ReadyPlanet.com


ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น : หลวงพ่อฤาษีลิงดำ รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน


ธรรมะของพระพุทธองค์ที่หลวงพ่อนำมาสอน ที่รวบรวมโดยอาหมอสมศักดิ์ สืบสงวน ซึ่งเป็นหมอประจำตัวพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ซึ่งอาหมอท่านมีภูมิธรรมที่สูงส่ง และธรรมะที่ท่านรวบรวมมานี้ เมื่อก่อนได้อ่านตามเวปต่างๆ เรายังบาปหนาไม่ซาบซึ้งนัก พอดีไปงานบุญที่หัวเมืองเหนือเมื่อไม่กี่วันมานี้ อาจารย์ท่านหนึ่งได้มอบหนังสือธรรมะนี้มาให้ ๔ เล่มด้วยกัน คราวนี้พอได้เปิดอ่าน รู้สึกปลื้มปิติมากเหมือนพบทางสว่างอันแสนวิเศษสุด เลยอยากนำมาให้ทุกๆท่านได้อ่านกัน ขอโทษด้วยนะครับ อาจลงไม่ทันใจเพราะว่าผมต้องพิมพ์เอา คราวนี้ แฮ่ๆ ในเวปก็รู้สึกว่ามี แต่ครั้งนี้อยากพิมพ์ก่อน เพราะว่ามีหลายเล่มอาจจะทยอยลงมาเรื่อยๆ นะครับ ขอให้ทุกๆท่านได้ดวงตาเห็นธรรมจากธรรมะของพระพุทธองค์ที่สอนโดยพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีลิงดำ และขออนุโมทนาบุญอย่างสูงกับอาหมอสมศักดิ์ สืบสงวนด้วยครับ สาธุ 

บุญใดที่จะเกิดจากธรรมทานนี้ข้าพเจ้าขอถวายเป็นพุทธบูชา ธัมมะบูชา สังฆบูชา และถวายบุญทั้งหมดทั้งมวลนี้โดยเสด็จพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เทพ พรหมเทวา ทุกๆพระองค์ ที่ปกปักษ์รักษาในหลวง ตลอดจนเทวดาทั้งหลายประจำตัวแพทย์ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่ดูแล รักษาในหลวง ทุกๆท่านด้วยเทอญ สาธุ



ผู้ตั้งกระทู้ ธนา อรุณภิญโญพล (Nirvana_time-at-hotmail-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2011-05-20 23:57:18


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1546857)

 คำสอนทั้งหมดเป็นของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระอริยสงฆ์รุ่นแรกรวบรวมและถ่ายทอดกันมาจนถึงพระอริยสงฆ์รุ่นหลัง ท่านต่างทำหน้าที่สืบทอดพระพุทธศาสนาต่อๆกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ จึงต้องนึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ เข้าไว้ให้มากๆ เพราะพระรัตนตรัยนี้ ท่านเที่ยงแล้ว ไม่เกิดไม่ดับอีกต่อไป จึงยึดถือได้

 การนึกถึงความตาย(มรณานุสสติ) เป็นพื้นฐานใหญ่ที่จักนำจิตของตนเองให้เข้าถึงความไม่ประมาทได้โดยง่าย หากใครทำได้จักเป็นผู้มีธุระน้อยลงทันที เพราะจิตรู้ชัดว่าไม่มีใครเอาสมบัติของโลกไปได้ ไม่มีใครเป็นใหญ่ได้ในโลก เพราะมีความตายเป็นที่สุด โลกไม่เที่ยง ขันธโลก หรือร่างกาย ก็ไม่เที่ยง ใครยึดเข้าก็เป็นทุกข์ โลกพร่องอยู่เป็นนิจ เพราะตกเป็นทาสของตัณหา

 หากไตรลักษณ์ ไม่ต้องไปหานอกกาย นอกจิต หมั่นหาไตรลักษณ์ในกาย และจิตของตนให้พบ  ธาตุ๔ อาการ ๓๒ ก็อยู่ในกฏไตรลักษณ์ทั้งสิ้น

ผู้แสดงความคิดเห็น ธนา อรุณภิญโญพล (Nirvana_time-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-05-21 00:03:51


ความคิดเห็นที่ 2 (1546860)

เหตุที่ทำให้พระกรรมฐานไม่ค่อยได้ผล

เมื่อวันที่ 24 กพ 2536 สมเด็จองค์ปฐมได้ทรงพระเมตตามาสอนเพื่อนที่ร่วมปฏิบัติธรรมของผม ที่ร่วมไปปฏิบัติพระกรรมฐานที่วิหารแก้ว 100 เมตร แล้วไม่ค่อยได้ผล มีความสำคัญดังนี้

 "กรรมฐานเที่ยวนี้ล้มเหลวอีกแล้วหรือเจ้า เหตุก็เพราะเจ้าปล่อยให้ถีนะมิทธะ (ความง่วง) เข้าครอบงำจิต จึงเป็นผลให้นิวรณ์กดดันจิตให้สิ้นกำลังที่จักเจริญพระกรรมฐานให้ได้ผล จำเอาไว้ เพราะเจ้ามีความประมาทในนิวรณ์5 มากเกินไป จึงทำให้จิตสิ้นเรี่ยวแรงที่จักต่อสู้กับนิวรณ์5ประการ ต่อไปห้ามคิดว่านั่งต่อไปอีกนิดน่า ไม่เป็นไร ถ้ารู้สึกว่าความง่วงเข้าแทรกเมื่อไร่ อาการง่วงหาวปรากฏ ให้รีบลุกขึ้นเดินทันที

 ถ้าระงับไม่ได้ก็ชนะไม่ได้ ห้ามโต้แย้งเป็นอันขาดว่า นั่นเป็นการหลับในฌาณ หากกว่าเช่นนั้นก็เป็นการเข้าข้างกิเลสมากเกินไป

 การหยิบเอาบันทึกคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐานขึ้นมาดูนั้น ถ้าอารมณ์นิวรณ์5 แทรกได้แล้ว การพิจารณาก็จักไม่มีผล เพราะปัญญามันไม่เกิด เพราะฉะนั้น ต้องตื่นตัวปลุกจิตให้ระงับนิวรณ์5 ในขณะนั้น แต่ถ้าหากระงับได้ตลอดเวลา ก็ควรจะระงับ เมื่อระงับได้แล้วนั่นแหละ จึงจักหวนกลับมาพิจารณาธรรมต่างๆได้

ผู้แสดงความคิดเห็น ธนา อรุณภิญโญพล (Nirvana_time-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-05-21 00:11:52


ความคิดเห็นที่ 3 (1546863)

  อย่าลืมแม่บทของการเจริญพระกรรมฐาน คือ อาณาปานัสสติ หมั่นเติมพลังให้แก่ดวงจิตเข้าไว้จักได้มีกำลัง ถ้าหากทำได้ก็ให้ทำจิตถึงฌาณ4 เห็นภาพนิมิตกสิณเป็นแก้วแล้ว จิตชุ่มชื่นดีแล้ว หวนกลับมาจับอารมณ์วิปัสสนาญาณ อันนั้นแหละจักเป็นผลดีทั้งสมถะและวิปัสสนาญาณ

 อย่าท้อถอยนะ ผิดแล้วก็เริ่มต้นใหม่ หมั่นกำหนดจิตรู้ลมเข้าออกอยู่เนืองๆ จิตจักได้เคยชิน จักภาวนาควบคู่ไปด้วยก็ได้ ไม่ภาวนาก็ได้ ให้หมั่นกำหนดรู้อยู่เสมอ สมาธิจิตจักได้ทรงตัว

 รู้อย่างเบาๆ มีสติสัมปชัญญะ กำหนดรู้การเข้าออกของลมหายจ อย่าไปรู้แบบหนักๆ จิตมีวิตกกังวลแบบนั้นจักไม่เป็นผล เป็นอัตตกิลมถานุโยค จิตหนัก สมาธิหนักเกินไป ไม่เป็นผล

ผู้แสดงความคิดเห็น ธนา อรุณภิญโญพล (Nirvana_time-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-05-21 00:16:51


ความคิดเห็นที่ 4 (1546886)

อนุโมทนาค่ะคุณธนา ชนิดาก็ประมาทในนิวรณ์ทั้งห้ามาแบบสุดๆเหมือนกัน

ไม่ได้การณ์แล้ว ปล่อยให้จิตสิ้นเรี่ยวแรง..มาตั้งนานแล้ว....

ว่าแล้วก็ต้อง สู้กันหน่อย..ล่ะ ทีนี้

ผู้แสดงความคิดเห็น ชนิดา เชิงสะอาด ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-05-21 04:43:55


ความคิดเห็นที่ 5 (1546928)

 

    อนุโมทนาด้วยนะคะ  จะรอทำเป็นเล่มไว้อ่าน  เพราะถนัดอ่านจากหนังสือ 

อยากอ่านเมื่อไรก็หยิบมาอ่านได้

ขณะนี้ได้  2  หน้าแล้วค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ตาล (ฉวีวรรณ นภาพรรณราย) (cha2508-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-05-21 12:17:49


ความคิดเห็นที่ 6 (1547470)

 อนุโมทนาครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น นายคมกริช นามมงคุณ (komkom-dot-ko-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-05-23 14:07:06


ความคิดเห็นที่ 7 (1547504)

ขออนุโมทนากับคุณธนาด้วยค่ะ  สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น รัตนา จันทร์อ่อน (pouging1-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-05-23 16:52:19


ความคิดเห็นที่ 8 (1547525)

ความตายกับความเจ็บไข้

พระพุทธองค์ทรงแนะนำสั่งสอนเรื่อง ความตายกับความเจ็บไข้ไม่สบาย มีความสำคัญว่า

          ๑. "ถ้าร่างกายไม่ดี ให้พิจารณามรณานุสสติ บวกอุปสมานุสสตินั้นถูกต้องแล้ว เพื่อความไม่ประมาทในชีวิต เพราะความตาย อาจเกิดขึ้นได้ ในทุก ๆ ขณะจิต และที่คิดว่าไม่รู้จักดิ้นรนไปทำไมเพราะทุกชีวิตมีความตายเป็นของธรรมดา จุดนั้นก็เป็นการถูกต้องแล้ว เพราะคนไม่ตาย ไม่มีในโลก และที่ตั้งใจปลอบจิตตนเองไม่ให้หวั่นไหวในความตายด้วยอุบายว่า ถ้าไม่ตายก็ไปพระนิพพานไม่ได้ คนไปพระนิพพานได้ ก็คือคนที่ตายแล้ว  ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกจุดนี้ก็ถูกต้อง เพราะฉะนั้นให้รักษาอารมณ์จิตให้แน่วแน่อยู่เสมอ ๆ มิใช่จักมาทำเอาเฉพาะที่ร่างกายมันป่วยหนักเท่านั้น"
 
          ๒. "ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง จงอย่ามีความประมาทในชีวิต อาการเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นการบอกเตือน ให้ระลึกนึกถึงร่างกายตามความเป็นจริง โดยให้พิจารณารูป เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ ว่าไม่เที่ยง และไม่ใช่เรา มิใช่ตัวตนของใคร ปล่อยวางให้สบาย ๆ การรักษาให้ยาก็จำเป็นที่จักต้องรักษาเพื่อบรรเทาทุกขเวทนาชั่วคราว มิใช่รู้ว่าไม่ใช่เราแล้วปล่อยช่างมัน ไม่รักษา ทุกขเวทนายิ่งเบียดเบียนหนักยิ่งขึ้น ทุกอย่างจักต้องอาศัยปัญญา"
 
          ๓. "ร่างกายไม่มีแก่นสารก็จริงอยู่ แต่การระงับทุกขเวทนา มีความจำเป็นอย่างยิ่งแก่ร่างกาย สภาวะของจิตใจก็เช่นกัน ถ้าปล่อยให้ทุกขเวทนาเบียดเบียนมาก ก็ทำความทุกข์ทรมานให้เกิดแก่จิตใจมากเช่นเดียวกัน ดังนั้นจงพยายามปลดทุกข์ให้มาก หรือระงับเวทนาได้ด้วยสติ-ปัญญา แต่มิใช่การคิด การคาด การเดาเอาเอง จักต้องอาศัยคำสอนของพระตถาคตเจ้า คือพระธรรมที่มีพุทธบัญญัติอยู่แล้ว ทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั่นแหละจึงพ้นทุกข์ได้ นอกเหนือจากนั้น มิใช่คำสอนของพระตถาคตเจ้า และจงจำหลักทุกอย่างในไตรภพ ไม่มีอันใดเที่ยง ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลง มีการอนัตตาไปในที่สุด แล้วทุกอย่างก็พังสลายตัวไปหมด ยึดเมื่อไหร่เป็นทุกข์เมื่อนั้น จักพ้นทุกข์ก็จักต้องประพฤติตามโลกุตรธรรม ธรรมที่กล่าวมาทั้งหมด เพื่อการปล่อยวาง เพื่อการพ้นจากไตรภพ พวกเจ้ามุ่งหวังการไม่เกิด ก็จงหมั่นดูกาย วาจาใจ ของตนให้บริสุทธิ์อยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา หรืออริยมรรค ๘ นั่นแหละ"
 
          ๔. "ชีวิตสุขภาพของร่างกาย ย่อมกำหนดไม่ได้ที่จักให้เที่ยงแท้หรือแน่นอน เพราะมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ดูแต่กระแสของจิต หรือที่เรียกกันว่าอารมณ์ ฝึกแล้วฝึกอีกก็ยังยากที่จะกำหนดได้ การฝึกฝนร่างกายอย่างนักกีฬา ก็ฝึกฝนได้เพียงชั่วขณะหนึ่ง แต่ไม่ช้าไม่นาน เมื่อวัยมากขึ้น โรคและชราก็มาเยือนร่างกายนี้ให้แปรปรวนให้ทรุดโทรมลง ต่างกับจิตใจ ยิ่งฝึกยิ่งเข็มแข็ง ยิ่งมีความอดทนผ่องใส ยิ่งกว่าอื่นใด ไม่ได้ทรุดไม่ได้โทรมเหมือนกับร่างกาย ความสำคัญอยู่ที่ว่า เวลาฝึกฝนจิตใจให้อดทนเข็มแข็งนั้นเพียงพอหรือยัง หากยังไม่เพียงพอ ต้นเหตุก็เพราะจิตนั้นยึดเกาะเวทนาของร่างกายมากจนเกินไป ให้พยายามใช้ปัญญาเป็นตัวปลด จึงจักปล่อยวางได้ การที่จักดูว่าปล่อยวางได้หรือไม่ได้ ก็เอาเวทนาที่เกิดขึ้นของร่างกายนี่แหละเป็นตัววัด"
 
          ๕. "อย่ากังวลเรื่องสิ่งของ เพราะเป็นปกติธรรมของการเกิดเป็นมนุษย์ ไม่หาก็ไม่มีเครื่องอยู่ เมื่อหาแล้วคำว่าพอดี ก็ไม่ค่อยจักมี ส่วนใหญ่ให้รู้สึกขาดและเกินพอดีมากกว่า การนึกเบื่อนั้นนึกได้ แต่เป็นความเบื่อผสมกับความทุกข์ เพราะไม่ได้ใช้ปัญญา จักต้องเบื่อแล้วปล่อยวาง เห็นเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ทุกข์นั่นแหละ จึงจักเป็นการวางอารมณ์ที่ถูกต้อง"
 
          ๖. "ให้พิจารณาอารมณ์ของจิต ให้ทราบอารมณ์ของจิตว่า ที่มีความอึดอัดขัดข้องอยู่นี้ เป็นด้วยเหตุประการใด อย่าให้โมหะจริต หรือวิตกจริตเข้าครอบงำดวงจิตให้มากจนเกินไป พิจารณาให้ลงตัวให้ได้ แล้วจิตจักมีความสุขเกิดขึ้นได้ อย่าให้ความกังวลใด ๆ มาเป็นตัวถ่วงความเจริญของจิต ให้รู้ว่าจิตที่เสื่อมมีอะไรเป็นต้นเหตุ ให้รู้ว่าจิตที่เจริญมีอะไรเป็นต้นเหตุเช่นกัน อย่าให้จิตตกอยู่ในกระแสของโลกนานเกินไป พยายามให้จิตอยู่ในโลกพระนิพพานนานเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น"
 
          ๗. "อนึ่งการเจ็บไข้ได้ป่วยนี่แหละเป็นการวัดกำลังใจของตนเอง อันที่จักปลดปล่อยวางร่างกายได้ขนาดไหน การดูแลรักษา จำเป็นต้องมีเพื่อระงับทุกขเวทนา แต่ในขณะเดียวกัน จิตจักวางความกังวลในร่างกาย ความรู้สึกเหมือนกับเราดูแลเด็กไปตามหน้าที่ แต่ความผูกพันห่วงใยวิตกกังวลในเด็กนั้น ไม่มี เด็กจักเป็นอย่างไรก็เรื่องของเด็ก อารมณ์มีความสุข ความเดือดร้อนทุกข์ใจนั้นไม่มีเลย ทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่ที่การพิจารณาร่างกายให้เห็นตามความเป็นจริง เอาจิตเข้าไปยอมรับนับถือร่างกายว่าเป็นอย่างนี้ เราคือจิตไม่สามารถฝืน หรือบังคับร่างกายไม่ให้แก่ไม่ให้ป่วยได้เลย แล้วในที่สุดมันก็ตาย พิจารณาให้ลงตัวให้จิตเป็นเอกัตคตารมณ์ จิตจึงจักคลายหรือวางความวิตกกังวลลงได้"
 
          ๘. "ดูร่างกายที่มันโทรมลงทุกวัน ให้เห็นความตายใกล้เข้ามาทุกที จงอย่ามีความประมาทในชีวิต ให้คิดอยู่เสมอว่าความตาย เข้ามาถึงชีวิตได้เสมอ แล้วจงทำความรู้สึกไม่เสียดายชีวิตเพราะถึงอย่างไรก็หนีความตายไปไม่พ้น และร่างกายเท่านั้นที่เป็นฝ่ายตายไป ตัวเราเองคือจิตไม่มีวันตาย ถ้ากิเลสตัณหาไม่สิ้นไปจากจิตเพียงใด เมื่อละจากภพนี้ก็ไปสู่ภพหน้าอีก ให้ตั้งใจไว้เลยว่า ต่อไปจักไม่มาเกิดอีก คำว่าภพชาติจักไม่มีกับเราอีก"
 
ขอบคุณที่มา : http://www.tangnipparn.com/Frameset-3.html

ผู้แสดงความคิดเห็น ธนา อรุณภิญโญพล (nirvana_time-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-05-23 19:34:02


ความคิดเห็นที่ 9 (1547542)

โอ้ยยย...จั๋งแม่นคักหลายเด้อ

พ่อใหญ่ธนา

ขออนุโมทนาบุญหลายๆเด้อ

จั๋งซี้เนาะคนดีศรีบ้านสวนพีระมิด

.........

ผู้แสดงความคิดเห็น ตัวเล็ก พงษ์เดช ชาวไทย (phongdech1665-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-05-23 20:24:22


ความคิดเห็นที่ 10 (1547554)

 

๙. "ให้อดทนเข้าไว้ ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นให้อดทน ถือว่า ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ทนไม่ได้ก็ต้องทน แล้วพยายามมีสติปล่อยวาง ทุกสิ่งทุกอย่าง พยายามปลดทุกข์ออกจากจิตให้ได้มากที่สุด โดยใช้ปัญญาพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริง อย่าฝืนธรรม อย่าฝืนโลก แล้วจิตจักเป็นสุข"
            ๑๐. "ร่างกายที่เห็นอยู่ในปัจจุบันอย่าไปคิดว่ามันจักทรงตัวอยู่อย่างนี้ตลอดไป ให้คิดพิจารณายอมรับนับถือตามความเป็นจริงว่า ร่างกายมันเสื่อมลงไปทุกวัน หาความจีรังยั่งยืนอะไรไม่ได้ แล้วให้สังเกตอารมณ์ของจิต มักจักฝืนความจริงอยู่เสมอ จิตมันถูกกิเลสหลอกว่า ร่างกายจักดีอยู่เสมอ และแม้ว่าขณะป่วยๆอยู่นี่แหละกิเลสมันยังจักหลอกว่า พรุ่งนี้ มะรืนนี้ ทนเอาหน่อย ประเดี๋ยวก็หายป่วย จิตมันไม่เคยคิดว่า วันนี้ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ ร่างกายมันอาจจักตายก็ได้ หรือบางขณะคิด แต่จิตก็หาน้อมยอมรับนับถือ ตามที่คิดก็หาไม่ มันคิดว่าหายามากิน แล้วก็เป็นผลดีหายป่วยแน่ ๆ นี่แหละสอบอารมณ์จิตไว้ให้ดีๆ จิตมันหลอกเก่งมาก การเตรียมพร้อมที่จักไปพระนิพพาน จักต้องเห็นร่างกายพังได้อยู่ตลอดเวลา ร่างกายของตนเอง ของบุคคลอื่น สัตว์ วัตถุธาตุพังหมดไม่มีเหลือจิตจักต้องมีอารมณ์ คลายจากการเกาะยึดสิ่งเหล่านี้ ปลดจากอารมณ์ยึดมั่นถือมั่นว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความทรงตัว นั่นแหละจึงจักไปพระนิพพานได้ จงอย่าท้อใจ และจงอย่าละความเพียร ในเมื่อต้องการจักไปพระนิพพาน ก็ต้องจักทำให้ได้ตามนี้"         
            ๑๑."อย่าตีตนไปก่อนไข้ แต่การที่ไม่ประมาทนั้นเป็นของดี เพราะชีวิตของเรานั้นสั้นนิดเดียว ให้พิจารณาชีวิตตามความเป็นจริงแล้ว จักเห็นสิ่งที่เป็นความตายแฝงอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก แต่ในยามปกติร่างกายอุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุ ๔ คนเราจึงไม่มีความรู้สึกตามความเป็นจริง มีแต่ความรู้สึกสบาย ไม่เคยว่ามันจักแปรปรวน ทั้งๆที่ร่ายกายก็แปรปรวนของมันอยู่เป็นปกติตลอดเวลา ความโง่เข้ามาบดบังจิต ทำให้มองความจริงไม่เห็นต่อไปนี้จักต้องดูให้มากๆ เมื่อถึงเวลาละร่างกาย จิตจักได้ปล่อยวางได้"
            ๑๒. "อย่าประมาทต่อการสร้างความดี ให้ทำจิตให้มั่นคงไว้เสมอ ทำอะไรไม่หวังผลตอบแทน นอกจากพระนิพพาน จุดเดียวเท่านั้น ให้โจทย์จิตเอาไว้อยู่เสมอ มองชั่วแก้ชั่วเท่านั้น ความดีก็จักเข้ามาถึงเอง เรื่องประการอื่น ๆ จงอย่ากังวลและอย่าห่วงใยให้มากนัก ทุกอย่างให้ทำเป็นหน้าที่เท่าที่ยังมีชีวิตอยู่นี้ทำให้ดีที่สุดเท่าที่จักทำได้ นอกเหนือจากนั้น ก็รักษากำลังใจให้เสมอต้นเสมอปลาย อย่าท้อแท้ เพราะอุปสรรคทั้งหลายที่เข้ามาทดสอบจิตนี้แหละเป็นครู"
            ๑๓. "รักษากาย วาจา ใจ ให้เป็นสุข มีความผ่องใสให้แน่วแน่ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างทำเพื่อพระนิพพานการทำเพื่อพระนิพพาน คือการกระทำกาย วาจา ใจ ให้อยู่ในกรอบของศีล สมาธิ ปัญญา แล้วใครที่ไหนอื่นก็ไม่สำคัญเท่ากับกาย วาจา ใจ ของตนเอง อย่าไปเพ่งโทษตำหนิใครที่ไหนอื่น ให้เพ่งโทษตำหนิ กาย วาจา ใจของตนเองเข้าไว้ จักได้ประโยชน์กว่า เรื่องกฎของกรรม ไม่มีใครเขาทำเราไว้หรอก มีแต่ตัวของเราเองทำเอาไว้มาแต่อดีตทั้งสิ้น  ให้พิจารณาแล้วจงยอมรับนับถือในกฎของกรรมพยายามรักษา กาย วาจา ใจ ให้มั่นคง อย่าได้ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งหลายทั้งปวงที่เข้ามารุมเร้า รักษากำลังใจให้ตั้งมั่น จักอดทนต่อทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อให้ได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาตินี้จุดเดียวเท่านั้น เป็นใครจักเป็นอย่างไรอย่าสนใจ"
            ๑๔. "ร่างกายที่เห็นๆ เป็นของใครก็ไม่รู้ ดูให้ถนัดๆ จักเห็นสภาวะธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีอากาศธาตุและวิญญาณธาตุ เข้ามาอาศัยอยู่เท่านั้น เป็นสมบัติของโลก ถ้าหากยังหลงติดอยู่ในร่างกาย ก็เท่ากับถูกจองจำอยู่ในโลกไม่มีที่สิ้นสุด ไป ๆ มา ๆ เกิด ๆ ดับๆ อยู่กับร่างกาย ไม่มีที่จักหลุดพ้นออกไปได้ ในเมื่อพวกเจ้าต้องการที่สิ้นสุดของตัณหา ก็จงพิจารณาร่างกายให้ปรากฏชัด ถึงอาการ ๓๒ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ สิ่งเหล่านี้เป็นของใคร ของเราหรือ ยึดได้ไหม ให้พิจารณา อย่าสักแต่ว่ารู้อย่างเดียว จิตยังไม่แจ้งแทงตลอด จิตรู้แต่ก็ยังไม่วางร่างกาย ยังคงยึดมั่นถือมั่นอยู่ จักต้องให้แจ้งแทงตลอดขึ้นมาในจิตนั่นแหละ จึงจักวางร่างกายลงได้อย่างสนิท"
            ๑๕. "เรื่องของร่างกายให้หมั่นดูเอาไว้เสมอ จักได้ปัญญาเกิดขึ้นกับจิต มิใช่ท่องจำเอาเป็นเพียงสัญญา รู้สึกเพียงแต่ว่ารู้ แต่ปล่อยวางอะไรไม่ได้เลย ให้มองชีวิตและร่างกายที่เห็นอยู่นี้มันคืออะไรกันแน่ เป็นของเราหรือเป็นของใคร มันมีความเที่ยงแท้แน่นอนหรือ ควรยึดถือหรือไม่ควรยึดถือ ให้ดูให้ชัด จักต้องฝึกสติสัมปชัญญะ ค่อยๆ หัดดู อันจิตนี้มันชินกับกิเลสมารมานาน ร่างกายชีวิตมันหลอก หรือว่าจิตของเรามันหลอก ดูให้ชัดๆ หมั่นดูบ่อยๆ จึงจักวางอุปาทานขันธ์ลงได้ ต้องค่อย ๆ เป็นไป แต่จักต้องฝึกจิตให้มันดูร่างกาย พิจารณาชีวิตให้เห็นถึงที่สุดของความทุกข์นั่นแหละจึงจักวางทุกข์ลงได้ อย่าใจร้อน ให้ค่อยๆฝึกจิตไป แต่ในขณะเดียวกัน ก็จงอย่าแชเชือนปล่อยปละละเลยกรรมฐาน จนไม่มีอะไรก้าวไปข้างหน้า ดีไม่ดีก็จักถอยหลังเข้าคลองเสียอีก ให้ดูอารมณ์จิตเอาไว้ด้วย"
            ๑๖. "ดูร่างกายที่มันเสื่อมลงไปทุกวัน ทรุดโทรมลงไปทุกวัน นี่แหละคือความจริงของร่างกาย ซึ่งทุกรูปทุกนามเหมือนกันหมด ไม่มีใครสามารถหนีความจริงไปได้ ยืน เดิน นั่ง นอน ให้ดูร่างกายตามความเป็นจริงอยู่เสมอ พิจารณาให้เห็นอยู่เนือง ๆ กล่าวคือเห็นจนกระทั่งจิตวางร่างกายให้เป็นไปตามกฎธรรมดา การอยู่จักต้องรักษาไปตามหน้าที่ แต่ถ้าหากตายจิตก็ไม่ผูกพัน พร้อมที่จักปล่อยวางในทันทีทันใด จุดนี้เป็นจุดสำคัญมาก ถ้าหากไม่ก้าวผ่าน การไปให้ถึงซึ่งพระนิพพานก็เป็นของยาก พิจารณาเข้าไว้วันละเล็กวันละน้อย ให้จิตมันชินอยู่กับการพิจารณาร่างกาย ทำบ่อย ๆ คือ พยายามฝึกจิตให้เห็นร่างกาย ตามความเป็นจริงจิตจักคลายความเกาะติดร่างกายไปได้ทีละเล็กทีละน้อย จนในที่สุดจักปล่อยวางร่างกายลงได้สนิท อย่าทิ้งความพยายาม ทำไปแล้วจักเห็นผลที่ได้เอง"
 
            : ข้อพิจารณา
            ๑. ธรรมของพระพุทธองค์ที่ทรงตรัส ล้วนผูกพันเกี่ยวเนื่องโยงถึงกันได้หมด จะตรัสพระธรรมจุดใดที่ไหน เป้าหมายก็เพื่อให้จิตละปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในร่างกายหรือขันธ์ ๕ ว่า มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา หรือวางอุปาทานขันธ์ให้ได้ ด้วยอุบายทางธรรม เพื่อนำไปสู่ความพ้นทุกข์ อย่างถาวร คือพระนิพพานทั้งสิ้น
            ๒. ทรงให้หาความจริงที่ร่างกายให้พบ ด้วยจิตของตนเอง ด้วยความเพียรอย่างยิ่งจนกระทั่งจิตยอมรับความเป็นจริง แล้ววางอุปาทานขันธ์ได้ในที่สุด
            ๓. คำสั่งสอนมีมากถึง ๘๔,๐๐๐พระธรรมขันธ์ ทุกตอนล้วนกล่าวถึงเรื่องกายกับจิตทั้งสิ้น ทุกคนที่เกิดมาต่างก็มีกายกับจิตด้วยกันทุกคน การปฏิบัติจึงเน้นให้ฝึกจิตตนเอง ให้รู้ความจริงของร่างกายของตนเอง อย่าไปยุ่งกับกายและจิตของผู้อื่น พระธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น (ทุกข์อย่างถาวร) ล้วนอยู่ที่กายเรา จิตเราทั้งสิ้น ใครไปหาธรรมนอกกายตัว นอกจิตตัว ถือว่ายังไม่เข้าใจพระธรรมคำสั่งสอน ของพระองค์อย่างแท้จริง
            ๔. พระธรรมที่ยกมา ๒ ตอนนี้ ล้วนมีเป้าหมายเพื่อละอุปาทานขันธ์ หรือละสักกายทิฏฐิ หรือเพื่อความไม่ประมาททั้งสิ้น
ผู้แสดงความคิดเห็น ธนา อรุณภิญโญพล (nirvana_time-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-05-23 21:00:05


ความคิดเห็นที่ 11 (1547564)

                                                       อย่าตำหนิกรรมของผู้อื่น

(โ ด ย ส ม เ ด็ จ อ ง ค์ ป ฐ ม)
ทรงเมตตาสอนไว้เมื่อ ๒๗ กันยายน ๒๕๓๕ พิจารณาแล้วเห็นว่ามีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่อ่าน แล้วนำไปปฏิบัติให้เกิดผล มีความสำคัญโดยย่อดังนี้
          ในวันนี้ข้าพเจ้าและเพื่อนผู้ปฏิบัติธรรม มองเห็นชายคนหนึ่งที่แพเลี้ยงปลาของวัด จับปลาสวายตัวใหญ่ (ปลาของวัดเชื่องมาก) ขึ้นมาจากน้ำ ปลาก็ดิ้นจนหลุดจากมือตกน้ำไป เขาก็จับปลาขึ้นมาใหม่ด้วยความสนุกสนาน ในครั้งนี้ปลาดิ้นแล้วตกลงที่พื้นกระดานของแพปลา แล้วจึงตกลงไปในน้ำเมื่อพวกเราเห็นการกระทำ (กรรม) ของเขา ก็เกิดอารมณ์ปฏิฆะ (ไม่พอใจ) พูดขึ้นว่า ”บ้า” อีกท่านหนึ่งพูดว่า “ทะลึ่ง” ซึ่งเป็นการคิดชั่ว พูดชั่ว (สอบตกในมโนกรรมและวจีกรรมทั้งคู่)
          สมเด็จองค์ปฐมทรงเมตตาตรัสสอนว่า (เพื่อสะดวกในการจดจำ แล้วนำไปปฏิบัติต่อ ขอเขียนเป็นข้อๆ) ดังนี้
 
          ๑. "เหตุที่จิตมีอุปาทาน ยึดเอากรรมของผู้อื่นมาใส่จิตของเรา จึงกล่าวเป็นวจีกรรมหลุดออกไป เพราะเหตุไม่รู้เท่าทันอารมณ์ของจิต ที่ยึดเอาอุปาทานนั้นๆ(บุรุษผู้สร้างกรรมกับปลา) ถ้าไม่ใช่อดีตกรรมส่งผลให้เขาทำกับปลา กล่าวคือ ถ้าไม่ใช่ปลาเคยเป็นคนมาแล้ว จับคนที่เป็นปลาอยู่อย่างนี้แล้ว กรรมนี้ก็เป็นกรรมปัจจุบัน คือ มีอารมณ์ฟุ้งซ่านเหลวไหล เห็นสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ มีอารมณ์สนุกไปกับการเบียดเบียนปลา จึงสร้างกรรมนี้ให้เกิดขึ้น ซึ่งกรรมนี้เมื่อลุล่วงไปแล้ว ก็เป็นกายกรรมอันส่งผลให้เกิดกรรมในอนาคตได้ กล่าวคือจะต้องมีชาติหนึ่งในต่อไปข้างหน้า บุรุษนี้ก็จะเกิดมาเป็นปลาสวาย และปลานั้นกลับชาติมาเกิดเป็นคนจับเงี่ยงปลาชูให้ดิ้นรน จนกระทั่งตกลงกระแทกแพอีก นี่คือกรรมภายนอก แต่เจ้าทั้งสองเอามาเป็นกรรมภายใน สร้างวจีกรรมให้เกิด เท่ากับเห็นคนผิด เห็นปลาถูก จึงไปตำหนิกรรมอยู่อย่างนั้น วจีกรรมคือนินทากับสรรเสริญนั่นเอง
 
 
          ๒. "ถ้าจิตยังละการตำหนิกรรมไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นมโนกรรมหรือวจีกรรม ก็เท่ากับสร้างผลกรรมให้ต่อเนื่องกันไป ในการตำหนิกรรมไม่รู้จักสิ้นสุด ในเมื่อโลกนี้มันเป็นวัฏจักรอยู่อย่างนี้ ผิดถูกในโลกนี้ไม่มี มันมีแต่กรรมล้วนๆ
 
          ๓. "ในเมื่อเจ้าทั้งสองตำหนิกรรมอย่างนี้แล้ว พอไปชาติหน้าก็ประสบมาเป็นคน จากคนที่เป็นปลาก็ต้องมาตำหนิกรรมอีก เมื่อมัวแต่ตำหนิธรรมหรือกรรมของผู้อื่น อันสืบเนื่องเป็นสันตติประดุจกงกำกงเกวียน หมุนเวียนต่อเนื่องกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แล้วพวกเจ้าจะเอาชาติไหนมาตัดสินว่าใครผิด-ใครถูก โลกทั้งโลกมันเป็นอยู่อย่างนี้ เพราะกิเลส-ตัณหา-อุปาทาน-อกุศลกรรมเป็นเหตุ ทำให้จิตของคนกระทำกรรมให้เกิดแก่มโน-วจีและกายได้อยู่เป็นอาจิณ
 
          ๔. "เจ้าต้องการพ้นกรรม ก็จงหมั่นปล่อยวาง มองเห็นเหตุแห่งกรรม อะไรจักเกิดก็ต้องคิดว่า กรรมใครกรรมมัน รู้สันตติของกฎแห่งกรรมว่ามันเป็นอย่างนี้ ถ้าเขาไม่ทำกรรมกันมาก่อน กรรมนี้ก็จักไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นมาได้ ตถาคตจึงได้ตรัสยืนยันว่า กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เมื่อเรารู้เหตุก็จงดับที่เหตุแห่งกรรมนั้น จงอย่ามองว่าใครผิดใครถูก กรรมถ้าไม่ใช่เขาก่อขึ้นเอง มันก็เกิดขึ้นไม่ได้เองหรอก”
 
          ๕. "เมื่อพวกเจ้าเข้าใจดีแล้ว ก็จงหมั่นทำจิตให้พ้นจากการตำหนิธรรมเถิด ค่อยๆวางค่อยๆทำ กายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม ก็จะละเอียดขึ้นตามลำดับ กำหนดจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในวิมุติธรรม ทำอารมณ์สังขารุเบกขาญาณ ยอมรับนับถือกฎของกรรมให้เกิดขึ้นในจิต ทำบ่อยๆเข้ามรรคผลก็จะปรากฏขึ้นเอง อย่าละความเพียรเสีย กระทบเท่าไหร่-เมื่อไหร่-ที่ไหนก็ต้องรู้ อย่าตำหนิธรรมให้เกิดขึ้นกับจิต เห็นกรรมที่เป็นสภาวะอย่างนี้อยู่ให้ชัดเจนอยู่ตลอดเวลาอยู่กับจิต ผู้ไม่รู้ย่อมกอปรกรรมให้เกิดด้วยจิตอุปาทานในกรรมนั้น ๆ กรรมใครกรรมมัน พวกเจ้าอย่าไปเกาะยึดเอากรรมนั้นๆมาตำหนิดีเลว เพราะเท่ากับว่ามีอุปาทานเห็นกรรมนั้น ๆ ว่าดี-เลว เมื่อจิตมีอุปาทานตำหนิดี-เลวจนเป็นมโนกรรม แล้วยับยั้งไม่อยู่ ก็ออกปากตำหนิดี-เลว จนเป็นวจีกรรมอีก
 
          ๖. "ถ้าบุคคลไม่รู้อุปาทานนี้ ทำกรรมโดยลงแพไปต่อว่าต่อขานคนที่จับปลาเข้า ถ้ายังอารมณ์ปฏิฆะให้เกิด ก็จะทะเลาะกัน ดีไม่ดีก็จักทำร้ายร่างกายกัน จนเป็นกายกรรมสืบเนื่องต่อกันไปได้ ดังมีตัวอย่างมามากมาย คนอื่นเขาทะเลาะกัน สร้างกรรมกัน คนนอกเข้าไปสอดแทรก เป็นกรรมการห้ามปราม คู่กรณีไม่ยอมฟังเกิดอารมณ์โทสะขึ้นหน้า ลงมือทำร้ายกรรมการเสียจนตายไปด้วยความหมั่นไส้ เพราะฉะนั้น เมื่อพวกเจ้าปรารถนามรรคผลนิพพาน ก็ไม่ควรต่อกรรมกันไปอีก ยุติการตำหนิกรรมลงเสียให้ได้ ไม่ว่าจักเป็นกายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม ก็ต้องยุติลง ใช้ศีล-สมาธิ-ปัญญาอันเกิดแก่จิต พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงในสันตติวงล้อวัฏจักรกรรมว่ามันเป็นอยู่อย่างนี้เอง พยายามทำจิตให้ยอมรับกฎของกรรมโทษของกรรมไม่ว่าดีหรือเลวนั้นไม่มี เห็นแต่กงกำกงเกวียนหมุนเวียนอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด จงยอมรับกฎของกรรมซึ่งยุติธรรมที่สุด ใครทำใครได้ อย่าไปมีหุ้นส่วนกรรมกับใครๆเขาโดยการตำหนิกรรมเป็นอันขาด จำไว้นะ
 
          ขอยกตัวอย่างอารมณ์ที่สอบตกสัก ๒ เรื่อง
          เรื่องแรก...มีความโดยย่อว่า มีคนมาเล่าให้ฟังว่า หญิงแก่คนหนึ่งว่าจ้างรถจากในเมืองให้มาส่งที่วัดท่าซุงในราคา ๕๐ บาท พอรถมาส่งที่วัด หญิงแก่กลับให้ค่ารถเพียง ๑๐ บาท บอกว่าฉันมีแค่นี้จะเอาหรือไม่เอา คนรถก็ตำหนิหญิงคนนั้นว่า อะไรกัน คนมาปฏิบัติธรรมที่วัดใหญ่โต แต่ไม่มีสัจจะ พอได้ยินเขาเล่าเพียงแค่นี้ จิตก็ปรุงแต่งตำหนิหญิงแก่นั้นเสียยืดยาว คือ ร่วมวงนินทาปสังสากับผู้เล่าเสียเพลิน กว่าจะรู้ตัวว่าสอบตก ผิดทั้งมโนกรรมและวจีกรรม ก็ว่าไปครบสูตรแล้ว จึงต้องขอขมาพระรัตนตรัย
 
          เรื่องที่ ๒ คือ ตัวของข้าพเจ้าเอง พอขอขมาพระรัตนตรัยเรื่องการตำหนิกรรมของบุรุษผู้สร้างกรรมกับปลาแล้ว ตาก็เห็นหนังสือพิมพ์พาดหัวโต ๆ ว่า เมืองไทยมีคดีฆ่าคนตายมากเป็นอันดับ ๒ ของโลก จิตก็ตำหนิกรรมทันทีว่าไม่จริง เป็นอุปาทานของนักข่าวเอง เพราะประเทศอื่นๆอีกหลายประเทศที่มีคดีฆ่าคนมากกว่าเรา แต่หนังสือพิมพ์เขาไม่ประโคมข่าวในหนังสือพิมพ์หน้าแรกเหมือนเมืองไทย เมืองไทยชอบประโคมข่าวชั่วร้ายข่าวไม่ดีในหน้าแรกตัวโตๆ ชอบขายข่าวบนความทุกข์ของชาวบ้าน ว่าเสียยาวกว่าจะรู้ตัวว่าสอบตก ผลก็คือต้องขอขมาพระรัตนตรัยอีกครั้ง
 
          : หมายเหตุ
          นี่คือตัวอย่างเมื่อ ๑๕ ปีที่แล้ว ผู้อ่านพระธรรมบทนี้แล้วหากหวังก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม เมื่อรู้ตัวเองว่าผิดก็ควรจะละอายแก่ใจ (มีเทวธรรมหรือหิริ - โอตตัปปะ) ให้ขอขมาพระรัตนตรัยทุกครั้งจนเป็นนิสัย
          ผมขออาราธนาบารมีคุณพระศรีรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง ขอให้ผู้อ่านด้วยความศรัทธาทุกท่าน จงโชคดีในธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ ในชาติปัจจุบันนี้
 
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
 
ขอบคุณที่มา : http://www.tangnipparn.com/Frameset-3.html
ผู้แสดงความคิดเห็น ธนา อรุณภิญโญพล (nirvana_time-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-05-23 21:16:10


ความคิดเห็นที่ 12 (1547779)

 

     อนุโมทนากับธรรมะดีๆของคุณธนาด้วยค่ะ

     สาธุ  สาธุ  สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น คนึงนุช (kanungnuch03-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-05-24 16:45:39


ความคิดเห็นที่ 13 (1547812)

 

ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น อ๋อย เพ็ญศิริ บุตรมนต์ (opensirio-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-05-24 18:13:43


ความคิดเห็นที่ 14 (1547933)

ขออนุโมทนาบุญกับคุณธนาด้วยค่ะ

อ่านแล้วได้ประโยชน์มากเลยค่ะ สำหรับคนมีปัญญาเท่าหางอึ่งอย่างชุติมณฑน์

เพิ่งรู้ว่าการพูดสรรเสริญก็เป็นกรรม ธรรมะของพระพุทธองค์ลึกซึ้งจริงๆ ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ชุติมณฑน์ ใจดี ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-05-24 22:35:20


ความคิดเห็นที่ 15 (1547965)

อนุโมทนานะคะพ่อใหญ่ธนา ที่ขยันหา

"เส้นทางสู่นิพพาน"มาวางให้พวกเราได้เดินจริงๆ สุดยอดดดดด...

เพิ่งจะอ่านถึงข้อ 12 แต่อดใจไม่ได้ ต้องขอมาอนุโมทนาก่อน

ปรกติจะอ่านจบก่อน แล้วค่อยอนุโมทนา

เดี๋ยวพรุ่งนี้มาพิจารณาส่วนที่เหลือ..จ๊า...

ผู้แสดงความคิดเห็น ชนิดา เชิงสะอาด ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-05-25 04:46:45


ความคิดเห็นที่ 16 (1552413)

อนุโมทนาบุญคะสาธุๆๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น บุญภิบาล คงเขียว ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-06-16 10:10:33


ความคิดเห็นที่ 17 (1552460)

อนุโมทนาบุญค่ะ

สำหรับธรรมะดีๆที่นำมาให้อ่าน สาธุค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ตฤณ นาคทุ่งเตา(จารุวัฒน์ธนทิต) (voravee_pat-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-06-16 13:45:41


ความคิดเห็นที่ 18 (1552473)

ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ฉันทนา ชูนุ่น (coffe-dot-i-joker-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-06-16 14:20:31


ความคิดเห็นที่ 19 (1552509)

สาธุ สาธุ สาธุ ขออนุโมทนาครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น วีร์พสุตม์ ลิ้มสกุลภักดี (weepasuth-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-06-16 18:13:39


ความคิดเห็นที่ 20 (1552519)

อนุโมทนาบุญด้วยค่ะคุณธนา 

ถ้าอยากฟังเสียงและโหลดเก็บไวู้ดูได้ในเวปนี้นะคะ ไอซ์ฟังทุกวันเลย

http://buddhasattha.com

แล้วเข้าไปที่ เสียงธรรมค่ะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น วราภรณ์ หล่าบรรเทา (iceteaza-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-06-16 19:30:13


ความคิดเห็นที่ 21 (1554566)

ขออนุโมทนาบุญค่ะ สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น อร่ามศรี สุวัตถิกุล (adda_bkk-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-06-27 14:11:22


ความคิดเห็นที่ 22 (1599047)

พอดีได้อ่านธรรมะของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ที่หลายๆท่านได้นำมาแชร์ไว้ใน Facebook คิดว่ามีประโยชน์อย่างมากต่อทุกท่าน เพราะเป็นธรรมะของพระพุทธองค์ที่หลวงพ่อฯนำมาสอนแก่ลูกหลานเพื่อความหลุดพ้นสู่พระนิพพาน...

ขออนุโมทนาบุญทุกบุญและขอบคุณที่มาทุกๆแหล่งธรรมะ:

Facebook : BuddhaSattha, ชนะ สิริไพโรจน์ และทุกท่านที่ได้ร่วมแชร์พระธรรมอันล้ำค่าในเฟสบุ๊ค

ผู้แสดงความคิดเห็น ธนา อรุณภิญโญพล (nirvana_time-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-23 23:21:52


ความคิดเห็นที่ 23 (1599048)
ก่อนภาวนาควรพิจารณาอย่างไร
คำสอนหลวงปู่ปาน โดยหลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง

เริ่มต้นให้พิจารณาขันธ์ ๕ ก่อน
โดยพิจารณาว่า ขันธ์ ๕ นี้
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา...
ท่านสอนให้รู้เรื่องของขันธ์ ๕ จนละเอียด
แล้วสั่งให้พิจารณาไป ท่านบอกว่าการพิจารณาอย่างนี้
ถ้าพิจารณาได้ตลอดไป โดยที่จิตไม่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่น
ท่านให้พิจารณาเรื่อยไป
ท่านบอกว่าพิจารณาได้ตลอดวันตลอดคืนยิ่งดี
แต่ท่านไม่ได้บอกว่าเป็นวิปัสสนาญาณ
เพียงแต่ท่านบอกว่า ก่อนภาวนา
ควร พิจารณาขันธ์เสียก่อน
และไม่ต้องรีบภาวนา
ถ้าใครพิจารณาจนเห็นว่า
ร่างกาย ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา
อัตภาพตัวตนเป็นเพียงธาตุ ๔
ประชุมเป็นร่าง เป็นที่อาศัยชั่วคราวของจิต
จนละความห่วงใยในขันธ์ ๕ เสียได้
โดยที่ไม่ได้ภาวนาเลยก็ยิ่งดี

ผู้แสดงความคิดเห็น ธนา อรุณภิญโญพล (nirvana_time-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-23 23:24:48


ความคิดเห็นที่ 24 (1599049)
จะรู้ได้อย่างไรว่าศีลเราบริสุทธิ์หรือยัง
โดยหลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง

จงจำไว้ว่า องค์สมเด็จพระภควันต์
ทรงสอนไว้ในอุทุมพริกสูตรว่า
๑. เราจะไม่ตั้งใจทำลายศีลด้วยตนเอง
๒. เราจะไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นทำลายศีล...
๓. เราจะไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว
คุมใจเราไว้แบบนี้ ถ้าจิตทรงอยู่อย่างนี้เป็นอารมณ์
แสดงว่าท่านทรงสีลานุสสติกรรมฐานเป็นปกติ
เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์
 
ผู้แสดงความคิดเห็น ธนา อรุณภิญโญพล (nirvana_time-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-23 23:27:27


ความคิดเห็นที่ 25 (1599050)
พระโสดาบันยังโกรธ ยังร้องไห้ ยังอยากรวยอยากสวย
อยู่หรือเปล่า
โดยหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

ถ้าถึงพระโสดาบันจริงๆ จิตจะยอมรับนับถือ
กฏของธรรมดาเพิ่มขึ้น จิตจะรักพระนิพพาน
เมื่อถูกนินทาว่าร้ายใหม่ๆ จะไม่มีความรู้สึก
... แต่ถ้าโดนนินทาหนักๆ เข้า
พระโสดาบันก็สะเทือนเหมือนกัน
เพราะยังมีความโกรธแต่ว่าไม่คิดจะฆ่าใคร
อย่านึกว่าพระโสดาบันไม่โกรธนะ
ยังโกรธอยู่แต่โกรธน้อยแล้วก็หายเร็ว
อีกประการหนึ่งกฏธรรมดาก็มีอยู่ว่า
อะไรจะเกิดขึ้นกับร่างกาย
ร่างกายจะป่วยไข้ไม่สบาย
ก็ถือว่าเป็นธรรมดาของร่างกาย
แต่ว่ามันก็ยังมีการหวั่นไหว
การนึกว่าพระโสดาบันจะไม่ร้องไห้
นี่ไม่จริง ถ้าพ่อตายแม่ตายนี่
พระโสดาบันยังร้องไห้นะ
เพราะว่าพระโสดาบันนี่กำลังใจยังไม่สูงนัก
กำลังใจยังแค่ชาวบ้านชั้นดีธรรมดา
แต่ดีกว่านิดหนึ่งคือว่าไม่ลงอบายภูมิ
พระโสดาบันยังมีความรักในระหว่างเพศ
แต่ก็ไม่นอกใจคู่ครอง
พระโสดาบันยังมีความต้องการความร่ำรวย
แต่ไม่คดโกงใคร
พระโสดาบันยังมีความโกรธ แต่ไม่คิดฆ่าใคร
พระโสดาบันยังมีความหลงไหลในร่างกาย
ยังมีความต้องการความสวยสดงดงาม
 
ผู้แสดงความคิดเห็น ธนา อรุณภิญโญพล (nirvana_time-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-23 23:29:07


ความคิดเห็นที่ 26 (1599051)
คนที่ปฏิบัติเพื่อพระนิพพานจะใคร่ครวญอย่างไรจึงจะง่ายและสั้นที่สุด

เจ้าจงใคร่ครวญอย่างนี้ จงคิดว่าเราเป็นผู้ไม่มีอะไรเลย ทรัพย์สินก็ไม่มี ญาติ เพื่อน ลูก หลาน เหลนก็ไม่มี แม้ร่างกายเราก็ไม่มี เพราะทุกอย่างที่กล่าวมามีสภาพพังหมด เร...าจะทำกิจที่ต้องทำตามหน้าที่ เมื่อสิ้นภาระคือร่างกายพังแล้ว เราจะไปพระนิพพาน เมื่อความป่วยไข้ปรากฏจงดีใจว่า ภาระที่เราจะมีโอกาสเข้าสู่พระนิพพานมาถึงแล้ว เราสิ้นทุกข์แล้ว คิดไว้อย่างนี้ทุกวัน จิตจะชิน จะเห็นเหตุผล เมื่อจะตายอารมณ์จะสบาย แล้วก็จะเข้านิพพานได้ทัน

ธรรมโอวาทหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง จากคุณ Mouy Siriprapha และคุณ Paradee Pongsethpaisal

ผู้แสดงความคิดเห็น ธนา อรุณภิญโญพล (nirvana_time-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-23 23:31:34


ความคิดเห็นที่ 27 (1599052)

สมเด็จพระพุทธกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๓ ของภัทรกัป
ทรงมีพระเมตตาให้หลวงพ่อฤาษีเตือนลูกหลาน
และบริษัทของหลวงพ่อ ซึ่งมีความสำคัญและเป็นประโยชน์มาก


... สมเด็จพระพุทธกัสสป ทรงตรัสกับหลวงพ่อว่า

"เมื่อวานนี้ คุณบันทึกเสียง บอกถึงความดีของบรรดาลูกศิษย์ลูกหา และลูกหลานทั้งหลายที่เขาทำกันว่า แต่ละคนมีวิมาน นี่คุณยังพูดไม่ครบถ้วนนะ คุณต้องบอกเขาซิ บอกเขาว่า ทุกคนที่เป็นบริษัท ของคุณน่ะ เขามีวิมานชั้นแก้ว ๗ ประการด้วยกันทุกคนแล้ว เป็นอย่างต่ำ ถึงแม้ว่าใครเขาจะทำบุญมากก็ตาม ใครเขาจะทำบุญน้อยก็ตาม แต่ว่าที่ทำ ทำไปด้วยศรัทธาแท้ไม่ใช่จำใจทำนะ

คำว่า บริษัทของคุณ น่ะหมายความว่า ที่เขามีความเลื่อมใสในคุณจริงๆ มีความเลื่อมใสในการที่คุณนำเอาพระธรรมคำสั่งสอนมาบอกเขา แล้วก็แนะนำเขาให้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ แล้วเขามีความเลื่อมใสจริงๆ อย่างนี้เรียกกันว่า บริษัท

บริษัท แท้ๆ ที่มีความมั่นใจในตัวคุณจริงๆ เขามีวิมานแก้ว ๗ ประการกันหมดแล้ว เป็นวิมานอันดับ ๒ สำหรับวิมานอันดับ ๑ นั้นมันเป็นวิมานแก้ว ๙ ประการ ทีนี้ก็มาว่ากันถึงความผ่องใสของวิมาน ความผ่องใสของวิมานย่อมแตกต่างกัน ด้วยอำนาจบุญบารมี คือกำลังของใจ แต่ก็ควรจะบอกเขาว่า วิมานแต่ละวิมาน ก็มีความสวยสด ความน่ารื่นรมย์ทั้งนั้น เขตวิมานแต่ละวิมาน บริเวณน่ะกว้างขวางไพศาล มีที่อยู่เป็นสุขสบาย มีความเลื่อมสวยสอาดวิจิตรตระการตา นี่ก็เรียกว่า ความงามของแต่ละวิมานน่ะ พรรณากันไม่ถูก"

นี่ความจริงมันเป็นอย่างนั้นนะ ความจริงเป็นอย่างนั้น ฉันไปเห็นมาแล้ว ก็เห็นตามนั้น แต่ฉันไม่ได้บอก สมเด็จพระพุทธกัสสป ท่านให้บอก ท่านตรัสอีกว่า

" เธอกลับลงไปบันทึกเสียงเอาไว้นะ บอกว่าตถาคตบอกว่าอย่างนี้
ให้ลูกหลานของเธอทุกคน หรือบริษัทของเธอทุกคน เขาตั้งใจไว้อย่างฉันพูดนะ การจะไปสวรรค์ก็ดี ไปพรหมโลกก็ดี ไปนิพพานก็ดี เป็นของง่าย ไม่ใช่ของยาก ไม่ใช่ยากอย่างที่นักปราชญ์ในโลก เขาพูดกันเวลานี้
เวลานี้บรรดานักปราชญ์ทั้งหลายนิยมความยาก สิ่งไหนก็ตามที่มันยากเขาถือว่ามันดี เป็นแบบฉบับที่ถูกต้อง แต่ฉันเห็นว่านั่นไม่ถูก ถ้าตามคติของฉัน ฉันว่าไม่ถูก
เพราะสอนคนหรือพูดให้คนเข้าใจง่ายนั้นดี และวิธีปฏิบัติเพื่อผลที่จะพึงได้ให้ง่ายที่สุดนั่นแหละดีเรียกว่าทำง่ายที่สุดและได้ผลมากที่สุด อันนี้ดีกว่า ดีกว่าหาวิธีการที่สอนให้มันยากที่สุดแล้วได้ผลน้อยที่สุด อย่างนี้ไม่ดี ไม่ใช่ความประสงค์ของฉัน

สัมพเกษี เตือนบริษัทและลูกหลานของเธออย่างนี้นะ
ว่าให้ทุกคนรู้ตัวว่ามีวิมานอยู่บนสวรรค์ชั้นกามาวจรแล้ว
เมื่อเวลาเขาทำความชั่วมาก็ช่างเถิด เวลาก่อนจะนอนให้นึกถึงความดีที่ทำไว้ ขึ้นชื่อว่าความชั่วทั้งหลายปล่อยมันไป คิดนึกถึงแต่ความดี แล้วเอาใจนี่จับไว้ว่า นี่เรามีวิมานแก้ว ๗ ประการไว้บนสวรรค์ชั้นกามาวจรแล้ว

เวลาเราจะตาย เราจะไปอยู่วิมานนั้น ถ้าเวลาป่วยไข้ไม่สบาย
ไม่ต้องเอาอะไร นึกถึงคุณพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

จะนึกถึงพระพุทธก็ได้ พระธรรมก็ได้ พระสงฆ์ก็ได้ สิ่งก่อสร้างก็ได้ อย่างใดอย่างหนึ่งไวในใจ แล้วตั้งใจว่า เราจะไปอยู่วิมานของเราที่มีอยู่แล้ว

ตั้งใจเพียงเท่านี้นะ ถ้าตายเขาจะถึงสวรรค์ชั้นกามาวจรทันที

พวกที่จะไปพรหมโลก ก็เป็นของไม่ยากนะ สัมพเกษี บอกเขานะว่าคนที่ต้องการไปพรหมโลกน่ะ คืนหนึ่งให้สร้างความดี ๑๐ นาที
ตอนกลางวันมันอาจจะเลว เอาดีกันตอนกลางคืน นั่งนับลมหายใจเข้าออกก็ตาม นั่งก็ได้ นอนก็ได้ ยืนก็ได้ เดินก็ได้ นับลมหายใจเข้าก็ได้ หรือจะนึกถึงพระกรรมฐานกองใดกองหนึ่งก็ได้ เพียง ๑๐ นาที ให้รู้ลมหายใจเข้าออกเท่านี้ก็พอ เวลาตายแล้วเป็นพรหมแน่

ที่นี้คนไหนต้องการไปพระนิพพาน ก็เป็นของไม่ยาก
สัมพเกษี ให้เขาคิดเห็นว่าโลกนี้ทั้งโลกไม่มีอะไรที่เราชอบ
ไม่มีอะไรที่เรารัก เราไม่รักอะไร เราไม่ชอบอะไรในโลกนี้
แม้ร่างกายของเราเอง เราก็ไม่ชอบ ไม่รัก เพราะมันเต็มไปด้วยความทุกข์ เต็มไปด้วยความทรมาน แล้วให้ใคร่ครวญหาความจริงในโลก จะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม มันมีสภาพทรงตัวได้ตลอดกาลหรือเปล่า

ถ้ามันมีการเปลี่ยนแปลง มีการสลายตัว ก็ถือว่าโลกนี้ทั้งโลกหาความดีไม่ได้ แล้วก็หันมาคิดถึงกายของตัวว่า กายของเราเองนี่มันยังจะตาย ยังจะพัง เรายังจะปรารถนาอะไรภายนอกอีก เราไม่ต้องการเราจะไปนิพพาน เขาคิดเท่านั้นเพียงคืนละ ๑๐ นาทีนะ สัมพเกษีนะ ลูกหลานของเธอทุกคนจะพ้นนรกหมด พ้นอบายภูมิ
อย่างน้อยก็ไป กามาพจรสวรรค์
อย่างกลางก็ไป พรหมโลก
อย่างดีก็ไป พระนิพพาน "

นี่ท่านว่าไว้อย่างนี้นะ ลูกหลานที่รักทุกคน ได้ยินหรือยัง
ถ้าได้ยินละก็จำไว้นะ ท่านสั่งสอนแบบนี้ สวัสดี

บทสรุปท้ายคำสอน

บทสรุปนี้ผมต้องขออภัยท่านผู้รู้ทั้งหลายด้วยครับ
ผมได้มาพิจารณาเห็นว่าธรรมะที่นำเสนอทางเว็ปซึ่งถือว่าเป็นสื่อสาธารณะ ใครๆ ก็เข้ามาอ่านได้ ซึ่งถ้าเป็นศิษยานุศิษย์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อแล้ว ทุกคนจะเข้าใจดีและรู้เหตุผลที่สมเด็จพระพุทธกัสสปทรงเมตตาบอกหลวงพ่อ ให้มาเตือนและแนะนำการปฏิบัติตั้งแต่กามาวจรถึงพระนิพพาน
คำสอนของพระพุทธเจ้านั้น พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู ทรงรู้ว่าจะสอนอย่างไร
กับคนกลุ่มใหน ไม่ยากไม่ง่ายแต่พอดีพอเหมาะกับแต่ละกลุ่มแต่ละบุคคล คนมีหลายกลุ่มหลายจริตและการบำเพ็ญมาก็ไม่เหมือนกัน ดังองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
ทรงแสดงธรรมถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ก็มาจากความหลากหลายของบุคคล

สำหรับท่านที่ไม่ใช่ศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่ออ่านแล้วอาจจะไม่เชื่อและอาจจะคิดว่ามันง่ายเกินไป และที่สำคัญอาจจะปรามาสพระรัตนตรัยซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก ผมจะขอเน้นสำหรับท่านที่ไม่เชื่อไม่ศรัทธาอ่านแล้วก็อย่าคิดปรามาสพระรัตนตรัย
และโปรดเข้าใจด้วยว่าที่นี่เป็นห้องเฉพาะของพระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง และพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระพุทธกัสสป ท่านทรงสอนเฉพาะลูกหลานและบริษัทของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ที่ติดตามหลวงพ่อที่ท่านได้บำเพ็ญบารมีมาถึง ๑๖ อสงไขยมิได้สอนคนทั่วไป แต่ก็ไม่ได้ห้ามถ้าท่านศรัทธาและจะนำไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีแต่ผลจะได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับกำลังวาสนาบารมีของแต่ละท่านถ้าท่านศรัทธาจริง ปฏิบัติจริง ก็คงจะมีผลตามสมควรสำหรับท่านที่อ่านแล้วไม่เชื่อ ไม่ศรัทธาเพราะไม่ตรงจริตกันก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่ติงมาก็กลัวบางท่านจะปรามาสพระรัตนตรัยและขอขอบคุณและโมทนาเป็นอย่างสูงกับทุกๆ ท่านที่ได้เข้ามาอ่านได้โมทนาและกรุณาแสดงความคิดเห็นครับ

บทความ จากคุณ
ชนะ สิริไพโรจน์ ศูนย์พุทธศรัทธา จ.สระบุรี
 
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น ธนา อรุณภิญโญพล (nirvana_time-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-23 23:34:27


ความคิดเห็นที่ 28 (1599053)
จะไปดูนรก สวรรค์ พรหม นิพานได้อย่างไร

เมื่อหลวงพ่อได้ยืนยันให้ข้าพเจ้าฟัง อย่างแน่ชัดแล้วว่า นรก สวรรค์ พรหม นิพพาน มีจริง ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ก็ทำให้ข้าพเจ้าอยากที่จะได้ไปรู้ไปเห็นกับเขาบ้าง จะได้ไม่ต้องเป็นมนุษย...์หลงโลก หรือปลาหลงหนองน้ำเน่าอย่างที่หลวงพ่อว่าอีกต่อไป

ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงรีบถามหลวงพ่อต่อในทันใดว่า ถ้านรก สวรรค์พรหม นิพพานมีจริง แล้วผมอยากจะไปดู กับเขาบ้างได้ไหมครับหลวงพ่อ

หลวงพ่อหัวเราะอย่างอารมณ์ดี ถามข้าพเจ้าว่า เออ ที่คุณอ่านหนังสือออก เขียนหนังสือได้มาจนถึงทุกวันนี้ เป็นเพราะคุณเชื่อตามที่ครูสอน ใช่หรือไม่

ข้าพเจ้านิ่งคิด เพราะไม่ทราบหลวงพ่อจะมารูปใดแน่ แต่ก็ตอบว่า ครับเชื่อครู

ถ้าครูสอน ก ไก่ ต้องเขียนอย่างนี้ ข ไข่ ต้องเขียนอย่างนี้ แต่คุณไม่สนใจ กลับหนีไปเล่นหยอดหลุม ทอยกองเสีย คุณจะรู้ไหมว่า ก ไก่ เขียนอย่างไร ข ไข่ เขียนอย่างไร หลวงพ่อถามเรื่อยๆ

คงไม่ทราบครับ ข้าพเจ้าตอบอย่างระแวง

ถ้าครูสอน กอ-อะ-กะ กอ-อา-กา แล้วคุณไม่ฟังไปเล่นหยอดหลุม ทอยกองอีก คุณจะอ่านออกเสียงกับเขาได้ไหม หลวงพ่อถามต่อ

คงไม่ได้ครับ ข้าพเจ้าตอบตามความเป็นจริง

รวมความว่าทีคุณอ่านหนังสือ ออก เขียนหนังสือได้ เพราะคุณเชื่อตามครูสอนแน่นะ หลวงพ่อถามย้ำ
ครับต้องเชื่อครู

นั่นแหละเหมือนกัน ถ้าคุณอยากจะไปดูว่า นรก สวรรค์ พรหม และนิพพานมีจริงหรือไม่ คุณก็ต้องเชืื่อและปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซิ

คราวนี้มาลองถามตัวเองดูซิว่า คุณเคยให้ทานมั้ย เคยรักษาศีลมั้ย เคยเจริญสมถกรรมฐานไหม เคยบูชาพระหรือไหว้พระสวดมนต์เป็นประจำไหม เคยรู้จักระงับ นิวรณ์ ๕ บ้างไหม เคยทรงพรหมมวิหาร ๔ บ้างไหม เป็นต้น

ฉะนั้น จะตอบแทนให้ในหลักใหญ่ๆ ว่า ทานคุณอาจทำบ้างโดยเต็มใจบ้างไม่เต็มใจบ้าง ศีลของคุณเอาแค่ศีล๕ ก็รู้สึกกระพร่องกระแพร่งเต็มที โดยเฉพาะศีล ๕ ของคุณนั้นขาดกระจุย ยิ่งการเจริญภาวนาด้วยแล้ว คุณไม่มีเลยนะ

ที่ฉันพูดชี้ให้คุณเฉพาะแค่ทาน ศีล ภาวนา ซึ่งเป็นบันได ๓ ขั้น เท่านั้นนะ เมื่อเป็นเช่นนี้คุณคงจะตอบตัวเองได้ใช่ไหมว่า คุณหาได้เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาอย่างจริงจังไม่

ดังนั้นการที่คนอ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้ เพราะไม่เชื่อครู ฉันใด คุณก็ย่อมไม่มีวันที่จะได้เห็น นรก สวรรค์ พรหม นิพพาน เพราะคุณไม่เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าฉันนั้น


จากหนังสือ สู่แสงธรรม โดย พลอากาศเอก มนูญ ชมพูทวีป

ขออนุโมทนากับคุณ ธาตูทั้งสี่มาประชุมรวมหลุ่ม ชื่อว่า หมี
 
ผู้แสดงความคิดเห็น ธนา อรุณภิญโญพล (nirvana_time-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-23 23:42:28


ความคิดเห็นที่ 29 (1599054)
จงเห็นชีวิตมีความหมายน้อยกว่าความดี เราเกิดมาแล้วคราวนี้ เราก็ต้องตาย ไหนๆจะตาย ขอให้เราตายอยู่กับความดีเท่านี้เป็นพอ และถ้าความดีนี้เป็นความดีสูงสุด ลูกรักของพ่อก็จะได้ไปนิพพาน

หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)
จากหนังสือ ถอด...ใจไปสวรรค์ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ สำนักพิมพ์ FeelGood

ขออนุโมทนากับคุณ Paulz Jindapol

 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น ธนา อรุณภิญโญพล (nirvana_time-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-23 23:45:04


ความคิดเห็นที่ 30 (1599055)
วันหยุดของสำนักพระยายมมีความสำคัญอย่างไร
โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง)

เมื่อวันออกพรรษานอนภาวนาอยู่
ท่านพระยายมราชและนายบัญชีท่านมา
วันนี้เห็นท่านแต่งกายสวยงาม
... ก็เลยถามว่า "ลุงทำไมแต่งตัวสวยและหนุ่มมาก"
ท่านบอกว่า "วันนี้ผมปลอดนรกการครับ"
ก็เลยถามท่านว่า "ลุงปลอดกี่วันล่ะ"
ท่านบอก "ปลอด ๔ วัน"
ก็เลยถามท่านว่า "ปีหนึ่งมีการปลอดกี่ครั้ง"
ท่านบอกว่า "๔ ครั้ง วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา
วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา ใน ๔ จุดนี้ไม่มีการสอบสวนกัน"
ก็เลยถามท่านว่า "ถ้าลุงไม่มีการสอบสวน ก็แสดงว่า
ผู้ที่ตายไปคอยการสอบสวนก็เป็นอิสระ
ลุงก็ปล่อยเขาเป็นอิสระใช่ไหม"
ลุงบอกว่า "ใช้คำว่าปล่อยไม่ถูก เพราะทุกคนเขา
มีอิสระ ยังไม่ถือว่าเป็นนักโทษ เมื่อไม่สอบสวน
เขาก็ไปตามเรื่องของเขา เขาไปหาญาติ"
ก็เลยถามท่านว่า "ในขณะที่เขาออกมาได้อย่างนั้น
แล้วถ้าญาติจะบำเพ็ญกุศล อุทิศส่วนกุศลให้เขา
จะได้ไหม" ท่านก็เลยบอกว่า "ถ้าญาติฉลาด
ทุกคนได้หมดแล้วไม่ต้องลงนรก"
ถามท่านว่า "ทำไง?"
ท่านบอกว่า "ให้ทำบุญอุทิศเฉพาะ ระบุชื่อเลยนะ
อุทิศตรงให้คนนั้นเลย"
ถามท่านว่า "เมื่อถวายสังฆทานแล้ว ต้องการ
ให้เขาได้รับอย่างแน่นอน ต้องทำอย่างไรอีก"
ท่านบอกว่า "การอุทิศส่วนกุศลคราวนี้ ถ้าบังเอิญ
คนนั้นไม่ได้รับ ก็ขอฝากพระยายมไว้ด้วย
ถ้าพบคนนี้เมื่อไร ขอบอกให้เขาโมทนาทันที
ถ้าบอกอย่างนี้ ถ้าเขาผ่านสำนักผม
ผมจะบอกให้เขาโมทนา จะไปรับผลความดี
ตามกำลังบุญทันที"

ผู้แสดงความคิดเห็น ธนา อรุณภิญโญพล (nirvana_time-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-23 23:46:39


ความคิดเห็นที่ 31 (1599056)
การปฎิบัติตนหนีนรก จนนรกตามไม่ทัน ต่อไปทุกชาตินั้น มีอารมณ์โดยย่อ ดังนี้
1. มีความรู้สึกว่าชีวิตนี้ต้องตายแน่
2. ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า
3. ฆราวาสมี ศีล 5 ทรงอารมณ์เป็นปรกติ

ทั้ง 3 ประการนี้ เป็นอารมณ์ในขณะที่ปฎิบัติ เมื่ออารมณ์ทรงตัวแล้ว อารมณ์ที่ปักหลักมั่นคงอยู่กับใจจริงๆ ก็เหลือเพียงสอง ที่ท่านเรียกว่าองค์ ก็คือ
1. ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้ามั่นคงจริง
2. มีศีล 5 บริสุทธิ์ผุดผ่องจริง

เพียงเท่านี้ นรกก็ดี เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เราผ่านได้ ไม่ต้องไปอยู่หรือเกิดในเขตนี้อีกต่อไป ถ้าจะถามว่า บาปกรรมที่ทำแล้วไปอยู่ที่ไหน ก็ต้องตอบว่ายังอยู่ครบ แต่เอื้อมมือมาฉุดกระชากลากลงไม่ถึง เพราะกำลังบุญเพียงเท่านี้ มีกำลังสูงกว่าบาป บาปหมดโอกาสที่จะลงโทษต่อไป

ธรรมโอวาทหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง จากคุณ เม่าน้อย เมาคลื่น

ขออนุโมทนากับคุณ เม่าน้อย เมาคลื่น
 
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น ธนา อรุณภิญโญพล (nirvana_time-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-23 23:48:56


ความคิดเห็นที่ 32 (1599057)

ไว้ผมค่อยๆทะยอยเอาลงมาให้อ่านนะครับ มีธรรมะดีๆมีเยอะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ธนา อรุณภิญโญพล (nirvana_time-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-23 23:50:53


ความคิดเห็นที่ 33 (1599072)

อนุโมทนากับพี่ธนาด้วยนะคะ

ตั๊กก็เข้าไปอ่านอยู่บ่อยๆค่ะ

อ่านแล้วก็ copy ไปลงที่ facebook ให้เพื่อนๆได้อ่านด้วย

แต่ยังไม่เคยเอามาลงที่นี่เลย

ถ้ายังไง ตั๊กขอร่วมสร้างบุญด้วยคนนะคะ  แหะ แหะ ^^"

ผู้แสดงความคิดเห็น กัลยาณี ทิมขาวประเสริฐ ((ตั๊ก)) (ktkanlayani-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-24 01:51:48


ความคิดเห็นที่ 34 (1599073)

♥ คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

ฟังเรื่องราวของใครมากระทบหู ก็จงหมั่นดูอารมณ์จิตของตนเองไว้
จับตาดูว่าฟังแล้วอารมณ์อันใดเกิดขึ้นในขณะนั้น ๆ
ที่เอาดีกันไม่ได้ก็คือ ไม่ค่อยจักรู้เท่าทันอารมณ์ที่เ
กิดขึ้นเป็นปกติ โกรธจนชิน รักจนชิน ห่วงจนชิน กลัวจนชิน เลยไม่รู้ว่าอารมณ์อะไรเป็นอะไร อย่างนี้ทำกรรมฐานไปจนร่างกายตายแล้วตายอีกหลายตลบก็ไม่รู้เรื่
อง

.............................................................

♥ คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

อย่าลืมรักษาอารมณ์ของจิตเอาไว้
ให้ดี ๆ อย่าให้ไหลขึ้นไหลลงมากนัก จิตเหนื่อยจักพลอยทำให้กายเหนื่อยไปด้วย กล่าวคือหมดกำลังใจนั่นเอง จุดนี้ระมัดระวังเอาไว้ให้ดี ๆ อย่าให้เกิดแก่จิตเป็นอันขาด

.....................................................

♥ คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

อย่าทิ้งศีล-สมาธิ-ปัญญา ให้ขาดออกจากจิตเป็นอันขาด
การรักษาศีล ยิ่งละเอียดขึ้นเท่าไหร่
จะทำให้สมาธิและปัญญาละเอียดมาก
ขึ้นเท่านั้น

......................................................

♥ คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

ดูอารมณ์จิตของตนเอง อย่าไปดีไปชั่วกับชาวบ้านเขา จิตของเรายังเอาดีไม่ได้ จักไปให้คนอื่นเขาดีได้อย่างไร

............................................................

♥ คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

อารมณ์เบื่อคนเมื่ออยู่กับคน เป็นอารมณ์หนีปัญหา ไม่ใช้ปัญญาคืออริยสัจแก้ปัญหา ซึ่งสามารถแก้ได้หมดทุกชนิด ทางที่ถูกพึงเบื่อกำลังใจของตนเ
อง ที่เลว ไม่ยอมรับกฎของธรรมดานั้น จิตชอบฝืนความจริงนี่ซิน่าเบื่อ ชีวิตมันเป็นอย่างนี้ โลกทั้งโลกมีแต่ความวุ่นวาย ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ สภาวะมันเกิดดับ ๆ อยู่อย่างนั้น ถ้าจิตเราไม่วาง ทุกข์ก็เกิดอยู่ร่ำไป นี่เป็นวิภวตัณหา เป็นเหตุเกิดแล้วดับไป แต่ธรรมารมณ์ที่เกิดกับจิต เกิดแล้วไม่ยอมปล่อยให้ดับไป จึงมานั่งทุกข์อยู่อย่างนี้ ให้ใช้ปัญญาพิจารณาดูว่าโง่หรือไม่โง่

......................................................

♥ คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

ต้องรักษากำลังใจ อย่าให้ความท้อแท้เบื่อหน่าย เข้ามาบั่นทอนกำลังใจ ให้พยายามปล่อยวางเรื่องที่เข้ามากระทบ โดยยึดคำว่าช่างมันเข้าไว้ ขันติคือความอดทนจักต้องมีอยู่ในใจเข้าไว้เสมอ จึงจักสามารถฝ่าฟันอุปสรรคไปได้

เหตุภายนอกไม่สำคัญอย่าไปแก้ไข ให้มุ่งแก้ไขเหตุคือใจของตนเองที่เร่าร้อนอยู่นี้ ให้พยายามหาเหตุที่ทำให้เร่าร้อน มิใช่เหตุภายนอกจึงทำให้เร่าร้อน เป็นความโง่ของจิตที่ไม่รู้เท่าทันกิเลส ไปร้อนตามเรื่องปกติธรรมของชาวโลก

..........................................................

 

 

 

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

อย่าทำจิตให้วุ่นวาย ให้ลงอุเบกขาเข้าไว้เสมอ มีอะไรเกิดขึ้นก็เห็น
เป็นธรรมดาทั้งหมด อย่าให้มีอาการจิตตกเพราะเหตุต่
าง ๆ มากระทบอารมณ์
ให้เห็นเป็นธรรมดา แล้วก็แก้ไขไป
รู้อารมณ์แล้วก็เพียรแก้ไข จัดว่าเป็นการปฏิบัติถูก อย่าคิดวางไปโดยไม่แก้ไข
ถ้าไม่ใช้ปัญญาพิจารณา ไม่นานปัญหาเกิดขึ้นใหม่อีก จิตก็จักตกอยู่อย่างนี้อีก
ต้องใช้ปัญญาพิจารณาแก้ไข ก็จักพ้นจากสภาวะจิตตกไปได้
.................................................
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น กัลยาณี ทิมขาวประเสริฐ ((ตั๊ก)) (ktkanlayani-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-24 02:06:16


ความคิดเห็นที่ 35 (1599074)

วิธีระงับอาการฟุ้งซ่านของจิต โดยหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

ถ้าหากว่าใจของท่านกระสับกระส่าย จงรักษาอานาปานสติกรรมฐาน กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกให้ทรงตัว ยังไม่ต้องคิดอะไรทั้งหมด กำหนดจิตรู้เฉพาะลมหายใจเข้าหายใจออกเท่านั้น หายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้นรู้อยู่ ถ้าทำอย่างนี้อารมณ์จิตของท่านจะไม่ฟุ้งซ่าน

................................................................

 

วิธีควบคุมอารมณ์จิต โดยหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง
 
นักปฏิบัติพระกรรมฐานที่เอาดีไม่ได้ก็เพราะปล่อยให้จิตไปคบกับอารมณ์ชั่วต่างๆ คือวันทั้งวันไม่ได้น้อมเข้าไปหาความดี ไปมองแต่ความชั่ว อารมณ์ของความชั่วชอบเอาจิตเข้าไปคบ แล้วก็ชอบเอาอารมณ์เข้าไปยุ่งกับกิจของคนอื่น คนนั้นดีแบบนี้ คนนี้เลวแบบนี้ คนนี้เป็นอย่างนั้น คนนี้เป็นอย่างโน...้น ไม่ได้มองดูตัวเอง การที่เอาอารมณ์จิตเข้าสู่อารมณ์จิตจริยาของคนอื่น เป็นอารมณ์จิตที่เลว อารมณ์จิตที่ดีนั้น จะต้องเป็นอารมณ์จิตที่ควบคุมอารมณ์ของตนเองกำลังจิตของตนเอง ควบคุมความรู้สึกของตนเองเข้าไว้ ว่าเวลานี้อารมณ์จิตของเราเป็นกุศลหรืออกุศล เช่น เราจะนึกจับใจไว้ว่า เราจะจับลมหายใจเข้าออก เราจะกำหนดคำภาวนาพุทโธ เวลาหายใจเข้านึกว่าพุท เวลาหายใจออกนึกว่าโธ เราคุมอยู่อย่างนี้ได้ตลอดวันหรือเปล่า อารมณ์อย่างนี้เป็นอารมณ์จิตที่เป็นกุศล การควบคุมกำลังใจรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก รู้คำภาวนาว่าพุทโธ วันหนึ่งถ้าท่านจะทรงได้ ๒๐ นาที หรือ ๑๐ นาที หรือ ๕ นาที ต่อหนึ่งครั้งหนึ่งคราว เพียงเท่านี้ถ้าทำเป็นปกติทุกวัน ตายแล้วก็ไปสู่สวรรค์ได้ พ้นจากอบายภูมิ นี่เป็นความดีที่เราช่วยตัวเองหรือควรจะระมัดระวัง และก็คนที่ควบคุมกำลังจิตได้แบบนี้ เวลาที่มีชีวิตอยู่อารมณ์จิตเป็นสุข ไม่มีอารมณ์กระวนกระวาย ไม่มีความวุ่นวายของจิต เพราะจิตทรงอยู่ในอารมณ์ที่เป็นกุศล นี่เราควรปฏิบัติให้ได้ตามนี้ คือเอาชนะจิต เอาจิตให้ชนะความชั่ว

 

นึกถึงความตายนึกอย่างไร โดยหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

พระพุทธเจ้าเองก็ไม่ไว้ใจในชีวิ

ทรงคิดเสมอว่า "ชีวิตอาจจะตายเมื่อไรก็ได้
หายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกก็ตาย
...หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้าก็ตาย"
ชีวิตของเราจริงๆ อยู่ที่ลมหายใจเท่านั้นเอง
ให้มีความรู้สึกอย่างนี้เป็นอาร
มณ์
ต่อไปเมื่อเราคิดว่าวันนี้เราอา
จจะตาย
เราก็รีบเร่งสร้างความดีด้วยการ
ทรงอารมณ์พระโสดาบัน
มีความเคารพในพระรัตนตรัยด้วยคว
ามจริงใจ
มีศีล ๕ บริสุทธิ์และมีพระนิพพานเป็นอาร
มณ์

 

......................................................................
 

โกรธใหญ่ โกรธเล็ก เป็นอย่างไร โดยหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

คำว่า "โกรธใหญ่" ไปโกรธเอาคนดีเข้า
อย่างโกรธพระพุทธเจ้า ดูตัวอย่างเทวทัต
โกรธพระพุทธเจ้า ตายแล้วไปอเวจีมหานรก
...โกรธพระอรหันต์ ตายแล้วไปอเวจีมหานรก
โกรธพ่อโกรธแม่ คิดจะประหัตประหารท่าน
ตายแล้วไปอเวจีมหานรก เพราะทั้งหมดนี้
เป็นบุคคลที่มีคุณใหญ่ เขาเรียกว่า "โกรธใหญ่"
ก็รวมความว่าโกรธบุคคลดีที่มีคุ
ณกับโลก
หรือมีคุณกับสังคม มีคุณกับเรา
อย่างนี้ชื่อว่า "โกรธใหญ่" โทษก็ใหญ่ตาม
ถ้า "โกรธเล็ก" หมายถึงว่า
โกรธคนที่มีความชั่ว อย่างโกรธขโมยขโจรเป็นต้น
อย่างนี้เราก็ตกนรกเหมือนกันแต่
ตกนรกขุมเล็ก
ก็รวมความว่า ความโกรธเป็นของไม่ดี
คนมักโกรธมีอารมณ์เศร้าหมอง
ถ้าตายจากความเป็นคน จะไปไหน
ก็ต้องไปนรก "โกรธใหญ่" ก็ไปนรกขุมใหญ่
"โกรธเล็ก" ก็ไปนรกขุมเล็ก
..................................................
 
ผู้แสดงความคิดเห็น กัลยาณี ทิมขาวประเสริฐ ((ตั๊ก)) (ktkanlayani-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-24 02:13:49


ความคิดเห็นที่ 36 (1599075)

ทำใจของเราให้เหมือนใจพระพุทธรูป พระพุทธรูปท่านยิ้มตลอดเวลา หนาวก็ยิ้ม ร้อนก็ยิ้ม ใครเขาเอาอะไรไปถวายก็ยิ้ม เขาไม่ถวายก็ยิ้ม เขาด่าท่านก็ยิ้ม เขาชมท่านก็ยิ้ม พระพุทธรูปไม่มีจิตวิญญาณ แต่ทว่าเราที่มีจิตวิญญาณ ควรทำอาการของใจ คือวางเฉยเช่นเดียวกับพระพุทธรู

หลวงพ่อพระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤา
ษี วัดท่าซุง)

..............................................................

โอวาทหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

สุขหรือทุกข์นี่มันอยู่ที่ใจ

เพราะว่าใจมันเกาะ จะให้มันอยู่อย่างนั้น นั่นมันเป็นอาการของความทุกข์ ในเมื่อมันไม่อยู่ด้วย

ถ้าใจเราปล่อย ถือว่านี่เป็นเรื่องธรรมดาของขั
นธ์ ๕ มันก็ไม่มีอะไรเป็นทุกข์ ขันธ์ ๕ ของเรา ขันธ์ ๕ ของเขา ขันธ์ ๕ ของสัตว์ มันจะเป็นอย่างไรก็ช่าง ถือว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา วาระมันเข้ามาถึง มันก็เป็นอย่างนั้น ทรงใจให้มันเป็นปกติ อย่างนี้มันก็หมดอาการของความทุกข์

.........................................................

 

 
เกาะบุญ โดยหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

เราจะไปสวรรค์ก็ดี จะไปนรกก็ดี มันอยู่ที่จิตตัวที่จะตาย เวลาที่จิตออกจากร่าง เวลานั้นถ้าจิตจับในส่วนกุศล ถึงแม้ว่าเราจะทำบาปมามาก เราก็ไปสวรรค์ก่อน ถึงแม้ว่าเราจะทำบุญมาก แต่เวลาจิตจะออกไป จิตจับอกุศลคือบาป จิตก็ไปนรกก่อน

ที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้บรรดา
พุทธบริษัทเจริญพระกรรมฐาน เจริญสมาธิหรือเจริญภาวนา ก็ต้องการให้ทุกคนมีความชินในด้
 
านของความดี คำว่าฌานคือความชิน ชินใจด้านนึกถึงอารมณ์ความดีเข้
 
 
าไว้ บาปต่างๆที่ทำไว้ท่านบอกว่าจงอย่าตามนึกถึง ให้ลืมไปเลย การลืมบาปนี่ลืมยากนะ แต่ว่าไม่พยายามนึกถึง เวลาเจริญภาวนาก็ดี เวลาบูชาพระก็ดี เราไม่นึกถึงบาป ตั้งใจเอาจิตจับเฉพาะพระพุทธรูปด้านหน้าของเรา ตั้งใจจำภาพท่าน

นั่งหลับตาก็ตาม ลืมตาก็ตาม นึกถึงภาพท่าน จะว่านะโม ตัสสะ ก็ตามใจเถอะ ว่าไปตามชอบเท่าที่เราจะว่าได้ ในเวลานั้นจิตเราไม่นึกถึงบาป หรือลืมบาปไปเสีย ถ้าทำอย่างนี้บ่อยๆ อารมณ์จะชิน หลังจากนั้นเวลานอนก็ภาวนาว่าพุ
ทโธ หายใจเข้านึกว่าพุท หายใจออกนึกว่าโธ จิตเราไม่ยอมนึกถึงบาป

......................................................

 

ความโกรธมีแต่ความเร่าร้อน คำสอนหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

คนที่มีความโกรธง่ายและขังความโ
กรธไว้ ทั้งจิตใจก็ดี ทั้งร่างกายก็ดี ทรุดโทรมง่าย จิตใจก็เต็มไปด้วยความเร่าร้อน... ... มีแต่ความกระวนกระวาย หาความสุขใจไม่ได้ถ้าระงับอารมณ์ความโกรธหรือความพยาบาทได้กำลังใจจะเต็มไปด้วยความผ่องใส

 

 

 

..........................................................
ผู้แสดงความคิดเห็น กัลยาณี ทิมขาวประเสริฐ ((ตั๊ก)) (ktkanlayani-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-24 02:25:55


ความคิดเห็นที่ 37 (1599076)

พระอรหันต์ มีอารมณ์เป็นสุข มีความเยือกเย็น เพราะสังขารุเปกขาญาณ

คำว่าดีพิเศษในโลกไม่มีสำหรับพร
ะอรหันต์ ทุกอย่างท่านถือเป็นกฏธรรมดาไปหมด เมื่อธรรมดาเป็นอย่างไร จิตใจยอมรับนับถือธรรมดา จิตใจก็ไม่วุ่นวาย ร่างกายแก่ก็เป็นเรื่องของมัน ร่างกายป่วยก็เป็นเรื่องของมัน ร่างกายตายก็เป็นเรื่องของมัน ก็รวมความว่าก็เป็นหน้าที่ของมัน ไม่ใช่หน้าที่ของเรา เราคือจิตหรืออทิสสมานกาย

กำลังใจพระอรหันต์อยู่จุดเดียวค
ือพระนิพพาน และก็มีพรหมวิหาร ๔ ครบถ้วน แต่ว่าจะเมตตาควรแก่การเมตตา กรุณาควรแก่การกรุณา ไม่ใช่เมตตาส่งเดช สิ่งใดถ้าผิดธรรมผิดวินัย พระอรหันต์ก็เมตตาไม่ได้ ต้องวางเฉย ใช้สังขารุเปกขาญาณ และอุเบกขา

ธรรมโอวาทหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

ผู้แสดงความคิดเห็น กัลยาณี ทิมขาวประเสริฐ ((ตั๊ก)) (ktkanlayani-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-24 02:31:56


ความคิดเห็นที่ 38 (1599078)

 อนุโมทนากับพี่ธนา และพี่ตั๊กด้วยค่ะ

บางทีก็ชอบเผลอปล่อยให้จิตตัวเองฟุ้งซ่าน

อ่านแล้วรู้วิธีแก้ที่ต้นเหตุ

และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงค่ะ

ธรรมะของพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะช่วย

ให้เราหลุดพ้นได้อย่างแท้จริง

สาธุ สาธค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น หญิง < นันทนา แหกาวี > ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-24 06:28:17


ความคิดเห็นที่ 39 (1599223)

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

จงอย่าสนใจในจริยาผู้อื่น ทำกำลังใจให้ดี จงอย่าให้อกุศลกรรมมาเป็นเจ้าอำ
นาจของจิต การไม่พอใจในจริยาผู้อื่นที่ไม่มีศีล-ไม่มีธรรม เป็นไปการเอากรรมชั่วของผู้อื่นมาเก็บไว้ในใจเรา หลวงพ่อฤาษีท่านเตือนเสมอว่า จงอย่ามีอารมณ์ขี้เก็บ อะไรไม่ดี-ไม่ถูก-ไม่ควรเก็บหมด ส่วนพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งของดี-ของประเสริฐกลับไม่เก็บ

จุดนี้จะต้องใช้สติ-ปัญญาใคร่คร
วญ ให้จิตรู้จริงจึงจักวางได้... ให้มองทุกสิ่งในโลกล้วนมาตามกรรม และไปตามกรรม ดี-ชั่ว ถูก-ผิดไม่มี มีแต่สมมติตามกรรม จงอย่ามีอารมณ์ จงมองกฏของกรรมให้ปรากฏ แพ้-ชนะไม่มี มีแต่กฏของกรรม

จากหนังสือธรรมที่นำไปสู่ความหล
ุดพ้น เล่ม ๑๖

.......................................................................

เคารพพระรัตนตรัยด้วยความจริงใจ โดยหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

พิจารณาให้เห็นคุณพระรัตนตรัย โดยเห็นด้วยใจอันเต็มไปด้วยศรัท
ธาแท้ และเห็นด้วยปัญญาว่า พระรัตนตรัยมีคุณประเสริฐจริง ๆ เราจะรู้บาปบุญคุณโทษได้ก็เพราะพระรัตนตรัยเป็นเหตุ จนจิตมีความเคารพมั่นคงดำรงความนอบน้อมในคุณพระรัตนตรัยจริง ๆ ไม่ยอมกล่าววาจาล่วงเกินแม้แต่จะพูดเล่น ๆ ว่าพระพุทธไม่ใช่พระพุทธ พระธรรมไม่ใช่พระธรรม พระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์ แม้พูดเล่น ๆ โดยไม่คิดปรามาสก็ไม่ยอมพูด ทั้งนี้เพราะเคารพด้วยความจริงใ
จ จนจิตมั่นคงเป็นอารมณ์

....................................................................

ผู้แสดงความคิดเห็น กัลยาณี ทิมขาวประเสริฐ ((ตั๊ก)) (ktkanlayani-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-24 22:47:12


ความคิดเห็นที่ 40 (1599224)

อารมณ์จิตฟุ้งซ่านจะแก้ไขอย่างไ
โดยหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

พระกรรมฐานทุกอย่างจะทิ้งอานาปา
นุสสติไม่ได้
เพราะอานาปานุสสติกรรมฐาน
เป็นกรรมฐานที่ระงับอารมณ์จิตฟุ้
งซ่าน
เมื่ออารมณ์จิตฟุ้งซ่านขึ้นมาเมื่
อไร
ถ้าเราใช้คำภาวนาหรือพิจารณา
อารมณ์ไม่ยอมหยุดจากการฟุ้งซ่าน
ก็ให้ทิ้งคำภาวนาหรือพิจารณาเสี

จับแค่อานาปานุสสติอย่างเดียว
ประเดี๋ยวก็หยุดฟุ้งซ่าน

 

 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น กัลยาณี ทิมขาวประเสริฐ ((ตั๊ก)) (ktkanlayani-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-24 22:50:17


ความคิดเห็นที่ 41 (1599225)

จากธรรมปฏิบัติ ๒๙ หน้าที่ ๑๐

อาตมายังจำได้ ตอนเรียนตอนโตแล้ว มีครั้งหนึ่งยืนปัสสาวะข้างรั้ว
โรงเรียน เขาห้ามใช่ไหม มันเป็นการเสียมารยาท เลว! อาจารย์ใหญ่ท่านย่องไปข้างหลังเมื่อไรไม่ทราบ ท่านไปเงียบๆ แทนที่ท่านจะดุ พอเสร็จเรียบร้อยแล้ว พอหันมาเจอะท่านเข้า ท่านก็บอกว่า เธอ ทีหลังจะปัสสาวะแบบนี้เขาต้องยกขาข้างหนึ่งนะ ตั้งแต่วันนั้นจนกระทั่งวันนี้เราเลยเลิกไปเลย ท่านพูดแบบนี้ก็หมานะสิ ใช่ไหม

หลวงพ่อ...ท่านมีเมตตาสอดแทรกธรรมเสมอ การทำโทษหรือจะสั่งสอนใครใช่จะต้
องลงไม้ลงมือให้หลาบจำอย่างเดียวก็หาใช่ไม่

ในกาลนี้หลวงพ่อยังมีเมตตาพูดถึ
งที่มาของมนุษย์มีหลายพวก คือ
๑.มาจากอบายภูมิ พวกนี้มีเหตุผลน้อย
๒.มาจากกามาวจรสวรรค์ พวกนี้มีจริยาอ่อนโยนรับฟังง่าย

๓.มาจากพรหม พวกที่มาจากพรหมนี้ต้องระมัดระวั
ง เป็นคนมีความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว แต่ต้องอาศัยความยุติธรรมเป็นสำคัญ ถ้าไม่ตรง เขาสู้จนหัวชนฝาเลย

ผมคิดถึงหลวงพ่อมากเลยครับ จากคุณ Nopadon Boonmee

ขออนุโมทนากับคุณ Nopadon Boonmee
ร่วมกิจกรรมเผยแผ่ธรรมโอวาทหลวง
พ่อฤาษี วัดท่าซุง บน facebook กับศูนย์พุทธศรัทธา

ผู้แสดงความคิดเห็น กัลยาณี ทิมขาวประเสริฐ ((ตั๊ก)) (ktkanlayani-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-24 22:54:25


ความคิดเห็นที่ 42 (1599232)

จงเห็นชีวิตมีความหมายน้อยกว่าความดี เราเกิดมาแล้วคราวนี้ เราก็ต้องตาย ไหนๆจะตาย ขอให้เราตายอยู่กับความดีเท่านี้เป็นพอ และถ้าความดีนี้เป็นความดีสูงสุด ลูกรักของพ่อก็จะได้ไปนิพพาน

หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)
จากหนังสือ ถอดใจไปสวรรค์ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ สำนักพิมพ์ FeelGood

... ขออนุโมทนากับคุณ Paulz Jindapol
ร่วมกิจกรรมเผยแผ่ธรรมโอวาทหลวง
พ่อฤาษี วัดท่าซุง บน facebook กับศูนย์พุทธศรัทธา

..............................................................................

ผู้แสดงความคิดเห็น กัลยาณี ทิมขาวประเสริฐ ((ตั๊ก)) (ktkanlayani-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-24 23:19:24


ความคิดเห็นที่ 43 (1599271)

 

พระธรรมที่สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนในเดือนมีนาคม ๒๕๓๗

 

สมเด็จองค์ปฐมทรงพระเมตตา ตรัสสอน เรื่องนี้ไว้ดังนี้
            ๑. เป็นอย่างไรเจ้า ความดียังไม่ได้ทำ เพียงแค่คิดก็ยากเสียแล้วใช่ไหม แล้วใยความเลวเล่า ทำได้โดยไม่ทันคิดทำไมจึงง่ายยิ่งนัก ที่ร่างกายของพวกเจ้าต้องประสบกับความลำบากเหน็ดเหนื่อยทั้งกายและใจ อันมีความเจ็บไข้ได้ป่วยไม่สบายเป็นต้น นี้เป็นผลของความเลวหรือความดี (ก็ยอมรับว่าเป็นผลของความเลว)
            ๒. พรหมวิหาร ๔ เมื่อเข้าใจดีแล้ว ธรรมนี้แหละเป็นทำนบปิดกั้นความเลวทั้งปวง จงหมั่นนำมาประพฤติปฏิบัติเถิด
            ๓. เศรษฐีรวยทรัพย์ ต้องอาศัยความเพียรเก็บหอมรอมริบ ประการหนึ่ง อาศัยทานบารมีที่มีแต่อดีตชาติหนึ่ง การสะสมพรหมวิหาร ๔ ก็เช่นกัน จักต้องอาศัยความเพียรเก็บหอมรอมริบดูมันทุกวันว่า วันนี้เก็บพรหมวิหาร ๔ ไปได้เท่าใด
            ๔. สำหรับทานบารมีก็จักต้องอาศัย เพื่อวัดกำลังใจของการทรงพรหมวิหาร ๔ เข้าไว้ หากพรหมวิหาร ๔ มีกำลังต่ำ การให้ทานก็เกิดขึ้นไม่ได้ จิตมันละโมบโลภมาก แม้แต่ทรัพย์สินนอกกายก็ไม่ยอมให้ใคร ถามีอารมณ์ปานกลาง การให้อามิสทานก็ยังมีการหวังผลเป็นการตอบแทน แต่ถ้ามีกำลังสูง การให้อามิสทานก็ให้โดยไม่มีการหวังผลตอบแทน รวมทั้งมีกำลังใจให้อภัยทานแก่บุคคลผู้หลงผิดอยู่ตลอดเวลา ถ้าบุคคลผู้นั้นไม่ประพฤติผิดในพระธรรมวินัย ใครเขาจักมีอารมณ์โกรธ โลภ หลง ก็เรื่องของเขา แม้เขาจักด่า นินทา ชม สรรเสริญร่างกายของเรา จิตของเราก็ไม่หวั่นไหวไปกับถ้อยคำนั้นๆ
            ๕. จิตมีพรหมวิหาร ๔ เต็ม มีอภัยทานอยู่เสมอ แม้ในบุคคลที่กระทำผิดในพระธรรมวินัย ก็ใช่ว่าจักโกรธแค้นขุ่นเคืองก็หาไม่ หากเตือนได้ก็เตือนด้วยจิตเมตตา กรุณา อารมณ์พระอรหันต์ไม่ข้องติดอยู่ในกรรมทั้งปวง จิตมีมุทิตา เยือกเย็นอยู่เสมอ หากเตือนไม่ได้ อุเบกขาก็ทรงตัวอยู่แล้ว ไม่มีอะไรที่จักทำให้จิตพระอรหันต์พร่องได้จากพรหมวิหาร ๔
            ๖. ศึกษาศีล ศึกษาธรรม แล้วพิจารณาย้อนไปย้อนมาให้รอบคอบ จักเห็นตัวพรหมวิหาร ๔ ในคำสั่งสอนอย่างชัดเจน และอย่าตำหนิกรรมของ อาทิกัมมิกะบุคคลเหล่านั้น (ผู้กระทำผิดก่อนที่จะมีการบัญญัติศีลข้อนั้นๆ) พวกเขาเป็นครูสอนเรื่องขาดพรหมวิหาร ๔ หรือการมีอารมณ์เบียดเบียนทั้ง ๓ ประการ ให้แก่พวกเจ้าได้เห็นชัดโดยการศึกษา จึงจัดว่าพวกเขาเหล่านั้นมีบุญคุณที่เป็นแบบอย่างให้พวกเจ้าได้ตระหนักว่า การกระทำเหล่านั้นไม่ควรกระทำเพราะในที่สุดก็เป็นผลเบียดเบียนตนเองชัด
            ๗. เพราะฉะนั้นจงอย่าด่าครู อย่าตำหนิครู ให้พิจารณาการกระทำของครูเหล่านั้นโดยธรรม เจ้าจักเห็นอารมณ์ที่เป็นต้นเหตุให้ครูเหล่านั้นหลงผิด เห็นความชั่วว่าเป็นความดี จึงกระทำความชั่วไปตามความหลงที่คิดว่าดีนั้นๆ จงพิจารณาให้ถ่องแท้ จักเห็นอารมณ์โกรธ โลภ หลง ที่บงการครูเหล่านั้นกระทำผิดๆ อยู่ ไม่ว่าทางด้านมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม การสร้างกรรมทางใดทางหนึ่ง ก็ได้ขึ้นชื่อว่าเบียดเบียนตนเองเป็นที่สุดเหมือนกัน
            ๘. ขึ้นชื่อว่ากฎของกรรม ไม่มีการให้ผลนั้นไม่มี ถ้าตราบใดผู้ก่อกรรมนั้นๆ ยังมีการจุติอยู่ และไม่มีการเข้าถึงพระโสดาบันเพียงใด อบายภูมิ ๔ ยังเปิดรับอยู่เสมอ
            ๙. แม้บรรลุพระโสดาบันแล้ว ตราบใดที่ยังมีร่างกายอยู่ยังมีการจุติอยู่ กฎของกรรมทั้งความดีและความชั่วก็ยังให้ผลอยู่ เพียงแต่ปลอดจากการไปสู่อบายภูมิ ๔ เท่านั้น จนกว่าจิตดวงนั้นจักมีบารมี ๑๐ เต็ม เป็น ๓๐ ทัศ และมีพรหมวิหาร ๔ เต็มเป็น อัปปมัญญา ตัดสังโยชน์ ๑๐ ขาดสะบั้นแล้ว ทิ้งอัตภาพของขันธ์๕ หรือกาย พรหม และเทวดา อันเป็นภพชาติสุดท้ายแล้ว จิตเคลื่อนสู่พระนิพพาน ดินแดนเอกันตบรมสุขเท่านั้น จึงจักได้ชื่อว่าพ้นจากกฎของกรรมทั้งปวง สัพเพ ธัมมา อนัตาติ
            ๑๐. เพราะฉะนั้น พวกเจ้ายังมีขันธ์ ๕ อยู่ ก็จงอย่าประมาทในธรรม เร่งความเพียร พยายามรักษาพรหมวิหาร ๔ เข้าไว้ ให้มีกำลังเพิ่มขึ้นตามลำดับ ตามคำสอนที่เคยให้พิจารณาควบคู่ไปกับพระกรรมฐานทั้งหลายก็ดี ตามความพิจารณาโดยอาศัยจากการศึกษาศีลในพระไตรปิฎกก็ดี จงทำให้ชินเป็นปกติตั้งแต่ตื่นยันหลับไปเลย อย่าว่างเว้น อย่าให้ขาด เห็นความสำคัญเข้าไว้ตามนี้
จากหนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น (เล่ม ๗)
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
 

ขออนุญาต คุณธนา เจ้าขอกระทู้ ร่วมสร้างธรรมทานด้วยครับ

อนุโมทนาบุญกับที่ผู้อ่านด้วยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เกียรติศักดิ์ โพธิ์อุ่น (kiattisp-at-scg-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-25 09:00:56


ความคิดเห็นที่ 44 (1599272)

 

พระธรรมที่สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนในเดือนสิงหาคม ๒๕๔๐

ความไม่เที่ยง
           
สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้มีความสำคัญดังนี้
๑.ร่างกายไม่มีสาระแก่นสารก็จริงอยู่ แต่ถ้าใช้ให้เป็นก็เป็นประโยชน์ได้อย่างใช้ร่างกายไปสร้างความดีก็เป็นกุศล เรียกว่าใช้ร่างกายไปในทางที่ถูกเป็นหนทางของการสร้างบารมี แต่ถ้ากำลังใจเลว ก็ใช้ร่างกายไปทำบาปเป็นอกุศลทั้งนี้ทั้งนั้นคนเราหรือร่างกายจักทำเลวหรือดีได้ก็อยู่ที่จิตเป็นผู้บงการเพราะฉะนั้น จงดูอารมณ์จิตของตนเองเอาไว้ให้ดีอย่าให้กรรมอกุศลเข้ามาครอบงำจิตให้พิจารณาร่างกายย้อนไปย้อนมาจนกระทั่งเป็นหนุ่มเป็นสาว จนกระทั่งแก่จนกระทั่งตาย ร่างกายนี้หาความเที่ยงไม่ได้เลยมีแต่ความแปรปรวนอยู่ตลอดเวลาแม้เวทนาก็เหมือนกัน แต่เด็กมาก็เคยเจ็บ-ป่วยอยู่เสมอ มันก็ไม่เที่ยงมันเป็นได้มันก็หายได้ เป็น ๆ หาย ๆ ป่วยก็เป็นทุกขเวทนาพอหายก็เหมือนกับเป็นสุขเวทนา แต่จริง ๆ มันทุกข์น้อยลงเท่านั้นเองหากคิดให้ดีๆ ร่างกายนี้ไม่มีเวลาสุขจริงเลย มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อยแสดงธรรมที่ไม่เที่ยงอยู่ตลอดเวลาหากจิตพิจารณาบ่อย ๆทำอย่างต่อเนื่องก็จักเห็นสันตติธรรม เห็นกายมันเกิด - ดับ ๆอยู่เหมือนกับสายน้ำไหล ไม่มีเวลาหยุด ระหว่างที่กายยังไม่ตายก็ต้องเป็นภาระดูแลมัน (ภาราหะเวปัญจักขันธา) ให้ร่างกายเป็นสุขในทางสายกลางพอยังอัตภาพให้เป็นไป ไม่ตึงไป ไม่หย่อนไป คือสบายเกินไปหรืออยู่อย่างเบียดเบียนร่างกายเกินไป จักต้องอยู่ในความพอดี โดยอาศัยพรหมวิหาร ๔เป็นหลักในการปฏิบัติ
๒.อย่าไปแก้กรรมของใครอย่าไปรับกรรมของใคร ให้ปล่อยวางกรรมใครกรรมมันเพราะทุกคนต่างก็มีกรรมหนักอยู่แล้วที่จักต้องเลี้ยงดูร่างกายตนเองและครอบครัวซึ่งหนักอยู่แล้ว หากขาดปัญญาก็มักจักไปยุ่งกับกรรมของผู้อื่น ในบางครั้ง ทั้ง ๆที่มีเจตนาดี หากไปทำกรรมที่เป็นโทษ โดยคิดว่ามันไม่เป็นโทษ ก็ยังเป็นโทษอยู่ดีอนึ่ง จงอย่าไปบังคับศรัทธาของผู้อื่น เพราะการศรัทธาของแต่ละคนไม่เหมือนกันไม่เท่ากัน ให้จิตปล่อยวางกรรมของผู้อื่นด้วยปัญญาอย่าเอาแค่สัญญา
๓.อย่าเศร้าใจ อย่าเสียใจเมื่อถูกกระทบโดยอายตนะสัมผัส ให้เห็นทุกอย่างเป็นครูหรือบทเรียนสอนใจปรับจิตให้เห็นธรรมดาในเรื่องของทุกเรื่องไปให้เอาเรื่องที่เข้ามากระทบนั้นเป็นพระกรรมฐานทั้งหมดและอย่าไปโทษใครว่าทำให้เราเป็นทุกข์ ให้โทษความโง่ของเราเองที่หลงเกิดมามีขันธ์ ๕ให้ต้องพบกับความทุกข์กับสัทธรรมทั้ง ๕ อย่างหนีไม่พ้น ทุกๆ ครั้งที่เกิดมามีร่างกาย ใช้ปัญญาให้ยอมรับกฎของกรรมอันเป็นอริยสัจ ทำจิตของเราให้ผ่องใสบริสุทธิ์ใจเข้าไว้กับทุกๆ คนจักทำให้เข้าถึงพระนิพพานได้โดยง่าย
๔.ร่างกายไม่มีสาระแก่นสารแต่เหตุไฉนจึงเป็นที่ผูกพันของจิต มานับอสงไขยกับนับไม่ถ้วนหากไม่หมั่นพิจารณาร่างกาย จักออกจากกองสังขารนี้ได้อย่างไรกันขอพวกเจ้าจงอย่าขี้เกียจแม้จิตมันจักคร้าน ไม่ขยัน ก็ให้พยายามพิจารณาวันละนิดวันละหน่อย เหมือนดังสมัยรักษาศีล ตั้งใจไม่ให้ศีลขาด - ศีลด่าง - ศีลพร่องก็ระมัดระวังอยู่ การพิจารณาร่างกายก็เช่นกันหรือแม้แต่การพิจารณาอารมณ์จิตก็เช่นกัน มีอะไรมากระทบจิตทำให้ความทุกข์เกิดขึ้นแก่จิตลักษณะอาการของความทุกข์ย่อมกำหนดรู้ได้เป็นเครื่องเสียดแทง เมื่อรู้ก็พึงหมั่นละ -ปล่อย - วางอารมณ์ที่เป็นทุกข์ให้ออกไปจากจิต ต้องค่อย ๆ ทำไปมิใช่จักฝึกได้กันในวันสองวันเท่านั้น อย่าลืมพระสาวกกว่าจักบรรลุได้ต้องอาศัยเวลาบำเพ็ญบารมีตั้งหนึ่งอสงไขยกำไรแสนกัปพวกเจ้าแม้จักบำเพ็ญบารมีตามท่านฤๅษีมามากก็จริงอยู่แต่ก็เพิ่งจักมาลาพุทธภูมิเอาตามท่านฤๅษีในชาตินี้พุทธภูมิที่บำเพ็ญมาไม่ได้บำเพ็ญเพื่อเป็นพระอริยเจ้าเมื่อลาพุทธภูมิก็ต้องมาขึ้นต้นกันใหม่แม้อารมณ์พุทธภูมิจักเข้มข้นกว่าพระสาวกก็ตาม การรู้มากก็มิใช่ว่าจักดีเสมอไปเพราะจับหนทางไม่ถูก เรียกว่ากรรมฐาน ๔๐ กองนั้น ตั้งท่าว่าจักชอบหมดทุกกองเลยจับอะไรไม่ถูก เรียกว่าส่วนใหญ่รู้ดี แต่จิตยังเข้าไม่ถึงความดีอย่างแท้จริง คือการกำหนดรู้ตัดสังโยชน์ ๑๐ ยังมีกำลังอ่อนไปจึงจำเป็นต้องหมั่นฝึกฝนการพิจารณาร่างกายและอารมณ์ของจิตที่เข้ามากระทบให้เกิดทุกข์ขึ้นบ่อยๆ มาถึงจุดนี้แล้ว ก็จักเห็นว่าเกาะสุขก็เป็นทุกข์ เพราะสุขทางโลกก็ไม่เที่ยงหากไม่เข้าใจจุดนี้ จิตก็จักมีอุปาทาน หลงแสวงหาสุขที่ไม่เที่ยงนั้น ๆซึ่งต่างกับสภาวะจิตที่เข้าถึงพระนิพพาน ไม่สุข - ไม่ทุกข์ ไม่เกิด - ไม่ดับเป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง กล่าวคือ กิเลสทั้งปวงไม่มีเข้ามากล้ำกลายในจิตจิตไม่มีอาการเสียดแทงหรือหวั่นไวด้วยประการทั้งปวง (มีผู้เข้าใจผิดเป็นอันมากว่าพระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันต์สาวกก็ดี เป็นผู้ไกลจากกิเลส) พึงพิจารณาจุดนี้ให้ดีเห็นอารมณ์แล้ว หมั่นสอบจิต สำรวมจิต ระมัดระวังจิตหากรู้ไม่เท่าทันก็สอบตกอยู่เป็นธรรมดา จงอย่าละความเพียรเสียอย่างเดียวแล้วที่สุดจิตจักรู้หนทางหลุดพ้นได้เอง
๕.มองเห็นโทษของทุกขเวทนาแล้วก็พึงมองไปถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์นั้นด้วย เมื่อเห็นต้นเหตุ คือ สมุทัยนั้นแหละจึงพึงแก้ที่ต้นเหตุไม่มีทุกข์อันใดหรือโทษอันใดที่รู้ต้นเหตุแล้วจิตนั้นจักล่วงทุกข์ไม่ได้นอกเสียจากว่าเป็นอาภัพบุคคลที่ธรรมะของตถาคตเจ้าทั้งหลายโปรดไม่ได้ทุกอย่างขึ้นอยู่กับกำลังใจอย่างเดียวเท่านั้นหากบุคคลใดเดินให้ตรงทางของศีล -สมาธิ - ปัญญา หรือมรรค ๘ แล้ว จึงจักล่วงทุกข์ไปได้ทุกอย่างขึ้นอยู่กับกำลังใจอย่างเดียว แม้ร่างกายจักไม่ดีก็ขอให้รักษากำลังใจให้ดีไว้ก็แล้วกัน
๖.มองทุกสิ่งทุกอย่างในโลกก็ไม่เที่ยง ยึดถือเข้าก็เป็นทุกข์ทุกอย่างที่สุดเป็นอนัตตา โลกนี้ทั้งโลกในที่สุดแล้วไม่มีอะไรเหลืออย่าคิดหวังพึ่งโลกอีกต่อไป และให้พิจารณาตัด - ปล่อย - วางอุปาทานขันธ์ ๕ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จักมากได้กฎของกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำซ้อนก็ให้เห็นเป็นเรื่องธรรมดา เพราะกรรมใดที่จิตเราไม่เคยก่อไว้ในอดีต วิบากนั้น ๆจักเกิดขึ้นกับเรานั้นเป็นไปไม่ได้ที่เป็นทุกข์นั้นเพราะจิตมันฝืนไม่ยอมรับนับถือกฎของกรรม จึงทำให้ทุกข์ต้องฝึกฝนอบรมจิตอย่าให้ดิ้นรนไปฝืนโลกฝืนธรรม แล้วจิตจักเป็นสุขโดยการยอมรับนับถือกฎของธรรม กฎธรรมดาของขันธ์ ๕ ทุกอย่างล้วนเป็นธรรมดาทั้งสิ้นสิ่งใดไม่ดีอย่าจำมาทำร้ายจิตของตนเอง ทิ้งออกไปให้หมด ตั้งหน้าตั้งตาเดินไปตามศีล- สมาธิ - ปัญญาอย่างไม่หยุดยั้งอย่าท้อถอยแล้วสักวันหนึ่งก็จักถึงจุดหมายปลายทางได้เอง
๗.ร่างกายไม่มีแก่นสารก็จริงอยู่แต่เมื่อมีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียนร่างกายก็จำเป็นที่จักต้องหาทางรักษาเพื่อบรรเทาทุกขเวทนาของร่างกายจักได้ไม่ส่งผลมาถึงจิตทำให้จิตพลอยถูกเบียดเบียนไปด้วยให้พยายามแยกกาย -เวทนา - จิต - ธรรมออกจากกันว่า สิ่งไหนเป็นเรื่องของกาย สิ่งไหนเป็นเรื่องของจิตให้ตั้งใจทำให้ดีอย่าท้อแท้กับเหตุใด ๆ ทั้งปวงให้พิจารณาลงตัวธรรมดาเสียให้ได้แล้วทุกอย่างก็จักไม่เป็นเรื่องที่สร้างความหนักใจให้เรื่องนี้ให้ดูท่านพระ...เป็นตัวอย่าง ร่างกายของท่านไม่ดี ท่านยิ่งตัดใจวางขันธ์ ๕ ให้มากขึ้นจิตอยู่ในอารมณ์สักแต่ว่าให้มันเป็นไปตามเรื่องของขันธ์ ๕ เท่านั้นจิตของท่านจึงเป็นสุข ร่างกายยิ่งใกล้จักพังยิ่งเป็นสุขใหญ่ แต่มิใช่แกล้งให้มันพังจิตท่านมีเมตตากับร่างกายตนเองมาก แต่ในขณะเดียวกันอารมณ์วางเฉยในร่างกายก็ทรงตัวเป็น เอกัตคตารมณ์
๘.ร่างกายไม่ดีย่อมพาจิตให้ไม่ดีไปด้วย มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ร่างกายไม่ดีจิตใจไม่เกี่ยวเกาะร่างกาย จิตของท่านดีอยู่เสมออารมณ์ของท่านไม่มีไหลขึ้นไหลลงจิตคงที่ไม่มีความหวั่นไหวไปกับร่างกายเพราะฉะนั้นเจ้ายังไม่ใช่พระอรหันต์ จึงยังมีอารมณ์ไหลขึ้นไหลลง ดีบ้าง ไม่ดีบ้างยิ่งวันไหนร่างกายแย่ จักเห็นอารมณ์ของจิตแย่ตามชัด ก็นับว่าเป็นปกติธรรมอยู่เพราะผู้มีอารมณ์จิตไม่ไหลขึ้นไหลลง มีอยู่แต่พระอรหันต์เท่านั้นเวลานี้พวกเจ้าให้สังเกตท่านพระ...ให้ดีปฏิปทาจริยาของท่านจักเป็นครูสอนพวกเจ้าสืบไป
๙.งานทางโลกทำเท่าไหร่ไม่รู้จักจบต่างกับงานทางธรรมทำแล้วมีทางจบไม่ต้องกลับมาทำแล้วทำอีกและจงหมั่นพยายามปล่อยวางความกังวลใจในเรื่องทุกเรื่องลงเสียด้วยการพิจารณาให้เห็นทุกข์ และเห็นธรรมดาในเรื่องนั้น ๆอย่าเอาจิตไปเกาะงานให้มากนัก ให้พิจารณาลงตัวธรรมดาเข้าไว้เพราะนี่แหละคือความปรารถนาไม่สมหวังมันเป็นของธรรมดาพึงวางอารมณ์ให้อยู่ในความดี และเห็นเป็นกฎของกรรมลงเสีย จิตก็จักไม่ดิ้นรนฝืนโลกฝืนธรรมให้เกิดความทุกข์ จิตปล่อยวางทุกอย่างลงตัวธรรมดาหมดความสุขก็จักเกิดขึ้นได้ ให้พิจารณาค้นหาความจริงให้พบ น้อมจิตพิจารณาลงไปอย่าทิ้งอารมณ์แล้วจักเห็นหนทางไปได้ดีในการปฏิบัตินี้
๑๐.ร่างกายที่เห็นอยู่นี้เป็นของใครก็ไม่รู้ มันเป็นสมบัติของโลก ซึ่งไม่มีใครเอาไปได้อย่าไปดูว่ามันดีหรือมันเลวให้เห็นมันเป็นธรรมดาทุกอย่าง จักแก่ จักเจ็บ จักตายด้วยโรคหรือด้วยเหตุประการใดก็เป็นธรรมดาอย่าไปวิตกอย่าไปกังวลให้มากนักร่างกายจักเป็นเช่นไร ก็เป็นเรื่องธรรมดาให้ใช้จิตพิจารณาคำว่าธรรมดาเข้าไว้จิตจักไม่ดิ้นรนเยือกเย็นทุกอย่างความสุขจักเกิดขึ้นกับจิตมากหากรักษาอารมณ์ที่เห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมเข้าไว้ที่สุดแม้แต่ความตาย จักเข้ามาถึงร่างกายก็ยังเป็นของธรรมดา
๑๑.ให้ดูร่างกายที่ไม่เที่ยงเข้าไว้แล้วก็ให้ดูจิตที่มีอารมณ์ไม่เที่ยงเข้าไว้ แล้วหวนดูความปรารถนาหรือความทะยานอยากของจิตเข้าไว้ใครจักเป็นผู้ดับความกระหายหรือความทะยานอยากหรือความปรารถนาของจิตได้ถ้าดับด้วยการสนองตัณหาก็คือกิเลสถ้าดับด้วยปัญญาก็จักเห็นแนวทางความสุขของจิตชัดไม่มีความทะยานอยากด้วยกิเลสไม่มีการสนองกิเลสจิตเห็นธรรมดาของอารมณ์เห็นช่องทางที่จักไปให้พ้นได้จากวัฏสงสาร อย่าท้อถอย อย่าอ่อนแออะไรเกิดขึ้นกับร่างกาย อะไรเกิดขึ้นกับอารมณ์นั่นเป็นของธรรมดาปล่อยวางไปให้ถึงที่สุดปล่อยวางด้วยปัญญา อันตั้งมั่นมาจากสมาธิอันเกิดมาแต่ศีลบริสุทธิ์เท่านั้นทำกำลังใจให้เต็มเข้าไว้เรื่องของการปฏิบัติไม่มีใครช่วยใครได้สำคัญอยู่ที่กำลังของตนเองเป็นสำคัญ
๑๒.อย่ากังวลกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งปวง ทำจิตให้สบาย ๆ ให้เห็นกฎของกรรมให้ชัดอย่าทำจิตให้เดือดร้อน ดูกรรมดี กรรมที่เป็นกุศลเข้ามาก็ส่งผลดีให้ (เป็นธรรมดา)อย่าให้หลงใหล ดูกรรมชั่ว กรรมที่เป็นอกุศลเข้ามา ก็ส่งผลให้เป็นผลเสียเข้ามา(เป็นธรรมดา)ไม่ว่าทางด้านกาย - วาจา - ใจ ก็ให้เห็นเป็นของธรรมดาโลกนี้ทั้งโลกหาความเที่ยงหาความสงบไม่ได้ กำหนดจิตปล่อยวางโลกให้ได้มากที่สุดแล้วจิตจักเป็นสุขแต่ไม่ใช่ไม่รู้เท่าทันโลกเลยนะให้รู้แจ้งโลกจึงวางโลกได้ ไม่ว่าจักเป็นโลกภายนอกหรือโลกภายในอะไรมันเกิดก็ให้เห็นเป็นเรื่องธรรมดา แล้วหมั่นดูจุดยืนคือกระทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพานเอาไว้ให้ดี จิตจักได้มั่นคงไม่อ่อนไหวง่ายเห็นทางไปพระนิพพานได้อย่างไรชัดเจนแจ่มใสอย่าลืมพระนิพพานเขาเอาใจไปกันมันใช่เอากายไปกันอย่างห่วงร่างกายให้มันมากนักและจงอย่าประมาทในกรรมทั้งหลายทั้งปวง เตือนเพียงเท่านี้แล้วนำไปพิจารณาเอาเอง
๑๓.เห็นโทษของการเกิดนั้นเป็นของดีให้พิจารณาย้อนไปว่า การเกิดเป็นสัตว์ เกิดเป็นเปรต เกิดเป็นอสูรกายเป็นสัตว์นรกจักทุกข์มากขนาดไหน พิจารณาย้อนไปให้เห็นชัดถึงตัวโทษของการเกิด��กรรมทั้งหมายมาแต่เหตุทั้งสิ้น ใครทำใครได้ กฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอและให้ผลไม่ผิดตัวด้วยจุดนี้หมั่นพิจารณาให้มากการพูดการอ่านเท่าไหร่ก็ไม่ละเอียดเท่ากับการใช้จิตพิจารณาเอาเองให้จิตของเรารู้เอง ใครจักมาบอกเราให้รู้สัก ๑๐๐ ครั้ง ๑,๐๐๐ ครั้งก็สู้เรารู้ด้วยจิตของเราเองครั้งเดียวไม่ได้ตถาคตไม่จำเป็นต้องตรัสให้มากไปกว่านี้ตรัสเพียงเท่านี้ก็สามารถนำไปพิจารณาปฏิบัติได้แล้ว
๑๔.การนินทาว่าร้ายคนอื่นจิตของผู้นั้นจักร้อนรุ่มเป็นที่สุด พิจารณาจุดนี้ให้มากพยายามรักษากาย - วาจา- ใจให้สงบเป็นสุข เป็นสิ่งดี คิดไว้เสมอว่ากรรมของใครก็กรรมของมันเตือนใจไว้เสมอ อย่าไปสนใจกับกรรมของผู้อื่นใครจักด่าจักนินทาก็เรื่องของเขาเรามิได้ดี หรือเลวไปกับคำด่าคำนินทาของเขาดีหรือเลวอยู่ที่ศีล - สมาธิ - ปัญญาของกาย - วาจา - ใจของเราเท่านั้น มิได้เกี่ยวกับบุคคลอื่นเลยให้มีสติกำหนดรู้จุดนี้เอาไว้ให้ดีจักไปพระนิพพานต้องผ่านจุดนี้ให้ได้ดูภายในคือกาย - วาจา - ใจของตน อย่าให้บกพร่องในศีล-สมาธิ-ปัญญาแม้แต่ชั่วขณะจิตหนึ่ง ดูภายนอกคือกาย-วาจา-ใจ ของบุคคลอื่น ปล่อยวางให้มากที่สุดเพราะไม่เกี่ยวกันเลยพยายามพิจารณาให้ลงตัวธรรมดา เห็นธรรมดาของร่างกายเห็นธรรมดาของโลกธรรม ๘ เห็นธรรมดาของอารมณ์ให้มาก จิตจักได้ไม่ดิ้นรนเยือกเย็นลง เห็นทุกอย่างตามความเป็นจริงไม่ทวนกระแสโลก(ไม่ฝืนโลก)ไม่ทวนกระแสธรรม(ไม่ฝืนธรรม)ทุกอย่างเป็นธรรมดาหมดวางอารมณ์ให้ถูกแล้วจิตจักเป็นสุขยังมีชีวิตอยู่ก็ทำหน้าที่ทุกอย่างให้ครบด้วยกำลังใจเต็มเพื่อพระนิพพานจุดเดียว
๑๕.อย่าไปขวางกรรมหรือแก้กรรมของใครปล่อยวางทุกอย่างให้เป็นไปตามกรรมแม้แต่สภาพของร่างกายตนเองก็เช่นกันดูความเกิด ดูความดับของร่างกายเป็นของธรรมดาไม่ควรอาลัยใยดีหรือกังวลให้มากจนเกินไปมองร่างกายตามสภาพความเป็นจริงแล้วปล่อยวางด้วยปัญญาให้มากที่สุดเท่าที่จักมากได้หากร่างกายเราเกิดมีอาการเจ็บป่วยขึ้นจงคิดว่าเราอาจโชคดีรีบตัดร่างกายทิ้งไปให้ได้เราก็ถึงซึ่งพระนิพพานได้เช่นกันขอจงอย่าประมาทในชีวิตและอย่ากลัวความตายเพราะถ้าไม่ตายก็เข้าถึงซึ่งพระนิพพานอย่างถาวรไม่ได้ เมื่อวาระนั้นมาถึงจงอย่าห่วงอะไรทั้งหมดให้ตัดใจวางภาระและพันธะหน้าที่ทั้งหมดทั้งภายนอกและภายใน เพราะมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่มีใครเอาสมบัติของโลกไปได้จิตมุ่งสู่พระนิพพานจุดเดียวเท่านั้น(รู้ลม - รู้ตาย -รู้นิพพาน)
๑๖.เมื่อสอบถามอารมณ์จิตของพระที่ท่านวางอารมณ์ สังขารุเบกขาญาณได้จริงแล้วมีความว่าหากมีผู้หญิงมาสนใจตัวท่าน ของใช้ส่วนตัวท่าน แม้แต่ห้องนอน -ห้องน้ำของท่านจนเกินพอดี ท่านจะคิดอย่างไร ท่านตอบว่าแม้แต่ร่างกายหรือ รูป -เวทนา - สัญญา - สังขาร - วิญญาณ ยังไม่ใช่ของเรา เราคือจิต แล้วห้องน้ำ - ห้องนอนสิ่งภายนอกกาย มันจะเป็นเราเป็นของเราได้อย่างไรการวางอารมณ์วางเฉย หรือสังขารุเบกขาญาณ คือ วางทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกายว่า มันหาใช่เราหาใช่ของเราไม่ โดยไม่มีอารมณ์ฝืนกระแท่านสอนให้ดูจิตที่เป็นดวงแก้วใสสว่าง ๆนั่นแหละ คือเราดูอยู่เพียงอย่างเดียว หากยังมีอารมณ์ฝืนโลก - ฝืนธรรมอยู่ก็ไม่แน่ว่าจะไปพระนิพพานได้ จึงต้องไม่มีอารมณ์ฝืนโลก ฝืนธรรม เหมือนว่ายตามน้ำไม่ว่ายทวนน้ำโลกจะเป็นอย่างไรก็เรื่องของโลก ให้รักษาอารมณ์จิตอย่างเดียวเพื่อไปให้ถึงพระนิพพานให้ได้นี่ก็เป็นตัวอย่างของพระที่ท่านหมดความยึดมั่นถือมั่น ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกรวมทั้งร่างกายที่จิตท่านอาศัยอยู่ว่ามันไม่ใช่ท่าน ไม่ได้เป็นของท่านรู้ชัดว่าไม่มีใครเอาสมบัติของโลกไปได้ทุกอย่างในโลกเป็นเพียงแค่สภาวธรรมที่เกิดดับ ๆ อย่างเป็นสันตติธรรมทุกอย่างในโลกจึงเป็นแค่สมมุติธรรมที่แสดงอยู่ล่อจิตที่โง่(มีอวิชชา)ให้ติดและหลงใหลอยู่กับมันหากวางจุดนี้ได้ก็จบกิจในพระพุทธศาสนา
๑๗.ให้มีจิตระลึกไว้เสมอว่าร่างกายนี้จักต้องตายอยู่เสมอ อาจจักตายเดี๋ยวนี้หรือขณะจิตข้างหน้านี้ก็ได้อย่ามีความประมาทในชีวิต แล้วจงหมั่นพยายามเลี่ยงให้พ้นซึ่งอารมณ์เศร้าหมองของจิตให้พิจารณาลงตัวธรรมดาเสียให้หมด ได้เมื่อไหร่ก็เป็นพระอรหันต์เมื่อนั้นร่างกายที่เห็นอยู่นี้ อย่าไปคิดว่ามันจักอยู่นานเพียรพิจารณาถึงความอนัตตาอยู่เสมอ ร่างกายภายนอกสัตว์-วัตถุธาตุทั้งหลายก็เช่นกันที่สุดก็อนัตตาเหมือนกันหมด โลกนี้ทั้งโลกไม่มีอะไรเหลือจักพึงยึดถือสิ่งใดกับโลกเล่าถามจิตให้จิตตอบและให้ยอมรับทุกอย่างตามความเป็นจริงอย่างเช่นทำงานอะไรก็ให้เอาความสุขกาย-สุขใจเป็นที่ตั้งและทำด้วยความเต็มใจไม่หวังผลตอบแทนในโลกธรรมทั้งปวงมีอารมณ์หวังเพียงอย่างเดียวคือทำเพื่อการละการตัดซึ่งความโกรธ-โลภ-หลงนั่นคือการเข้าใจถึงซึ่งกำลังใจเต็ม การกระทำนั้นได้ชื่อว่าทำเพื่อพระนิพพานตรัสไว้เพียงสั้น ๆ แค่นี้ แล้วนำไปพิจารณาและปฏิบัติให้ดี
จากหนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น (เล่ม ๑๐)
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
*********************************************************************
ผู้แสดงความคิดเห็น เกียรติศักดิ์ โพธิ์อุ่น (kiattisp-at-scg-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-25 09:04:58


ความคิดเห็นที่ 45 (1599273)

จากหนังสือ

ปฐมธรรมยาน

(ลูกตามพ่อ)

วัดธรรมยาน

พระปลัดวิรัช โอภาโส

บ้านห้วยน้ำบ่อ ต.นาเฉลียง อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์

หลวงพ่อปรารภเรื่องการสร้างพระ

"การสร้างพระพุทธรูป ข้าจะไม่ยอมให้ท่านตากแดดตากฝนเด็ดขาด พระก็เหมือนพ่อแม่ แล้วเราจะยอมให้พ่อแม่เรานั่งตากแดดตากฝนไหม?"

หลวงพ่อเดินตรวจงานสร้างพระชำระหนี้สงฆ์ตรงอาคารที่กำแพงติดกับศาลา 12 ไร่ เดินไปเห็นพระพุทธรูปหักชำรุดวางพิงกำแพงอยู่ ท่านยกมือไหว้และท่านพูดว่า

"ถ้าเดินไปเห็นกองทรายที่เขาเตรียมปั้นพระพุทธรูปกองอยู่ไหว้ได้เลย"

ผู้แสดงความคิดเห็น เกียรติศักดิ์ โพธิ์อุ่น (kiattisp-at-scg-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-25 09:20:09


ความคิดเห็นที่ 46 (1599275)

ปกิณกะธรรมของหลวงพ่อ

*ตัวโอ้อวด เป็นตัวมานะ ต้องระวัง

*ทำอะไรอย่าใช้ศัพท์ว่า "ไม่รู้" มันเป็นมิจฉาทิฏฐิจะลงนรก ยอมรับมันเสียหมดเรื่อง เช่นทำบาป จะบอกว่าไม่รู้แล้วทำไม อย่ามาเอ่ยแบบนี้ เช่น พระก็ต้องรู้และศึกษาไว้ แม้ฆราวาสทำผิดจะบอกว่าไม่รู้ อย่างนั้นก็ทำร้ายกันก็บอกว่าไม่รู้ว่ามันเป็นบาป

*พระอริยเจ้า ไม่มีความเลวในใจ ท่านไม่มีเวรมีภัยกับใคร ท่านไม่พูดกวนอารมณ์ของบุคคล ท่านไม่พูดปรารภตนเอง ประเพณีของโลกเราไม่ขัดแต่จิตใจของเราไม่ยึดถือ

*บำเพ็ญบารมีของพวก ที่เวียนว่ายตายเกิดจนกว่าจะเข้านิพพาน

บารมีต้น บุญกับบาปสลับกัน

บารมีกลาง บุญมากกว่าบาป

ปรมัตถบารมี บุญมาก....ถ้าเป็นปรมัตถะ และ เนกขัมมะด้วย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เกียรติศักดิ์ โพธิ์อุ่น (kiattisp-at-scg-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-25 09:35:16


ความคิดเห็นที่ 47 (1599336)

จริยาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

ขอให้ทุกท่านจงเอาอย่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทั้งนี้เพราะอะไร
เพราะว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่
หัว ทรงมีพระราชภารกิจมาก ยากต่อการปฏิบัติให้มีการทรงตัวในด้านสมาธิ แต่ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงสมาธิได้ดี สามารถเข้าฌานออกฌานได้ทุกอย่าง...
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเ
จริญสมาธิ จิตมีอารมณ์ทรงได้ดี
ท่านทำยังไง
ท่านทำแบบนี้ เวลาที่ท่านจะภาวนาท่านก็เอาจริ
งเอาจัง เอาจิตทรงตัว และเวลาจิตฟุ้งซ่าน ท่านก็ดูพระพุทธรูป ลืมตาดู คิดว่าพระพุทธรูปนี่เขาทำด้วยอะไร สีอะไร เอาใจไปอยู่ที่พระพุทธรูปเป็นพุทธานุสสติ

และประการที่ ๒ พระองค์ตรัสว่า
เวลาที่ผมเดินเล่น ถ้าผมต้องการเดิน ๑ ชั่วโมงนี่ ผมสะพายเทปเดินไปด้วย ผมก็เดินแล้วผมก็ตั้งใจฟังเสียง
จากเทป เอาจิตจับเฉพาะเสียงเทป เสียงอื่นผมไม่สนใจ ต้องการเดิน ๑ ชั่วโมง ก็ฟังสองหน้า ต้องการเดิน ๒ ชั่วโมง ก็ฟังสี่หน้า จิตจับอยู่เฉพาะในเทป

เมื่อยามว่างจากกิจการงานอื่น ก็เปิดเทปในห้อง ฟังเสียงเทปแล้วก็คิดตาม เวลาที่จะทรงบรรทมก็จะฟังเทปจนห
ลับไป แต่บางครั้งฟังแล้วบังคับไม่ให้หลับมันก็ไม่หลับ บางทีฟังแล้วต้องการให้หลับ ฟังยังไม่ถึงเทปมันก็หลับ

แสดงว่าพระองค์ทรงควบคุมกำลังใจ
ได้ดี จริยาแบบนี้ ผมขอแนะนำให้ท่านทั้งหลาย จะเป็นพระใหม่หรือพระเก่าก็ตาม คนใหม่หรือคนเก่าก็ตาม จงสนใจและปฏิบัติเยี่ยงพระบาทสม
เด็จพระเจ้าอยู่หัว

 
ผู้แสดงความคิดเห็น กัลยาณี ทิมขาวประเสริฐ ((ตั๊ก)) (ktkanlayani-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-25 21:56:55


ความคิดเห็นที่ 48 (1599337)

ทำอย่างไรจึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล โดยหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

การที่ทุกคนสมาทานศีล ก็อย่าพึงนึกว่าท่านเป็นคนมีศีล
เพราะการสมาทานศีลนี้ ถือว่าเป็นการศึกษาเท่านั้นว่าศีลมีอะไรบ้าง และเมื่อสมาทานแล้วก็ต้องตัดสินใจว่า สิกขาบท ๕ ประการ คือ

ประการที่ ๑ การไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกันโ
ดยทางกาย เช่น ทำร้ายร่างกายหรือประหัตประหารชีวิตกัน แม้แต่คนก็ดี สัตว์ก็ดี จะเป็นสัตว์เล็กก็ดี สัตว์ใหญ่ก็ดี เราจะไม่ทำตล...อดชีวิต และก็ต้องไม่ทำจริง

ประการที่ ๒ ทรัพย์สินของชาวบ้านที่เขาไม่ได้
ให้เราโดยชอบธรรม เราจะไม่ถือเอาโดยเด็ดขาด

ประการที่ ๓ ขึ้นชื่อว่าความรัก คือคนรักของคนอื่น เราจะไม่ยื้อแย่งคนรักของเขา

ประการที่ ๔ วาจาที่เรากล่าวไปทุกอย่าง เราจะกล่าวตามความเป็นจริงทั้งห
มด

ประการที่ ๕ เราจะไม่ดื่มสุราและเมรัย เพราะเป็นฐานที่ตั้งแห่งความประ
มาท

ถ้าทุกท่านตัดสินใจได้ตามนี้ ตั้งใจรักษาศีลจริง ๆ คิดว่านับตั้งแต่เวลานี้เป็นต้น
ไปจนกว่าจะตาย เราจะเป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ ไม่ยอมให้ศีลบกพร่อง อย่างนี้จึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล

ถ้าทุกท่านหรือว่าบางท่านศีลไม่
สมบูรณ์มาในกาลก่อน แต่ว่าเวลานี้ตัดสินใจจะเป็นผู้มีศีลโดยสมบูรณ์แบบ อย่างนี้ถือว่าเป็นผู้มีศีลแน่ แต่ไม่ใช่เป็นผู้ทรงศีลเฉพาะเวลาเจริญพระกรรมฐาน ต้องตัดสินใจว่าเราจะทรงศีลตลอด
เวลา ต้องตั้งใจว่าจะเจริญตลอดชีวิต

ผู้แสดงความคิดเห็น กัลยาณี ทิมขาวประเสริฐ ((ตั๊ก)) (ktkanlayani-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-25 22:03:24


ความคิดเห็นที่ 49 (1599338)

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

จงยอมรับกฎธรรมดา ทำความเบื่อหน่ายร่างกายที่เต็ม
ไปด้วยโรคนี้เสีย และเห็นความไม่เที่ยง ซึ่งมีแต่การเกิด-เสื่อม-ดับของธรรมแห่งการมีร่างกายนี้ เห็นธรรมใดๆในโลกที่เข้ามากระทบอารมณ์ตามสภาพความเป็นจริง ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยงตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ทั้งสิ้น ยึดถือเข้ามาในอารมณ์เมื่อไหร่ ก็ทุกข์บังเกิดขึ้นเมื่อนั้น

จากหนังสือธรรมที่นำไปสู่ความหลุ
ดพ้น เล่มที่ ๔ เรื่อง ทางพ้นทุกข์ หน้า... ๑๓๙

....................................................................

ผู้แสดงความคิดเห็น กัลยาณี ทิมขาวประเสริฐ ((ตั๊ก)) (ktkanlayani-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-25 22:06:57


ความคิดเห็นที่ 50 (1599829)

อนุโมทนาบุญกับทุกท่านสำหรับทุกธรรมทาน และขอบคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

ภวยา เส็งพานิช

ผู้แสดงความคิดเห็น ภวยา เส็งพานิช (กระเต็น) (pavaya-dot-s-at-ghb-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-29 09:16:07


ความคิดเห็นที่ 51 (1600225)

  อารมณ์พระอรหันต์
โดยหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
อย่าลืมคุมกำลังใจให้เป็นสมาธิ
เรื่องการรักษาอารมณ์ให้เป็นสมาธิ
นี่มีความสำคัญมาก 
โดยเฉพาะอานาปานสติกรรมฐานนี่ให้ทรงตัว 


แล้วก็จริต ๖ ประการ ใคร่ครวญอยู่เสมอ 
จงอย่าเป็นผู้ยอมแพ้นิวรณ์ นี่อันดับต้น 
ถ้าอันดับต้นเรายอมแพ้นิวรณ์ 
เราก็ไม่อาจจะทรงฌานได้

แล้วก็จงอย่าเป็นผู้ยอมแพ้กิเลส 
ถ้าเรายอมแพ้กิเลสแล้ว 
เราก็ไม่สามารถเป็นพระอริยเจ้าได้
ถ้าทำไม่ได้ยอมตายเสียดีกว่า


ในเมื่อท่านปฏิบัติความดีมีความตายเป็นเดิมพัน 
ทั้งนี้ก็หมายความว่า ถ้าทำไม่ได้ยอมตายเสียดีกว่า 
อันนี้เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์


บอกไว้ด้วยถึงแม้ว่าเวลานั้นจะไม่ได้อรหันต์ 
แต่ต้องได้อรหันต์แน่ถ้าท่านคิดอย่างนั้น

อะไรบ้างที่ท่านยอมให้บกพร่อง 
ภารกิจหน้าที่ทั้งหมดที่เป็นคันถธุระทุกอย่าง
ทั้งทางด้านวิชาการและการงานไม่ยอมให้บกพร่อง 
เพราะถือว่าจะต้องมีอารมณ์จิตเข้มข้น 


ไม่ใช่จะมานั่งภาวนาอย่างเดียวให้เป็นอรหันตผล 


อันนี้มันไม่ได้เพราะอารมณ์ใจไม่มีการสัมผัส
กับฝ่ายที่เป็นตรงกันข้าม ไม่มีการต่อสู้ 
ทั้งนี้เพราะว่า รู้ตัวอยู่ว่าคนที่หลีกเลี่ยงจากคันถธุระ 
หลีกเลี่ยงจากโลกธรรม เวลาอยู่คนเดียวสงบสงัด 
แต่เวลามาสัมผัสกับโลกธรรมเข้า จิตปลิวหวอย ตั้งสติไม่อยู่.....

ผู้แสดงความคิดเห็น ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-03-01 23:08:19


ความคิดเห็นที่ 52 (1600227)

  ตั้งใจตรงพระนิพพาน
โดย หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง



ก่อนที่เราภาวนา หรือก่อนที่จะอาราธนาพระก่อนที่จะบูชาพระ ให้จิตคิดว่าการเกิดมันเป็นทุกข์

อย่างนี้เราไม่ต้องการมันอีก การเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมหรือนางฟ้าก็ดีมีความสุข

 

เมื่อหมดบุญวาสนาบารมีก็มีความทุกข์ใหม่ เราไม่ต้องการมันอีก เราต้องการพระนิพพานอย่างเดียว

ตั้งใจตรงอย่างนี้เฉพาะพระนิพพาน



หลังจากนั้นก็บูชาพระหรืออาราธนาพระ หรือภาวนาว่าพุทโธก็ใช้ได้
อย่างนี้หากว่าท่านตายเมื่อไหร่เวลานั้น


จิตจะตัดจากกิเลส กิเลสทั้งหมดจะไม่เข้ามาสิงใจ เพราะว่าการป่วยของท่านมันมีแต่ทุกข์เวทนา

 

อืดที่โน่น เสียดที่นี่ ปวดที่นั้น มันหาความสุขไม่ได้ เวลานั้นความต้องการในร่างกายของเราไม่มี

 

กิเลส 4 ประการ คือ

ความรักในระหว่างเพศ ไม่มีในเวลาป่วยหนัก


ความโลภ อยากได้ทรัพย์สมบัติ ไม่มีในเวลาป่วยหนัก


ความโกรธ คิดจะฆ่าใคร ไม่มีในเวลาป่วยหนัก


ความหลง ในร่างกาย ไม่มีในเวลาป่วยหนัก

ก็ชื่อว่ากิเลสทั้ง 4 ประการไม่สามารถจะผูกใจเราได้
ถ้าจิตใจเรามีความพอใจในพระนิพพานอยู่


แล้วมั่งคงในพระไตรสรณคมน์ เวลานั้นอารมณ์ก็จะตัดจากกิเลส จิตก็ว่างจากกิเลส

 

จิตไม่มีความพอใจในร่างกาย เราก็จะเป็นพระอรหันต์


ในเมื่อเป็นอรหันต์ก็จะนิพพานทันที ยากไหม ไม่ยากนะ

 

ความจริงการเป็นพระอรหันต์นี่มันเป็นกันไม่ยาก แต่ว่าที่ยากเพราะอะไร เพราะเราไม่อยากเป็น

อย่างฉันเป็นต้น ใช่ไหม ฉันเป็นพระกังหัน หมุนไปหมุนมา เดี๋ยวหมุนไม่ไหว ลุกก็ไม่ขึ้นแล้ว


การเป็นพระอรหันต์เราต้องดูที่พระพุทธเจ้าทรงสอน สอนอะไรไว้บ้าง

ในมหาสติปัฏฐานสูตรทั้ง 4 บรรพ แล้วทุกข้อที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ตอนท้ายวิปัสสนานาญาณ ตอนต้นเป็น

สมถภาวนา ทุกข้อเหมือนกันหมด ให้ดูตอนข้อท้าย ตอนท้ายจะลงท้ายว่า 

"ท่านทั้งหลาย จงอย่าสนใจกายภายในและกายภายนอกคือว่าร่างกายของคนอื่น


และจงอย่าสนใจทุกๆ อย่างในโลก ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกอย่าสนใจ"

นี่เป็นอารมณ์พระอรหันต์ ก็รวมความว่า การเป็นอรหันต์ตัดที่ร่างกายตัวเดียว ตัดร่างกาย ตัดร่างกายเรา

ไม่ใช่ร่างกายคนอื่น.....


โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ หนังสือ คำสอนหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่มที่22 หน้า107-108
จากคุณ Sakoarat Sensopis

ผู้แสดงความคิดเห็น ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-03-01 23:13:24


ความคิดเห็นที่ 53 (1600228)

  ท่านจันทนา วีระผล
เข้าถึงพระนิพพานได้ด้วยทานบารมีเต็ม

๑. “ที่พวกเจ้าเข้าใจว่า พระจันทนา วีระผลนั้นเข้าถึงพระนิพพานปรมัตถ์ได้ด้วยอาศัย

 

จาคะเป็นเหตุนั้น ถูกต้อง เพราะท่านผู้นี้มีกำลังใจเต็มอยู่เสมอ

 

ที่จักสละทานการให้อยู่เป็นปกติ ไม่ว่าทรัพย์ภายนอกหรือทรัพย์ภายใน

 

สละได้โดยไม่หวังผลตอบแทนอยู่เป็นนิจ


๒. “ทรัพย์ภายนอกได้แก่ทรัพย์สินเงินทองที่มีอยู่ ท่านสละได้โดยไม่เดือดร้อน

 

ตนเองและผู้อื่น   จิตใจไม่โลภ แม้กระทั่งหวังได้ผลบุญมากตอบแทน

 

ก็ไม่มีอยู่ในจิต จิตจึงผ่องใสอยู่ตลอดเวลา

 

ทรัพย์ภายในคือท่านหมั่นสละอารมณ์โลภ โกรธ หลง ที่เกาะอยู่ในจิตอัน

 

อาศัยขันธ์ ๕ เป็นเหตุอยู่นี้ เพียรละอยู่ตลอด

เวลา จึงมีความผ่องใสของจิตเพิ่มขึ้นมาเป็นลำดับ 

 

การสละจาคะอยู่อย่างนี้ท่านทำอยู่เป็นปกติ ในที่สุดจึงมีกำลังใจเต็ม

สละร่างกายได้ในวาระที่มีโอกาสที่จักไปพระนิพพานได้

๓. “ท่านผู้นี้ถ้าไม่ทิ้งขันธ์ ๕ ในขณะนั้น ก็จักอยู่ต่อไปได้อีก ๑๒ ปี

 

ในอารมณ์ของจิตที่อยู่ในระดับพระอรหัตมรรค เพราะฉะนั้นการปฏิบัติธรรมของ

 

ท่านผู้นี้ จึงได้ชื่อว่าตัดตรงมาทางสายตรง มิใช่มาลัดเยี่ยงบุคคลอื่น

 

 ในบรรดาลูกศิษย์ของท่านฤๅษี จึงจัดได้ว่ามีส่วนทำมาทางสายตรง

 

เช่นเดียวกับพระท่านหญิงวิภาวดี รังสิต เพราะฉะนั้นพวกเจ้าพึงดูตัวอย่างท่าน

 

เหล่านี้ รักษากำลังใจปฏิบัติตามให้มั่นคง แล้วในที่สุดแห่งชีวิตก็จักได้เข้าถึง

 

มรรคผลนิพพานอย่างแน่นอน

ธัมมวิจัย เกี่ยวกับคำตรัสที่ว่า ท่านพระจันทนา ฯ เข้าถึงพระนิพพานปรมัตถ์ได้

นั้น หมายความว่าท่านตัดสังโยชน์ได้ครบทั้ง ๑๐ ข้อแล้ว ในระดับอรหัต

มรรค ส่วนพวกเราซึ่งส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิด ๆ ว่าตนเองเข้าถึงพระนิพพานได้

 

แล้วด้วยวิชามโนมยิทธิ แต่ไม่ใช่ปรมัตถ์ เพราะส่วนใหญ่ยังตัดสังโยชน์ ๓ ข้อ

 

ยังไม่ได้ จิตก็ยังไม่พ้นนรก ไม่พ้นอบายภูมิ ๔ ส่วนน้อยที่พ้นนรกแล้ว

 

แต่ก็ยังไม่ใช่ปรมัตถ์ เพราะอยู่แค่พระโสดาบันกับพระสกิทาคามี ส่วนน้อยเข้า

 

อนาคามีมรรคและอนาคามีผล ซึ่งก็ยังไม่ใช่ปรมัตถ์อยู่ดี พวกหลังไม่ต้องห่วงท่าน

เพราะท่านพ้นนรกแล้วอย่างถาวร ส่วนพวกแรกนั้นล้วนแต่ยังเป็นลูกผีลูกคนอยู่

หาความแน่นอนยังไม่ได้ แล้วยังประมาทหลงคิดว่าตนพ้นนรกแล้วอีก

ความจริงทุก ๆ ท่านล้วนสัมผัสพระนิพพานได้เท่านั้นเอง แต่ยังไม่มีสิทธิ์

เข้าไปอยู่ในแดนพระนิพพานปรมัตถ์ได้ เพราะสังโยชน์ ๑๐ ข้อยังตัดไม่ได้

หมดจริง เป็นพระเมตตาของพระพุทธเจ้าท่านเท่านั้น ซึ่งทำให้พวกเราสัมผัสแดน

พระนิพพานได้ด้วยพุทโธอัปมาโณ ผมก็ขออธิบายสั้น ๆ แค่นี้

ผู้แสดงความคิดเห็น ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-03-01 23:18:44



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.