ReadyPlanet.com


อย่าตำหนิกรรมของผู้อื่น โดย สมเด็จองค์ปฐม


อย่าตำหนิกรรมของผู้อื่น

โดย สมเด็จองค์ปฐม



ภาพ : สมเด็จองค์ปฐม
วัดท่าซุง


ทรงเมตตาสอนไว้เมื่อ ๒๗ กันยายน ๒๕๓๕ พิจารณาแล้วเห็นว่าจะมีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่อ่าน แล้วนำไปปฏิบัติให้เกิดผล มีความสำคัญโดยย่อ
ดังนี้ ในวันนี้ข้าพเจ้าและเพื่อนผู้ปฏิบัติธรรม มองเห็นชายคนหนึ่ง

ที่แพเลี้ยงปลาของวัด

จับปลาสวายตัวใหญ่
(ปลาของวัดเชื่องมาก)
ขึ้นมาจากน้ำ
ปลาก็ดิ้นจนหลุด

จากมือตกน้ำไป เขาก็จับปลาขึ้นมาใหม่ด้วยความสนุกสนาน ในครั้งนี้ปลาดิ้น

แล้วตกลงที่พื้นกระดานของแพปลา

แล้วจึงตกลงไปในน้ำ

เมื่อพวกเราเห็นการกระทำ (กรรม) ของเขา

ก็เกิดอารมณ์ปฏิฆะ

(ไม่พอใจ)

พูดขึ้นว่า ""บ้า"" อีก

ท่าน หนึ่งพูดว่า ""ทะลึ่ง""

ซึ่งเป็นการคิดชั่ว พูดชั่ว

(สอบตกในมโนกรรม และวจีกรรม ทั้งคู่)

สมเด็จองค์ปฐม

ทรงเมตตาตรัสสอนว่า

(เพื่อสะดวกในการจดจำ

แล้วนำไปปฏิบัติต่อ ขอเขียนเป็นข้อ ๆ)

ดังนี้


๑. ""เหตุที่จิตมีอุปทาน ยึดเอากรรมของผู้อื่นมาใส่จิตของเรา จึงกล่าว

เป็นวจีกรรมหลุดออกไป เพราะเหตุไม่รู้เท่าทันอารมณ์ของจิตที่ยึดเอาอุปทานนั้น ๆ

(บุรุษผู้สร้างกรรมกับปลา)

ถ้าไม่ใช่อดีตกรรมส่งผลให้เขาทำกับปลา กล่าวคือ ถ้าไม่ใช่ปลาเคยเป็นคน

มาแล้วจับคนที่เป็นปลาอยู่อย่างนี้แล้ว กรรมนี้ก็เป็นกรรมปัจจุบัน คือ มี

อารมณ์ฟุ้งซ่านเหลวไหล

เห็นสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ

มีอารมณ์พอใจสนุกไปกับ

การเบียดเบียนปลา

จึงสร้างกรรมนี้ให้เกิดขึ้น

ซึ่งกรรมนี้เมื่อลุล่วงไปแล้ว

ก็เป็นกายกรรม อันส่งผลให้เกิดกรรม

ในอนาคตได้กล่าวคือ

จะต้องมีชาติหนึ่งในต่อไปข้างหน้า

บุรุษนี้ก็จะเกิดมาเป็นปลาสวายและปลานั้น

กลับชาติมาเกิดเป็น
คนจับเงี่ยงปลาชูให้ดิ้นรน
จนกระทั่งตกลงกระแทกแพอีก

นี่คือกรรมภายนอก

แต่

เจ้าทั้งสองเอามาเป็นกรรมภายใน

สร้างวจีกรรมให้เกิด

เท่ากับเห็นคนผิด เห็นปลาถูก

จึงไปตำหนิกรรมอยู่อย่างนั้น

""วจีกรรมคือนินทากับสรรเสริญนั่นเอง""
 
 
๒. ถ้าจิตยังละการตำหนิกรรมไม่ได้
ไม่ว่าจะเป็นมโนกรรม
หรือ วจีกรรม
ก็เท่ากับสร้างผลกรรมให้ต่อเนื่องกันไป
ในการตำหนิกรรมไม่รู้จักสิ้นสุด

ในโลกนี้มัน เป็นวัฎจักรอยู่อย่างนี้
ผิดถูกในโลกนี้ไม่มี
มันมีแต่กรรมล้วน ๆ""

๓. "" ในเมื่อเจ้าทั้งสองตำหนิกรรมนี้แล้ว พอไปชาติหน้าก็ประสบมาเป็นคน
จากคนที่เป็นปลา
ก็ต้องตำหนิกรรมอีก
เมื่อมัวแต่ตำหนิธรรม หรือ
กรรมของผู้อื่น
อันสืบเนื่องเป็นสันตติ
ประดุจกงกำกงเกวียน
หมุนเวียนต่อเนื่องกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

แล้วพวกเจ้าจักเอาชาติไหนมาตัดสินว่า
 
ใครผิด-ใครถูก
 
โลกทั้งโลกมันเป็นอยู่อย่างนี้

เพราะกิเลส-ตัญหา-อุปทาน-อกุศลกรรม
เป็นเหตุ

ทำให้จิตของคนกระทำกรรม
ให้เกิดแก่มโน-วจี
และกายได้อยู่เป็นอาจิณ""
 
๔. ""เจ้าต้องการพ้นกรรม ก็จงหมั่นปล่อยวาง มองเห็นเหตุแห่งกรรม อะไรจักเกิด

ก็ต้องคิดว่า
กรรมใครกรรมมัน
รู้สันตติของกฎแห่งกรรมว่ามันเป็นอย่างนี้

ถ้าเขาไม่ทำกรรมกันมาก่อน
กรรมนี้ก็จักไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นมาได้
ตถาคตจึงได้ตรัสยืนยันว่า

กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ
เมื่อเรารู้เหตุก็จงดับที่เหตุแห่งกรรมนั้น

จงอย่ามองว่าใครผิดใครถูก
กรรมถ้าไม่ใช่ก่อขึ้นเอง
มันก็เกิดขึ้นไม่ได้เองหรอก""

๕. "" เมื่อพวกเจ้าเข้าใจดีแล้ว
ก็จงหมั่นทำจิตให้พ้นจาก
การตำหนิธรรมเถิด
ค่อยๆวาง ค่อยๆทำ
กายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม
ก็จะละเอียดขึ้นตามลำดับ

กำหนดจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในวิมุติธรรม
ทำอารมณ์สังขารุเบกขาญาณ
ยอมรับนับถือ

กฎของกรรมให้เกิดขึ้นในจิต
ทำบ่อยๆ เข้ามรรคผล ก็จะปรากฎขึ้นเอง

อย่าละความเพียรเสีย
กระทบเท่าไหร่-เมื่อไหร่-ที่ไหนก็ต้องรู้
อย่าตำหนิธรรม

ให้เกิดขึ้นกับจิต
เห็นกรรมที่เป็นสภาวะอย่างนี้
อยู่ให้ชัดเจนตลอดเวลาอยู่กับจิต

ผู้ไม่รู้ย่อมกอปรกรรมให้เกิดด้วยจิตอุปาทานในกรรมนั้นๆ กรรมใดกรรมมัน

พวกเจ้าอย่าไปเกาะยึดเอากรรมนั้นๆ มาตำหนิเลว เพราะเท่ากับมีอุปาทานเห็น

กรรมนั้นๆ ว่าดี-เลว เมื่อจิตมีอุปาทานตำหนิดี-เลวจนเป็นมโนกรรม แล้วยับยั้ง
 
 
๖. " ถ้าบุคคลที่ไม่รู้อุปาทานนี้ ทำกรรม
โดยลงแพไปต่อว่า ต่อขานคนที่จับ

ปลาเข้า ถ้ายังอารมณ์ปฏิฆะให้เกิด ก็จะทะเลาะกัน ดีไม่ดีก็จักทำร้ายร่างกายกัน

จนเป็นกายกรรมสืบเนื่องต่อกันเข้าไปได้ ดังมีตัวอย่างมามากมาย คนอื่นเขาทะเลาะกัน

สร้างกรรมกัน คนนอกเข้าไปสอดแทรก ลงมือทำร้ายกรรมการเสีย
จนตายไปด้วยความหมั่นไส้
เพราะฉะนั้น เมื่อพวกเจ้าปรารถนามรรคผลนิพพาน

ก็ไม่ควรต่อกรรมกันไปอีก

ยุติการตำหนิกรรมลงเสียให้ได้
ไม่ว่าจักเป็นกายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม

ก็ต้องยุติลง ใช้ ศีล-สมาธิ-ปัญญา
อันเกิดแก่จิต
พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงใน

สันตติวงล้อวัฏจักรกรรมว่า
มันเป็นอยู่อย่างนี้เอง
พยายามทำจิตให้ยอมรับกฏของกรรม

โทษของกรรมไม่ว่าดีหรือเลวนั้นไม่มี เห็นแต่กงกำกงเกวียนหมุนเวียนอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด

จงยอมรับกฎของกรรมซึ่งยุติธรรมที่สุด
ใครทำใครได้
อย่าเข้าไปมีหุ้นส่วน

กรรมกับใครๆเขา
โดยการตำหนิกรรม
 
เป็นอันขาด
 
จำไว้นะ
  • หมายเหตุ
  • อารมณ์คือกระแสของจิต (คลื่นอารมณ์) โดยหลวงพ่อฤาษี
  • เรื่องจริต ๖ โดยหลวงปู่ตื้อ
พิมพ์จากหนังสือ ""ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น""

หลวงพ่อฤาษี (พระราชพรหมยานมหาเถระ)
วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี
รวบรวมโดย : พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
 
ภาพประกอบเพิ่มจากทางอินเตอร์เน็ต
ขอบคุณน้อง komodo ช่วยตรวจทานคำผิด

ขอขอบคุณ http://board.palungjit.com/f8/อย่าตำหนิกรรมของผู้อื่น-โดย-สมเด็จองค์ปฐม-123492.html



ผู้ตั้งกระทู้ อาริยา รัตนพรศิริ (procoachariya-at-gmail-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2011-09-30 00:53:04


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1575487)

ขอยกตัวอย่างอารมณ์ที่สอบตกสัก ๒ เรื่อง

เรื่องแรก...

มีความโดยย่อว่า มีคนมาเล่าให้ฟังว่า หญิงแก่ผู้หนึ่งว่าจ้างรถจากในเมืองให้มาส่งที่วัดท่าซุง

ในราคา ๕๐ บาท พอรถมาส่งที่วัด หญิงแก่กลับให้ค่ารถเพียง ๑๐ บาท

บอกว่า ฉันมีแค่นี้จะเอาหรือไม่เอา คนรถก็ตำหนิหญิงนั้นว่า อะไรกัน คนมา

ปฏิบัติธรรมที่วัดใหญ่โต แต่ไม่มีสัจจะ พอได้ยินเขาเล่าเพียงแค่นี้ จิตก็ปรุงแต่ง

ตำหนิหญิงแก่นั้นเสียยืดยาว คือ ร่วมวงนินทาปสังสากับผู้เล่าเสียเพลิน

กว่าจะรู้ตัวว่าสอบตก ผิดทั้งมโนกรรมและ วจีกรรม ก็ว่าไปครบสูตรแล้ว จึงต้องขอขมาพระรัตนตรัย

เรื่องที่ ๒ คือ

ตัวข้าพเจ้าเอง พอขอขมาพระรัตนตรัย เรื่องการตำหนิกรรมของบุรุษผู้สร้างกรรมกับปลาแล้ว

ตาก็เห็นหนังสือพิมพ์พาดหัวโตๆว่า ""เมืองไทยมีคดีฆ่าคนตายมากเป็นอันดับที่ ๒ ของโลก "

จิตก็ตำหนิกรรมทันทีว่า ""ไม่จริง"" เป็นอุปาทานของนักข่าวเอง

เพราะประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศที่มีคดีฆ่าคนมากกว่าเรา

แต่หนังสือพิมพ์ของเขาไม่ประโคมข่าวในหนังสือพิมพ์ หน้าแรกแบบเมืองไทย

เมืองไทยชอบประโคมข่าวชั่วร้ายข่าวไม่ดี ในหน้าแรกตัวโตๆ ชอบขายข่าวบนความทุกข์ของชาวบ้าน

ว่าเสียยาวกว่าจะรู้ตัวว่าสอบตก ผลก็คือขอขมาพระรัตนตรัยอีกครั้ง

: หมายเหตุ

นี่คือตัวอย่างเมือ ๑๕ ปีที่แล้ว ผู้อ่านพระธรรมบทนี้แล้ว หากก้าวหน้าในการ

ปฏิบัติธรรม เมื่อรู้ตัวเองว่าผิด ก็ควรจะละอายแก่ใจ (มีเทวธรรมหรือ หิริ-โอตัปปะ)

ให้ขอขมาพระรัตนตรัยทุกครั้งจนเป็นนิสัย

ผมขออาราธนาบารมีคุณของพระศรีรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง ขอให้ผู้อ่านด้วยความ

ศรัทธาทุกท่าน จงโชคดีในธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ในชาติปัจจุบันนี้

ผู้แสดงความคิดเห็น อาริยา รัตนพรศิริ (procoachariya-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-30 01:09:44


ความคิดเห็นที่ 2 (1575488)

        คำขอขมาพระรัตนตรัย

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต
สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต
สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต
สัมมาสัมพุทธัสสะ

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต ฯ
(ถ้าหลายคนว่า.....ขะมะตุ โน ภันเต, ฯลฯ....
ขะมะตุ โน ภันเต , อุกาสะ ขะมามะ ภันเต ฯ
)

หากข้าพระพุทธเจ้า

ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุก ๆ
พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย

ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้
ก็ดี ด้วยทางกายหรือวาจาก็ดี

และด้วยเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ดี

รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี

ขอองค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์

พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
และผู้มีพระคุณทุกท่าน

ได้โปรดอดโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า

ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ ฯ


จากหนังสือสวดมนต์แปล
วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี

ผู้แสดงความคิดเห็น อาริยา รัตนพรศิริ (procoachariya-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-30 01:12:25


ความคิดเห็นที่ 3 (1575505)

อนุโมทนาด้วยค่ะ

สาธุ สาธุ สาธุ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น น้องทราย (นางสาวลักขณา ศรประสิทธิ์) (lukkana_1234-at-windowslive-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-30 07:46:20


ความคิดเห็นที่ 4 (1575516)

ขอร่วมธรรมทาน

บนกระทู้พี่อาริยา

ด้วยคนนะคะ

"อย่าทนงตน"

โดย หลวงพ่อราชพรหมญาณ

อย่าทนงตนว่า เป็นผู้วิเศษ

คนไหนมีความรู้สึกตัวว่า

เป็นผู้ฉลาด

บุคคลนั้นก็คือ เป็นคนที่โง่บัดซบ

พระพุทธเจ้ากล่าวว่า บุคคลใดรู้ตัวว่าเป็นพาล

พาล นี่เขาแปลว่า โง่

พระพุทธเจ้ากล่าวว่าบุคคลนั้นเป็นบัณฑิตเพราะเป็นผู้รู้

คนที่รู้ตัวว่าเป็นคนพาล

มันจับความชั่วของตัวไว้เสมอ

จ้องดูจิตว่า อารมณ์ชั่วมันจะเกิดเมื่อไร

ในเมื่อความชั่วมันจะเกิดขึ้นมาในด้านไหน

หาทางตัด

นี่บัณฑิตมีความรู้สึกอย่างนี้

ไม่เคยมีความรู้สึกตัวว่า

เป็นคนดีมองหาความชั่วของตัวให้พบ

เมื่อหาชั่วพบทำลายความชั่วได้แล้ว

มันก็ดีเอง

นี่จัดว่าเป็นความดีอันดับต้น

สำหรับคนที่เข้าถึงพระพุทธศาสนา

เพราะเราเรียนกันอันดับสูง

นี่เราไม่ได้เรียนเปะๆปะๆ

ตายแล้วจะไปไหนก็ช่างอันนี้เราไม่ใช้

อย่างเลวที่สุดตายแล้ว

เราไปเกิดเป็นเทวดา หรือพรหม

และมีชาติเกิดจำกัด ๑ ชาติ ๓ ชาติ ๗ ชาติ

เป็นอย่างมาก แล้วไม่ลงอบายภูมิ

นี่ศูนย์แห่งการศึกษาเป็นอย่างนี้

ผู้แสดงความคิดเห็น แมว ประวีณา แค้มป์ (prawinakamp-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-30 09:42:47


ความคิดเห็นที่ 5 (1575518)

 

โดยมาก

"อยากเป็นพระพุทธเจ้า"

มากกว่า

การช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์

 

กว่าที่พระองค์จะทรง

มีคุณสมบัติเหล่านี้ได้

 พระองค์ก็ไม่ได้ทรงรัก

ทรงหลงไหล

ทรงรู้ความเป็นพระพุทธเจ้าแต่อย่างใด

แต่ก่อนนั้นนานมาแล้ว

มีสัตว์โลกตนหนึ่ง (พระองค์เอง)

ได้เห็นความทุกข์

และประสบทุกข์บนโลกทั้ง ๓ นี้

ได้รับความลำบากนานาประการ

รู้สึกอึดอัด อิดนาระอาใจ

"อยากจะพ้นจากอัตตภาพที่เป็นอยู่นี้"

จึงแสวงหาความพ้นทุกข์

เพื่อความหลุดพ้น

จึงตั้งใจไว้ว่า

"ถ้าเราพ้นจากทุกข์นี้ไปได้

เราจะบอกให้คนอื่นพ้นตาม"

หลังจากนั้น

พระองค์ทรงทำผิด

ทางกาย วาจา ใจบ้าง

ทรงทำความดี

ทางกาย วาจา ใจบ้าง

คือ ทำดีบ้าง ทำชั่วบ้าง

ได้ไปเกิดในอัตตภาพต่างๆ

ในทุคติภพ คือ

เปรต สัตว์นรก

อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน

ไปเกิดในสุขคติภาพบ้าง

เป็นมนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหม

แต่ก็ไม่พบทางพ้นทุกข์ได้จริง

หรือพบความสุขที่ถาวรได้

ต้องเวียนว่ายตายเกิดไปในภพน้อย

ภพใหญ่ในกำเนิดต่างๆ ทั้งสุข ทั้งทุกข์

"จนปัญญาแก่กล้าขึ้น"

(ปัญญาธิกะ)

พอรู้ทางบุญ ทางบาป

ทางเจริญ ทางเสื่อมแห่งชีวิต

อะไรคือเหตุแห่งความสุข

ควรที่จะปฏิบัติ รู้ว่า

อะไรคือเหตุแห่งความทุกข์ ที่ควรละ

เมื่อรู้อย่างนี้ สัตว์ (เริ่มเป็นมหาสัตว์)
ตนนี้

เริ่มพยายาม (วิริยะ) และอดทน (ขันติ)

ที่จะทำความดีทุกอย่างที่ตนรู้ได้สัมผัสได้

และละความชั่วทุกอย่างที่ตนรู้ได้สัมผัสได้

พูดง่ายๆ คือ

เริ่มทำความดี จนเเก่กล้าขึ้นเป็นบารมี

มี ทานบารมี ศีลบารมี

เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี

วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี

อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี

และอุเบกขาบารมี

สัตว์ตนนี้ไม่ทรงรู้หรอกว่า

"ที่ตนเองตั้งใจไว้ว่า"

"ถ้าเราพ้นจากทุกข์นี้ไปได้

เราจะบอกให้คนอื่นพ้นตาม" นั้น

จะเป็นปฏิปทาของมหาสัตว์

และปฏิปทานี้

ถ้าสามารถทำสำเร็จได้

จะได้เป็นศาสดา

เป็นอาจารย์ เป็นครูของสัตว์โลกทั้งหลาย

แต่เมื่อบารมีแก่กล้าขึ้นเพียงไร

ก็พอจะเตือนให้สัตว์ตนนั้นรู้ได้บ้างว่า

ตนเองมีปฏิปทาว่า

"ถ้าเราพ้นจากทุกข์นี้ไปได้

เราจะบอกให้คนอื่นพ้นตาม"

มากกว่า การอัศจรรย์ในความเป็นพระพุทธเจ้า

(เพราะไม่ทรงรู้ว่าพระพุทธเจ้ายิ่งใหญ่เพียงไร)

ด้วยเหตุนี้
  สัตว์โลกทั้งหลายโดยมาก อยากมี 

"ความเป็นพระพุทธเจ้า"

มากกว่า

"การได้ช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์"

เพราะว่า สัตว์โลกที่จะพ้นทุกข์ได้นั้น

ต้องมองเห็นความทุกข์ รังเกียจความทุกข์

จึงจะนำตน และสัตว์โลกอื่นทั้งหลาย

พ้นจากภพ ๓ นี้ไปได้

ลำพังความปรารณา

การได้เป็นพระพุทธเจ้า (สิ่งสมมุติ)

คงไม่พอที่จะให้ให้สัตว์โลกนั้น

นำตนเอง และสัตว์โลกอื่น

ให้พ้นทุกข์ตามได้สำเร็จ

ถ้ายังไม่เห็นความทุกข์ในภพ ๓

เพราะเหตุว่า

"จิตใจทุกๆดวงของสัตว์ตนนั้น

มุ่งหวังแต่การได้เป็นพระพุทธเจ้า"

ไม่ได้ มุ่งหวัง

"ที่จะช่วยสัตว์โลกอื่นให้พ้นภัย"

สัตว์โลก ปรารถนาการได้เป็น
 
พระพุทธเจ้านั้น มีมาก
 
และจิตปรารถนา
 
จะให้สัตว์โลกพ้นตามนั้นมีน้อย

สัตว์โลก
 
ปรารถนาการได้เป็นพระพุทธเจ้านั้น
 
มีมาก... ฉะนั้น
 
 การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า
 
จึงมีได้โดยยาก

สัตว์โลก ปรารถนานำสัตว์โลกทั้งหลาย
 
พ้นจากความทุกข์นั้น มีน้อย
 
ฉะนั้น
 
การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า
 
จึงมีได้โดยยาก

ถ้าสัตว์โลกใด ปรารถนา
 
นำสัตว์โลกทั้งหลายพ้นจากความทุกข์
 
มีสัจจะ มีความแน่วแน่
 
การได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า
 
ไม่ใช่จุดมุ่งหมาย
 
ไม่ใช่ปฏิปทาของสัตว์ตนนั้น

ถ้าสัตว์โลกใด
 
ปรารถนานำสัตว์โลกทั้งหลายพ้น
 
จากความทุกข์ มีสัจจะ มีความแน่วแน่
สัตว์โลกนั้น
 
เป็นผู้มีความปรารถนาสำเร็จ



ไม่ประหลาดใจเลย !!! ทำไม ?

พระนิพพานจึงมีเหตุ

และเป็นพุทธประเพณี

ให้พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์

ทั้งในอดีต ปัจจุบัน

และที่จะมีต่อๆ ไปในอนาคต

"ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์"

เพราะ

การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า

มีได้โดยยาก

=====================

ขอบคุณแหล่งที่มา : 

http://www.mettajetovimuti.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538832972&Ntype=15

ผู้แสดงความคิดเห็น แมว ประวีณา แค้มป์ (prawinakamp-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-30 10:01:51


ความคิดเห็นที่ 6 (1575522)

ขอร่วมแบ่งปันความคิดบ้างนะครับ

การนินทา การตำหนิ มองแต่ของเสียของผู้อื่นนั้น นั่นคือ การทำให้จิตเราข้องแวะ และเศร้าหมอง

แต่ขณะเดียวกัน หากว่าเรามีจิตอันเป็นกุศล ด้วยความเมตตา ต้องการให้ผู้อื่นรับรู้ถึงเหตุ และผลของการกระทำ อยากให้เขาพ้นทุกข์ เราบอกเขาไปตรงๆ อย่างนี้ถือว่าเป็นธรรมทาน ชี้ทางสว่างแก่ผู้อื่น

คงจำกันได้นะครับ ในพระสูตรที่พราหมณ์ได้ล่วงเกินพระพุทธองค์ และเราก็ได้เห็นแล้วว่า พระพุทธองค์ก็มิได้ทรงดูดาย นิ่งเฉย ปล่อยให้คนพาลทำบาปไปมากกว่านั้น

พระองค์ทรงเมตตาสั่งสอน ใช้คำที่เฉียบขาดด้วยพระปัญญาอันสูงส่ง ที่เรียกว่าพราหมณ์ผู้นั้นต้องยอมรับและจำนน

ดังนั้น หากการกระทำใดที่เราทำไป พูดไป เพื่อชี้ทางสว่าง ให้ปัญญาแก่ผู้คน ด้วยใจที่หวังให้เขาพ้นทุกข์ เท่ากับเรากำลังเพาะเมล็ดพันธุ์แสงสว่างไปทั่วโลก และจิตเราก็ไม่เศร้าหมอง เพราะเราไม่ได้เพ่งหาโทษที่ใคร จิตก็ไม่ยึดเกาะกับกรรมไม่ดีของใครทั้งสิ้น

ผมคิดว่ามีหลายๆท่านยังเข้าใจผิด มักปล่อยให้คนที่ทำผิดในสังคมทำผิดกันต่อไปอย่างอิสระ ไม่กล้าบอกเขาตรงๆ ไม่ยอมพูด เพราะกลัวจะบาป กลัวจะไปตำหนิเขา กลัวเขาจะไม่รัก หรือไม่ก็คิดว่าเป็น การปล่อยวาง

หากคิดเช่นนี้ ผมห่วงสังคมไทย ประเทศไทยเหลือเกินครับ ว่าจะเดินทางกันต่อไปอย่างไร คนมัวแต่นิ่งเฉย คิดว่าเป็นบาปที่จะชี้แนะคนที่กำลังทำผิด พากันวางอุเบกขากันหมด 

ผู้แสดงความคิดเห็น ธนา อรุณภิญโญพล (nirvana_time-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-30 10:22:49


ความคิดเห็นที่ 7 (1575537)

พี่อาริยา ขออนุโมทนาบุญ กับ น้องทราย คุณ เเมว คุณธนา เเละ ทุกท่านค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น อาริยา รัตนพรศิริ (procoachariya-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-30 12:30:39


ความคิดเห็นที่ 8 (1575683)

 

     เรียน  คุณธนา  และทุก ๆ ท่าน

                อ่านกระทู้นี้มาทั้งหมดแล้ว  ก็ให้มานึกถึง  คำว่า  อุเบกขา  (อีกแล้ว)

เนื่องจากตัวเองยังโง่มากอยู่  คิดไม่ค่อยทัน  เลยอยากขอความเห็นจากทุกท่าน

เพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องยิ่งขึ้น

        กรณี  ในวันนี้ข้าพเจ้าและเพื่อนผู้ปฏิบัติธรรม มองเห็นชายคนหนึ่ง

 

 

ที่แพเลี้ยงปลาของวัด 

จับปลาสวายตัวใหญ่   (ปลาของวัดเชื่องมาก)
ขึ้นมาจากน้ำ  ปลาก็ดิ้นจนหลุด จากมือตกน้ำไป
เขาก็จับปลาขึ้นมาใหม่ด้วยความสนุกสนาน ในครั้งนี้ปลาดิ้น

แล้วตกลงที่พื้นกระดานของแพปลา  แล้วจึงตกลงไปในน้ำ

 

 

                                                                     *********

      กรณีนี้  คือ  ให้เรามองว่า ทุกอย่างเกิดแต่เหตุ  ไม่ว่า  คน  หรือ  ปลา  ก็ล้วนแล้วแต่มีเหตุมาทำให้เกิด

เราไม่คิดว่า  คน  ทำไม่ถูก   เมื่อเราเห็นดังนั้นแล้ว  และเราปรารถนาให้เขายุติ  การผูกเวรกรรมต่อเนื่อง

เราจึงเข้าไปพูดให้  คนจับปลานี้  ได้คิดถึงอดีตเหตุ  ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์วันนี้   ถ้าเขาไม่อยากมีเวรกรรมต่อเนื่อง

ก็ให้เขายุติ  การทำร้ายชีวิตผู้อื่น

     คิดแบบนี้  เป็นการคิดที่ถูกต้อง  หรือไม่ค่ะ

เพราะไม่แน่ใจว่าที่ตัวเองคิดว่า  เข้าใจ  อุเบกขา 

แต่จริง ๆ  แล้ว เข้าใจจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้

    ขอความกรุณาผู้รู้  ช่วยชี้แนะด้วยนะคะ

          กราบขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

                          ตาล

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ฉวีวรรณ นภาพรรณราย (ตาล) (cha2508-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-10-01 11:13:23


ความคิดเห็นที่ 9 (1575725)

จำได้ว่า อาจารย์อุบล เคยสอนว่า

อุเบกขา คือ การปล่อยวางจากอารมณ์โกรธ

ไม่เอาการกระทำไม่ดีของคนอื่นมาเป็นอารมณ์

แต่ไม่ใช่การวางเฉย ต่อเหตุการณ์ที่ไม่ดี

 

เช่นเมื่อเราเห็นคนทำผิด(ศีล5) ก็ไม่ต้องโกรธเขา

แต่ควรเมตตาสงสาร ที่เขาทำเพราะไม่รู้กฏแห่งกรรม

และมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไปตามกฏแห่งกรรม แต่ไม่ปล่อยผ่านไป

และควรพยายามช่วยเหลือเขา ให้มองเห็นความจริง เพื่อพ้นจากการสร้างทุกข์

จึงเป็นสิ่งที่ดี และเป็นอุเบกขาที่แท้จริง เป็นไปเพื่อการจรรโลงโลกต่อไป

 

ขออนุโมทนากับคุณอาริยา และทุก ๆ ท่านคะ สาธุ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น พัทธ์ธีรา วังกาวันมณเฑียร (vann_ult-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-10-01 20:14:41


ความคิดเห็นที่ 10 (1575900)

อนุโมทนาบุญธรรมทาน ของทุกท่านค่ะ สาธุ

ขวัญเพิ่งตำหนิกรรมคนๆนึงไปสดๆร้อนๆ

แต่ปกติก็มีตำหนิทุกวัน โดยเฉพาะมโนกรรม ไม่เคยวางเฉยได้ 100% จริงๆ 

เอาการกระทำของผู้อื่นที่ไม่ดี ไม่ถูกใจตัวเอง มาเป็นอารมณ์ วิจารณ์ นินทา ใจเศร้าหมองเสมอ 

เมื่อกี้ คุณย่าที่เป็นโรคสมองเสื่อม ด่าน้องสาวต่างๆนาๆ ว่าเป็นผู้หญิงขายตัว เพราะยังไม่กลับบ้าน ไปทำงานบ้านเพื่อน

เราก็บังเอิญได้ยิน ใจก็หมองทันที โกรธนิดหน่อย (ควบคุมตัวเองได้บ้างแล้ว)

แต่ ทั้งๆที่รู้ว่าท่านเป็นโรค ใจก็ยังแวบคิดชั่ว

จนกระทั่งตั้งใจหยุดคิด ก็หยุดได้ และมีความคิดใหม่ขึ้นมา ว่า

ทุกๆคนต่างก็ต้องการให้ตัวเองมีความสุข ไม่มีใครอยากเป็นโรคสมองเสื่อมหรอก

ที่จริงแล้ว คุณย่าน่าสงสาร อีกทั้งใจท่านเครียด เศร้าหมอง ทุกข์ตลอดเวลา 

แทนที่จะทำกรรมชั่วเพิ่ม หรือ นิ่งเฉย เราควรที่จะเมตตาท่านมากกว่า ช่วยท่านให้มีความสุข อย่างน้อยตอนที่เราคุยเล่น พาท่านไปเที่ยว ใจท่านก็จะเป็นสุขบ้าง 

เป็นครอบครัวเดียวกัน เกื้อกูลกันมา ควรช่วยเหลือ ไม่ทอดทิ้งกัน

มิฉะนั้น จะมีปัญญาไปช่วยใครได้ จะก้าวหน้าได้อย่างไร เพราะแม้แต่คนในบ้านเดียวกัน ยังช่วยให้มีความสุขไม่ได้

ตั้งแต่ขวัญตั้งใจจะดีเพื่อกตัญญูต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณ ที่เหมือนได้ให้ชีวิตใหม่ขวัญมาจริงๆ 

เวลาขวัญทำกรรมชั่ว สุดท้ายขวัญก็จะเห็น ตระหนัก หยุด ระลึกถึงพระพุทธคุณ และขอขมา

กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ขวัญ ครองขวัญ วงศ์ดีประสิทธิ์ (krongkwanw-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-10-02 21:56:37


ความคิดเห็นที่ 11 (1575971)

 อนุโมทนากับธรรมทานของทุกๆท่านด้วยนะคะ

สาธุ สาธุ สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น เบ็ญจากาญจน์ ศุภศิริว้ฒนา (aungpao-dot-benjy-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-10-03 07:30:51


ความคิดเห็นที่ 12 (1576001)

การตำหนิกรรมของผู้อื่น

เป็นสิ่งไม่ดีแน่นอน

เพราะ

มันไม่ก่อให้เกิดความหลุดพ้น

ทั้งผู้ตำหนิ

และ

ผู้ประกอบกรรม

 

แต่

ถ้า การบอก กรรม

ให้ผู้อื่นรู้ตัว หรือ เป็นกระจกเงา

ให้คนประกอบกรรม

ได้มองเห็น

โทษ

และผลของบาปกรรม

เป็นสิ่งอันควรทำ

ซึ่ง

 

พระพุทธเจ้า

ท่านก็ทรงทำ และ ทรง

สรรเสริญการทำ

ด้วยเช่นกัน

 

ดูตัวอย่าง

จากพระไตรปิฎก

 

พระพุทธองค์จะทรง

บอกโทษของ

การประกอบกรรม

หรือ

ผู้หลงผิด ออกนอกธรรม

ตลอดเวลา โดย

ไม่เคยปล่อยให้ผู้ประกอบกรรม

ที่ผ่านหน้าพระพักตร์

ของพระองค์

จากไป

โดย

พระองค์ไม่ได้ทรง

โปรด ให้ กลับตัวกลับใจ

เลยแม้แต่รายเดียว

 

ซึ่งการ

หยุดยั้งการประกอบกรรม

ของผู้อื่นนั้น

ทำได้หลายลีลา

 

สำหรับคนที่เป็นผู้ดี

มีมารยาท อ่อนน้อม ไม่ก้าวร้าว

ก็ให้ใช้ลีลา นุ่มนวล อ่อนหวานได้

 

แต่

สำหรับคน

ก้าวร้าว กักขละ จิตหยาบ

ท่านทรงอนุโลมให้ใช้ลีลาที่เหมาะสม

หยุดยั้งการประกอบกรรม

 

ซึ่งพระพุทธองค์

ก็ทรง เคยใช้

 

ดังที่เคยยกตัวอย่างไป

 

ที่พระองค์ทรงตรัสถาม

3 ครั้ง ไม่ตอบคำถาม

พระองค์บอกว่า

ถ้าไม่ตอบครั้งนี้ จะทำให้

ศีรษะพราหมณ์ผู้นี้แตกเป็น 7 เสี่ยง

ฯลฯ

 

อย่างนี้เป็นต้น

 

ดังนั้น

ขอสรุปสั้นๆ ว่า

การตำหนิกรรมผู้อื่น

กับ

การใช้ลีลาหยุดยั้งการประกอบกรรม

ต่างกัน

 

ต่างตั้งแต่เป้าหมายแล้ว

 

การตำหนิกรรมผู้อื่น

หมายความว่า

ตำหนิ โดย มิได้คาดหวัง

ให้ผู้ประกอบกรรมหยุดยั้ง

ตำหนิเฉยๆ อาจตำหนิในใจ หรือ

พูด หรือ ทำอย่างไรก็ช่าง

แต่เป็นความรู้สึก

ดูแคลน ขาดเมตตา

ไม่ปรารถนาจะให้ผู้ประกอบกรรม

พ้นทุกข์ หรือ หยุด

 

เช่นเห็นคนจับปลา

ก็แค่เบะปาก คิดว่า ไอ้นี่บาป

สารเลวจริงๆ

 

แต่ไม่ได้ช่วยหยุดยั้ง

 

ถ้าอยากช่วยจริง

ก็ต้องเข้าไปบอก ไปพูด

ไปแสดง บาป บุญ คุณโทษเลย

กล้าไหม ส่วนมาก ไม่

ได้แต่ตำหนิ

 

คราวนี้ก็มาถึง

การหาทางหยุดยั้งการประกอบกรรม

ก็ทำได้หลายวิธี

 

เช่น

เห็นคนขี้เกียจทำงาน

ก็ต้องเมตตาบอก สอนให้ทำงาน

บอกโทษของความขี้เกียจ

ว่าจะทำไห้อ่อนเพลีย

ไม่มีแรง เฉื่อยชา อาจแขนขาพิการ

หรือเป็นอัมพาต ในนาคต

แล้ว ก็ต้องไม่ทำให้ ต้องให้เขา

พยายามทำเอง

 

ถ้าเราช่วยเขา

เราต้องช่วยเรื่อยไป

แล้วถ้าไม่มีเรา ไม่มีใครช่วย

เขาจะดำรงชีวิตได้อย่างไร

 

อย่างปรากฎการณ์

บ้านสวนพีระมิด

ก็เป็นการบอกกรรม

เพื่อหยุดยั้งการประกอบกรรม

ซึ่ง อ.อุบล ใช้หลายลีลา

 

บางคนก็ดุ

บางคนก็ทั้งดุ ทั้งปลอบ

 

บางคนก็ไม่ต้องดุ

ไม่ต้องปลอบ

เพราะ

เขารู้ตัวเขามา

 

แต่คนที่ไม่รู้ตัว

มาเถอะ

มาหา อ.อุบล เจอเต็มๆ

ตรงๆ

 

ตรงเผง ไม่ต้องคิด

ไม่ต้องแปล ให้เสียเวลา

 

รับได้ก็มา รับไม่ได้อย่ามา

นอนอยู่บ้านดีกว่า

อย่าสาระแน

มาให้แก ว่าเอาตรงๆเลย

 

เพราะ

อ.อุบล รับการสื่อสาร

มาให้ช่วยคนให้พ้นทุกข์

ด้วยการกระตุกต่อมเลวแบบ

ตรงๆ ชัดๆ แรงๆ

ถึงจะหาย ได้ฉับพลันทันที

 

แล้ววิธีนี้

พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ

 

สิ่งที่ยืนยัน

ว่าท่านสรรเสริญคือ

ผลที่เกิดขึ้น

 

คือ

หาย พ้นทุกข์จริง

เพราะ

คนที่โดน

หยุดยั้งการประกอบกรรมจริง

 

จึงเข้ามาคอนเฟอร์ม

ให้เข้าใจ

 

และ

เห็น คุณ และ โทษ

ของ

ความแตกต่าง

ระหว่าง

 

การตำหนิกรรมผู้อื่น

กับการ

ช่วยหยุดยั้งการประกอบกรรม

ของผู้อื่น

 

เดี๋ยวจะเดินหลงทางกันหมด

 

เบื้องบนท่านให้ทุกคน

ช่วยกันทำให้คนอื่นพ้นกรรม

 

ไม่ใช่ปล่อยให้ อ.อุบล ทำคนเดียว

ทุกคนก็อยากสุข อยากนิพพาน

มิใช่รึ หรือว่า ให้ อ.อุบล

ไปนิพพานคนเดียวก่อน

แล้วท่านค่อยตามไป

พร้อม ดร.อาจอง

กันจ๊ะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น อ.อุบล ศุภาเดชาภรณ์ (PAMELASOAP-at-YAHOO-dot-COM) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-10-03 11:30:59


ความคิดเห็นที่ 13 (1576002)

รับทราบค่ะ

อาจารย์แม่อุบล  เจ้าค๋า

ไม่ได้แค่รับทราบอย่างเดียวเจ้าค่ะ

แต่หมายรวมถึงการนำไปปฏิบัติด้วย

จะยับยั้งใจที่เลว จิตที่ตก

ให้มากที่สุดเจ้าค่ะ

จะยึดมั่นในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์

และ

คำตักเตือน

ของอาจารย์แม่อุบล

ด้วยเจ้าค่ะ

สาธุ...

ผู้แสดงความคิดเห็น น้องทราย (นางสาวลักขณา ศรประสิทธิ์) (lukkana_1234-at-windowslive-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-10-03 11:51:14


ความคิดเห็นที่ 14 (1576012)
สัตว์โลก ปรารถนาการได้เป็น
 
พระพุทธเจ้านั้น มีมาก
 
และจิตปรารถนา
 
จะให้สัตว์โลกพ้นตามนั้นมีน้อย

-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-

เบื้องบนท่านให้ทุกคน

ช่วยกันทำให้คนอื่นพ้นกรรม

ไม่ใช่ปล่อยให้ อ.อุบล ทำคนเดียว

ทุกคนก็อยากสุข อยากนิพพาน

มิใช่รึ หรือว่า ให้ อ.อุบล

ไปนิพพานคนเดียวก่อน

แล้วท่านค่อยตามไป

-*-*-*-*-*-*-*-

อนุโมทนา สาธุ

กับ อ.อุบล ค่ะ

รับทราบ + เข้าใจ

ในสิ่งที่ท่าน อ.อุบล

ได้มอบให้กับพวกเรา

ทั้งนี้

จะน้อมรับเพื่อปรับเปลี่ยน

กรรม ตนเองก่อน

และจะพยายาม

ที่จะช่วยยับยั้ง

การประกอบกรรม

ของผู้อื่นอีกต่อไปค่ะ.สาธุ

กราบ ๆๆ

-*-*-*-*-*-

ผู้แสดงความคิดเห็น แมว ประวีณา แค้มป์ (prawinakamp-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-10-03 12:49:55


ความคิดเห็นที่ 15 (1576366)

เพราะ

อ.อุบล รับการสื่อสาร

มาให้ช่วยคนให้พ้นทุกข์

ด้วยการกระตุกต่อมเลวแบบ ตรงๆ ชัดๆ แรงๆ

ถึงจะหาย ได้ฉับพลันทันที แล้ววิธีนี้

พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ

 สิ่งที่ยืนยัน ว่าท่านสรรเสริญคือ

ผลที่เกิดขึ้น

 คือ

หาย พ้นทุกข์จริง

เพราะ

คนที่โดน

หยุดยั้งการประกอบกรรมจริง

 จึงเข้ามาคอนเฟอร์ม

ให้เข้าใจ

 และ

เห็น คุณ และ โทษ

ของ

ความแตกต่าง

ระหว่าง

 การตำหนิกรรมผู้อื่น

กับการ

ช่วยหยุดยั้งการประกอบกรรม

ของผู้อื่น

 เดี๋ยวจะเดินหลงทางกันหมด

 

 อาริยา ขอกราบขอบพระคุณ เเละขออนุโมทนาบุญ ท่านอาจารย์อุบล ที่เมตตาชี้เเนะ ให้ เกิดปัญญาเข้าใจชัดเจน เเจ่มใสในการพิจารณา ตนเองให้เต็มที่ เพราะหลายครังที่เราเองก็ตำหนิกรรมผู้อื่น โดยตั้งใจ เเละไม่ตั้งใจ เพราะอยากให้ช่วยหยุดยั้งการประกอบกรรมของผู้อื่น เเละต้วเองหลงทาง เกือบไปเเล้วค่ะ  ช่างเป็นบุญของลูกที่ได้พบท่านอาจารย์คอยชี้เเนะค่ะ  สาธุ สาธุ สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น อาริยา รัตนพรศิริ (procoachariya-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-10-04 20:32:09


ความคิดเห็นที่ 16 (1576442)

 

 

 

 ณัชชา อนุโมทนากับธรรมทานในครั้งนี้ร่วมกับอาจารย์อุบลและทุกๆท่านด้วยนะคะ สาธุ สาธุ สาธุ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ณัชชา พรหมทองแก้้ว (phueng9574-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-10-05 02:25:54


ความคิดเห็นที่ 17 (1576578)

ขอบพระคุณสำหรับบทความดีๆ ลูกเองก็ล่วงเกินผู้อื่นบ่อยๆ อ่านแล้วก็ได้เตือนใจตนให้กระทำบาปน้อยลงหรือฝึกให้ตนเองคิดดี ทำดี

ไม่ฟุ้งซ่านเรื่องคนอื่นมากนัก  ตั้งแต่เข้ามาพบเวปบ้านสวน  ลูกละอายต่อการทำบาปมากขึ้น พยายามคิดดี ทำดีอยู่เสมอ  ขอบคุณค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น จารุวรรณ์ สุจินตนาธรรม (rkdragon999-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-10-05 16:00:49


ความคิดเห็นที่ 18 (1577152)

 

การตำหนิกรรมของผู้อื่น

เป็นสิ่งไม่ดีแน่นอน

เพราะ

มันไม่ก่อให้เกิดความหลุดพ้น

ทั้งผู้ตำหนิ

และ

ผู้ประกอบกรรม

 

แต่

ถ้า การบอก กรรม

ให้ผู้อื่นรู้ตัว หรือ เป็นกระจกเงา

ให้คนประกอบกรรม

ได้มองเห็น

โทษ

และผลของบาปกรรม

เป็นสิ่งอันควรทำ

ซึ่ง

 

พระพุทธเจ้า

ท่านก็ทรงทำ และ ทรง

สรรเสริญการทำ

ด้วยเช่นกัน

..............................................

กราบอนุโมทนาในธรรมทาน

จากท่านอ.อุบลค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ

กรรมนั้นจะเป็น บุญ หรือ บาป

อยู่ที่เจตนาเป็นตัวกำหนด...


................................

อนุโมทนากับธรรมทานจากคุณอาริยา

คุณแมว คุณธนาและทุกๆท่านด้วยค่ะ

สาธุ


ผู้แสดงความคิดเห็น ชนิดา เชิงสะอาด/CHANIDA (nhongjung-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-10-08 06:40:13


ความคิดเห็นที่ 19 (1577202)

 

ขออนุโมทนากับทุกธรรมทานคะ

การบอกผลของกรรมเป็นสิ่งดีแน่ แต่ก็ต้องขึ้นกับวาระจิตว่าเขาพร้อมที่จะยอมรับหรือไม่ เพราะถ้าไม่ถูกกาละก็อาจจะไปเพิ่มกรรมอันใหม่ทั้งเขาและเราเป็นสองเด้งหรือเปล่า 

แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ที่เข้ามาบ้านสวนพีระมิด ก็น่าจะเป็นดินเหนียวที่พร้อมให้ช่างปั้นเข้ารูปได้แล้วใช่ใหมพี่น้อง

ผู้แสดงความคิดเห็น วัฒนา ชัยจำรูญพันธุ์ ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-10-08 13:12:32


ความคิดเห็นที่ 20 (1577209)

สาธุ

อนุโมทนาครับกับธรรมทานอย่าตำหนิกรรมของคนอื่น

แต่เราตำหนิได้เพื่อก่อให้หยุดการประกอบกรรมไม่ดี

แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีวิธีการและลีลาต่างออกไป

และต้องให้ถูกกาล

ถูกคน

ถูกสถานที่ด้วย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น คมกริช นามมงคุณ (เบลล์) (komkom-dot-ko-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-10-08 15:03:09


ความคิดเห็นที่ 21 (1579128)

โมทนาบุญกับทุกท่านกราบอ. อุบลกับธรรมทาน อย่าตำหนิคนอื่น

ผู้แสดงความคิดเห็น บุญภิบาล คงเขียว ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-10-19 21:08:46


ความคิดเห็นที่ 22 (1580729)

โมทนาบุญกับทุกท่านกราบอ. อุบลกับธรรมทาน อย่าตำหนิคนอื่น ค่ะแต่ก่อนลูกเคยทำบ่อยค่ะเป็นคนปากไม่ดี จะไม่ทำอีกค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น มยุรฉัตร สุดจิตต์ (mayurachut-dot-ch-at-rd-dot-go-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-10-27 15:45:22


ความคิดเห็นที่ 23 (1595179)

 ขออนุโมทนาบุญกับธรรมทานของทุกท่าน ค่ะ  

ขอขอบคุณมาก ๆ ในความกรุณาของทุกท่านค่ะ

สาธุ  สาธุ  สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น ศรีวิภรณ์ ลิ่มอรุณ (nee9889-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-01-31 19:57:05


ความคิดเห็นที่ 24 (1595238)

 การตำหนิกรรมของผู้อื่น

เป็นสิ่งไม่ดีแน่นอน

เพราะ

มันไม่ก่อให้เกิดความหลุดพ้น

ทั้งผู้ตำหนิ

และ

ผู้ประกอบกรรม

 

แต่

ถ้า การบอก กรรม

ให้ผู้อื่นรู้ตัว หรือ เป็นกระจกเงา

ให้คนประกอบกรรม

ได้มองเห็น

โทษ

และผลของบาปกรรม

เป็นสิ่งอันควรทำ

------------------

กราบอนุโมทนาในธรรมทาน

จากท่านอาจารย์แม่เจ้าค่ะ

ลูกขอน้อมนำใส่ใจ&ปฎิบัติให้ได้ค่ะ

สาธุ สาธุ สาธุ

********

อนุโมทนากับธรรมทานจากคุณอาริยา

คุณแมว คุณธนา คุณหมอวัฒนา

และทุกๆท่านด้วยนะคะ

สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น เบ็ญจากาญจน์ ศุภศิริว้ฒนา(วิ) (aungpao-dot-benjy-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-01 03:51:17


ความคิดเห็นที่ 25 (1595305)

กราบขออนุโมทนากับอาจารย์

และลูกบ้านสวนทุกท่านครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เกียรติศักดิ์ โพธิ์อุ่น (kiattisp-at-scg-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-02-01 12:52:36



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.