ReadyPlanet.com


อยาก"ปลดทุกข์"ต้องอ่านกระทู้นี้จ๊า..


ก่อนที่จะปลดทุกข์ได้ ต้องทำความรู้จักการทำงานของขันธ์ห้า

ให้ได้ถ่องแท้ซะก่อนนะคะ ยิ่งอ่าน ยิ่งเบาค่ะ รับรอง..................

 

ฉะนั้น เชิญทุกท่านเริ่มเดินไปสู่หนทางของการดับทุกข์

ได้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป....

 

อนุโมทนากับข้อความจากอ.สุดใจ แห่งเว็บเขากะลาด้วยนะคะ

 

ปาฏิหาริย์แห่งธรรม รู้จักขันธ์ห้า เพื่อละวางอัตตาตัวตน โดยอาจารย์สุดใจ ชื่นสำนวน

เรื่อง ที่ได้รับการสอนก่อนอื่นก็คือ ต้องรู้จักขันธ์ห้าตามความเป็นจริงของธรรมชาติก่อนว่ามันคืออะไร? ประกอบด้วยอะไร? และมีกลไกอย่างไรบ้าง?

ขันธ์ห้านั้น ก็มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามที่เรา ๆ ได้รับรู้มา
จึง มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และมีอุปาทาน หรือความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเป็นตนเป็นเสมือนยางเหนียวที่นำทั้งหมดมา รวมกันเป็นกลุ่มก้อน นานเข้าจนแยกไม่ออก คิดว่ามีตัวตน ของตน จริง ๆ

ดัง นั้น การหลุดพ้น หลุดพ้นจากอะไร หลุดพ้นจากอุปาทาน ก็คือหลุดพ้นจากอุปาทานขันธ์ห้า คือหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้าว่าเป็นตัวเราของเรานั่นเอง แล้วสิ่งที่หลุดพ้นก็คือ ธาตุรู้ หรือจิตที่มีสติปัญญาที่รู้แจ้งว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมชาติล้วน ๆ ไม่ได้มีตัวใครของใครตรงไหนเลย(ตรงข้ามกับจิตที่มีอุปาทาน)

รูป ประกอบด้วยดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ มาผสมรวมกันจนเกิดเป็นร่างกาย กลไกของร่างกายนี้มันทำงานของมันเอง มันมีกลไกที่ดูแลตัวมันเองอยู่เสมอ ถึงเราจะรู้หรือไม่รู้ แต่ร่างกายมันรู้ มันหายใจเอง ถึงเราหลับมันก็ยังหายใจ ซึ่งมนุษย์ต่างดาวได้บอกว่า ถ้าปล่อยให้หายใจกันเอง ก็คงจะตายกันหมดแล้วเพราะคอยแต่จะลืม แต่เพราะมันทำงานอัตโนมัติ มันจึงต้องหายใจเอง มันสูบฉีดโลหิตเอง มันย่อยอาหารเอง แม้เราไม่อยากให้มันย่อยเพราะไม่อยากจะกินบ่อย ๆ แต่มันก็ไม่สนใจเรา มันทำหน้าที่ของมันอัตโนมัติ มันดูแลตัวเองโดยอัตโนมัติ หรือมีเชื้อโรคเข้าไปในร่างกาย ภูมิคุ้มกันก็จะมาทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคนั้นทันที นอกจากหนักหนาสาหัสไม่อาจต้านทานได้ ก็จะส่งอาการฟ้องออกมาที่ร่างกาย ตัวร้อนบ้าง เจ็บคอบ้าง หรืออาเจียนบ้าง ก็เพื่อแจ้งให้ทราบว่า ฉันป่วยนะ หายากินหน่อย เพราะความจริงมันห่วงตัวมันเอง มันรักตัวมันเอง มันจึงดูแลตัวมันเอง ถ้าเกิดอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บมาก ๆ มันจะตัดให้สลบไปก่อน ไม่อย่างนั้นจะตายเพราะทนพิษบาดแผลไม่ไหว มันต้อง safety ตัวมันเอง เพราะมันมีกลไกของมันเอง มันทำงานถูกต้องตรงตามเวลาเป็นอัตโนมัติ

มันจึงเป็นสิ่งที่บังคับ บัญชาไม่ได้จริง ๆสมมุติว่า ถ้าเราเห็นว่า มันก็ทำงานของมันได้ เราลืมกินข้าวเพราะมัวยุ่งกับงาน มันก็จะแจ้งเตือนเพราะมันห่วงตัวมันเอง ด้วยการทำท้องร้องบ้างละ ทำเป็นหิวบ้างละ ก็เพราะร่างกายมันห่วงตัวมันเองว่าจะเป็นโน่นเป็นนี่ จริง ๆ แล้ว ถ้าเราดูจริง ๆ ไม่น่าห่วงมันหรอก เพราะมันห่วงตัวมันเองอยู่แล้ว เราก็แค่บริหารขันธ์ห้าไปตามสมควร ขาดเหลืออะไรมันเตือนของมันเองแหละ เพราะมันเป็นกลไกของธรรมชาติ มันก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายไปตามกลไกของมัน เมื่อเห็นจริงก็ไม่ต้องไปห่วงมันหรอก ขัดใจมันบ้าง เยาะเย้ยมันบ้าง หรือสมน้ำหน้ามันบ้างก็ยังได้ ให้มันรู้เสียมั่งว่าไม่ได้มีอำนาจเหนือเรา มันต่างหากที่ต้องพึ่งเรา

ถ้ารู้อย่างนี้นะ เราจะไม่ค่อยให้ความสำคัญอะไรกับมันเท่าใดนัก ดูแลกันไปตามสมควร คิดว่ามันเป็นเครื่องมือเพื่อการปฏิบัติธรรมให้ออกจากวัฏฏสงสารเท่านั้น เหมือนพระอริยเจ้า ท่านก็จะมุ่งเน้นที่จะออกจากขันธ์ห้าทั้งนั้น แล้วเราจะไปอาลัยอาวรณ์มันทำไม ?

ถ้าทำไปนาน ๆ จะเห็นว่า แทนที่เราจะต้องไปดูแลร่างกายมัน ประคับประคองมัน แต่กลับเป็นว่ามันจะต้องเป็นผู้ดูแลตัวมันเอง มีอะไรมันก็จะแจ้งเรามาเป็นระยะ เราก็แค่ดำเนินการดูแลให้ตามสมควร กินยา หาหมอ แต่ไม่จำเป็นต้องไปทุกข์กับมัน
 
 

 



ผู้ตั้งกระทู้ ชนิดา เชิงสะอาด โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2011-04-14 06:11:51


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1540162)
เพราะ ธรรมะก็สอนไว้อยู่แล้วว่า อริยสัจ 4 ก็คือทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ทางดับทุกข์ และปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์นั้น สรุปแล้วก็คือ ท่านสอนเรื่องของทุกข์ กับการดับทุกข์ที่เกิดขึ้นมานั่นเอง เมื่อเราไม่ทุกข์ ก็ไม่ต้องไปดับอะไร ใจก็สงบเย็นนั่นเอง

ถ้าเข้าใจได้จริง เห็นได้จริง และทำได้จริง ก็จะออกจากตัวขันธ์ห้าในส่วนของรูปได้เลย ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ต้องตายจากกัน
มนุษย์ ต่างดาว จึงไม่ค่อยให้ความสำคัญกับขันธ์ห้าของผู้ฝึกเท่าใดนัก หาแต่เรื่องจะทุกข์กับขันธ์ห้ามาให้เรียนอยู่เรื่อย ถ้าแกไม่ออกจากขันธ์ห้า ก็ทุกข์ไป

พี่สุดใจเจอมาเยอะกับตัวอย่างเช่นนี้ จนเดี๋ยวนี้เห็นมันโวยวายอยู่เรื่อยก็เฉย ๆ เป็นแผลนิดเดียวทำเป็นเจ็บปวดเหลือเกิน(ระบบเพิ่มให้แบบโอเว่อร์) หรือเท้าไปเกี่ยวรถมอเตอร์ไซด์ ไม่รู้เรื่องเลยเพราะไม่เจ็บ เลือดเต็มเท้าเลย ปรากฏว่าเล็บเปิดออกมา ไม่รู้สึกเจ็บสักนิด ไม่ไปหาหมอด้วย ดูซิมันจะทำยังไง มันก็คิดทั้งคืน คิดอยากจะไปหาหมอ ให้มันคิดไป เราก็ดูความคิดไป สมน้ำหน้ามันไป

พอรุ่งขึ้น เขียวบวมก็เรื่องของมัน สรุปแล้วไม่เจ็บ ไม่ปวด ไม่สน พอรุ่งขึ้นอีกวันไปให้หมอทำแผล หมองง ทนมาได้อย่างไรเนี่ยตั้ง 2 วัน ก็เฉยๆ ไม่เจ็บอะไร และสมน้ำหน้าตัวมันด้วยซ้ำที่ไม่รู้จักระวังตัวมันเอง ไม่ได้ห่วงใยอะไรในตัวมันเลย ก็เลยไม่ค่อยมีความทุกข์เกี่ยวกับร่างกายสักเท่าไรนัก มันเป็นอะไร ก็คอยฉกฉวยโอกาสที่จะเรียน เพื่อจะละ เพื่อจะเลิก แยกจากกันอย่างเดียวเลย ก็สนุกดี

ตอนนี้มันเลยต้องดูแลตัวมันเอง พี่สุดใจก็เลยสบายไม่ต้องสนใจมันอีก

นี่ เป็นประสบการณ์ และผลที่ได้จากการฝึก มีความเข้าใจในกลไกของธรรมชาติมากขึ้น มีการปล่อยวางรูปขันธ์ได้มากขึ้น ความทุกข์ในเรื่องที่จะต้องไปห่วงใยในรูปขันธ์ก็น้อยลงไปด้วย

ส่วนที่ยังเหลือก็คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ กับความรู้เท่าทันธรรมชาติ

ก็ จะขอเริ่มจากวิญญาณขันธ์ก่อนละกัน เพื่อจะได้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นสำหรับผู้ที่รับฟังใหม่ โดยจะขอเรียงลำดับก่อนหลังตามการกระทบแล้วเกิดสภาวะตามจริง

ดังนั้น ร่างกายที่ได้อธิบายผ่านไปแล้วนั้น ในร่างกายก็จะมีอายตนะภายในรวมอยู่ด้วย ก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งจะต้องจับคู่กับอายนะภายนอก ก็คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ ดังนั้นช่องทางที่เมื่อมีการกระทบแล้วทำให้เกิดภาวะทางจิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้ ก็ต้องผ่านช่องทางทั้ง 6 นี้เช่นกัน ก็คงต้องขอจับกันเป็นคู่ ๆ
อย่าง เช่น ตาก็ต้องคู่กับรูป แต่ระหว่างตากับรูปนั้นมันเป็นคนละชิ้น ยังไม่รู้จักกัน ดังนั้นจึงต้องมีจักษุวิญญาณเป็นตัวเชื่อมระหว่าง ตากับรูป แล้วส่งเข้าไปที่ตัวสัญญา ก็คือความจำนั่นเอง

เช่น ตามองเห็นดอกกุหลาบ ตา กับ ดอกกุหลาบเป็นคนละชิ้นกัน มันไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้ แต่มีจักษุวิญญาณ คือการรับรู้ทางตามาเป็นตัวเชื่อมของ 2 ชิ้นเข้าด้วยกัน ถ้าเคยรู้จักดอกกุหลาบอยู่แล้ว เห็นปุ๊บก็รู้จักปั๊บทันทีเลย ไม่ต้องไปนั่งนึกใหม่ เพราะเคยบันทึกไว้แล้ว ดังนั้นถ้าตาบอด การรับรู้ทางตาก็ไม่มีเพราะอายตนะภายในคือตาไม่มีการต่อเชื่อม ดังนั้นการที่จะมีอุปาทานจากการเห็นรูปเอามาปรุงแต่งก็ไม่มี

หูกับ เสียงต่าง ๆ ก็เป็นคนละส่วนกัน แต่มีตัวโสตวิญญาณเป็นตัวเชื่อม แล้วก็เข้าใจได้ว่าเป็นเสียงของอะไร ตามที่ความจำได้เคยบันทึกไว้ ดังนั้น การที่จะเกิดสุขทุกข์ได้นั้น ก็เพราะการรับเข้าไป จำได้ว่าเสียงอะไร แล้วก็ไปปรุงแต่งความคิดเอาเอง เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน
แต่ ถ้าเรารู้กลไกของธรรมชาติแล้ว เราจะเห็นความเป็นเช่นนั้นเองของขันธ์ห้า คือมันทำงานของมันอัตโนมัติ ตามเหตุ ตามปัจจัยที่สะสมไว้อย่างตรงไปตรงมา เหมือนเช่นเอาน้ำไปตั้งไว้กลางแดดจัด ๆ เมื่อน้ำถูกแดดนาน ๆ น้ำก็ย่อมร้อนเป็นเรื่องธรรมดา มันก็เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย แต่คนที่จะกินน้ำนั้นต่างหากที่จะสุขหรือทุกข์ และตัวของน้ำเองมันก็ไม่ทุกข์ มันไม่ได้สนเลยว่า ใครจะรู้สึกอย่างไร จะพอใจหรือไม่พอใจที่ต้องดื่มน้ำร้อน ๆ แก้วนั้น เพราะน้ำมันไม่ได้ทำตัวมันเอง มีสิ่งอื่นมากระทำ เพราะเมื่อมีน้ำ มีแดด ผลที่ออกมาก็คือ มีความร้อนแทรกอยู่ในน้ำแก้วนั้น

แต่คนที่จะดื่ม น้ำนั้นต่างหาก ที่สุข หรือทุกข์ก็ได้ อยากจะดื่มน้ำให้ชื่นใจเสียหน่อย กลับร้อนเสียแล้ว โมโห หงุดหงิด และเกิดอารมณ์สุขทุกข์ได้ ก็เพราะไม่เห็นความเป็นธรรมดาของสิ่งที่เกิดนั่นเอง

แต่ถ้ามีสติ มองเห็นความเป็นจริงของธรรมชาติ ความทุกข์ก็จะกินไม่ได้ ก็แค่ อ๋อ น้ำมันตากแดด มันก็ร้อนอย่างนั้นเอง รอหน่อยเดี๋ยวก็เย็น หรือไม่เป็นไรร้อนหน่อยก็กินได้ อารมณ์ขุ่นมัวก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะเห็นความเป็นจริงของสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น

ฟังเหมือนเป็นเรื่อง ไม่น่าสำคัญ แต่สำคัญเชียวละ เพราะแค่เรารู้จักธรรมชาติตามที่มันเป็นอยู่จริง จะทำให้เราปล่อยวางได้มากขึ้น ซึ่งระบบมุ่งเน้นอธิบายให้เห็นมุมมองของธรรมชาติแบบง่าย ๆ ที่เรามองข้ามไปนั่นเอง

พี่สุดใจพบเจอมามาก เมื่อก่อนพี่สุดใจเป็นคนที่เอาแต่ใจตัวเอง หงุดหงิดง่าย อะไรก็ไม่ค่อยจะถูกใจสักอย่าง ขนาดเปิดแอร์เย็น ๆ แต่เย็นไม่ทันใจก็หงุดหงิด ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังก็หงุดหงิด ไปซื้อของคนขายหยิบให้ช้าก็หงุดหงิด จึงมีแต่เรื่องไม่พอใจ ไม่ถูกใจ ไม่ทันใจ ตลอดเวลา จึงเป็นคนที่ค่อนข้างจะใจร้อน ขี้โมโห และเป็นคนที่มีแต่ทุกข์เสียเป็นส่วนมาก

ดังนั้นในช่วงฝึกแรก ๆ ก็เลยโดนเสียเยอะ กับการเอากิเลสของพี่สุดใจออกนี่ ถ้าเป็นคนสอนก็คงอ่อนใจเหมือนกัน แต่นี่ระบบไม่สนใช้อุปกรณ์สอนเลย ไปดับทุกข์เอาเอง

บางครั้งมีวาระให้เดินเท้าเปล่า ก็พยายามเดินกระย่องกระแย่ง กลัวเหยียบหิน กลัวเหยียบหนาม กลัวเท้าพอง

ก็ เลยเจอความทุกข์เต็ม ๆ เพราะจู่ ๆ ก็เดินลงจากเขาด้วยเท้าเปล่าคนเดียวตอนประมาณ บ่าย 3 โมง แดดกำลังร้อนจัดเชียวละ เท้าเปล่าด้วย ขืนตัวเองหยุด ก็ไม่ยอมหยุด พอลงมาถึงทางข้างล่าง ถนนเป็นหินลูกรัง บางช่วงเป็นทรายก็มีเพราะเขาเอามาถมถนน เราก็พยายามเดินข้างทางเพราะเป็นต้นหญ้า จะได้บรรเทาความร้อน ขาก็พาออกมาเดินกลางถนน เท้าเปล่ากับหินร้อน ๆ ก็ร้อนมาก ร้อนจนเท้าแทบพอง ความทุกข์จากความร้อนไม่เท่าไร แต่ความทุกข์จากความไม่พอใจ โมโห มีมากกว่าหลายเท่าในช่วงนั้น บังคับตัวเองก็ไม่ได้ ทำไมต้องทำกับเราอย่างนี้


ผู้แสดงความคิดเห็น ชนิิดา เชิงสะอาด วันที่ตอบ 2011-04-14 06:15:59


ความคิดเห็นที่ 2 (1540163)
ระยะ ทาง 1 กิโล และเดินกลับอีก 1 กิโลโดยไม่ได้หยุดพักเลย กับเท้าเปล่ากลางแดดนั้น ไม่ใช่ง่ายเลยกับการทำจิตให้มีความสงบเย็นได้ และก็เหมือนเคย โดนไปหลายวัน จนเริ่มเห็นความเป็นจริงของธรรมชาติมากขึ้น วันต่อมาก็เริ่มสบายมากขึ้น พอเดินลงมาสัก 11 โมงเช้าก็คิดว่า เออดีแล้วแดดยังไม่ร้อนจัด พอเดินเย็นหน่อยก็เออดีแล้วแดดเบาหน่อย พอเดินเวลาเดิมก็คิดว่า เออ ก็แดดมันแรง มันก็ต้องร้อนเป็นธรรมดา ไม่ใส่รองเท้ามันก็ต้องร้อนเท้าเป็นเรื่องธรรมดา และเราเดินกลางแดดนี่นา มันก็ต้องร้อนอย่างนี้แหละ

น่าแปลกที่เมื่อคิดอย่างนี้ เห็นความจริงอย่างนี้ ความทุรนทุรายที่อยากจะให้หายร้อน อยากจะให้ถึงไว ๆ อยากจะให้เลิกเดินกลับหายไป กลายเป็นมองเห็นความเป็นเช่นนั้นเองมากขึ้น ความสงบเกิดขึ้นในขณะที่เดินกลางแดดนั้น นี่ต่างหากที่สำคัญ

ดังนั้น เมื่อจิตไปจดจ่ออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มีสมาธิอยู่กับการคิดพิจารณาเห็นความเป็นจริงของธรรมชาติ การสนใจเรื่องอื่น ๆ ก็เลยเป็นรองไป จึงลืมสนใจความร้อนที่เท้าเปล่าเหยียบย่างนั้น ลืมความไกลของระยะทาง และลืมไปว่าเคยทุกข์กับสภาวะนี้มาก่อน ในวันนั้นจึงกลับถึงจุดหมายไวแทบไม่รู้ตัว พร้อมทั้งได้ปัญญา วิริยะ ขันติ และการปล่อยวางไปพร้อม ๆ กันเลย

ในหลายวันถัดมา เดินร้อน ๆ เช่นเดิม แต่คราวนี้เดินไปร้องเพลงไปแบบสบายอารมณ์ ความทุกข์ที่หลอกกินมาหลายวัน ก็หลอกไม่ได้อีก เพราะความคิดมันเปลี่ยนไป มองเห็นความเป็นจริงของธรรมชาติมากขึ้น ว่ามันเป็นอย่างนั้นของมันอยู่แล้ว

ดัง นั้น หลายคนที่รู้จัก จะเห็นว่าพี่สุดใจทำไมอดทนเก่งจัง ไม่ค่อยบ่น ไม่ค่อยพัก ไม่ว่าจะร้อน จะหนาว ทุกสถานการณ์ไม่ค่อยเห็นอารมณ์เสีย ความจริงไม่รู้หรอกว่าเบื้องหลังนั้น หนักหนาสาหัสแค่ไหน

ดังนั้น พี่สุดใจอาจจะเล่าเหมือนสอนเด็กเริ่มเรียน แต่อย่างที่บอก ระบบที่มาสอนนั้น สอนในคนที่มีพื้นฐานของธรรมะแตกต่างกัน จึงต้องสอนให้เข้าใจง่าย ๆ และยกตัวอย่างให้มองเห็นภาพเลยทีเดียว ถือเสียว่าค่อย ๆ ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อคนอื่นที่เพิ่งมาอ่าน และพื้นฐานน้อย ก็จะได้ค่อย ๆ คิดพิจารณาตามไป ก็จะได้พอทำความเข้าใจได้ด้วย

อยากให้ลองมองเห็นความเป็นเช่นนั้นเอง ของธรรมชาติให้ทะลุ เช่น ถ้าอากาศร้อน ก็ต้องหงุดหงิดเป็นธรรมดา ถ้าไม่ได้กินข้าวก็ต้องหิวเป็นธรรมดา ถ้าใครว่าก็ต้องโกรธเป็นธรรมดา ถ้าเพลงเพราะเราก็ชอบเป็นธรรมดา หรือนั่งรถแล้วรถติดอารมณ์เบื่อหน่ายก็ต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ แต่ไม่จำเป็นต้องไปทุกข์ หรือไปสุขกับมัน เพราะอารมณ์ที่จะขึ้นลงไปกับสถานการณ์รอบด้านนั้นมันเกิดขึ้นตามธรรมดาตาม กลไกของขันธ์ห้าอยู่แล้ว เมื่อเข้าใจถูกต้อง ความเคลื่อนไหว การกระเพื่อมของจิตจะเริ่มน้อยลง ความสงบจะมีมากขึ้น ความทุกข์จะเกิดได้ยากขึ้น เพราะเห็นความเป็นอย่างนั้นเองของธรรมชาติได้มากขึ้นนั่นเอง

ที่ กล่าวมาอย่างยาวนานนั้น ก็เพื่อให้มองเห็นในมุมมองกว้าง ๆ ของธรรมชาติ จะได้ไม่ไปทุกข์ไปกับสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา จะไปเที่ยวสักหน่อยฝนดันมาตกเสียได้ หงุดหงิดไม่พอใจ ก็เป็นทุกข์ที่สร้างขึ้นมาเอง ธรรมชาติเขาก็เป็นของเขาอย่างนั้น ไม่มีใครห้ามได้ แต่ถ้าไม่เข้าใจก็ทุกข์ได้เหมือนกัน
ผู้แสดงความคิดเห็น ชนิิดา เชิงสะอาด วันที่ตอบ 2011-04-14 06:18:48


ความคิดเห็นที่ 3 (1540164)

ดังนั้นสิ่งที่จะมุ่งเน้นให้มองเห็นก็คือ ความเป็นธรรมชาติของขันธ์ห้า

สมมุติว่า เราไม่พอใจคนที่ทำงานคนหนึ่ง และเห็นเขากำลังยืนซุบซิบอยู่กับคนอื่น
เมื่อ ตามองเห็นรูป จักษุวิญญาณรับภาพนั้นเข้าไป ส่งไปที่สัญญาคือความจำ ที่เคยบันทึกไว้ว่า คน ๆ นี้เราไม่พอใจ สังขาร หรือความคิดก็จะปรุงแต่งตามพื้นฐานของการบันทึกไว้ต่อทันทีว่า เขาพูดอะไร นินทาเราหรือไง เพราะฐานในการจดจำที่บันทึกไว้ในลักษณะของความไม่ชอบ ไม่ถูกกัน ความคิดที่ปรุงแต่งให้ก็จะปรุงมาในโซนของความทุกข์เสียเป็นส่วนใหญ่ ร้อนรน หวาดระแวงว่าเขาจะนินทาเรา ซึ่งการปรุงแต่งความคิดด้านลบขึ้นมานั้นก็เป็นเรื่องธรรมดา ตามเหตุตามปัจจัยนั่นเอง
ทีนี้ความคิดก็ส่งต่อไปที่เวทนา คืออารมณ์ ปกติก็กำลังทำงานเพลิน ๆ พอหันไปเห็น และความคิดปรุงแต่งในด้านไม่พอใจส่งเข้ามา อารมณ์ที่เคยสบาย ๆ กลายเป็นหงุดหงิด โมโห รุ่มร้อนขึ้นมาทันที ร้อนอกร้อนใจ อยากรู้ว่าเขาว่าเราหรือเปล่า ซึ่งความจริงคน ๆ นั้นอาจจะไม่ได้สนใจเรา ไม่ได้พูดถึงเราเลยด้วยซ้ำ แต่เพราะฐานการบันทึกของเรามีไว้ในแง่ของความหวาดระแวง ความไม่พอใจ ไม่ชอบ ไม่ถูกใจ การปรุงแต่งมันก็ขึ้นมาตามเหตุปัจจัยที่บันทึกไว้นั่นเอง ซึ่งนี่แหละคือความทุกข์ที่สร้างขึ้นมาเองจากความคิดที่เข้ามาล่อหลอก

ซึ่ง ความจริงแล้ว มันเป็นกลไกธรรมดาของขันธ์ห้า ที่คอยแต่จะปรุงแต่งไปตามเหตุปัจจัยที่ได้เคยถูกบันทึกไว้แล้วเท่านั้น ตัวความคิดเองมันไม่รู้หรอกว่า ที่คิดอย่างนี้จะทำให้ใครทุกข์หรือไม่ทุกข์ เพราะไอ้ตัวความคิดมันไม่ได้ทุกข์ไปด้วย มันมีหน้าที่แค่คิด มันจึงสักแต่ว่าคิดของมัน แต่คนที่จับความคิดนี่สิ กลับไปอุปาทานว่าเป็นตัวเราคิด แล้วไปรับเอาความคิดนั้นมาทุกข์เอง มันก็เป็นธรรมชาติ เหมือนกับลมที่พัดมาน่ะแหละ บางคนชอบว่าเย็นสบาย มีความสุข อีกคนก็ไม่ชอบเพราะกลัวผมปลิวเสียทรงแล้วจะไม่สวยก็มีความทุกข์ แล้วแต่ใครจะสร้างเหตุปัจจัยในมุมไหนเอาไว้ แต่บังเอิญว่ามันมารวมกลุ่มกันอยู่ในสิ่งที่คิดว่าเป็นตัวเรา ก็เลยมองไม่ออกว่ามันเป็นธรรมชาติยังไงซึ่งโดยความจริงแล้ว ความคิดมันก็เป็นธรรมชาติของมันอย่างนั้น แล้วแต่บันทึกเหตุปัจจัยอะไรเข้าไว้ มันก็ออกมาเป็นอย่างนั้นตรงไปตรงมา จนกว่าจะมีการบันทึกเหตุปัจจัยใหม่เข้าไป มันจึงจะปรุงใหม่ตามเหตุปัจจัยที่ทำการบันทึกใหม่แล้วนั่นเอง

เหมือน คนที่เลี้ยงแมว รักแมว พอเข้าบ้านเห็นหน้าแมวปุ๊บ ก็รักปั๊บเลย เป็นอัตโนมัติ เพราะมันจำไว้ว่าแมวตัวนี้รัก ไม่ต้องมานั่งคิดปรุงแต่งว่ารักแมวอีกในทุก ๆ ครั้งที่เจอ จากนั้นก็ส่งความคิดนั้นไปที่เวทนา ก็เกิดอารมณ์สุข เพราะเจอสิ่งที่พอใจนั่นเองทีนี้ลองใหม่ ถ้าเราลองเปลี่ยนเหตุปัจจัยเข้าไป เพื่อให้สัญญาคือความจำมันบันทึกในมุมมองใหม่ คือเห็นว่า อ๋อ คนนี้ที่เขาคิดร้ายเรา เขาไม่พอใจเรา ก็เพราะความไม่รู้ เขาไม่ได้ศึกษาธรรมะ ที่เขามีความอิจฉาริษยาคนอื่น ๆ ไปเรื่อยนั้น ตัวเขาก็มีแต่ความทุกข์ความร้อนรนอยู่แล้ว เราจะไปโกรธเขาทำไม น่าจะสงสารเขามากกว่า

นี่เป็นการเปลี่ยนความคิด ที่พุทธศาสนาก็สอนไว้ คือเมื่อคิดพยาบาท อย่าเลย คิดเมตตาดีกว่า หรือคิดริษยา อย่าเลยมีมุทิตาจิตดีกว่า ก็คือพลอยยินดีเมื่อเขาได้ดี นั่นคือการสอนให้เปลี่ยนความคิดนั่นเอง ไม่ได้ทำเพื่อใคร แต่ทำเพื่อที่จะไม่ให้ผู้คิดมีความทุกข์นั่นเองลืมไปเลยว่ากำลังพูดเรื่อง วิญญาณขันธ์อยู่ แต่ก็เพราะมันเกี่ยวเนื่อง ส่งต่อกันไปหลายส่วนจึงต้องโยงกันไปมาเพื่อให้เข้าใจกลไกทั้งหมดนั่นเอง

สรุป ว่า จริง ๆ แล้ว ตัววิญญาณขันธ์มันก็มีงานของมันแค่พนักงานไปรษณีย์ ก็คือมีหน้าที่รับแล้วนำไปส่งแค่นั้น คือมองไปเห็นดอกไม้ รับมา แล้วส่งต่อไปให้ความจำ หรือสัญญา สังขาร วิญญาณ ปรุงแต่งต่อไปจะเป็นในแง่ว่าจะชอบดอกไม้ดอกนี้ หรือไม่ชอบดอกไม้ดอกนี้นั้น จะถูกใจหรือไม่ถูกใจ จะสุขหรือทุกข์ ก็เป็นเรื่องของส่วนอื่น ๆ แล้วไม่เกี่ยวกับวิญญาณขันธ์

ดังนั้น ถ้าหลับตา ไม่เห็นอะไร จักษุวิญญาณขันธ์ก็หยุดงานตรงจุดนั้น แต่ถ้าตาไม่เห็น แต่ได้ยินเสียงแทน โสตวิญญาณก็ทำงานรับไปส่งให้ตัวสัญญาหรือความจำแทน หรือกายสัมผัสความเย็นก็รับไปส่งให้สัญญาแทน ก็จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ดังนั้นจะเห็นว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาที่แม้ตาเห็นรูปแล้ว ความทุกข์จะยังเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะตัววิญญาณไม่ได้เป็นตัวการทำให้เกิดทุกข์

ดังนั้น เห็นจึงสักแต่ว่าเห็น ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน ได้กลิ่นสักแต่ว่าได้กลิ่น สัมผัสสักแต่ว่าสัมผัสเท่านั้นก็ได้ ถ้าไม่มีขันธ์อื่นมาร่วมปรุงแต่งด้วยคู่แรกก็ผ่านไปแล้ว ก็คือ รูปขันธ์ที่เข้าคู่กับวิญญาณขันธ์ คู่นี้แม้ทำงานไปแล้ว ก็ยังไม่สามารถทำให้เราเกิดทุกข์ได้ เป็นแค่ช่องทางผ่านเท่านั้น
ก็ต่อมา คู่ที่ 2 ก็คือ สัญญา(ความจำ) จับคู่กับสังขาร(ความคิดที่ถูกปรุงแต่ง) คู่นี้ถือว่ามีผลเหมือนกันถ้ารู้ไม่เท่าทันกลไกของธรรมชาติ

เมื่อมี การรับภาพแล้วส่งต่อมาที่สัญญา ความจำที่ถูกบันทึกไว้ก็จะทำงานอัตโนมัติทันที จำได้ทุกเรื่องที่ถูกบันทึกไว้ เดินไปทำงานถูก เดินไปขึ้นรถยนต์ถูกคัน เข้าบ้านถูกบ้าน เห็นลูกเดินมาก็จำได้ ทุกอย่างถูกบันทึกไว้แล้วครั้งแรก ครั้งที่ 2 ก็ขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ จนกว่าสัญญานั้นจะมีการบันทึกเปลี่ยนแปลง และทำซ้ำ ๆ จนเข้าใจว่า เป็นการบันทึกใหม่

อย่างเช่นเป็นคนชอบกินทุเรียนมาก พอเห็นทีไรก็ชอบทุกที ซื้อทุกที มีความสุขทุกครั้งที่กิน มีอยู่วันหนึ่งเกิดบังเอิญกินทุเรียนแล้วไปเที่ยวกับแฟน เขาบอกว่าเหม็นจังทุเรียน แล้วพาลเลิกคบไปเลย ก็มีความฝังใจว่าไม่ชอบแล้วทุเรียน

เมื่อไปเจอทุเรียน ครั้งแรกความจำที่เคยชอบก็จะพุ่งขึ้นมาก่อนว่าชอบ แต่พอความจำอีกอันซ้อนเข้ามาและมีน้ำหนักกว่า ก็จะมีผลทำให้เปลี่ยนใจ ไม่อยากกินแล้ว และถ้าทำซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง สัญญาก็จะบันทึกใหม่ ถ้าเห็นอีกความอยากกินทุเรียนก็จะไม่ขึ้นอีกแล้วนี่คือการเปลี่ยนสัญญาใหม่ และขันธ์ก็บันทึกใหม่ จึงไม่แสดงผลการอยากกินออกมาอีก

ดังนั้น จะเห็นว่ามันมีกลไกการทำงานของมันเองแบบอัตโนมัติ คนเราที่จะทุกข์ก็เพราะชอบคิดว่า เราไม่อยากคิดอกุศล เราไม่อยากคิดร้าย เราไม่อยากคิดโกรธคนนี้เลย แต่เจอทีไรความโกรธก็ออกหน้าไปก่อนทุกที ต้องพยายามบังคับใจ ใช้สมาธิข่มให้หายโกรธ ให้หายคิดร้ายเขา ซึ่งก็เป็นความทุกข์อีกรูปแบบหนึ่งของคนที่อยากจะคิดดี พูดดี ทำดี
จึงต้องมาเรียนรู้กลไกการทำงานของขันธ์ห้าให้แจ่มแจ้งก่อน จะได้ไม่หลงทุกข์ไปกับมัน
ใน ช่วงที่ฝึก พี่สุดใจเป็นคนที่ถูกฝึกเดี่ยวมากที่สุด เพราะเป็นคนใจร้อน อารมณ์ร้าย และถ้าโกรธใครนี่ไม่ต้องมาให้เห็นเลย โกรธกันเป็นปี ๆ ทุกสิ่งที่ใครไม่มี พี่สุดใจมีมาหมดแล้ว เจอมาหมดแล้ว และทุกข์สุด ๆ มาเรียบร้อยแล้ว

ดังนั้นการเรียนเรื่องนี้ก็สุดยอดอีกเหมือนกัน แต่ก็ใช้อุปกรณ์ช่วยสร้างสถานการณ์เสมือนจริง

ผู้แสดงความคิดเห็น ชนิิดา เชิงสะอาด วันที่ตอบ 2011-04-14 06:23:34


ความคิดเห็นที่ 4 (1540165)
อุปกรณ์ ประกอบการฝึกก็ไม่ต้องไปหาไกล เอาแถวใกล้ ๆ น่ะแหละ ปกติมีหลานอยู่ที่บ้านสันคู เราก็รักหลานตามปกติเหมือนเช่นทุกวัน แต่จู่ ๆ พอเริ่มเรียนเรื่องนี้ ก็ถูกใส่ภาวะไม่ชอบ ไม่ถูกใจ เข้ามาในความคิดของเรา ความจำที่เคยรักถูกเปลี่ยนใหม่ให้ไม่ชอบ ดังนั้น พอเห็นหน้าหลานปุ๊บ เกลียดปั๊บเลย ไม่อยากเห็นหน้า ไม่อยากคุย คอยแต่จะดุท่าเดียว ตอนแรก ๆ ก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไร แต่ก็พยายามข่มใจไม่ให้ไปดุว่า ไม่ให้ไปเกลียด ก็ต้องยื้อกับความคิด ความจำที่มีแต่รุมเร้าให้เกลียดอย่างเดียว

แต่ พอมีการอธิบายจากระบบ ว่าความจำที่เคยบันทึกไว้อย่างไร การกระทบกันครั้งแรก ความรู้สึกอย่างนั้นก็ต้องโชว์ออกมาเป็นธรรมดา เมื่อความจำมันบันทึกไว้ว่าไม่ชอบหลานคนนี้ เมื่อเจอทุกที ก็จะโชว์อาการไม่ชอบออกมาเลย

แต่เมื่อมันโชว์ออกมาว่าไม่ชอบ เกลียด หรืออะไรก็แล้วแต่ ก็ดูมันให้เห็น ไม่ต้องไปดับมัน เพราะยิ่งดับยิ่งเหนื่อย มันไม่หยุดคิดได้ดังใจเราหรอก เหมือนเรากังวลเรื่องอะไรสักอย่าง อยากจะหยุดคิด แต่มันไม่หยุดคิดอย่างที่เราต้องการ เพราะเราบังคับบัญชาความคิดไม่ได้นั่นเอง

( ปล. ระบบเอาความจำที่ไม่ชอบออกไปแล้ว หลังผ่านการฝึกบทนี้ )

พี่ สุดใจ ในระยะแรก ๆ ก็เหมือนคนอื่น ๆ น่ะแหละ ไม่อยากเกลียด ไม่อยากโกรธ ไม่อยากริษยาใคร แต่พอเห็นหน้าปุ๊บโกรธปั๊บ เกลียดปั๊บ หรืออิจฉาทันทีเลย ทั้ง ๆ ที่เขายังไม่ได้มาทำอะไรเราเลย


ตอนนั้นก็ทุกข์มาก และพยายามที่จะสะกดอารมณ์โกรธเหล่านั้นทุกวิถีทาง แม้กระทั่งถ้าคิดโกรธใคร จะรีบเดินไปไหว้เขาเลย เพื่อยืนยันเจตนาว่าเราไม่ได้คิดร้ายกับเขา มันคิดของมันเอง ไม่เกี่ยวกับเรา

แต่พอเริ่มเรียนรู้กลไกของขันธ์ห้า มากเข้า ก็เลยสบายมากขึ้น เห็นหน้าปุ๊บก็โกรธปั๊บตามสไตล์ความจำเดิมแบบออโต้เลย แต่เรามองเห็นความคิดและความโกรธนั้นเสียแล้ว ก็เลยยืนดูเฉย ๆ มันก็โกรธก็คิดอาฆาตอยู่ในหัวไปเรื่อย ก็เรื่องของมัน มันเป็นกลไกของมันเอง ไม่มีใครเป็นคนทำ ไม่มีใครเจตนา มันเป็นเหตุปัจจัยที่ถูกบันทึกเข้าไปแค่นั้น

สิ่งที่น่าแปลกก็คือ พอยิ่งเข้าใจ กลับไม่ต้องทำอะไรเลย มีสติรู้ตัวดูให้เห็นความคิด หรือความทุกข์นั้นให้ได้ ไม่ต้องไปข่ม ไม่ต้องไปดับ ไม่ต้องไปบังคับให้หาย แค่ดูมันเฉย ๆ หรือสอนมันบ้างก็ได้ เป็นการตอกย้ำว่า ไม่เกี่ยวข้องกัน ถ้ามันอยากทุกข์ มันอยากร้อนรน ก็เรื่องของมัน มันทำตัวมันเอง
ธาตุรู้ หรือจิตที่มีสติปัญญารู้เท่าทันธรรมชาติจึงต้องถอยออกมาเป็นแค่ผู้ดูเท่า นั้น จึงจะมองเห็นขันธ์ห้า ที่เล่นบทบาทไปตามสไตล์เดิม ๆ ของมัน ยิ่งมองเห็นความคิด มองเห็นความรู้สึกของขันธ์ห้าในขณะนั้น ก็จะยิ่งขำที่เห็นมันฟาดหัวฟาดหาง จะหาทางดึงเราเข้าไปทุกข์


ดัง นั้น สิ่งที่พี่สุดใจพบเจอ ผ่านมาแล้วนั้น ต้องใช้เวลาอย่างมากในการที่จะค่อย ๆ มอง ค่อย ๆ ทำความเข้าใจ ซึ่งมิใช่ทำวันเดียวแล้วจะได้เรียกว่าต้องใช้ความเพียรอย่างยิ่งยวดทีเดียว ถ้าใครจะลองทำดูบ้างก็ได้ ทันบ้าง ไม่ทันบ้างอย่าไปท้อ แต่ถ้าทำได้ เห็นความคิดได้ จัดการกับมันได้ จะเห็นความเบาสบายแน่นอน


ดัง นั้นใครที่ชอบมีความคิดอกุศลเข้ามาหลอกล่อ ความโกรธ ความวิตกกังวล หรือเรื่องอื่น ๆที่เป็นข่ายทุกข์นั้นเข้ามาอยู่เรื่อย อย่าได้ตกใจ ให้รีบเรียนเลย และต้องรู้ว่า พอกระทบสิ่งนั้นครั้งแรก มันก็จะคิดร้ายแบบเดิมก่อนน่ะแหละถูกแล้ว เพราะมันจำไว้อย่างนั้น แต่พอเราต้องมีสติรู้เท่าทันว่า นั่นแน่คิดร้ายเขาอีกแล้ว ก็ดูมันไป เพราะมันอยากจะคิดก็ให้มันคิดไป อย่าไปโกรธตัวเองว่าทำไมเรายังคิดร้ายเขาอยู่

ก็ในเมื่อสิ่งนี้เรา บังคับบัญชามันไม่ได้ อยากให้มันหยุดคิดแล้วมันไม่หยุดคิด จะไปรับผิดชอบว่าเป็นตัวเราผู้คิดได้อย่างไร ถ้าเป็นตัวเราจริง ความคิดเราจริง เราก็ต้องหยุดคิดได้สิ แต่ในเมื่อมันไม่ได้เป็นตัวใครของใคร มันก็ทำงานไปตามกลไกของมัน กลไกของธรรมชาติ แล้วเราจะไปรับเอามาทุกข์นั้นสมควรหรือ

ดังนั้น เมื่อเราเห็นความคิดนั้นแล้ว เห็นความโกรธนั้นแล้ว เราจะไม่กลัวมัน มันอยากคิดร้ายก็สักแต่ว่าคิดไป ส่วนเรื่องที่จะเดินไปทะเลาะกับเขาตามความคิดที่กำลังล่อหลอกอยู่นั้น เราก็เลือกได้ เพราะมีสติสัมปชัญญะตัดสินใจเองได้ ว่าควรหรือไม่ที่จะไปทะเลาะกับเขา หรือจะกลับเข้าบ้านนอนดี นี่เป็นสิ่งที่เราเลือกได้ถ้าเรารู้เท่าทันความคิดนั้น

พี่สุดใจ เหนื่อยกับความคิด สู้กับความคิด ทุกข์กับความคิดมาหลายรูปแบบแล้ว เมื่อมารู้กลไกของขันธ์ห้าตามความเป็นจริงเช่นนี้ ก็เลยปล่อยวางความคิดนั้นลง ดูมันเฉย ๆ และฝึกสติมากขึ้นเพื่อกระโดดจับมันให้ทันตอนมันขึ้นมา แล้วค่อยว่ากันว่ามันคิดอะไรบ้าง แล้วก็ตัดสินใจไปตามสมควร ปัจจุบัน ก็เลยค่อนข้างจะสงบ และเบาสบาย ในท่ามกลางความวุ่นวายของสังคมรอบข้าง เพราะไม่ไปบังคับบัญชาความคิด ต้องอย่างนั้น ต้องอย่างนี้ ไม่ไปห้ามมัน อยากคิดอะไรก็เชิญ เมื่อเราไม่สนใจมันก็กลายเป็นความฟุ้งซ่าน อยู่ไม่นานมันก็ดับไป ก็เป็นเรื่องปกติที่มันต้อง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นธรรมดา

ใครที่มีความทุกข์คล้ายกันนี้ จะนำอุบายนี้ไปใช้บ้างก็ได้นะคะ อาจได้พบกับความว่าง ด้วยการปล่อยวางขันธ์ห้าก็เป็นได้

ก็ ผ่านไปอีก 1 คู่ สำหรับ สัญญาความจำกับสังขารความคิดที่คอยแต่จะปรุงแต่งยุยงส่งเสริมให้เกิดทุกข์ แต่ถ้าพิจารณาและรู้เท่าทัน ตัดตรงความคิดนั้นเลย ก็จะไม่ทำให้เราทุกข์ได้
ซึ่ง โดยความจริงแล้ว ความทุกข์ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ นักเพราะมันมีหลายขั้นตอนที่สามารถสกัดมันได้แต่ละจุด แต่เพราะคนในปัจจุบันนี้ พอคิดด้านทุกข์ขึ้นมาแล้ว ก็ทุกข์เลย จึงดูเหมือนว่าความทุกข์เกิดได้ง่ายเหลือเกิน

ดังนั้น จึงเหลือคู่สุดท้าย คือเวทนาความรู้สึกสุขทุกข์ กับธาตุรู้หรือจิตที่มิสติปัญญาที่ต่อเชื่อมเข้าด้วยกันนั้น จะเกิดความทุกข์ได้จริงหรือ?
ผู้แสดงความคิดเห็น ชนิิดา เชิงสะอาด วันที่ตอบ 2011-04-14 06:26:47


ความคิดเห็นที่ 5 (1540166)
ซึ่ง โดยความจริงแล้วความทุกข์ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆนักเพราะมันมีหลายขั้นตอนที่สามารถสกัดมันได้แต่ละจุด แต่เพราะคนในปัจจุบันนี้พอคิดด้านทุกข์ขึ้นมาแล้ว ก็ทุกข์เลยจึงดูเหมือนว่าความทุกข์เกิดได้ง่ายเหลือเกิน

ดังนั้น จึงเหลือคู่สุดท้ายคือเวทนาความรู้สึกสุขทุกข์กับธาตุรู้หรือจิตที่มิสติ ปัญญาที่ต่อเชื่อมเข้าด้วยกันนั้นจะเกิดความทุกข์ได้จริงหรือ?


ดัง นั้น การที่จะกล่าวถึง ขันธ์ห้าคู่สุดท้ายนี้ อยากจะให้ท่านใช้การไตร่ตรองตามอย่างตั้งใจสักนิด เพราะหากเข้าใจจริง ๆ และทำได้จริง นั่นก็หมายความว่า ความทุกข์จะไม่สามารถอยู่เหนือคุณได้เลย ต่อให้กำลังทุรนทุรายด้วยความทุกข์ แต่คุณจะไม่ได้เป็นทุกข์ ซึ่งฟังแล้วอาจจะค่อนข้างงง สับสน ก็กำลังทุกข์แล้วจะไม่ทุกข์ได้อย่างไร?

ดัง นั้น คู่สุดท้ายนี้ ก็คือ เวทนา ความรู้สึกที่เราจะคิดเสมอว่าเราสุข เราทุกข์ เรากำลังเสียใจ เรากำลังเศร้าหมอง กำลังท้อใจ เรากำลังหดหู่ซึมเซา เพราะมันเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่ครอบคลุมเราอยู่ ทำให้เราอยู่ในอาการที่เรียกว่าเศร้าหมอง วิตกกังวล ร้อนรน กระวนกระวาย ซึ่งอาการเหล่านี้เราจะเรียกมันว่าความทุกข์ เพราะเมื่ออารมณ์โศกเศร้า หดหู่เศร้าหมองเข้ามาเมื่อไร ความสดชื่นแจ่มใสที่เราเข้าใจว่าเป็นความสุขก็จะหายไปทันที


แล้ว ทำไมธรรมะจึงบอกว่า สุข กับ ทุกข์ มันเท่ากันล่ะ? ทำไมบอกว่ามันเป็นธรรมชาติของมันอย่างนั้นเอง มันจะเท่ากันได้อย่างไร? เพราะมองยังไงก็ไม่มีทางเท่ากันได้ ซึ่งหลายคนก็คิดอย่างนี้รวมทั้งพี่สุดใจด้วยในตอนนั้น ถ้าจะให้เลือกก็ขอเลือกเอาสุขก่อนก็แล้วกัน


หลังจากถูกระบบอัด ทุกข์ให้จนสะบักสะบอม ก็เริ่มหาทางที่จะออกจากความทุกข์ที่มี(ระบบ)หยิบยื่นมาให้ ดังนั้น ถ้าเขาสอนอะไร พิจารณาไตร่ตรองแล้วเห็นว่าน่าจะออกจากทุกข์ได้จริง และเมื่อปฏิบัติแล้วความทุกข์เคยที่มีมากก็เหลือน้อยลง น้อยลง ก็เพราะเริ่มมีปัญญามากขึ้น จึงมีกำลังใจที่จะปล่อยวางตามแนวทางนั้น สิ่งเหล่านี้พี่สุดใจไม่เชื่อใคร จนกว่าจะพิสูจน์ด้วยตนเอง โดยเทียบเคียงจากความทุกข์ที่เคยมีมากกลับลดน้อยลง เพราะความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้าน้อยลง ตัวตนของตนน้อยลง ความทุกข์เพราะอุปาทานขันธ์ห้าก็เลยลดลงตามไปด้วย นี่เองเป็นสิ่งที่เมื่อปฏิบ้ติแล้ว ผลที่ได้จากการปล่อยวาง ความว่างก็เกิดขึ้นนั่นเอง

การที่จะเห็นว่าสุขกับทุกข์เท่ากันได้นั้น ต้องรู้กลไกในขันธ์ห้าให้แจ่มแจ้งเสียก่อน จึงจะพอทำความเข้าใจได้

ดัง นั้นคู่สุดท้ายก็คือเวทนาจับคู่กับจิตที่มีสติปัญญา ซึ่งในขันธ์ห้าก็อยู่ในกลุ่มของวิญญาณ ที่เรียกว่ามโนวิญญาณ หรือในส่วนที่เรียกว่าจิตหรือใจนั่นเอง

ดังนั้นเวทนา เป็นตัวการที่คอยสร้างความรู้สึกขึ้นมา แต่กลไกของมันจะเนื่องกับความคิด มันไม่ได้สร้างขึ้นมาลอย ๆ ส่วนใหญ่มันจะอิงกับความคิดเป็นหลัก

แล้วความคิดมันมีอิทธิพลอย่างไร ทำไม ? ตัวเวทนาหรือความรู้สึก จึงต้องไปเนื่องกับมัน

เรา จึงต้องมารู้จักกลไกตามธรรมชาติของขันธ์ห้าในมุมมองของวิทยาศาสตร์ที่มีสาร เคมีเป็นตัวคอนโทรลอารมณ์อยู่นั้นควบคู่กันไปด้วย จึงจะพอนำไปเทียบเคียงเห็นความเป็นเช่นนั้นเอง ของธรรมชาติได้

พี่ สุดใจได้เคยอธิบายกลไกของขันธ์ห้า ในมุมมองของธรรมะและวิทยาศาสตร์นี้ไว้แล้วครั้งหนึ่ง ในกระทู้นี้หน้าที่ 6 ซึ่งจะขอนำมาให้อ่านเพื่อทำความรู้จักกับกลไกของขันธ์ห้า คู่สุดท้ายนี้ เพราะมันมีเหตุปัจจัยหลายอย่างที่มาเกี่ยวเนื่องกับขันธ์ห้า ทำให้เกิดภาวะอารมณ์ที่หลากหลายนั้น มาทำความรู้จักในส่วนที่เป็นมุมมองทางสารเคมีกันก่อน
ผู้แสดงความคิดเห็น ชนิิดา เชิงสะอาด วันที่ตอบ 2011-04-14 06:28:55


ความคิดเห็นที่ 6 (1540167)
ความเป็นเช่นนั้นเอง
ในมุมมองของ
ธรรมะ วิทยาศาสตร์ และมนุษย์ต่างดาว

- แม้ปัจจุบัน มนุษย์โลกจะมีความเจริญทั้งสองด้าน แต่ส่วนใหญ่ จะต่างคนต่างมุมมองคิดในส่วนที่ตนเองรู้ และพยายามทำความเข้าใจให้ถูกต้องตรงตามนั้นซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร

- คนปฏิบัติธรรมะก็ปล่อยวางด้วยวิธีการศึกษาด้านธรรมะ พิจารณาการเกิดดับของอารมณ์ ความรู้สึกว่าเป็นเช่นนั้นเอง ไม่น่ายึดมั่นถือมั่นอะไร


- ทางธรรมะ มีการปฏิบัติธรรมเพื่อควบคุมความคิด อารมณ์ให้เป็นไปในแนวทางที่เป็นกุศล เพื่ออะไร? เพื่อเราจะได้ไม่มีความทุกข์ ซึ่งการคิดดีพูดดี ทำดี ก็จะทำให้ผู้นั้นมีความสุข เพราะมีความสงบเย็น อิ่มเอิบในจิตใจแต่ถ้าพยาบาท มุ่งร้าย ผู้นั้นจะมีแต่ความทุกข์ ร้อนรน และหาวิธีแก้แค้นต่าง ๆซึ่งมันอยู่ในข่ายของ ความทุกข์

- แต่มนุษย์ต่างดาวบอกว่า มันต้องเป็น ...... อย่างนั้นเอง.......อยู่แล้ว มันเป็นไปตามกลไกของธรรมชาติ


- เพราะกลไกของร่างกายมนุษย์ มันจะอิงกันกับความคิด ความรู้สึกของมนุษย์ผู้นั้น เมื่อมีความคิดดี มีความปราถนาดี มีความเมตตาสงสารเกิดขึ้นความคิดนี้ก็ไปกระตุ้นสารเอ็นโดฟีนในสมองให้มัน หลั่งออกมาเมื่อร่างกายได้รับสารเอ็นโดรฟีน ก็จะทำให้ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองด้านบวกสดชื่นแจ่มใส อิ่มเอิบ อารมณ์ดี ที่เราเรียกว่ามีความสุข นั่นถูกต้อง แต่หากความคิดที่ออกมาเป็นไปในทางความโกรธ พยาบาท หรือวิตกกังวลความคิดนั้นก็จะไปกระตุ้นสารเคมีประเภทที่เป็นด้านลบในสมอง ให้หลั่งออกมาเมื่อสารเคมีชนิดนี้หลั่งออกมาแล้ว ก็จะมีปฏิกิริยาด้านลบส่งไปถึงอารมณ์ให้มีความทุรนทุราย ร้อนรน หรือวิตกกังวลตลอดเวลาซึ่งอารมณ์จะรุนแรงมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับปริมาณ สารเคมีที่หลั่งออกมาถ้าหลั่งมากเกินไป ก็จะอาละวาด ทำร้ายผู้อื่นได้ หรือเศร้าโศกเสียใจจนคิดฆ่าตัวตายได้ ดังนั้นเมื่อมีการคิดแต่พยาบาทครั้งแล้วครั้งเล่า สารเคมีตัวนี้หลั่งออกมามากเกินไปก็จะคลุ้มคลั่ง ต้องส่งโรงพยาบาลประสาท ซึ่งแพทย์ก็จะทำการรักษา ด้วยการฉีดสารเคมีที่จะไประงับการหลั่งของสารเคมีชนิดนั้น ให้อยู่ในภาวะสมดุลย์ อาการจึงจะสงบลงได้
- ดังนั้นสารเคมีจึงเป็นตัวแสดงผลพฤติกรรมของมนุษย์ในแง่ต่าง ๆ นี่คือ “ผล” ที่เกิดขึ้นจาก "เหตุ"นั้น ๆ

- ดังนั้น เราจึงต้องย้อนกลับมาที่ “เหตุ” ก่อน

- โดยก่อนที่จะหลั่งสารเคมีใด ๆ ออกมาก็จะมีตัว “ความคิด” เป็นตัวชี้นำ อย่างที่บอกแต่ต้น เมื่อมีความคิดดีสารเคมีประเภทที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายก็หลั่งออกมา เราสดชื่น เราสบายกาย สบายใจที่เราเรียกกันว่า “ความสุข”

เมื่อคิด ร้าย วิตกกังวล สารเคมีที่หลั่งออกมาก็ทำให้เราโศกเศร้าเสียใจ คับแค้นใจ เป็นความไม่สบายกาย ไม่สบายใจที่เราเรียกกันว่า “ความทุกข์” เราจึงต้องมา สกัดกันที่ต้นเหตุ ก่อนที่จะส่งไปที่ “ผล”

- คนที่ปฏิบัติธรรมะ ย่อมจะรู้ว่า ทำไมพุทธศาสนา จึงสอนให้เรามีเมตตา กรุณาต่อผู้อื่นให้มีความรัก ความหวังดี ให้ความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ที่ด้อยกว่าให้อภัยกับความคิดร้ายของผู้อื่น

- นี่เป็นกุศโลบาย ในทางพุทธศาสนา คือการให้เปลี่ยนความคิด เมื่อคิดพยาบาท อย่าเลยให้คิดเมตตาเขาดีกว่า เมื่อใดที่คิดริษยา อย่าเลย มีมุทิตาจิตหรือพลอยยินดีกับเขาดีกว่า นี่เป็นอุบาย ให้เปลี่ยนความคิดจากด้านลบ เป็นด้านบวกเมื่อใดที่คิดในด้านบวก สารเอ็นโดรฟีนก็จะหลั่งออกมาตามกลไกของความคิดนั้นซึ่งเป็นธรรมดาตามกลไกของ ร่างกายสารเคมีนั้นก็จะไปทำปฏิกิริยาให้เกิดอารมณ์ด้านดีขึ้น ผู้ที่คิดก็จะมีแต่ความสุขความอิ่มเอิบในจิต ความสงบเย็นในอารมณ์ และเมื่อกระทำเช่นนี้บ่อยครั้งเข้าจิตก็จะบันทึกเป็นอัตโนมัติ คือเมื่อมีอะไรมากระทบไม่ว่าด้านใดแนวความคิดก็จะไปในทางเห็นอกเห็นใจ ให้อภัย สงสาร และจัดการไปในสิ่งที่สมควรโดยมิได้มีความโกรธเคืองเป็นตัวชี้นำ บุคคลคนนี้ก็จะกลายเป็นผู้มีอารมณ์ดีมีเมตตาอยู่เป็นนิจ
ดังเราจะเห็น ได้ในผู้ที่ปฏิบัติจิตในขั้นสูงจะมีอารมณ์เยือกเย็น สงบ มีเมตตา และพร้อมที่จะเป็นผู้ให้บุคคลนั้นก็เป็นผู้ที่มีแต่ความสุข เพราะสารเคมีก็จะหลั่งออกมาในด้านบวกอย่างเดียว

- ส่วนคนที่มีแต่ความฉุนเฉียว โกรธง่ายวิตกกังวล หดหู่เศร้าหมอง ไม่มีความเมตตา คิดแต่จะเอารัดเอาเปรียบบุคคลอื่นตลอดเวลาความคิดเหล่านี้ก็ไปกระตุ้นสาร เคมีด้านลบให้มันหลั่งออกมาซ้ำแล้ว ซ้ำเล่าเขาก็จะมีแต่ความทุกข์ ทุกข์ และทุกข์ ตลอดเวลาซึ่งมีอยู่จำนวนมากในโลกมนุษย์ยุคนี้


- ดังคำว่า สวรรค์ในอก นรกในใจ ที่ธรรมะกล่าวไว้มันก็เกิดขึ้นในปัจจุบันนั่นเอง เมื่อคุณคิดดี สารเคมีด้านบวกก็หลั่ง คุณก็มีความสุข จิตใจสบาย ความสุขใจก็เกิดได้ในปัจจุบัน เมื่อคุณคิดร้าย คิดอิจฉาริษยา พยาบาท สารเคมีที่เป็นด้านลบก็หลั่งออกมา ทำให้อารมณ์ร้อนรน ทุรนทุราย กระวนกระวาย ทุกข์ใจก็เกิดได้ในปัจจุบันเช่นกัน

ดังนั้นหลักของพุทธศาสนาเป็นเช่นนี้ สอนให้เราทำ “เหตุ” ที่ดี เพื่อ “ผล” ที่ออกมาก็ย่อมดีตามไปด้วย เพราะมันเป็นกฏตายตัวของธรรมชาติ

- มนุษย์ต่างดาวได้มาบอกให้เราได้รู้กลไกของร่างกาย ในหลักของกลไกตามธรรมชาติมันต้อง เป็น “เช่นนั้นเอง” อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ความสุข ความทุกข์มันไม่ใช่เรื่องใหญ่ มันก็เป็นเรื่องที่เราเลือกได้เพียงแต่เราจะมีความจริงใจที่จะเลือกมันหรือ ไม่ เท่านั้น

จึงเป็นเพียงการมาบอกขั้นพื้นฐานของผู้ปฏิบัติ เพื่อเข้าสู่ความเป็นอย่างนั้นเอง ของธรรมชาติ และเป็นแนวทางที่จะเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงของธรรมชาติที่พิสูจน์ได้ทาง วิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน

- หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า "กินข้าวในถาดธรรมดา กับกินข้าวในถาดทองคำถ้ามีความพอใจเท่ากัน ก็มีความสุขเท่ากัน"

- ซึ่งในสมัยก่อน เราก็ยังเถียงอยู่ในใจว่าจะสุขเท่ากันได้อย่างไร คนรวยล้นฟ้า กับคนที่ทำมาหากินไปวัน ๆมันน่าที่จะมีความสุขต่างกัน

- แต่เมื่อมนุษย์ต่างดาวนำเรื่องนี้มาเทียบเคียงให้เราฟัง โดยบอกว่าคนที่มีเงินมากมายไปกินอาหารภัตตาคารหรูหรา มื้อละ 20,000 บาท เมื่อมีความพอใจในอาหารมื้อนั้น ความพอใจไปทำให้สารเคมีประเภทเอ็นโดรฟีนหลั่งออกมา 2 CC เขาก็มีความสุขเท่านั้น
- คนชาวบ้านธรรมดา ลูกซื้อไก่ย่าง 5 ดาวมาฝาก ตัวละ 80 บาท กินกันทั้งครอบครัวอย่างอร่อย เพราะไม่ค่อยได้เคยกิน มีความพอใจในอาหารมื้อนั้นมาก ทำให้สารเคมีประเภทเอ็นโดรฟีนหลั่งออกมา 2 CC เท่ากัน เขาก็มีความสุขเท่ากับเศรษฐีคนนั้น เพราะความสุข ทุกข์ มันขึ้นอยู่กับสารเคมีในร่างกายที่หลั่งออกมา ทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกตามสารเคมีนั้น ๆ ดังนั้น ถ้าสารเคมีประเภทเอ็นโดรฟีนหลั่งออกมาคนละ 2 CC เท่ากัน ทั้งสองคนก็มีความสุขเท่ากัน เพราะความสุขมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงิน ความหรูหรา แต่มันขึ้นอยู่กับความพอใจ ที่เป็นกลไกของการหลั่งสารเคมีนั่นเอง

เราจึงเริ่มเข้าใจกลไกของ ขันธ์ห้า กลไกของสารเคมี และมีมุมมองที่กว้างขึ้นและไม่สงสัยว่าถ้าคนมีเงินกินอาหารอย่างหรูใน ภัตตาคารมื้อละสองหมื่นแต่ถ้าสารเคมีแห่งความพอใจหลั่งแค่ 1 CC เขาจะมีความสุขน้อยกว่าชาวบ้านธรรมดาที่ได้กินไก่ย่างห้าดาวกับข้าว แล้วพอใจกับอาหารมื้อนั้นอย่างมากสารเคมีพุ่งถึง 2 CC เขาก็ย่อมมีความสุขกว่าอีกคนแน่นอน

จึงเห็นได้ว่า มันมีกลไกของธรรมชาติที่มีเหตุและผลตรงไปตรงมา ถ้าไม่มีกลไกอย่างนี้ ถ้าทุกอย่างอิงอยู่กับทรัพย์สินเงินทอง คนรวยก็ต้องสุขอย่างเดียวสิ คนจนก็ต้องทุกข์ตายเลยสิ แต่เพราะมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เราจึงจะพอมองเห็นว่า ความรวย ความจน ไม่ได้เป็นตัวชี้นำให้เกิดความสุขความทุกข์ เราจึงเห็นคนรวยมากมายก็ยังมีความทุกข์อยู่ คนที่พอมีพอกินหรือคนจนที่รู้จักพอ เขาก็มีความสุขได้ซึ่งบางคนอาจจะสุขมากกว่าคนรวยบางคนด้วยซ้ำไปคนรวยที่มี ความทุกข์มีมากมาย
ผู้แสดงความคิดเห็น ชนิิดา เชิงสะอาด วันที่ตอบ 2011-04-14 06:31:37


ความคิดเห็นที่ 7 (1540168)
คน จนที่มีความสุข มีเยอะแยะ ดังนั้น ความสุข ความสงบเย็นของจิต จึงเป็นสิ่งที่หาซื้อไม่ได้ ไม่ว่าจะมีเงินมากมายแค่ไหน สิ่งนี้ต้องทำเอาเอง

นี่คือความเท่าเทียมกันตามธรรมชาติ และยุติธรรมที่สุด ก็คือการไขว่คว้าหาความสุข ความสงบทางจิต และหาทางหลุดพ้นจากความทุกข์ ที่ไม่ว่ารวยหรือจนต้องหาด้วยตนเองกันทั้งนั้น

ซึ่งจะเห็นได้จากพระอริยเจ้าทั้งหลาย หรือผู้ปฏิบัติจิตเพื่อการหลุดพ้น หรือผู้ปฏิบัติธรรมส่วนมาก ย่อมไม่ได้เห็นว่าทรัพย์สินเงินทองเป็นสิ่งสำคัญ ท่านไม่มีทำไมท่านไม่ทุกข์ ทำไมท่านจึงกลับมีแต่ความสุข ความสงบ
ดังนั้น จึงต้องมองให้เห็น มองให้ทะลุในกลไกของธรรมชาติ ว่าความสุขความทุกข์มันเกิดที่ไหน มันเกิดได้อย่างไร และควรใช้วิธีการใดในการจัดการกับความรู้สึก สุข ทุกข์ ที่เกิดขึ้นนี้

พอเรารู้กลไกเช่นนี้ เราก็ต้องหลอกล่อด้วยกุศโลบายต่าง ๆ เพื่อให้จิตมีแต่คิดดี มีความเมตตา กรุณาต่อผู้อื่นเป็นนิจ เพื่อคอนโทรลให้มีแต่สารเคมีด้านบวกด้านเดียวเท่านั้นที่หลั่งออกมา เราก็จะมีแต่ความสุขได้ และอาจมีมากกว่ามนุษย์ทางโลกที่มากด้วยทรัพย์สินเสียอีก

แต่ถ้าตัว เรา ของเราโผล่ออกมารับว่าเป็นอารมณ์ของเรา ทุกข์ของเราอีกเมื่อไร อย่าตกใจ ก็แค่ย้อนกลับไปทบทวนใหม่อีกครั้ง แล้วค่อย ๆ แยกออกจากขันธ์ห้ากันใหม่

ที่ กล่าวมาทั้งหมดนี้ ส่วนมากจะอยู่ในข่ายของอุปาทานว่าเป็นความทุกข์เสียส่วนใหญ่ เพราะตอนที่ฝึก สิ่งที่ส่งเข้ามามีแต่การกดจิตให้ทุกข์ สิ่งที่เรียกว่าสุขแทบจะมองไม่เห็น จนกว่าจะรู้ว่า ความทุกข์ที่เคยกลัวนั้น มันไม่ได้มีจริง ไม่ได้มีตัวตนของความทุกข์จริง ๆ มีแต่อุปาทานว่ามีตัวเราเป็นผู้ทุกข์เท่านั้น กว่าจะจับได้ไล่ทันก็แทบแย่เหมือนกันค่ะ

แม้ว่าพี่สุดใจ หรือกลุ่มที่ถูกฝึกจะถูกทดสอบ และถูกให้เรียนเพื่อแยกขันธ์ห้าอย่างหนักก็ตาม แต่ทั้งหมดนั้น ก็เพื่อทำเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า ถ้าปฏิบัติจริง การแยกขันธ์ห้าออกจากจิตที่มีปัญญานั้น ก็สามารถทำได้จริง ๆ เพราะมีตัวอย่างของกลุ่มคนที่ทำได้มาแล้วนั่นเอง

สำหรับผู้ที่อยู่ใน ระบบ อ่านข้อความนี้ ก็อาจจะเจอแบบหนักหนาสาหัสมาคล้าย ๆ กัน ก็ลองแยกดูนะคะ ระบบจะเรียกว่าการ ซ้อนขันธ์ เพราะเราต้องซ้อนทั้งห้าขันธ์ ให้เห็นว่ามันสักแต่ว่าร่างกาย สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าได้ยิน สักแต่ว่าความคิด สักแต่ว่าอารมณ์เท่านั้นซึ่งก็คือ การปฏิบัติในสติปัฏฐาน 4 นั่นเอง

หรือท่านที่อ่านแล้ว รู้สึกว่าสามารถทำความเข้าใจได้นั้น ก็ลองปฏิบัติดูก็ได้นะคะ ค่อย ๆ ทำไป ค่อย ๆ ดูไป และค่อย ๆ แยกแต่ละขันธ์ออกจากกันไปเรื่อย ๆ ก็จะเห็นว่า ความจริงมันไม่ได้มีตัวตนของตนจริง ๆ เป็นแค่กลไกของขันธ์ห้าจริง ๆ

ก็ขออนุโมทนาให้กับทุก ๆ ท่านประสบกับความสำเร็จในการปฏิบัติจิต และมีความเจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป


จากระทู้ ข้อความจาก กลุ่มประสานงานเพื่อการเตือนภัย(เขากะลา)
โดย สุดใจเขากะลา
http://board.palungjit.com/showthread.php?t=86674&page=193
 
ที่มาข้อมูล

http://ufokaokala.com/index.php?topic=137.0

«

ผู้แสดงความคิดเห็น ชนิิดา เชิงสะอาด วันที่ตอบ 2011-04-14 06:37:50


ความคิดเห็นที่ 8 (1540172)

อนุโมทนาในธรรมะทานค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น เบญจรัตน์ วันที่ตอบ 2011-04-14 07:16:02


ความคิดเห็นที่ 9 (1540175)

 

ขออนุโมทนาบุญ

กับ ธรรมทาน ค่ะ

คุณชนิดา แสนสวย 

ผู้แสดงความคิดเห็น แมว วันที่ตอบ 2011-04-14 08:17:57


ความคิดเห็นที่ 10 (1540181)

 

     อ่านเพลินเลยค่ะ  ขอบคุณ  คุณชนิดาด้วยนะคะ

ที่สรรหา  ข้อคิด  แนวทางปฏิบัติมาฝากเสมอ

ขออนุโทนาบุญด้วยค่ะ  สาธุ  สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล ฉวีวรรณ นภาพรรณราย วันที่ตอบ 2011-04-14 10:58:02


ความคิดเห็นที่ 11 (1540183)

ขออนุโมทนาบุญ กับธรรมทานดีๆที่คุณชนิดา

นำมาให้อ่านและปฎิบัติ อยู่เรื่อยๆคะ

สาธุ สาธุ สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น เพชรดา วรรณรักษ์ วันที่ตอบ 2011-04-14 11:51:05


ความคิดเห็นที่ 12 (1540191)

อนุโมทนาสาธุค่ะ

พี่จ๋าวขา เกดนับถือในความอดทน

ของพี่จริงๆ เป็นผู้ให้โดยแท้

สาธุ สาธุ สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น ตุ๊กตาฝน (tee-ged-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-04-14 12:32:01


ความคิดเห็นที่ 13 (1540193)

ขออนุโมทนาบุญ กับคุณชนิดาด้วยค่ะ

ที่สรรหา  และแนะนำ แนวปฏิบัติดี ๆ  มาฝากเป็นธรรมทาน

อ่านแล้วทำให้ได้รู้เท่าทัน ทุกข์  และค่อย ๆ  ยกจิตปล่อยวางออกจาก  ขันธ์ห้า

ก็จะทำให้ค้นพบความสุขสงบทางใจ ได้ทุกท่านค่ะ

สาธุ  สาธุ  สาธุ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น สิริพร ศศิธรเวชกุล วันที่ตอบ 2011-04-14 12:35:27


ความคิดเห็นที่ 14 (1540194)

ขออนุโมทนาบุญ กับคุณชนิดาด้วยค่ะ

ที่สรรหา  และแนะนำ แนวปฏิบัติดี ๆ  มาฝากเป็นธรรมทาน

อ่านแล้วทำให้ได้รู้เท่าทัน ทุกข์  และค่อย ๆ  ยกจิตปล่อยวางออกจาก  ขันธ์ห้า

ก็จะทำให้ค้นพบความสุขสงบทางใจ ได้ทุกท่านค่ะ

สาธุ  สาธุ  สาธุ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น สิริพร ศศิธรเวชกุล วันที่ตอบ 2011-04-14 12:35:28


ความคิดเห็นที่ 15 (1540205)

ขออนุโมทนาคะ พี่ชนิดา

เดี๋ยวจะมาอ่านให้จบนะคะ

ดี ๆ ทั้งนั้น แต่ยาวจังคะ ขอเวลาแป๊บนึง

ขอบพระคุณที่นำมาเผยแพร่คะ

ผู้แสดงความคิดเห็น แหวน พัทธ์ธีรา วังกาวันมณเฑียร วันที่ตอบ 2011-04-14 15:09:07


ความคิดเห็นที่ 16 (1540214)

อนุโมทนากับทุกๆท่านที่เข้ามาอ่านและศึกษาการทำงานของอุปทานขันธ์ห้า

กันอย่างจริงจังด้วยนะคะ อาจจะดูเหมือนยาวไปนิดนึง

แต่จริงๆไม่ยาวเล๊ย..หนูแหวน..ตัวอักษรมันโตเฉยๆ ฮิฮิ....

 

แต่เชื่อไหม๊ว่า ขนาดรู้ว่า รูป เวทนา สํญญา สังขาร และวิญญาณ เค้าทำงานกันยังไงแล้ว

ยังเผลอ"โง่" ปล่อยให้ตัวเองทุกข์อยู่บ่อยๆเลย โดยเฉพาะ Mr. สัญญา นะ เค้าจะขยันหาเรื่่อง

มาบิ๊วให้เราทุกข์ให้ได้อ่ะ เก๊งเก่ง ส่วนคุณพี่"สติ" ของเรานะ ก็ซ่อนตัวเก๊งเก่งเหมือนกัน

หากันไม่ค่อยเจอหรอก..ฮิฮิ แต่ถ้าหาสติเจอเมื่อไหร่ ก็"คลายทุกข์" ได้เมื่อนั้น

 

แต่อย่างไรเสีย มันก็ไม่ยากเกินใจที่หมั่นฝึกฝนไปได้หรอก..ใช่ไหม๊ค๊า...

เพราะ เพียงแค่รู้ แต่ไม่ปฏิบัติ ก็ไม่เกิดประโยชน์อันใดเช่นกัน...

ผู้แสดงความคิดเห็น ชนิดา เชิงสะอาด วันที่ตอบ 2011-04-14 17:21:02


ความคิดเห็นที่ 17 (1540217)

สิ่งนี้ถ้าปฏิบัติได้ ก็ดับทุกข์ได้จริงคะ

แต่เวลาสถานการณ์จริง ก็มีเผลอ โง่ จริงด้วย

ต้องพยายามปฏิบัติบ่อยที่สุด จะได้บันทึกข้อมูลดี ๆ ใหม่ ๆ ไว้

และเวลาเผลอทุกข์อีกเมื่อไหร่ ก็จะกลับมาอ่านบทความดี ๆ เหล่านี้อีกคะ

สาธุ ขออนุโมทนา และ ขอบคุณพี่ชนิดาอีกครั้งคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น แหวน พัทธ์ธีรา วังกาวันมณเฑียร วันที่ตอบ 2011-04-14 17:54:07


ความคิดเห็นที่ 18 (1540222)

ขอร่วมอนุโมทนากับธรรมทานอุปทานการทำงานขันธ์ห้า

หากดับขันธ์ห้าได้แล้วไซร้  อนาคตไกลสู่พระนิพพาน

สาธุ สาธุ สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น ณัชชา คู่วิรัตน์ (นู๊ปุ๊ก) วันที่ตอบ 2011-04-14 20:02:50


ความคิดเห็นที่ 19 (1540224)

        ขอขอบคุณ    พี่ชนิดา มากครับ    ขยัน

หาข้อความต่างๆมาให้เราชาวบ้านสวนได้อ่าน

ตัวเล็กอ่านแล้วรู้ได้เลยว่า การที่เรามีทุกข์เกิด

มาจากการที่เราปรุงแต่งกันไปเอง เมื่อรู้ก็ระงับ

ซะทุกข์ก็ไม่เกิดเท่านั้นเอง    ตัวเล็กจะพยายาม

ฝึกฝนตามคำชี้แนะครับ     นี่ขนาดอยู่ซะไกลยัง

ใจดีกับพวกเราขนาดนี้

      ขอขอบคุณพี่ชนิดา   อีกครั้งครับผม

ผู้แสดงความคิดเห็น ตัวเล็ก (phongdech1665-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-04-14 20:42:10


ความคิดเห็นที่ 20 (1540227)

 

อาจารย์ อุบล

ช่วยแมวด้วย

แมวคิดถึง ....

อ.อุบล บ้านสวนพิรามิด

มาก.ก.ก ถึง มากที่สู๊ด 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น แมว วันที่ตอบ 2011-04-14 20:58:05


ความคิดเห็นที่ 21 (1540231)

 

ขออนุโมทนาบุญกับคุณชนิดานะคะ

อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีค่ะ จะลองพยายามดูนะคะ

เพราะเป็นคนขี้หงุดหงิด ขี้โมโห ใจร้อนค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปูค่ะ วันที่ตอบ 2011-04-14 22:05:55


ความคิดเห็นที่ 22 (1540233)

โทรจิต

ซีจ๊ะหนูแมว

ตะโกนเสียงดัง

อายเค้า

 

อ่านธรรมะ

คุณชนิดา เดี๋ยวก็

หายเองจ้า

ผู้แสดงความคิดเห็น อ.อุบล วันที่ตอบ 2011-04-14 22:39:06


ความคิดเห็นที่ 23 (1540252)

เข้ามาขำมุขอาจารย์.. ค่ะ ส่วนคุณแมวเหมี่่ยวเนี่ย ก็ขยันอ้อนจริงๆเล๊ย...

ไม่เว้นแม้กระทั่งวันหยุดสงกรานต์.... ฮิฮิ ..........................................

ฉะนั้น ถ้าคิดถึงอาจารย์แล้วเป็น" สุข" ก็ผ่าน

แต่ถ้าความคิดถึงทำให้เป็น "ทุกข์" ก็ต้องอ่านใหม่อีกรอบนะจ๊ะ คุณแมวเหมียวขี้้้อ้อน...

 

ป.ล. คิดถึงเหมือนกันค่ะ.....อาจารย์

(น่านนนนน....กลัวน้อยหน้า....ฮิฮิ)

ผู้แสดงความคิดเห็น ชนิดา เชิงสะอาด วันที่ตอบ 2011-04-15 04:36:08


ความคิดเห็นที่ 24 (1540254)

 

ฮิ ฮิ  ขอยืนยันค่ะ

คุณชนิดา

ว่า  มีความสุข  ที่สู๊ด 

ผู้แสดงความคิดเห็น แมว วันที่ตอบ 2011-04-15 06:32:27


ความคิดเห็นที่ 25 (1540863)

ขออนุโมทาบุญด้วยครับอ่านเข้าใจง่ายดี

ผู้แสดงความคิดเห็น ตี๋อ้วน (tree-lex-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-04-19 14:31:40


ความคิดเห็นที่ 26 (1541846)

ขออนุโมทาบุญด้วยครับ เข้าใจแต่ ละไม่ได้ ^^

แต่ก็จะพยามครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ณัฐวุฒิ เจริญกุล (nnuuii222-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-04-23 19:15:05


ความคิดเห็นที่ 27 (1541877)

ขออนุโมทนาบุญ กับคุณ ชนิดา ด้วยครับ

เป็นประโยชน์มากเลยครับ ต่อไปจะได้รู้ได้เห็นสักที

ว่าจิตเราที่แท้จริงมันเป็นอย่างไร

แต่ที่แน่ๆ หมั่นคิดบวกไว้

จะมีแต่ได้กับได้

สาธุ ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เกียรติศักดิ์(จรัล) โพธิ์อุ่น (kiattisp-at-scg-dot-co-dot-th)วันที่ตอบ 2011-04-23 23:48:35


ความคิดเห็นที่ 28 (1541899)

 

ใครยังไม่ฝึกพัฒนาจิตใจ ถือว่ายังไม่ได้ทำงานที่แท้จริงของชีวิต

การทำงานหากินนั้น เป็นเพียงงานสมมุติตามตำแหน่ง
หากไม่แบกตำแหน่งนั้นก็ไม่มีหน้าที่ จึงไม่ใช่งานจริงจังอะไร
และหากบ้าทำงานตามตำแหน่งจนจิตใจเสียหาย ก็นับว่าขาดทุน

ดังนั้น ไม่ว่าจะมีตำแหน่งอะไร รับผิดชอบหน้าที่ใด
นั่นเป็นงานเสริม ส่วนงานหลักคือยกระดับวิวัฒนาการให้ได้
และวิธีที่จะยกระดับวิวัฒนาการได้ คือ การพัฒนาจิตใจ

ดังนั้นการฝึกจิต จึงเป็นงานของทั้งฆารวาสและนักบวช
ยิ่งเป็นนักบวช ต้องฝึกให้มากกว่าคฤหัสถ์หลายเท่า
เพราะฆารวาสเลี้ยงนักบวชอยู่
นักบวชจึงต้องมี อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ซึ่งทั้งหมดนี้ จะเกิดได้ก็ด้วยกรรมฐาน หาไม่จะเป็นหนี้โยม



ที่มาข้อมูล

http://ufokaokala.com/index.php?topic=618.0

ผู้แสดงความคิดเห็น ชนิดา เชิงสะอาด ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-04-24 07:19:16


ความคิดเห็นที่ 29 (1542052)

ขออนุโมทนาบุญกับธรรมทานของพี่ชนิดา

สาธุ สาธุ สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น อัญ ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-04-25 14:26:40


ความคิดเห็นที่ 30 (1542056)

ขอบคุณสำหรับธรรมทานของพี่ชนิดาจ้า

เป็นธรรมทานที่อ่านเข้าใจง่าย

แถมฮาอีกตะหาก อิอิ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น Ya Ya (ธนัญญา พลตรี) (thanunya-kob-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-04-25 14:57:59


ความคิดเห็นที่ 31 (1542132)

อนุโมทนากับธรรมทานคุณชนิดาด้วยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ตฤณ (voravee_pat-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-04-25 22:17:21


ความคิดเห็นที่ 32 (1542168)

ยังอ่านไม่จบเลย ยาวค่ะ

แต่สำนึกได้ว่า ต้องรีบอนุโมทนาบุญกับคุณชนิดาค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น อร่ามศรี สุวัตถิกุล (adda_bkk-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-04-26 06:45:40


ความคิดเห็นที่ 33 (1542447)

อ่านแล้วถ้าทำได้ดีมากเลยพี่กราสติปัฏฐานทั้ง 4 ทุกวันได้ เกือบ 5 ปีแล้วยังไม่ไปไหนเลยถ้าสติมันเตลิดก็ดึงมันกลับใหม่ o. k. ไหมจะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ตุ๊ก+ลูกน้ำตาลปทุมธานี (ratmanee90-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-04-27 15:53:36


ความคิดเห็นที่ 34 (1582520)

อนุโมทนาบุญค่ะ คุณชนิดา 

ผู้แสดงความคิดเห็น ละม่อม ทองเจือ (ohm-dot-lamom-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-11-07 22:35:21


ความคิดเห็นที่ 35 (1582563)

 อนุโมทนากับพี่ชนิดาด้วยค่ะ

อ่านแล้วก็ปลงได้อีกเยอะเลยค่ะ

ว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นไปตามธรรมชาติของมัน

เพียงแค่เราอย่าไปยืดติด

และทำความเข้าใจกับมัน

ว่าทุกสิ่งเข้ามาแล้วก็ผ่านไป

"หากฝนจะตกก็คงจะไม่ตกไปทั้งปีหรอกเน๊อะ

หากเราจะทุกข์ก็คงจะไม่ทุกข์ไปตลอดชีวิตเช่นกัน

หากเรารู้จักละวาง ขันธุ์ 5"

แต่บางทีมันก็เผลบ่อยมั่กๆ

เค้าถึงว่าตัดขันธุ์ 5 ตัวเดียว

ไปนิพพานได้เลย

ผู้แสดงความคิดเห็น หญิง < นันทนา แหกาวี > ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-11-08 04:04:02


ความคิดเห็นที่ 36 (1582623)

ในโลกนี้ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน

สิ่งที่แน่นอน

ก็คือ...ความตาย...

โมทนากับธรรมทาน..จ๊ะ

น้องชนิดา

ผู้แสดงความคิดเห็น กมลลักษณ์ โปษณกุล อ๊อด (aod5961-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-11-08 20:34:14


ความคิดเห็นที่ 37 (1583045)

ขออนุโมทนากับคุณชนิดาด้วยค่ะ อ่านแล้วสุดยอดจริง ๆ จะลองทำตามค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น มยุรฉัตร สุดจิตต์ (mayurachut-dot-ch-at-rd-dot-go-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-11-11 15:04:13


ความคิดเห็นที่ 38 (1583368)

 ขออนุโมทนาบุญกับคุณชนิดาได้อ่านแล้วจะทําตามจะได้หลุดพ้นในบางเรื่องที่ค้างคาใจในปัจจุปันนี้ขอบคุณเป็นอย่างมากเจ้า

ผู้แสดงความคิดเห็น น้้อย(บัวลอย สุดแดน) (bour_noy-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-11-13 20:08:10


ความคิดเห็นที่ 39 (1585958)

 

ขอบคุณค่ะคุณชนิดาคนดี

อ่านแล้วเข้าใจง่ายค่ะ

       สาธุ...

ผู้แสดงความคิดเห็น เกสร ศรประสิทธิ์ (andabatik-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-11-28 16:10:54


ความคิดเห็นที่ 40 (1585978)

อนุโมทนากับทุกๆท่านที่แวะเข้ามาอ่าน

เพื่อหาหนทางในการปลดทุกข์

ชั่วนิรันดร์ให้กับตัวเองด้วยนะคะ

 

เพราะถ้าเรารู้กลไกในการทำงาน

ของขันธ์ห้า่แบบละเอียดแล้ว

รับรองได้ว่า เจ้ากิเลส หรือ ความทุกข์

หลากหลายรูปแบบ กินใจเราได้ยาก..จริงๆ

 

แบบว่า รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง

แต่ถ้าไม่รู้อะไรเลย ก็แพ้ตั้งแต่แรกแล้ว

เพราะมองไม่ออกแม้กระทั่งว่า

อันไหน ศัตรู หรือ พวกเดียวกัน...เนอะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ชนิดา เชิงสะอาด/CHANIDA ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-11-28 17:47:26


ความคิดเห็นที่ 41 (1586029)

 คุณชนิดานำธรรมทานนี้มาให้อ่านเมื่อช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา กลับมาอ่านทบทวนอีกครั้ง ก็ให้เห็นว่าตัวเองลืมเรื่องราวเหล่านี้ไปบางช่วง บางตอน ทำให้เจ้าอัตตาตัวตนมันกลับมาครอบงำจนเกือบมิดหัว

นั้นก็ทำให้เห็นว่า กิเลส หรือสิ่งใดๆ ที่มากระทบร่างกาย และจิตใจเรา มันสามารถเปลี่ยนเราให้หลงไปกับมันได้ตลอดเวลา ครูบาอาจารย์ท่านถึงให้เราเจริญสติอยู่ตลอดเวลา อย่าได้เผลอไผลเป็นอันขาด ถึงแม้จะลืมตัวชั่วขณะ แต่ก็ต้องรีบดึงจิตกลับมาให้อยู่กับปัจจุบันให้ได้

นั่นก็เพราะขันธ์ห้าที่คิดว่าเป็นของเรานั้น แท้จริงแล้ว เราบังคับอะไรๆ ของขันธ์ห้านี้ไม่ได้เลยแม้แต่นิดเดียว 

โมทนาในธรรมทานที่นำมาให้อ่านด้วยนะครับคุณชนิดา 

ผู้แสดงความคิดเห็น คุณสิทธิ์(สุรสิทธิ์ ศรประสิทธิ์) (surasit2010-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-11-28 21:35:57


ความคิดเห็นที่ 42 (1586058)

 

 
 


ธนิต  อยู่โพธิ์  เรียบเรียง

.....................................................................................................................
               
  ก่อนจะพูดถึงเรื่องธรรมจักร ข้าพเจ้าขอทบทวนฟื้นความจำเรื่องพุทธประวัติแก่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชน ซึ่งยังคงจำกันได้ดีว่า ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะประสูตินั้น มีพระคัมภีร์ทายลักษณะบอกไว้ว่า ท่านผู้ประกอบด้วยลักษณะของมหาบุรุษ 32 ประการ ย่อมมีคติเป็น 2 คือ ถ้าอยู่ครองฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าออกบรรพชา จักได้เป็นพระพุทธเจ้า

                  พระเจ้าจักรพรรดิ มีสมบัติเป็นอย่างไรบ้าง ? เราลองพิจารณากันดู ตามคัมภีร์พระพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า พระเจ้าจักรพรรดิมีสมบัติสำคัญ เรียกว่ารัตนะ มี 7 อย่างคือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว ขุนคลังแก้ว และขุนพลแก้ว ใน 7 อย่างนี้ จักรแก้วเป็นของสำแดงพระบรมเดชานุภาพสำคัญที่สุด และดูเหมือนจักรแก้ว หรือจักกรัตนะนี้แหละ ที่ เป็นเหตุให้ได้เชื่อว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จักกรัตนะ หรือจักรแก้ว หรือล้อแก้วนี้ ตามพระคัมภีร์บาลีบอกไว้ว่ามีกำพันซี่ มีกง มีดุม บริสุทธิ์ด้วยอาการทุกอย่าง เมื่อจักกรัตนะบังเกิดแก่พระราชาองค์ใด พระราชาองค์นั้นก็เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ท่านพรรณาไว้ว่า วันที่จักกรัตนะปรากฎนั้น เป็นวันเพ็ญอุโบสถ พระราชาทรงสรงพระเศียรและรักษาอุโบสถศีล เสด็จประทับอยู่บนราชอาสน์ ณ ประสาทชั้นบน แล้วจักรรัตนะก็ลอยจากจักกทหะ ในภูเขาวิบุลบรรพต มาปรากฎเฉพาะพระพักตร์ให้ทรงประจักษ์ว่า พระองค์เป็นราชาจักรพรรดิแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิก็จะเสด็จลุกจากราชอาสน์ ทรงทำอุตตราสงค์ แล้วทรงหยิบพระสุวรรณภิงคารด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงประพรมน้ำในพระสุวรรณภิงคารลงบนจักกรัตนะด้วยพระหัตถ์ขวา แล้วมีพระราชดำรัสว่า จักกรัตนะอันเจริญจงหมุนไป จักกรัตนะอันเจริญจงนำชัยชนะให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป แล้วจักกรัตนะนั้นก็หมุนไปทางทิศบูรพา หมุนไปทางทิศทักษิณ หมุนไปทางทิศปัศจิน หมุนไปทางทิศอุดร จักกรัตนะหมุนไปทางทิศใด พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจัตุรงคเสนาก็เสด็จตามไปด้วย จักกรัตนะหยุดอยู่ ณ ประเทศใด พระเจ้าจักรพรรดิกับจัตุรงคเสนาก็พักอยู่ ณ ประเทศนั้นด้วย

 
                         

                (ซ้าย) ภาพสิงโตรองรับธรรมจักร เหนือบัวหัวเสา บนเสาศิลาอโศก ขุดพบที่ตำบลสารนาถ เมืองพาราณสี

                (ขวา) ภาพจำหลักเป็นดอกบัว และเสาธรรมจักร ที่กำแพงศิลาพระมหาสถูปสาญจี จะเห็นดอกบัวตูมสองดอกชูก้านออกมาจากฐานเหนือบัวคว่ำคล้ายรูประฆังคว่ำ แสดงให้เห็นว่า ยอดเสาศิลาอโศก ภาพซ้าย เมื่อยังสมบูรณ์ดีอยู่ ก็จะมีธรรมจักรประดิษฐานอยู่เหนือหัวสิงโตทั้งสี่ เช่นใน รูปขวา

                 บรรดาพระราชาผู้เคยเป็นปฏิปักษ์อยู่ในทิศนั้น ๆ ก็เข้ามาเฝ้าถวายการต้อนรับถวายความภักดี ยอมอยู่ใต้พระบรมเดชานุภาพ พระเจ้าจักรพรรดิก็พระราชทานโอวาทด้วยศีลห้า (ซึ่งเรารู้จักกันดีแล้ว) เมื่อจักกรัตนะนำชัยชนะไปทั่วปฐพี มีมหาสมุทรเป็นแดนโดยรอบแล้ว ก็นำเสด็จกลับมายังราชธานี* จักกรัตตะหรือล้อแก้วนี้ในคัมภีร์อรรถกถา** พรรณานาขยายความออกไปอีกยืดยาว แต่พอสรุปกล่าวไว้ว่าจักกรัตนะนั้นมีรูปเหมือนล้อรถ ดุมเป็นแก้วอินทนิล ตรงกลางดุมส่องแสงซ่านออกเป็นวงกลมเหมือนพระจันทร์ทรงกลดรอบดุมเป็นแผ่นเงิน มีซี่กำล้วนแล้วด้วยแก้ว 7 ประการ ทั้งพันซี่ กำแต่ละซี่มีลวดลายประดับต่าง ๆ กัน ส่วนกงล้อเป็นแก้วประพาสสีสุกใส วงนอกของกงทุกระยะของกำ 10 ซี่ที่สอดเข้าไปนั้น มีท่อแก้วประพาฬติดอยู่ขอบนอกของกงทุกระยะ รวม 100 ท่อ เมื่อจักกรัตนะหมุนไปในอากาศท่อแก้วประพาฬเหล่านี้ จะกินลมเกิดเป็นเสียงไพเราะดุจเสียงปัญจดุริยางคดนตรี บนท่อแก้วประพาฬแต่ละอันมีเศวตฉัตรห้อยเฟื่องดอกไม้แก้วมุกดา เมื่อจักกรัตนะหมุนเวียนไปจะปรากฎคล้ายวงล้อ 3 อัน หมุนอยู่ภายในของกันและกัน

                  แต่เท่าที่เห็นทำรูปกันไว้ ก็ทำเป็นอย่างล้อรถหรือล้อเกวียนนั่นเอง (ดูรูปขวามือ เพื่อเปรียบเทียบ)

          
        เมื่อได้พูดถึงจักกรัตนะ หรือล้อแก้ว ซึ่งเป็นสมบัติส่งเสริมพระบรมเดชานุภาพสำคัญยิ่งของพระเจ้าจักรพรรดิ มาโดยสังเขปเช่นนี้ ก็พอจะนึกเห็นกันได้ว่า พระเจ้าจักรพรรดิก็คือผู้ทำให้จักรหรือล้อหมุนไป ซึ่งในบางพระสูตรยังกล่าวเป็นตำนานไว้อีกว่า พระราชาจักรพรรดิ ผู้ประกอบด้วยธรรมทรงเป็นธรรมราชา เป็นผู้ทำให้จักรหมุนไปโดยธรรม จักรนั้นอันสัตว์มนุษย์ไร ๆ ผู้เป็นปรปักษ์ (ต่อพระเจ้าจักรพรรด) จะหมุนไม่ได้ 

                  เมื่อพระสิทธัตถะราชกุมารไม่ต้องพระประสงค์สมบัติจักรพรรดิ และทรงประปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า จึงเสด็จออกบรรพชาและทรงบำเพ็ญเพียร จนได้ตรัสรู้ "พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ" พระองค์ก็เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือที่เราเรียกกันเป็นคำสามัญว่า "พระพุทธเจ้า" พระพุทธเจ้าได้โปรดประทานเทศนาเป็นครั้งแรกแก่พระภิกษุปัญจวัคคีย์ คือพวกพระภิกษุ 5 องค์ ณ อิสิปตนะมิคทายวัน ในเมืองพาราณสี เมื่อวันอาสาฬหปุณณมี คือวันเพ็ญเดือน 8 เทศนาครั้งแรกนี้เรียกกันว่า "ปฐมเทศนา" และเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงใช้เป็นปฐมเทศนานั้น เรียกว่า "ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร" แปลง่าย ๆ ก็ว่าพระสูตรว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้าทรงหมุนล้อแห่งธรรมหรือธรรมจักร

.........................................................
..... 
* ดู - มหาสุทสฺสนสุตฺต ทีฆนิกาย มหาวคฺค
** สุมงฺคลวิลาสินี ทุติยภาค น. 289 - 290 

ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย (sobiday9-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-11-28 23:09:04


ความคิดเห็นที่ 43 (1586059)

 

บทความธรรมะ

Image

ส่องกล้องมองคำว่า"ทุกข์"


"ความทุกข์ทั้งหลายที่เป็นความทุกข์ทางใจนี้ เป็นเพราะว่าเรามองดูปรากฏการณ์ในชีวิตด้วยความไม่ชัดเจน"

"ยังไม่สนใจธรรมะ เพราะชีวิตยังไม่มีทุกข์"

คนจำนวนมากคิดเช่นนี้ เพราะคำว่า "ทุกข์" นั้นฟังดูเป็นเรื่องหนักหนาสาหัสในชีวิต ทั้งที่ความจริงแล้ว ความหมายของคำนี้ในธรรมะของพุทธศาสนามีความละเอียดอ่อนยิ่งนัก หากศึกษาจริงๆ แล้วจะรู้สึกทึ่งและอัศจรรย์ใจในอัจฉริยภาพของตัวผู้ค้นพบยิ่งนัก

จะรู้สึกอย่างไรหากบอกว่าในทุกๆ จังหวะและท่วงทำนองของการดำเนินชีวิตมีทุกข์แฝงอยู่ทุกขณะ

ไม่รู้จัก-อย่ารีบบอกว่าไม่มี

อย่าเพิ่งเถียงถ้ายังไม่ได้คำอธิบายในเรื่องนี้ของ ดร.ระวี ภาวิไล ที่ส่องกล้องมองดูคำว่าทุกข์ได้ละเอียดไม่แพ้การส่องกล้องดูดาวบนท้องฟ้าเลย 

"คำว่าปัญหากับความทุกข์ในทางพระพุทธศาสนาใช้แทนกันได้ คำว่าปัญหาเป็นคำสมัยใหม่ เราจะพิจารณาได้ว่าสิ่งที่เราเรียกว่าปัญหานี้คือ ความทุกข์นั่นเอง แต่เวลาพูดความทุกข์จะดูเหมือนหนัก พูดคำว่าปัญหาเป็นเรื่องทันสมัย แล้วเราจะพบว่าสิ่งที่เราต้องแก้ก็คือ ความไม่สะดวกสบายที่ทนได้ยากนั่นเอง

"ตามที่บอกว่าชีวิตเป็นความทุกข์เป็นปัญหานั้น ไม่ใช่ว่าการกล่าวเช่นนั้นเป็นการมองโลกในแง่ร้าย แต่เป็นการกล่าวถึงสภาวะที่เป็นจริงในชีวิตของเรา"

ไม่เชื่อลองฟังต่อไปได้

"นับตั้งแต่เรารู้สึกตัวลืมตาขึ้นวันหนึ่งๆ จะพบปัญหาที่ต้องแก้ถัดกันไป แก้ปัญหานั้นปัญหาใหม่ก็เข้ามาเรื่อย ถ้าจะสังเกตตั้งแต่เช้า ปัญหาทำอย่างไรเราจะมาถึงที่ทำงานได้โดยเรียบร้อย แม้เมื่อถึงที่ทำงานเราจะพบปัญหารออยู่บนโต๊ะ จะต้องแก้อันนั้นอันนี้เรื่อยไป ชีวิตก็จะเป็นอย่างนี้

"ปัญหาหรือความทุกข์ทางกายนี้เป็นส่วนหนึ่ง แต่ส่งที่น่าจะสังเกตได้ก็คือว่า ส่วนใจมันพลอยไปกับกายมากน้อยแค่ไหน ทั้งที่ส่วนใจก็มีความทุกข์ทางใจอยู่แล้ว คือความเศร้าโศก ความคับแค้นใจ ซึ่งส่วนของจิตใจนี้อาจจะเกิดขึ้นเพราะความทุกข์ทางกายทำให้เกิด หรืออาจเกิดแม้ความทุกข์ทางกายไม่มีก็ได้

"นับเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนในสาเหตุ และสาเหตุเหล่านี้ทางพฤติกรรมสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเกิดขึ้นมาอย่างไร แล้วก็รู้หนทางที่จะบรรเทามันลงไป"

ในบรรดาความทุกข์ที่แบ่งออกเป็นทางกายและทางใจนั้น อ.ระวีบอกว่า

"ความทุกข์ทางใจเกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น แล้วเราจะพบว่ามนุษย์ได้สร้างกลไกขึ้นทั้งในตัวเองและสังคม ทำให้เกิดความกดดันและความทุกข์ทางใจขึ้น โดยคนส่วนใหญ่อาจจะมองข้ามไป หรืออาจจะมองไม่เห็น มันก็กลายเป็นปัญหาหรือเป็นทุกข์ ความทุกข์ทางใจเหล่านี้เป็นสิ่งที่การอบรมและการฝึกฝนใจสามารถทำให้มันระงับไปได้"

ความทุกข์ทางใจเกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น-เป็นประเด็นที่ควรให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นวันหนึ่งๆ คนเราทุกข์ทางใจไปโดยสิ้นเปลืองไม่ใช่น้อย

บอกแค่นี้คงไม่ทำให้คิ้วที่ขมวดอยู่คลายออกไปได้ ต้องรับรู้การแจกแจงปฏิบัติการของสิ่งที่เรียกว่าทุกข์เสียก่อน

ทุกข์กาย-ทุกข์ใจแน่

กายไม่ทุกข์-ใจทุกข์ไปล่วงหน้า

"ตัวอย่างความพัวพันระหว่างทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจที่อาจจะได้พบกันในชีวิตประจำวัน สมมุติว่าเราเป็นเด็กไม่สบายแล้วไปหาหมอ หมอบอกว่าเราเป็นไข้หวัด ต้องฉีดยา ถ้าเด็กคนนั้นเคยฉีดยามาหนหนึ่งแล้ว พอบอกต้องฉีดยาอีกมันเกิดทุกข์ขึ้นมาทันที ความทุกข์ที่ได้รับฟังว่าต้องเอาเข็มมาแทงลงไปในเนื้อ ในขณะนั้นทุกข์ทางกายยังไม่ได้เกิด แต่ทุกข์ทางใจเกิดขึ้นแล้ว อาจจะเริ่มมีอาการเป็นทุกข์ เริ่มน้ำตาคลอ พอหมอเอาเข็มฉีดยาดูดยาออกมาจากหลอดก็เริ่มจะมีความทุกข์ทางกายบ้าง แต่ไม่เจ็บ น้ำตาไหลได้

"เราเป็นผู้ใหญ่รู้สึกแต่คงไม่ถึงกับน้ำตาไหล เห็นหมอทำอย่างนั้นเราก็เริ่มรู้สึก หมอเอาเข็มฉีดยามาบีบยาให้ยามันไล่ แล้วก็เอามาจรดลง แล้วลองนึกทบทวนดูว่าเรารู้สึกอย่างไร จะรู้สึกไม่สบายใจ หมอเริ่มกดเข็ม บางครั้งเราก็มอง บางครั้งเราก็ไม่อยากมอง ลองมองดูและลองพิจารณาดูตอนที่เข็มมันจรด ความทุกข์ทางกายยังไม่เกิดขึ้น แต่เรามีความไม่สบายใจ พอหมอกดเข็มเข้าไปในเนื้อเรา นึกว่าเราเจ็บ แต่ที่จริงถ้าเราเพ่งใจลงไปในขณะเข็มกดลงไปในเนื้อ จะพบว่ามันยังไม่เจ็บ ความทุกข์ทางกายยังไม่มี แต่เมื่อเข็มมันลงไปลึกพอประมาณแล้ว และเมื่อหมอเริ่มกดยาเข้าไป ความเจ็บมันจะมี

"ถ้ามีสติอยู่กับปัจจุบัน เจ็บที่แล้วไปอย่าไปนึกถึงมันอีก เจ็บที่กำลังเจ็บดูมัน เจ็บที่ยังไม่มา อย่าเพิ่งไปเจ็บก่อน เราจะพบว่าความเจ็บได้เป็นทุกข์ก้อนใหญ่ที่เราจะต้องแบกไว้ แต่ความเจ็บนั้นมันเป็นชั่วขณะๆ พอหมอถอนเข็มออกแล้วขยี้ตอนนั้นเราจะเจ็บมากชั่วขณะ แล้วก็จะชา แต่ถ้าเราไม่ทำอย่างนั้นจะรู้สึกว่าความเจ็บจริงๆ กับความที่ใจเราเป็นทุกข์มันปนเปกันไปหมด ไม่รู้ส่วนไหนเป็นทุกข์ทางกาย ส่วนไหนเป็นทุกข์ทางใจ

"ถ้าเป็นเด็ก เด็กจะร้องก่อนเข็มจะถูก เมื่อถูกเข็มแทงก็ร้องลั่น พอหมอถอนเข็มออกก็ยังร้องอยู่ เพราะโกรธหมอ นี่คือตัวอย่างที่ยกขึ้นมาเพื่อให้เห็นกลไกของสิ่งที่เรียกว่าความทุกข์"

"ความทุกข์ทั้งหลายที่เป็นความทุกข์ทางใจนี้ เป็นเพราะว่าเรามองดูปรากฏการณ์ในชีวิตด้วยความไม่ชัดเจน ทำอย่างไรจะเห็นสภาวะชัดเจน ทำอย่างไรจะรู้ทัน"

โจทย์นี้หาคำตอบได้ไม่ยาก!

 

**********

คอลัมน์ ร้อยเหลี่ยมพันมุม

โดย วีณา โดมพนานคร

มติชนรายวัน วันอาทิตย์ ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10487

 

 
ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย (sobiday9-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-11-28 23:12:55


ความคิดเห็นที่ 44 (1587907)

"ความ ทุกข์ทั้งหลายที่เป็นความทุกข์ทางใจนี้ เป็นเพราะว่าเรามองดูปรากฏการณ์ในชีวิตด้วยความไม่ชัดเจน ทำอย่างไรจะเห็นสภาวะชัดเจน ทำอย่างไรจะรู้ทัน"

โจทย์นี้หาคำตอบได้ไม่ยาก!

 ...................................................................

และคำตอบก็อยู่ที่

ข้อความของพี่มหา...นั่นเอง

..........................................................

ครู บาอาจารย์ท่านถึงให้เรา

เจริญสติอยู่ตลอดเวลา

อย่าได้เผลอไผลเป็นอันขาด

ถึงแม้จะลืมตัวชั่วขณะ แต่ก็ต้อง

รีบดึงจิตกลับมาให้อยู่กับปัจจุบันให้ได้

..................................

อนุโมทนากับธรรมทาน

จากคุณ โซบิเดย์และพี่มหา ด้วยค่ะ 

 

เผลอเมื่อไหร่

ก็"ทุกข์"เมื่อนั้นเนอะพี่มหา..เนอะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ชนิดา เชิงสะอาด/CHANIDA ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-12-11 06:45:28


ความคิดเห็นที่ 45 (1602955)

อนุโมทนาด้วยนะคับ

ผู้แสดงความคิดเห็น สกุล บรรณสาร (pattaro-at-hotmail-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-03-20 10:04:43


ความคิดเห็นที่ 46 (1602995)

 โมทนาสาธุค่ะ่เข้ากับสภาวะพอดีเลยค่ะอากาศมันร้อนมันก้อเป็นเช่นนี้เองใช่ไหมคะ่สาธุค่ะ่

ผู้แสดงความคิดเห็น กรชนต ธรรมะขันธ์คำ (duang-123-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-03-20 14:38:57


ความคิดเห็นที่ 47 (1602997)

 

อนุโมทนาในธรรมทานจากคุณชนิดา คุณสิทธิ์ คุณโซบิเดย์

ที่นำธรรมะ คือการพิจรณาตามความเป็นจริง ดีมากๆค่ะ

เพราะการใช้ชีวิตในแต่ละวันเรามักเผลอปรุงแต่งตลอดเวลา

เพราะขาดการเจริญสติ เราจึงทุกข์  และเล่าร้อน 

มนุษย์เวลาทุกข์ก็อยากหาทางออกจากทุกข์นั้น

แต่ก็ไม่รู้วิธี หรือรุ้แต่ก็ทำไม่ได้  เพราะไม่เคยฝึกการปล่อยวาง

อ่านหลายๆรอบ ก็ยิ่งบรรลุยิ่งเข้าใจ  ธรรมชาติของจิต

โมทนา  สาธุ  สาธุ  สาธุค่ะ.........

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น คนึงนุช พงษ์ดี (kanungnuch03-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-03-20 14:42:45


ความคิดเห็นที่ 48 (1603201)

อนุโมทนากัับคุณพี่คนึงนุช

และสมาชิกใหม่อย่างคุณ กรชนต

และ คุณ สกุล ด้วยเช่นกันค่ะ

 

อิอิ เจ้าของกระทู้เอง ก็ต้อง

เข้ามาอ่านเตือนสติตัวเอง

อยู่บ่อยๆเหมือนกัลลล์

 

เพราะถนัดแต่ใช้"สัญญา"

มากกว่า"ปัญญา" จ๊า...

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ชนิดา เชิงสะอาด/CHANIDA ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-03-22 04:42:06



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.