ReadyPlanet.com


ธรรมเพื่อความพ้นทุกข์


 ขออนุญาต นำมาลงให้ สบาย จิต สบายใจ นะครับ

เข้ามาอ่านและโมทนาซึ่งกันและกันได้เรื่อยๆ

ลูกขออนุญาติสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกๆพระองค์และท่าน อ อุบล อ มงคล พี่ท็อป  

ขอลงเรื่อยๆ ครับ ^^



ผู้ตั้งกระทู้ ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2011-12-10 23:24:07


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1587888)

  คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

- ความดียังไม่ได้ทำ เพียงแค่คิดก็ยากเสียแล้วใช่ไหม
 แล้วใยความเลวเล่า

 

ทำได้โดยไม่ทันคิดทำไมจึงง่ายยิ่งนัก


 

-ให้หมั่นถามจิตตนเอง ตายแล้วจักไปไหน ถ้าหากจิตตกอยู่ในสภาพนั้น

 
อยู่คนเดียวให้ระวังอารมณ์จิต อยู่หลายคนให้ระวังวาจา ♥ 


สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้


๑. รักษาอารมณ์ของจิตให้ดีๆ อยู่หลายคนให้ระวังวาจา และพยายามทำตนให้เหมือนอยู่คนเด
ียว
 


๒. ทุกคนไม่ช้าไม่นาน ก็ต้องพรากจากกันไปหมดคือ มีความตายเป็นที่สุด
 
 
อย่าถือเขาถือเราให้มันมากนัก
 
 
 
ร่างกายเป็นเพียงธาตุ ๔


ที่ประชุมกันขึ้นมาชั่วคราวเท่านั้น มีความทุกข์เป็นพื้นฐาน
 
 
มีความแปรปรวนในท่ามกลาง
 
 
และมีความตายไปในที่สุด
 
 


๓. บุคคลผู้ยังเกาะติดร่างกาย ต่างก็เป็นผู้น่าสงสาร
 
 
เพราะหลงวนอยู่ในความทุกข์

 


๔. การมีอารมณ์ไม่พอใจ หรือพอใจเขา นั่นคือการพอใจหรือไม่พอใจในร่า
งกาย
 
 
 
หรือติดอยู่ใน สักกายทิฎฐิ นั่นเอง



๕. จงเห็นตามความเป็นจริงว่า คนทุกคน สัตว์ทุกตัว รักสุข
 
 
เกลียดทุกข์เหมือนกัน
 
 
 
แม้แต่ตัวเจ้าเองก็เป็นอยู่
 


เพราะฉะนั้นจงอย่าตำหนิใครว่าเลว ให้เห็นใจซึ่งกันและกัน
 
 
และอย่าแบกเอากรรมของใคร ๆ
 
 
 
มาเป็นที่หนักใจ แค่กรรมของเจ้าเองก็หนักโขอยู่แล้ว



อย่าประมาทในกรรม ทำอะไรจงอย่าประมาท ให้คิดถึงกฎของกรรมเข้าไว้
 
 
 
ฟังเรื่องราวทั้งหลายต่างๆ มามาก
 


ก็พึงสำรวมเอาไว้เสมอว่า ในอดีตชาติที่ผ่านมานั้น เจ้าเองก็ได้กระทำกรรมชั่วไว้มากมาย
 
 
 
ดังนั้นเมื่อชาตินี้มุ่งหวังจักไปพระนิพพาน


ก็พึงจงระมัดระวังกาย วาจา ใจ เอาไว้ให้เรียบร้อย (ด้วยกรรมบถ ๑๐)
 
 
 
กรรมใหม่จงอย่าได้ก่อ
 
 
 
เพราะเพียงกรรมเก่าก็มีมากจนยากที่จักพรรณนาหมด


 
ซึ่งกรณีอย่างนี้มิใช่เป็นเพียง


 
แต่เจ้าคนเดียว บุคคลอื่นๆ ก็เช่นกัน
 
 
ทุกคนมีกรรมที่เป็นอกุศลมากกว่าที่เป็นกุศล
 
 
 
ดังนั้นจึงไม่ควรประมาทในกรรม



ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น
 

รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. ส
มศักดิ์ สืบสงวน
 
 
 
 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-12-10 23:31:40


ความคิดเห็นที่ 2 (1587889)

 พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)

"..เวลาเรานั่งฝึกเจริญพระกรรมฐาน เราจะใช้เวลามากน้อยอันนี้ไม่สำคัญ

 

สำคัญอยู่ที่คุณภาพของจิต ถ้าจิตของเราสงบสงัดจากกิเลส

 

แม้แต่เพียงวินาทีเดียว พระพุทธเจ้าก็ทรงสรรเสริญว่า บุคคลนั้นเป็นผู้มี

 

จิตไม่ว่างจากฌาน จะนั่งหลับตา จะเดินอยู่ จะนั่งลืมตา จะทำการงานอยู่

 

กำลังเขียนหนังสือจิตจับอารมณ์ นึกถึงพระพุทธเจ้า จิตสบายนิดหนึ่ง

 

ชั่วขณะนั้นก็ใช้ได้ เป็นอานิสงส์ใหญ่.."



คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

อภัยจริงหรือไม่ ให้สังเกตตอนจิตถูกกระทบแล้วยัง
หวั่นไหวอยู่หรือไม่

 

หากจิตเกาะไม่ปล่อยวาง นั่นแหละคือการอภัยไม่จริง ถ้าจิตปล่อยวาง

 

ไม่เอาเรื่องเหล่านี้มาคิด มาจำ หรือปรุงแต่ง ตรงนั่นแหละคืออภัยทานที่แท้จริ


คำสอนสมเด็จองค์ปฐม



อย่าทิ้งอานาปานัสสติกรรมฐาน ยิ่งกำหนดรู้ลมมากเท่าไหร่

 

จิตจักยิ่งทรงสติได้มากขึ้นเท่านั้น


ลูกรักของพ่อ



ถ้าลูกต้องการหมดความทุกข์ ต้องการมีความสุข



ก็จงอย่าคิดว่า โลกนี้เป็นของเรา ทรัพย์สินทั้งหมดในโลกนี้เป็นขอ
งเรา

 


ร่างกายนี้เป็นเรา เป็นของเรา ร่างกายบุคคลอื่นเป็นพวกเรา เป็นของเรา



จงคิดว่า ร่างกายมันเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ เข้ามาประชุมกัน

 


เห็นร่างกายภายใน คือร่างกายของเรา ก็ทำความรู้สึกแต่เพียงสักแต่ว่
าเห็น

 


คือ ไม่สนใจ ไม่ยึดถือ ว่ามันกับเราจะอยู่ด้วยกันตลอดก
าลตลอดสมัย

 

(หลวงพ่อฤาษี)



คำสอนสมเด็จองค์ปฐม


อย่ามองหาความดี จงมองหาแต่ความเลว ไม่จำเป็นต้องหาความดี

 

เพราะถ้าหากมองจนจิตหาความเลวไม่ได้แล้ว จิตก็จักมีความดีขึ้นมาเอง 



ดีในที่นี้หมายถึง จิตหมดกิเลส หลุดจากโมหะ-โทสะ-ราคะเข้าครอบง
ำจิต

 

มิใช่ดีอย่างจิตชาวโลกียวิสัย ซึ่งอิงอยู่ในกามคุณ ๕ ได้รูปสวย-

 

เสียงเพราะ-รสดี เป็นต้น อย่างนี้ดีในกามราคะก็ใช้ไม่ได้


ท่านทั้งหลายเห็นว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา แล้วหรือยัง

 

และเราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา 



คลำต่อไปว่า เราฝืนคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าบ
้างไหม

 

ศีลของเราครบไหม เรามีพระนิพพาน เป็นอารมณ์หรือเปล่า

 

ถ้าเข้าถึงจุดนี้ ชื่อว่าท่านเป็นพระโสดาบัน หรือพระสกิทาคามี



ขยับดูอารมณ์ไปอีกทีว่า ไอ้กามราคะ ความพอใจในกามคุณ

 

มันหมดหรือยัง ความรู้สึก มันยังมีบ้างไหม เห็นอะไรมันสวยบ้าง

 

เห็นอะไรแล้วมีความกำหนัดยินดีบ้างไหม การกระทบ กระทั่งใจที่เขา

 

ทำให้เราไม่ชอบใจ มันเกิดความสะดุ้งขึ้นมา เกิดอยากจะพิฆาตเข่นฆ่า

 

จะตอบแทนมีบ้างไหม ถ้ามีละก็ใช้ไม่ได้ ถ้าไม่มีเราก็เป็นพระอนาคามีได้

 มันไม่ยาก สมถภาวนากอดให้แน่น อย่าปล่อยไปจากใจ 

 



อารมณ์เบื้องท้ายคือ ความเมาในรูปฌาน และอรูปฌาน การถือตัว ถือตน

 

 

มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ไม่มุ่งพระนิพพานโดยเฉพาะ อารมณ์จิตยัง

 

มีฉันทะความพอใจในมนุษย์โลก เทวโลกและพรหมโลก

 

เห็นว่ามนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก เป็นของสวยสดงดงาม

 

ยังมีความพอใจในอารมณ์แบบนั้น เห็นสมควรไหม

 

เห็นไหมตัดได้หรือยัง ถ้าตัดได้ก็เป็นพระอรหันต์ ..


พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมย
าน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)

ผู้แสดงความคิดเห็น ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-12-10 23:42:51


ความคิดเห็นที่ 3 (1587890)

 

 .."สักกายทิฎฐิ" เห็นว่าร่างกายนี้ ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในกายกายไม่มีในเรา

 

 

ท่านละความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์บุคคลเราเขาเสียได้ 



โดยเห็นว่า..

 



"ร่างกาย" นี้เป็นเพียงแต่ธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันชั่วคราว

 

 

เป็นที่อาศัยของนามธรรม คือ..



"เวทนา" ความรู้สึกสุขทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์คืออารมณ์วางเ
ฉย

 

 

จากอารมณ์สุขทุกข์ 

 

 


"สัญญา" มีความจดจำเรื่องราวที่ล่วงมาแล
้ว

 



"สังขาร" อารมณ์ชั่วร้ายและอารมณ์เมตตาปร
านีสดชื่นอันเกิด

 

ต่ออารมณ์ที่เป็นกุศล คือความดี และอารมณ์ที่เป็นอกุศลคือความชั่

 

ที่เรียกกันว่า อารมณ์เป็นบุญและอารมณ์เป็นบาปที่คอยเข้าควบคุมใจ

 


"วิญญาณ" คือ ความรู้ หนาว ร้อนหิวกระหายเผ็ดเปรี้ยวหวานมั
นเค็ม

 

และการสัมผัสถูกต้องเป็นต้น...วิญญาณนี้ไม่ใช่ตัวนึกคิด ตัวนึกคิดนั้น

 

 

คือจิตวิญญาณ กับ "จิต" นี้คนละอัน แต่นักแต่งหนังสือมักจะเอาไป

 

 

 

เขียนเป็นอันเดียวกันทำให้เข้าใจเขว ควรจะแยกกันเสีย เพื่อความเข้าใจง่าย

 





อีกสิ่งหนึ่งที่เข้ามาอาศัยกาย และไม่ตายร่วมกับร่างกาย สิ่งนั้นก็คือ "จิต"

 

 

 

 

"เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้ ตายร่วมกับร่างกาย" คือ กายตายก็ตายด้วย

 

 

 



แต่ จิตที่เข้ามาอาศัยกายนี้ เข้ามาอาศัยชั่วคราว เมื่อกายตั้งอยู่

 

 

 

คือดำรงอยู่ร่วมพร้อมกับ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จิตก็อาศัยอยู่ 

 

 

 



แต่ ถ้าขันธ์ ๕ มีร่างกายเป็นประธานตายแล้ว จิตก็ท่องเที่ยวไปแสวงหา

 

 

ที่อาศัยใหม่คำว่า "เรา" ในที่นี้ท่านหมายเอา "จิต" ที่เข้ามาอาศัยกาย 

 





เมื่อท่านทราบอย่างนี้..

 



"ท่านจึงไม่หนักใจและผูกใจว่าขั
นธ์ ๕ คือร่างกายนี้เป็นเรา

 

 

เป็นของเรา เราไม่มีในกาย กายไม่มีในเรา เราคือจิตที่เข้ามาอาศัยในกาย

 

 

คือขันธ์ ๕ นี้ ขันธ์ ๕ ถ้าทรงอยู่ได้รักษาได้ก็อาศัยต่อไป

 

 

ถ้าผุพังแล้วท่านก็ไม่หนักใจ ไม่ตกใจ ไม่เสียดายห่วงใยในขันธ์ ๕

 

 

ท่านปล่อยไปตามกฎของธรรมดา เสมือนกับคนอาศัยรถหรือเรือโดยสาร

 

เมื่อยังไม่ถึงเวลาลงก็นั่งไป

 

 แต่ถึงจุดหมายปลายทางเมื่อไรก็ลงจากรถจากเรือ โดยไม่คิดห่วงใย เสียดายรถหรือเรือโดยสารนั้น

 

เพราะทราบแล้วว่ามันไม่ใช่ของเรา เขาก็ไม่ใช่เรา เราก็ไปตามทางของเรา

 

ส่วนรถเรือโดยสารก็ไปตามทางของเขา ต่างคนต่างไม่มีห่วงใย

 

พระอรหันต์ทั้งหลายท่านมีความรู้สึกอย่างนี้.."



ทำอารมณ์พอใจในพระนิพพานให้เป็นปกติ สร้างความรู้สึกตามกฏธรรมดา 

 



รู้เกิด รู้เสื่อม รู้สลายของของทุกชนิด จนมีอารมณ์ปกติไม่หวั่นไหว

 

 

 

ในเมื่อมรณะภัยมาถึง สมบัติ ญาติ บุตร สามี ภรรยา ในที่สุดแม้

 

 

แต่ตัวเราอารมณ์เป็น

 

ปกติอย่างนี้ตลอดวัน ไม่ดีใจในเมื่อมีลาภ ได้ยศ

 

 

รับคำสรรเสริญ มีความสุข ไม่หวั่นไหวในเมื่อสิ้นลาภสิ้นยศ ถูกนินทา

 

มีความทุกข์ เท่านี้น่าภูมิใจได้แล้ว ท่านสิ้นภาระในทุกขภัย แล้วต่อไป

 

 

ท่านมีพระนิพพานเป็นที่ไปแน่นอน.. 

 



นักวิปัสสนาญาณเจริญอย่างนี้โดย

ที่เห็นรูปกระทบตลอดวัน

 

 

ท่านจึงจะนับว่าเป็นนักวิปัสสนา ญาณแท้ และเข้าวิปัสสนาจริง

 

ถ้ายังรอวัน รอเวลาหาที่สงัดอยู่ แล้วยังหรอกท่าน

 

ยังไกลคำว่าวิปัสสนามากนัก..

 


 

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม



ขอจงอย่าลืมตัว ทะนงตนว่าเป็นผู้รู้ เพราะตราบใดที่ยังไม่สิ้นสังโยน์

 

 

 

จงสำนึกตนไว้เสมอว่า จิตเจ้ายังเป็นผู้ชั่วอยู่ เพราะจิตยังถูกสังโยชน์ร้อยรัด

 

 

ห้จุติอยู่ แม้อัตภาพยังไม่สิ้น จิตเจ้าก็ยังเกิดอารมณ์อยู่เนือ ง ๆ

 

 

ซึ่งล้วนแต่ทำให้เกิดทุกข์ทั้งสิ้น

ผู้แสดงความคิดเห็น ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-12-10 23:48:06


ความคิดเห็นที่ 4 (1587892)


คำสอนสมเด็จองค์ปฐม



หนีภัยในโลกนี้หนีไม่พ้นหรอก เพราะเป็นกฎของกรรม

 

ซึ่งเที่ยงเสมอและให้ผลไม่ผิดตัวด้วย


คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
 


อย่ามุ่งแต่จะเอาคำสั่งสอนเพิ่ม
เติม ให้สนใจกับการปฏิบัติในแต่ละวัน


 อันเป็นตัวจริง ๆ ของการบรรลุมรรคผลให้มาก

 
 
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม


อย่าทำจิตให้วุ่นวาย ให้ลงอุเบกขาเข้าไว้เสมอ มีอะไรเกิดขึ้นก็เห็น
 
 
 
เป็นธรรมดาทั้งหมด อย่าให้มีอาการจิตตกเพราะเหตุต่าง ๆ มากระทบอารมณ์
 
 
ให้เห็นเป็นธรรมดา แล้วก็แก้ไขไป 


รู้อารมณ์แล้วก็เพียรแก้ไข จัดว่าเป็นการปฏิบัติถูก อย่าคิดวางไปโดยไม่แก้ไข
 
 
 
ถ้าไม่ใช้ปัญญาพิจารณา ไม่นานปัญหาเกิดขึ้นใหม่อีก จิตก็จักตกอยู่อย่างนี้อีก
 
 
 
ต้องใช้ปัญญาพิจารณาแก้ไข ก็จักพ้นจากสภาวะจิตตกไปได้
 

 
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
 


เรื่องทานบารมี จุดสำคัญ คือ เพียร สละ-ละ-วาง ซึ่งอารมณ์โกรธ-โลภ-หลง
 
 
ซึ่งจิตมีอารมณ์ขี้เหนียว-ยึด-เกาะติดเอาไว้แน่นไม่ยอมวาง แต่การให้ทานเป็น
 
 
การสละอารมณ์ชอบเก็บสะสม ต้องใช้ปัญญาจึงจักสละ-ปล่อยวางการยึดมั่นถือมั่น
 
 
ในอุปาทาน ซึ่งเป็นกิเลสให้ออกไปเสียได้

 


คำสอนสมเด็จองค์ปฐม


พยายามสงบใจ-สงบปาก-สงบคำให้มาก
 อย่าตำหนิบุคคลอื่นว่าเลว
 
 
ให้ดูกาย-วาจา-ใจของตนเอง อย่าให้เลวกว่าเขาเอาไว้เสมอ อย่ามองโทษ (เพ่งโทษ)
 
 
บุคคลภายนอก ให้มองโทษอันเกิดขึ้นแก่กาย-วาจา-ใจของตนเองเป็นสำคัญ
 


ตายนั้นตายแน่ไม่มีใครหนีพ้น จิตจึงต้องซ้อมตายและพร้อมตายอยู่เสมอ


รู้ลม-รู้ตาย-รู้นิพพาน
 
 

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตามาตรัสสอนพวกเราความว่า
 
 
พวกเจ้าควรหมั่นขอขมาพระรัตนตรัยไว้ทุกๆ วัน เพื่อจักได้ลดโทษการปรามาส


พระรัตนตรัยลงได้บ้าง


สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสว่า : นี่จัดว่าเป็นขออภัยทาน ซึ่งเป็นธรรมสูงสุด
 
 
ในพระพุทธศาสนาเช่นกัน หมั่นทำให้บ่อย ๆ ไม่ว่าจักเป็นผู้ให้อภัยทานหรือ
 
เป็นผู้ขออภัยทาน ก็สามารถทำจิตให้เยือกเย็นได้


 "..เธอจงใช้ปัญญาหาทุกข์ให้พบ ถ้าเธอยังเห็นว่าโลกนี้จุดใดจุดหนึ่ง


เป็นอาการของความสุข นั่นก็ชื่อว่าเธอไร้ปัญญา.."



พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมย
าน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)



เกิด แก่ เจ็บ ตาย ต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ มีความหิว
 
 
ความกระหาย ความร้อน ความป่วยไข้ไม่สบาย ความปรารถนาไม่สมหวัง
 
 
การกระทบกระทั่งกับอารมณ์ไม่ถูกใจ การพลัดพรากจากของรักของชอบใจ
 
 
มีความตายไปในที่สุด ทุกชาติที่เราเกิดมา มีอาการอย่างนี้ทั้งหมด .."


พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมย
าน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)
 
 
 
 
 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-12-11 00:02:20


ความคิดเห็นที่ 5 (1587906)

กราบฝ่าพระบาทพระพุทธองค์

กราบหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ในทุกๆสัจธรรมและคำสอนด้วยค่ะ

สาธุ สาธุ สาธุ

 

 

ลูกจะละกิเลส ตัณหาและอุปทาน

และหมั่นดูแต่"ความชั่ว"ของตน

ให้ได้ตลอดเวลาเจ้าค่ะ 


อนุโมทนากับคุณทศวรรษด้วยค่ะ

สาธุ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ชนิดา เชิงสะอาด/CHANIDA ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-12-11 06:31:12


ความคิดเห็นที่ 6 (1587977)

ขออนุโมทนากับคุณทศวรรษด้วยคะ่  ได้อ่านประวัติของหลวงพ่อฤาษีลิงดําไม่มากเท่าไหร่แต่ก็ซึ้งในคําสอนของหลวงพ่อเหมือนกันค่ะหลวงพ่อท่านถ่อมตัวมากได้อ่านหนังสือท่านชอบมากต้องไปขอยืมของเจ๊หมวยมาอ่านที่ลําปางหนังสือของหลวงพ่อหายากทุกวันนี้พี่บัวลอยสํานึกอยู่เสมอว่าเราไม่ใช่คนดีเท่าไหร่อดีดเคยเลวเคยชั่วอย่างไร สํานึกไว้เสมอเอาไว้เตือนใจ จะได้ไม่ทําอีกต่อไป จะขอน้อมเอาคําสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดํา  และของอาจารย์อุบล มาปฏิบัตค่ะ 

ผู้แสดงความคิดเห็น น้้อย(บัวลอย สุดแดน) (bour_noy-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-12-11 20:51:50


ความคิดเห็นที่ 7 (1587990)

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม


พยายามสงบใจ-สงบปาก-สงบคำให้มาก
 อย่าตำหนิบุคคลอื่นว่าเลว
 
 
ให้ดูกาย-วาจา-ใจของตนเอง อย่าให้เลวกว่าเขาเอาไว้เสมอ อย่ามองโทษ (เพ่งโทษ)
 
 
บุคคลภายนอก ให้มองโทษอันเกิดขึ้นแก่กาย-วาจา-ใจของตนเองเป็นสำคัญ
 

ตายนั้นตายแน่ไม่มีใครหนีพ้น จิตจึงต้องซ้อมตายและพร้อมตายอยู่เสมอ


รู้ลม-รู้ตาย-รู้นิพพาน
 
 **********************

อนุโมทนากับคุณทศวรรษ

คุณชนิดา คุณบัวลอย ด้วยนะคะ

สาธุ สาธุ สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น เบ็ญจากาญจน์ ศุภศิริว้ฒนา(วิ) (aungpao-dot-benjy-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-12-11 21:42:19


ความคิดเห็นที่ 8 (1588119)

 คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

ถ้าถูกกลั่นแกล้ง ก็จงเห็นเป็นเรื่องธรรมดาของการ
มีร่างกายขึ้นมาในโลกนี้

 

ให้เห็นทุกข์ ให้เห็นกฎของกรรม อย่าไปโทษใคร อย่าโกรธเคือง

 

แล้วให้พยายามฝึกจิตให้มีอภัยทานให้มากที่สุด แล้วอุปสรรคต่างๆ ก็จักสลายไป


 

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม



อย่าปล่อยใจให้เบื่ออย่างเดียว ใช้ปัญญาหาเหตุให้พบ แล้วรีบแก้ไขที่ต้นเหตุ

 

หากตายในขณะจิตนั้น จักต้องเสียใจตนเองที่โง่ขาดปัญญา

 


- ก็ลองพิจารณากันไปว่า ความทุกข์ใหญ่ของเรานี่มันมีทุกข์อะไรเป็นสำคัญ

 

ที่เราทุกข์กันจริง ๆ ก็ทุกข์เพราะ  ความยึดมั่นถือมั่น

 

มั่นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นเรา มันเป็นของเรา

 

แล้วเราก็ไม่อยากให้มันเสื่อมโทรมไป ไม่อยากให้มันสลายตัวไป

 

คือ พลัดพรากจากกัน 



พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมย
าน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)

 

 

เคยไหม -


หลวงพ่อชา **โยมเคยปวดหัวไหม

 


โยม * เคยเจ้าค่ะ

 


หลวงพ่อชา **โยมเคยเจ็บฟันไหม 

 


โยม * เคยเจ้าค่ะ

 


หลวงพ่อชา **โยมเคยปวดท้องไหม 

 


โยม * เคยเจ้าค่ะ

 


หลวงพ่อชา ** โยมเคยเจ็บหางไหม

 


โยม * ?????

 


โยม * ก็หางมันไม่มีนี่เจ้าค่ะ 

 



มีในสิ่งใด แล้วยึดมั่นในสิ่งนั้น ก็ย่อมเจ็บ ย่อมทุกข์เอง 



เมื่อไม่มี ไม่ยึด จะเอาอะไรมาทุกข์




(หลวงปู่ชา สุภทฺโท)

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-12-12 23:35:40


ความคิดเห็นที่ 9 (1588120)

 ที่เรามาปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้ ก็เพื่อให้เห็นจิตเดิม 


เราคิดว่าจิตเป็นสุขจิตเป็นทุกข
์ แต่ความจริงจิตไม่ได้สร้างสุขสร้างทุกข์

 


อารมณ์มาหลอกลวงต่างหาก มันจึงหลงอารมณ์ 

 


ฉะนั้น เราจึงต้องมาฝึกจิตให้ฉลาดขึ้น ให้รู้จักอารมณ์ 


ไม่ให้เป็นไปตามอารมณ์...จิตก็ส
งบ


 
เรื่องแค่นี้เอง ที่เราต้องมาทำกรรมฐานกันยุ่งยา
กทุกวันนี้..."



หลวงปู่ชา สุภทฺโท




..พระบรมศาสดาทรงพระชนมายุอยู่ เทศน์อนิจจัง ทุกขัง อนัตตามากกว่าเพื่อน 

 


เพราะเป็นนิยยานิกธรรม นำสัตว์ทั้งหลายให้เบื่อหน่ายคล
ายเมาในวัฏสงสาร

 

 
ธรรมอันอื่นมีดาษดื่นถมเถ เป็นจินตกวีก็ตาม 

 


ถ้าไม่สลดใจ สังเวชในวัฏสงสารแล้ว ก็สู้ภาษิตเดียวไม่ได้

 

 

ขณะจิตใจยินดีในโลกสงสารล้านๆ ขณะจิต 



ก็ไม่เท่าขณะจิตใจที่นึกเบื่อหน
่ายคลายเมาในวัฏสงสารขณะจิตเดีย

 


เจตนามนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ พรหมสมบัติ ล้านๆ ขณะเจตนา 



ล้านๆ ขณะจิต ล้านๆ ขณะอธิษฐาน ล้านๆ ขณะความหวัง


 
ก็ไม่เท่าเจตนาเพื่อพ้นทุกข์ในว
ัฏสงสารโดยด่วนในปัจจุบันจิต ปัจจุบันธรรมเลย.."




หลวงปู่หล้า เขมปัตโต

ผู้แสดงความคิดเห็น ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-12-12 23:46:02


ความคิดเห็นที่ 10 (1588122)

 โลกไม่ได้ทำให้เราทุกข์ เราทุกข์เอง

 


ฉะนั้นจึงมาแก้ที่เรา ใจเรานี้มันหลงโลก 

 


ไม่ใช่โลกหลงเรา เรามันหลงโลกเข้าใจไหม 

 



ถ้าว่าอาหารทั้งหลาย ถ้ามันอร่อย ไม่ใช่อาหารมันหลงเรา

 

 
เรามันหลงอร่อยอันนั้น หลงหวาน หลงเปรี้ยว 

 


หวานก็พอดีของมัน เปรี้ยวก็พอดีของมัน มันเป็นของพอดี 

 



ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มันถูกต้องอยู่แล้ว 



มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้น...
ที่ผิด .......



(หลวงพ่อชา สุภัทโท)


 

.พระบรมศาสดาสอนให้พิจารณาความตาย เพราะมันละกิเลสได้

 

มันหมดความทะเยอทะยาน หมดความเห็นแก่ตัว ความตายนั้นเป็นอารมณ์

 

อันเป็นสิริมงคลชนิดหนึ่ง 



คนระลึกถึงความตายก็หมดปัญหาที่
จะไปคิดฆ่าใคร คิดเข็ญคนอื่น

 

คิดเบียด เบียนคนอื่น คิดอิจฉาพยาบาทคนอื่น มันก็หมด

 

หมดความที่เป็นบาป เรียกว่ากุศลกรรม..."




หลวงปู่คำพอง ติสฺโส 


วัดถ้ำกกดู่ จ.อุดรธานี


 

การให้ผู้อื่นรู้ว่า อะไรดี อะไรชั่ว 


สร้างอักษรธรรมหนึ่งอักษร 


เท่ากับสร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่
ง.."



(สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช)

ผู้แสดงความคิดเห็น ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-12-12 23:54:13


ความคิดเห็นที่ 11 (1588124)

 ในทางพุทธศาสนาท่านว่า อย่าไปยึดมั่นถือมั่น 


แต่เราฟังไม่จบไม่ตลอด ที่ว่าอย่าไปยึดมั่นถือมั่นนั้น
 

 


คือว่าท่านให้ยึดอยู่ แต่อย่าให้มั่น....



เช่นอย่างนี้ อย่างไฟฉายนี่น่ะ นี่คืออะไร ไปยึดมันมาแล้วก็ดู 

 


พอรู้ว่าเป็นไฟฉายแล้วก็วางมัน อย่าไปมั่นยึด แบบนี้....."




หลวงพ่อชา สุภทฺโท

 
วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี


พุทโธ ธัมโม สังโฆ คือ รัตนะเอกที่สุดแล้ว


ท่านทั้งหลายเข้าใจว่า พุทโธ เป็นเรื่องเล็กน้อยเหรอ ?

 


พระพุทธเจ้า สะเทือนโลกธาตุมานานแสนนาน ก็เพราะความเป็นพุทโธ นั่นแล

 

จนทะลุขึ้นมาเป็นพุทโธ มาเป็นศาสดาเอกของโลก 

 


สังฆัง สรณัง คัจฉามิ พระอรหันต์บรรลุธรรมขึ้นมาแต่ละ
องค์ๆ นี้

 

กระเทือนโลกๆ เป็นของเล็กน้อยเมื่อไหร่ ? ที่ว่าสังโฆๆ นั้น



พุทโธ ก็ได้แก่ ศาสดาองค์เอกที่ขุดคุ้ยเขี่ยค้น
หาธรรม ได้ธรรมอันเสิศ

 

ขึ้นมาครองใจ เรียกว่า ธัมโม ทั้ง ๓ รัตนะ นี้เป็นรัตนะเอกอุที่สุดแล้ว

 

ใครเกิดมาเป็นมนุษย์กี่ร้อยชาติก็ตาม ถ้าไม่ได้สัมผัสสัมพันธ์ไม่มีความเคารพ

 

เลื่อมใส ยึดถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะแล้ว

 

ตายเปล่าๆ เกิดเปล่าๆ ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย..




หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-12-12 23:59:52


ความคิดเห็นที่ 12 (1589790)

ขออนุโมทนานะคะ สาธุ

 

อย่ามุ่งแต่จะเอาคำสั่งสอนเพิ่มเติม ให้สนใจกับการปฏิบัติในแต่ละวัน

-------------

ขวัญได้ทราบมาเล็กน้อยว่า

ตอนอ่านพระธรรมคำสอนนั้น ใจสงบ เพียงครู่นั้น เมื่อนึกถึง และ เมื่อตอนนำไปปฏิบัติ

ใจไม่ได้สงบอย่างถาวร เพราะกิเลสที่สะสมในสังขาร ยังไม่ได้ถูกเผาไปให้สิ้นซาก 

พุทธวจนะที่ว่า "อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา" - พึงมีสติสัมปชัญญะ มีความเพียร เผากิเลสให้เร่าร้อน

สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ จงมีความเพียรในการชำระจิตให้บริสุทธิ์ ขยันวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อบรรลุมรรคผล

ขอให้มีสติ มีสมาธิ อยู่ที่แต่ละอิริยาบท 

มีขันติ คือ เครื่องเผากิเลส เมื่อมีความอดทนต่อกิเลส เราก็จะผ่านมันไปได้ในที่สุด

พลังที่จะทำให้ก้าวหน้า คือ อุเบกขา ไม่ติดใจในอารมณ์ ชอบหรือไม่ชอบ เห็นอะไร รู้สึกอะไร ให้รับรู้ และ วางเฉย

กิเลสทั้งมวลคือมารขัดขวางความสำเร็จ 

อารมณ์ ทุกข์ทางกาย ทางใจ ที่พบระหว่างนั่งวิปัสสนา นั้นคือ กิเลสที่เจ็บ ไม่ใช่ตัวเรา

แยกจิตออกจากสังขาร รู้และเฉยต่อกิเลส กิเลส สังขารต่างหากที่เป็นทุกข์ ไม่ใช่จิตที่บริสุทธิ์ของเรา

ขอให้เข้มแข็ง มุ่งมั่นเอาชนะกิเลสอย่างเดียว

บางทีเกิดความท้อแท้ แต่ขอให้สู้มันใหม่ อย่ารอชาติหน้า 

ชาตินี้เราได้ทราบความจริงอันประเสริฐแล้ว

ขอให้พากเพียร เพื่อตอบแทนคุณพระรัตนตรัย คุณของบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ ผู้มีพระคุณ 

และเพื่อตัวเราจะได้พ้นจากวัฏฏะสงสาร

ผู้แสดงความคิดเห็น ขวัญ ครองขวัญ วงศ์ดีประสิทธิ์ (krongkwanw-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-12-22 16:34:34


ความคิดเห็นที่ 13 (1590822)

 

image

 

 

ขอให้เจ้าของกะทู้มีแต่ความสุข

 

ขอให้มีอายุมั่นขวัญยืน สุขภาพแข็งแรงและเปี่ยมด้วยความเบิกบาน
ดุจดั่งมีกระเป๋าแห่งทองคำ ขอให้ฐานะมั่งคั่งร่ำรวย
ขอให้ความฝันที่เธอใฝ่ กลายเป็นจริงสมดั่งใจปรารถนา
ความเอื้ออาทรที่เธอมักแบ่งปันต่อผุ้อื่น
ขอให้กลับคืนมาสู่เธอเสมอไป สุขสันต์วันปีใหม่จ๊ะ

โซบิเดย์  ยมโดย

ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย (sobiday9-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-12-29 21:17:15


ความคิดเห็นที่ 14 (1591057)

ขออวยพรวันปีใหม่

ให้กับเจ้าของกระทู้นี้

คือคุณทศวรรษ

ขอให้ได้รับความสุขสมหวัง

ดั่งใจหมาย

ทั้งทางโลกและทางธรรม

ตลอดจนเข้าสู่พระนิพพาน

สาธุๆๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น เบญจพร เลามาสุวพันธ์ (benjaporn-dot-tam-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-12-31 10:48:38


ความคิดเห็นที่ 15 (1593818)

 อนุโมทนากับคุณทศวรรษด้วยค่ะ สาธๆๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น กัลยาณี ทิมขาวประเสริฐ (ktkanlayani-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-01-23 16:37:55


ความคิดเห็นที่ 16 (1593840)

 

อนุโมทนากับน้องทศวรรษด้วยค่ะที่นำธรรมะดีๆ

ของพระพุทธเจ้าองค์ปฐม และหลวงพ่อมาเผยแพร่

ขอน้อมนำไปปฏิบัติ     สาธุ   สาธุ   สาธุ... 

ผู้แสดงความคิดเห็น คนึงนุช พงษ์ดี (kanungnuch03-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-01-23 20:51:20



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.