความกังวลนั้นมีผลทำให้ระดับความดันเลือดสูงขึ้น และอาจทำให้เป็นโรคหัวใจ เมื่อทำสมาธิ ความเครียดก็จะไม่ค่อยเกิดขึ้น ดังนั้นปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตก็จะไม่เกิดขึ้น

สิว
เมื่อเราจัดการกับความเครียดได้ การผลิตน้ำมันจากต่อมไขมันก็จะลดลง การอุดตันก็จะน้อยลง นั่นจึงเป็นเหตุที่ทำไมสิวถึงน้อยลง หน้ามันน้อยลงเมื่อเรานั่งสมาธิอยู่เป็นประจำ

ความเจ็บปวด
ผู้ที่ได้รับความเจ็บปวดอยู่ตลอดเวลาก็จะค่อย ๆ กลายเป็นความวิตกกังวล และทำให้ความอดทนต่อความเจ็บปวดน้อยลง โชคดีที่การทำสมาธิสามารถช่วยบรรเทาความกังวลได้ จึงช่วยลดความเจ็บปวดได้ด้วย

ป่วยเรื้อรัง
มีหลาย ๆ โรงพยาบาลที่แพทย์ใช้วิธีการให้ผู้ป่วยทำสมาธิเพื่อช่วยอาการป่วยเรื้อรัง เช่นมะเร็ง ซึ่งจะช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงจากยาที่ใช้ในการรักษา สำหรับผู้ป่วยที่ป่วยในระยะสุดท้าย การทำสมาธิก็จะช่วยลดความกังวลและความหดหู่และเพิ่มความรู้สึกดี ๆ ขึ้นมาได้

ความดันโลหิตสูง
การทำสมาธิจะให้ผลดีกับกรณีนี้มากในการช่วยลดระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยด้วยโรคนี้ ก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจสำหรับกลุ่มนี้
มีหลาย ๆ ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพที่สามารถใช้วิธีการทำสมาธิเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ เช่น เรื้อนกวาง, โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ, อาการลำไส้ปั่นป่วน, Fibromyalgia (โรคกล้ามเนื้อตึง นอนไม่หลับ) เป็นต้น เมื่อความวิตกกังวลลดลง ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจมากขึ้น และควบคุมสถานการณ์ได้ และช่วยให้รับมือกับสถานการณ์นั้น ๆ ได้ดีขึ้น



ผู้ตั้งกระทู้ ลักขณา ศรประสิทธิ์ โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2010-12-18 12:17:12


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1522454)

 

โมทนาสาธุกับคุณลักขณา ด้วยนะคะ กับบทความดีๆ ที่นำมาเผยแพร่เพื่อเป็นธรรมทาน สาธุ สาธุค่ะ ดิฉันก็ทำสมาธิทุกวันค่ะ น้อยบาง มากบ้าง บางวันก็ดูเหมือนตัวเองทำได้ดี บางวันทำได้พอเกินนาทีที่สิบรู้สึกว่าตัวเองหลับทุกที

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น นฤชล วันที่ตอบ 2010-12-18 13:50:15


ความคิดเห็นที่ 2 (1523277)

อนุโมทนาบุญกับธรรมทานครับ  แต่ขอเพิ่มเติมนิดครับ

ปัจจุบันวิทยาศาสตร์ เองก้อไม่มีคำ อธิบายได้ถึงที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน  แต่มีผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติตามแนวทางของพระพุทธองค์  ได้เคยกล่าวในเชิงการอธิบายเรื่องพุทธศาสตร์ให้มีหลักฐานอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจง่าย ง่าย  ยกตัวอย่างข้อที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนว่าการภาวนาเป็นบุญใหญ่

ในหนังสือไอสไตน์พบพระพุทธเจ้าเห็นเล่ม1(ทพ.สม สุจิรา) อธิบายเรื่องของการเข้าถึงสมาธิทำให้จิตว่าง แล้วเวลาที่จิตว่าง ห่วงเวลาจิตของเรา กับเจ้ากรรมนายเวรไม่ตรงกัน ทำให้เจ้ากรรมนายเวรตามมาจองเวรเราไม่ทันครับ  แต่พระพุทธองค์ไม่ได้สอนให้เราคิดที่จะหนีอกุศลกรรมนะครับเพียง แต่ประสงค์จะให้ผู้ปฏิบัติได้แพร่บุญกุศลส่งไปให้กับเจ้ากรรมนายเวรที่เราไม่รู้ว่าภพชาติหรืออดีตที่ผ่านมาเราทำอกุศลกรรมกับให้มาอย่างไรบ้าง

แล้วนี่ล่ะครับที่เป็นความมหัศจรรย์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงเห็นมาแล้ว ก่อน 2500 กว่าปี แต่วิทยาศาสตร์พึ่งจะมาตื่นเต้นครับ เพราะฉะนั้นเชิญชวน พี่น้องชาวบ้านสวนพีระมิด หันมาปฏิบัติ ทาน ศีล ภาวนา กันให้ยิ่ง ยิ่งขึ้น กันเถอะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เอกไชย ทรงประไพ (ekachai_sh-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-22 12:57:33


ความคิดเห็นที่ 3 (1523312)

น้องทรายก็ขออนุโมทนาบุญสำหรับธรรมทานดี ๆ

 ของคุณเอกไชย ด้วยนะค่ะ สาธุค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลักขณา ศรประสิทธิ์ (lukkana_1234-at-windowslive-dot-com)วันที่ตอบ 2010-12-22 14:51:24



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.