ReadyPlanet.com


ธรรมะเพื่อความหลุดพ้น


 กฎของกรรม หรือของอริยสัจนั่นแหละตัวเดียวกัน


พระพุทธเจ้าองค์ปฐม
.............................

ปกติผมไม่เข้าใจเรื่อง "กฎของกรรม หรือของอริยสัจนั่นแหละตัวเดียวกัน" นี้มาก่อนเลยจนมาได้อ่านพระพุทธธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง พระธรรม ชุด “กฎของกรรม หรือของอริยสัจนั่นแหละตัวเดียวกัน” ในตอนนี้มีข้อความประทับใจผมอีกมากเช่นบุคคลใดยังไม่รู้จักเหตุของกรรม ก็รังแต่จักโทษคนอื่นเขาอยู่ร่ำไป,อยากเรียนรู้อริยสัจ ก็จงศึกษากฎของกรรมเข้าไว้ กรรมเป็นของเที่ยง,ถ้าไม่ฝืนความจริงเสียอย่างเดียว จิตก็สงบ,พิจารณากฎของกรรมตามความเป็นจริงแล้ว จักได้ชื่อว่าเข้าถึงอริยสัจ สามารถตัดสังโยชน์ได้ง่าย,อย่าให้อารมณ์จิตของตนเองหลอกตนเองได้เป็นต้น พระธรรมเหล่านี้พระพุทธเจ้าองค์ปฐมท่านทรงพระเมตตาแสดงไว้น่าอ่าน เมื่ออ่านเข้าใจแล้ว ทุกถ้อยคำที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวควรแก่การพิจารณาและปฏิบัติตามเป็นอย่างยิ่ง แม้การปฏิบัติตามนั้นจะยากสักเพียงใด มันก็คุ้มค่าแก่การเพียรพยายาม......ผมนำพระธรรมชุดนี้มาจากหนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๗ พฤษภาคมตอน ๕ ที่รวบรวมโดยคุณหมอสมศักดิ์ สืบสงวน....ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกๆท่านนะครับ 



 
ถ้าอยากพ้นทุกข์ ก็จงหมั่นปริปุจฉา
 
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

๑. อุเทศ แปลว่าเรื่อง ปริ แปลว่ารวม หรืออุปสรรค ปุจฉา แปลว่าคำถาม เหมือนกับที่คุณหมอเคยพูดว่า ให้ลองถามตนเองดูซิว่า

ก) กินอาหารทำไม ตอบ เพราะความหิวเป็นทุกข์

ข) กินเพื่ออะไรตอบ เพื่อบรรเทาทุกข์ กันตาย

ค) กินแล้วเป็นอย่างไรตอบ อิ่ม แต่อิ่มชั่วคราว หรือพ้นทุกข์ชั่วคราว เพราะความอิ่มไม่เที่ยง เหตุเพราะโลกไม่เที่ยง,ขันธโลกก็ไม่เที่ยง

๒. หากเข้าใจหลัก ก็ถามตนเองไปเรื่อยๆปัญญาเกิดจากการพิจารณา จากอายตนะสัมผัสทั้ง ๖ (นอก ๖ และใน ๖) กระทบกัน

๓. ผู้ฉลาดจึงมองทุกสิ่งในโลกเป็นธรรมได้หมดพิจารณาเป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา

๔. อารมณ์ใดเกิดขึ้นกับจิต จงหมั่นสอบจิต คือตั้งคำถามแก่จิตให้ค้นคว้าหาคำตอบว่า อารมณ์นั้นเป็นคุณหรือเป็นโทษ เป็นธรรมในศีล-สมาธิ-ปัญญา หรือธรรมในโลกธรรม หากพวกเจ้าเข้าใจปริปุจฉาจริงและทำให้ได้ตามนั้น ก็จักได้ประโยชน์มหาศาลจากหลักของธรรมปฏิบัตินี้ และจักสามารถแยกแยะสาระทางธรรมออกมาได้จากสาระทางโลก

๕. สาระทางธรรม คือ แก่นสารอันสามารถนำจิตของตนให้พ้นจากความทุกข์ได้ สาระทางโลก คือความไม่เที่ยงทั้งมวล ประโยชน์ทางโลกที่แท้จริงไม่มี (เพราะมันไม่เที่ยง) ยึดถืออันใดมาเป็นแก่นสารไม่ได้ แต่นั่นแหละจักพ้นโลกได้ก็จักต้องพิจารณาโลกให้เห็นตามความเป็นจริง จึงจักเข้าถึงธรรมได้

๖. โลกที่อยู่กับตัวเรา (เราคือจิต) คือ ขันธโลกนี่แหละ (คือ ร่างกาย หรือขันธ์ ๕) โลก
ภายในนี้ ถ้าหากศึกษาได้ถ่องแท้แล้ว จักเข้าใจโลกภายนอกได้เฉกเช่นเดียวกัน  
 
 
ธรรมคืออารมณ์ที่เกิดแก่จิต จิตนั้นคือตัวเรา

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ต่อจากเรื่องปริปุจฉาไว้ ดังนี้

๑. ธรรมคืออารมณ์ที่เกิดแก่จิตจิตรู้จักโลกพอ ธรรมที่เป็นสาระย่อมเกิดขึ้นได้อย่างมั่นคง ธรรมที่เกิดจักไม่เจืออารมณ์ติดโลก ความหวั่นไหวในโลกธรรม ๘ ก็จักลดน้อยลงไปตามลำดับจนในที่สุดหมดเชื้อ คือ ธรรมนั้นพ้นโลกไปได้อย่างถาวร เป็นโลกุตรธรรมเบื้องสูง คือ ถึงธรรมวิมุติอยู่ในจิต คือตัวเราที่แท้จริงนี่แหละ

๒. เปลือกของโลกที่ห่อหุ้มหมดไปเปลือกเทวดา เปลือกนางฟ้า เปลือกพรหมก็ไม่มี สำหรับจิตดวงนี้ เพราะอวิชชาหมด สักกายทิฏฐิหมด จิตนั้นคือตัวเรา ก็ถึงซึ่งความเป็นสุข คือ พระวิสุทธิเทพ ผู้พ้นวัฏฏะสงสารอย่างถาวร

๓. อนึ่งที่เจ้า (เพื่อนผม) ลังเล ไม่แน่ใจว่า ก่อนเกิดเจ้ามาจากไหนนั้น เมื่อคุณหมอถาม จิตแรกที่เจ้าตอบว่า ดุสิต ไฉนจึงไม่เชื่อตามนั้นเล่า (ตอบพระองค์ว่า ต้องกราบขอขมา เพราะไปจำสัญญาเก่าๆ จากครูฝึก มโนมยิทธิว่า ได้ไปเจอท่านปู่ ท่านย่าพระอินทร์ เลยเหมาคิดเอาเองว่าตนมาจากดาวดึงส์)

๔. เจ้าเป็นเทวดาอยู่ชั้นดุสิต หาใช่ดาวดึงส์ไม่ เทวดา - นางฟ้าทุกชั้นต่างมีสิทธิ์พบกับพระอินทร์ท่านได้ ทีหลังอย่าลังเลอย่างนี้อีกนะ (ก็นึกสงสัยต่อไปว่า เมื่อลงมาจากชั้นดุสิต ทำไมจึงเกิดมาเป็นผู้หญิง)

๕. นั่นเป็นกฎของกรรมอย่างหนึ่ง และเป็นเกณฑ์บังคับอย่างหนึ่งถ้าเจ้าลงมาเป็นผู้ชายนิสัยเยี่ยงนี้นะหรือ จักมีโอกาสบำเพ็ญเพียรเข้าถึงพระนิพพานได้ อย่าว่าแต่สวรรค์เลย มุทะลุดุดันอย่างนี้ ถ้าเป็นผู้ชายก็ฆ่าคนตาย จักต้องลงนรกเสียมากกว่า

๖. เจ้าดูแต่พระสูตร มนุษย์ผู้หญิงยังขึ้นไปเป็นเทวดาชั้นดุสิตได้(เปสการีธิดา)แล้วไฉนเทวดาชั้นดุสิตจักจุติลงมาเป็นมนุษย์ผู้หญิงไม่ได้ เทวดาชั้นดุสิตนั้นส่วนใหญ่บำเพ็ญเพียรเพื่อพระโพธิญาณ หรือเพื่อเป็นพระพุทธบิดา หรือพระพุทธมารดา หรือเพื่อต่อบารมีอันจักให้ถึงซึ่งความเป็น พระอริยเจ้าที่ยังไม่ถึงจุดสูงสุด คือ พระอรหันต์เทวดาชั้นนั้นจึงมีสิทธิ์เลือกเพศ เลือกสถานที่ลงมาจุติเพื่อความเหมาะสมในการบำเพ็ญบุญบารมี ตามที่ตนตั้งจิตอธิษฐานไว้นั้นๆ ซึ่งก็ต่างกับมุมของความชั่ว คือ กฎของกรรมในด้านอกุศล ซึ่งบังคับให้สัตว์ผู้ทำชั่วละเมิดศีล ละเมิดธรรม ต้องไปจุติในอบายภูมิ ๔ ตามวาระกฎของกรรมนั้นๆ

 

 

 

 


 

 

 

 

กฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอ

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

๑. กฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอ ใครทำเช่นใด ย่อมได้เช่นนั้นพวกเจ้าได้ศึกษาครบรอบวงจร เห็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ย่อมรู้ว่ากฎของกรรมทั้งดี - ทั้งเลว เกิดขึ้นแก่ชีวิตได้ เพราะการจุติมานับอเนกชาติที่นับไม่ถ้วน แล้วความมีอวิชชาเข้าครอบงำจิตให้มีความประพฤติผิด หลงผิดก่อกรรมทางด้านกาย - วาจา - ใจมานับครั้งไม่ถ้วนเช่นกัน

๒. โมหะ-โทสะ-ราคะครอบงำจิตอยู่มันบงการอยู่อย่างนี้ จนมาถึงบัดนี้ยังหาที่สิ้นสุดแห่งการหมดกรรมมิได้ นี่เพราะอันใด จักโทษใครได้เล่า กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุบุคคลใดยังไม่รู้จักเหตุของกรรม ก็รังแต่จักโทษคนอื่นเขาอยู่ร่ำไปลืมโทษจิตของตนเอง ที่สร้างกรรมทางกาย-วาจา-ใจมานับครั้งไม่ถ้วน อันผ่านมา (ในอดีต) นี่ช่างเป็นผู้โง่เสียนี่กระไร

๓. อยากเรียนรู้อริยสัจ ก็จงศึกษากฎของกรรมเข้าไว้ กรรมเป็นของเที่ยง ใครทำดีได้ดี ใครทำชั่วได้ชั่ว ใครทำใครได้ทั้งนั้น ถ้าเข้าใจได้ จิตก็จักสงบได้ ไม่ฝืนกฎของกรรม และจักไม่เดือดร้อนกับกรรมของใคร หรือแม้กระทั่งกฎของกรรม ที่เข้ามาเล่นงานตนเองก็จักไม่เดือดร้อน

๔. ถ้าไม่ฝืนความจริงเสียอย่างเดียว จิตก็สงบ วางอารมณ์ยอมรับกฎของกรรมได้ หากทำได้ก็เรียกว่าเข้าถึงอริยสัจ จักพ้นทุกข์ได้ก็ที่ตรงนี้ ลองซ้อมๆ ดู ได้บ้างชั่วขณะก็ยังดี ดีกว่ามานั่งหนักใจในกรรมของชาวบ้าน และมานั่งหนักใจในกรรมของตนเอง

๕. กฎของกรรม หรือของอริยสัจนั่นแหละตัวเดียวกัน ให้รู้ว่าโลกนี้เป็นทุกข์ โลกนี้ไม่เที่ยงยึดถืออันใดมิได้ ให้รู้ว่ากฎของกรรมเกิดขึ้นมาได้ เพราะเรายึดถือทุกข์

๖. ไฟโมหะ - โทสะ - ราคะ มันแผดเผาจิตของเราให้เกิดทุกข์เราติดอยู่ในทุกข์นั้นด้วยอวิชชา คือ ไม่รู้จริง ก็ทำกรรมให้เกิดขึ้นด้วยอารมณ์ที่เกาะยึดนั้นๆ

๗. นั่นเพราะเหตุในอดีตไม่รู้จักปล่อยวาง จึงทำความเดือดร้อนให้กับตนเองและบุคคลอื่น ๆ ทั่วไปรอบด้าน จึงเป็นกรรมให้ตัวเราเองต้องชดใช้ในปัจจุบันนี้

๘. พวกเจ้าจักต้องใช้ปัญญา พิจารณากฎของกรรมตามความเป็นจริงจักได้เห็นอารมณ์ของการเกาะเกี่ยวสังโยชน์ทุกตัว เป็นเหตุให้เกิดกรรมทั้งกาย - วาจา - ใจ และเป็นเหตุนำมาแห่งความทุกข์

๙. บุคคลใดใช้ปัญญาพิจารณากฎของกรรมตามความเป็นจริงแล้ว จักได้ชื่อว่าเข้าถึงอริยสัจ สามารถตัดสังโยชน์ได้ง่ายด้วยรู้เท่าทันความเป็นจริงแห่งทุกข์นั้นๆ

๑๐. มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม อันเกิดแต่การเกาะติดสังโยชน์นั้น ๆ ล้วนแต่สร้างความทุกข์ให้แก่ตนเองทั้งสิ้นพิจารณาจุดนี้ให้ดี ๆ แล้วจักวางอารมณ์ให้ เป็น สังขารุเบกขาญาณได้
   
 
 
พ้นทุกข์ได้หรือไม่ อยู่ที่อารมณ์จิตของตนนี่แหละ

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

๑. อย่าสนใจในกรรมของบุคคลอื่น ให้มากไปกว่าการที่จักพยายามละกิเลสให้หมดไปจากจิตของตนเอง

๒. ให้เห็นตามความเป็นจริงว่า การอยู่ในโลกนี้เป็นทุกข์หาสุขจริง ๆ มิได้ ไม่ว่าชีวิตของเรา หรือชีวิตของใคร หากชีวิตนั้นทรงอยู่ในโลกทั้ง ๓ นี้ไซร้ หาสุขจริง ๆ ยังมิได้

๓. อย่าให้อารมณ์จิตของตนเองหลอกตนเองได้เพราะการจักพ้นทุกข์ได้หรือไม่ ให้ดูสังโยชน์เป็นเครื่องร้อยรัดดวงจิตเป็นสำคัญ อย่าปฏิบัติโดยไม่รู้จักเครื่องกำหนด

๔. ไม่ต้องไปติดสถานที่ - เวลา - บุคคลทั่วไป ให้กำหนดรู้อารมณ์ของจิตตนสถานเดียวเท่านั้นเป็นพอ เพราะธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า ทุกสิ่งสำเร็จที่ใจ พ้นทุกข์ได้หรือไม่ ก็อยู่ที่รู้อารมณ์จิตของตนนี่แหละ

๕. อย่าไปตำหนิการปฏิบัติของใคร เพราะบำเพ็ญบารมีธรรมได้ถึงไหน ก็รู้ได้แค่นั้น ธรรมเป็น ปัจจัตตัง พวกเจ้าก็รู้อยู่แล้ว เพียงแค่อย่าเผลอใจเผลอปากไปตำหนิใครเท่านั้นเป็นพอ

๖. การติหลวงพี่ ว่าเลว เพราะท่านพูดว่า อยู่วัดใหญ่โต แต่ท่านไม่ได้อะไรเลย ทั้ง ๆ ที่หลวงพ่อท่านให้พระธรรมวันละ ๔ เวลาทุกวันควรคิดในแง่ดีว่าท่านไม่หลงตนเอง เพราะท่านยังตัดสังโยชน์ ๑๐ ประการยังไม่ได้หมด จะคิดว่าตนดีหรือได้ดีได้อย่างไร หากไปติท่านก็แสดงว่าเจ้าลืมตัว คิดว่าตนเองดีแล้ว ทางที่ดีเจ้าควรติตนเองที่ไปสนใจจริยาของผู้อื่น โดยลืมไปว่าตนเองก็ยังตัดสังโยชน์ได้ไม่หมด

๗. ท่านผู้รู้จักประมาณตน ย่อมมีความไม่ประมาทอยู่ในตัวต่อไปถ้าท่านไม่ละความเพียรเสียอย่างเดียว ความเป็นพระอริยเจ้าเบื้องสูง ย่อมเป็นไปได้ไม่ยากบุตรของตถาคตทุกคน พึงรู้จักประมาณตนเอาไว้เสมอ อย่าตั้งจิตอยู่ในความประมาท และอย่าพึงละความเพียร บุตรของตถาคตเหล่านั้น ก็พึงถึงความเป็นพระอริยเจ้า พ้นทุกข์ได้ เข้าถึงพระนิพพานได้โดยไม่ยากเย็น เอาล่ะ อย่าตำหนิใครอีกนะ


รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
..............................

ที่มาของข้อมูล
ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๗ พฤษภาคมตอน ๕
หนังสือ “ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น ทุกเล่ม
หาข้อมูลศึกษาได้จาก.......
http://www.tangnipparn.com/page_book_all.html>
ต้องขอโมทนาทุกท่านที่ช่วยเผยแพร่ผลงานของพระพุทธเจ้าหรือหลวงพ่อในทุกรูปแบบทั้งทางหนังสือและอินเตอร์เน็ต ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกๆท่านครับ

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2011-09-16 19:56:09


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1571543)

 ผู้เข้าถึงพระนิพพานได้โดยง่าย พระพุทธเจ้าองค์ปฐม 
............................

ในเรื่อง ผู้เข้าถึงพระนิพพานได้โดยง่าย นี้ ผมอ่านพบในหนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๑๕ โดยพระพุทธเจ้าองค์ปฐม รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน พระธรรมตอนนี้อยู่ในพระธรรมที่ทรงตรัสสอนไว้ในเดือนธันวาคม ๒๕๔๕ ข้อ ๑๐ แต่ในที่นี้ผมขอนำเสนอข้อ ๑ ถึง๑๐ เลย เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของเนื้อหา และได้ประโยชน์ที่กว้างขวางขึ้น
..................................................
สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนไว้ มีความสำคัญดังนี้

๑.อะไรที่ทำแล้วเป็นทุกข์ จงอย่าทำ การจะทำอะไรก็ให้ทำไปเถิด เอาความถูกต้อง และเอาความสบายใจเป็นสำคัญ ทั้งนี้จักต้องไม่ขัดต่อศีล-สมาธิ-ปัญญาด้วย หากทำอะไรแล้วเกิดความทุกข์ใจ อึดอัดขัดข้อง จงอย่าทำ เพราะนั่นจักทำให้ขาดทุน ไม่ได้ผลดีในการปฏิบัติธรรมด้วย เรื่องของใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ ระวังอย่าให้กิเลสมาฟอกจิตจนทำให้ไม่สบายใจ

๒. จงหาความจริงที่กายเรา และจิตเราเท่านั้น พยายามอย่าไปยุ่งกับกายผู้อื่น และจิตผู้อื่นให้ดูร่างกายเข้าไว้ จักมีประโยชน์ที่เห็นโทษของความไม่เที่ยงของร่างกาย ซึ่งมีความเสื่อมไปเป็นธรมดาทุกวัน ทุกๆ ขณะจิตร่างกายก็เสื่อมลงไปทุกทีดังนั้น จงเตือนจิตตนเองเข้าไว้ว่า จงอย่าประมาท สิ่งใดเป็นความชั่ว เลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง เลือกทำเอาแต่ความดี ใคร่ครวญเสียก่อนจึงค่อยทำเป็นสิ่งที่ดี

๓. การตั้งอารมณ์เป็นสิ่งสำคัญ ทำใจให้รุ่งเรืองเฟื่องฟูเข้าไว้ จิตจักมีความผ่องใส จงอย่าทำใจให้แฟบ-ท้อแท้-หดหู่-ขาดความสดชื่น และจงรักษากำลังใจให้เป็นสุขเข้าไว้ด้วยการยอมรับกฎของธรรมดา มีอะไรเกิดขึ้นก็ให้ลงธรรมดาเสียให้หมด

๔. บารมี ๑๐ เป็นของสำคัญ รักษากำลังใจไว้ให้ดี อะไรจักเกิดขึ้น ก็ให้ถือว่าเป็นกฎของกรรม ไม่มีใครสามารถที่จักหลีกเลี่ยงกฎของกรรมไปได้ ทุกอย่างให้ลงธรรมดาให้หมดเอาจิตตั้งมั่นให้อยู่กับพระนิพพานเข้าไว้ จงอย่าประมาทในชีวิต ทำอะไรให้คิดหน้าคิดหลังเข้าไว้บ้าง

๕. ให้ยอมรับนับถือกฎของธรรมดาดูร่างกายที่มันไม่เที่ยงเข้าไว้ จักเห็นความแปรปรวนของร่างกายอยู่เป็นปกติ จงอย่ากลัวความไม่เที่ยงของร่างกาย ให้ยอมรับนับถือกฎของธรรมดา คือความไม่เที่ยงของร่างกาย แล้วใจจักเป็นสุขการอยู่ในโลกเราไม่สามารถจักอยู่คนเดียวได้ โลกเขาอยู่กันด้วยสังคม ให้ระมัดระวังตัวให้ดี จักมีอะไรเกิดขึ้นก็ให้ถือว่าเป็นกฎของกรรม อย่าไปต่อล้อต่อเถียงกับใครปล่อยวางให้จิตมีอารมณ์สบาย ๆ นั่นแหละเป็นการวัดผลของการปฏิบัติของใจเราเอง 

๖. เห็นทุกข์ จึงจักพ้นทุกข์ได้ ไม่มีจุดใดในโลกนี้ที่มันไม่ทุกข์ ดังนั้นจงอย่ากังวลใจ ก่อนจักหลับจงสำรวมจิตให้เห็นสภาวะของจิตตามความเป็นจริง จักเห็นความฟุ้งซ่านของจิต-เห็นความไม่เที่ยงของจิต-เห็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎแก่จิต แล้วให้เห็นหนทางแก้ไขจิต ด้วยกรรมฐานแก้จริตด้วย

๗. คนผิดคนถูกไม่มี มีแต่มาตามกรรม แล้วก็ไปตามกรรมเท่านั้น คิดให้ได้-คิดให้ตก เห็นตามความเป็นจริง จิตก็จักสบายไม่เดือดร้อนไปด้วยกรณีใดๆ ทั้งปวง ดังนั้นอาการไม่ดิ้นรน ไม่เดือดร้อนไปกับกรณีใดๆ ทั้งปวง จัดว่าเป็นของดีให้รักษากำลังใจจุดนี้เอาไว้ว่า จิตเราจักไม่เดือดร้อนกับเรื่องของใครทั้งหมดจักเป็นหรือจักตาย ก็ไม่เดือดร้อนปล่อยวางภาระที่จักต้องไปรับผิดชอบกับเรื่องคนอื่นเขาเสีย ให้เห็นเป็นปกติธรรมของโลก มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นเองจิตที่มีความร้อนระงับได้แล้ว เป็นจิตที่เข้าถึงพระนิพพานได้โดยง่าย

๘. จงอย่างยุ่งกับปฏิปทาของผู้อื่น ทำใจให้สบาย อย่าไปกังวลใจกับใครทั้งปวง ปล่อยวาง ปฏิปทาของใครก็ของมันคิดถูกก็เรื่องของเขา คิดผิดก็เรื่องของเขา จงรักษาใจของตนเองให้เห็นถูกโดยธรรมอยู่เสมอ

๙.โลกพร่องอยู่เป็นนิจ เพราะตกเป็นทาสของตัณหา จงอย่าวุ่นวาย ทำใจให้เห็นธรรมดาของโลกเข้าไว้ โลกนี้วุ่นวายอยู่เป็นนิจ แต่จิตใจอย่าไปวุ่นวายกับโลก ไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอนในโลกนี้ มีแต่วุ่นวายด้วยตัณหา ๓ ประการทั้งสิ้นเห็นโลกจงรู้โลก ศึกษาโลก แล้วหวนกลับมาแก้ไขที่จิตใจอย่าไปแก้โลก โลกนี้แก้ไขอะไรไม่ได้ มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นเอง

๑๐. ธรรมภายนอกแก้ไขไม่ได้ ให้แก้ที่ใจตนเองเป็นธรรมภายใน ทำใจให้สบาย เหตุการณ์ใดๆ จักเกิดก็ไม่สามารถจักทำอะไรกับจิตใจที่สบายได้ การรักษาจิตใจให้สบาย จักต้องมีปัญญา พิจารณาทุกอย่างตามความเป็นจริง ใจที่ยอมรับความเป็นจริงก็มีความสบายคนที่มีความสบายใจ จึงเป็นผู้เข้าถึงพระนิพพานได้โดยง่าย

๑๑. อย่าเที่ยวแบกทุกข์ของผู้อื่น เรื่องของใครก็เรื่องของใคร จงอย่าเอาภาระของคนอื่นมาไว้ในใจ ปล่อยวางมันไปเสีย จิตจักมีความสุขไม่วุ่นวายกับใครทั้งสิ้นค่อยๆ ทำไป อย่าเร่งรัด

๑๒. อย่าทำร้ายจิตตนเอง-อย่าเผาจิตตนเอง อย่าทำกำลังใจให้อ่อนแอ จงคิดว่าไม่มีประโยชน์อะไรที่จักทำใจให้ห่อเหี่ยว-ท้อแท้ จิตไม่เป็นสุข เป็นโทษมากกว่าเป็นคุณ เมื่อเห็นดังนั้นแล้ว จักต้องทำกำลังใจให้เข้มแข็ง ไม่ท้อแท้ อ่อนแอ กระทบกับสิ่งใด ให้รู้ว่านั่นเป็นเรื่องธรรมดาเป็นเรื่องที่แก้ไขอะไรไม่ได้ ในเมื่อเหตุมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นเอง จักต้องไปเดือดร้อนใจไปทำไมกันเล่า ให้รู้จักใช้ปัญญาคิดตามความเป็นจริง และต้องตัดให้รอบคอบด้วย

๑๓. จงอย่าตีตนไปก่อนไข้ ให้มองปัญหาแต่ในปัจจุบันเท่านั้นเป็นพอเรื่องอะไรที่ยังมาไม่ถึง ก็จงอย่าตีตนไปก่อนไข้แม้กระนั้นก็จงอย่าประมาท พึงเตรียมการสิ่งใดก็ให้ครุ่นคิดอย่างรอบคอบเสียก่อน

๑๔. ทุกข์ของกายห้ามฝืน ในเมื่อเห็นว่าร่างกายมันไปไม่ไหวก็ต้องปล่อยวางในทุกสิ่งทุกอย่าง เอาจิตมาเกาะแต่พระนิพพานจุดเดียวเท่านั้นเป็นพอพิจารณาเพียงว่าจักไม่ประมาทในความตาย เพราะคน-สัตว์ เกิดมาเท่าไหร่ตายหมดเท่านั้น ไม่มีใครหนีความตายไปได้ และทุกๆ ขณะจิตสามารถตายได้เสมอ

รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

.......................................
ข้อมูลจาก
หนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๑๕ พระพุทธเจ้าองค์ปฐม รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน พระธรรมตอนนี้อยู่ในพระธรรมที่ทรงตรัสสอนไว้ในเดือนธันวาคม ๒๕๔๕ 

ต้องขออนุโมทนากับคุณหมอและผู้ที่ร่วมสนับสนุนในการจัดพิมพ์ และเผยแพร่ออกสู่วงกว้างทางอินเตอร์เน็ต ทุกท่าน
.........................................
หนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๑๕พระพุทธเจ้าองค์ปฐม.....
ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๑๕ พระพุทธเจ้าองค์ปฐมธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม-๑๕-พระพุทธเจ้าองค์ปฐม-304688.html

หนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๑ถึง๑๕ พระพุทธเจ้าองค์ปฐม
หาข้อมูลได้จากเวบนี้ครับ.....
http://www.tangnipparn.com/page_book_all.html

ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกๆท่านครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-16 20:02:44


ความคิดเห็นที่ 2 (1571545)

 เมื่อภรรยาได้เป็นพระอรหันต์ 
..........................................
ในเรื่อง เมื่อภรรยาได้เป็นพระอรหันต์ นี้ ผมอ่านพบในหนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๑๕ โดยพระพุทธเจ้าองค์ปฐม รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน พระธรรมตอนนี้อยู่ในพระธรรมที่ทรงตรัสสอนไว้ในเดือนธันวาคม ๒๕๔๕ ข้อ ๑๕ 

“คุณหมอสมศักดิ์ ท่านได้กล่าวถึงเรื่องของคุณจันทนา วีระผล ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อท่านหนึ่ง คุณจันทนา ชอบทำบุญในด้านแสงสว่างมาก เมื่อหลวงพ่อสอนมโนมยิทธิ ก็ฝึกได้ทั้งมโนเล็ก และมโนใหญ่คล่องตัวเมื่อร่างกายเจ็บป่วย ก็ใช้มโนใหญ่ออกไปหาพระยายมราช ขอดูบัญชีบุญและบาป ปรากฎว่าบัญชีบาปปิดไปนานแล้ว คือพ้นนรกนานแล้วจึงขอดูบัญชีอายุขัยว่าอีกกี่ปีจึงจะตาย ในบัญชีบอกว่า อีก ๑๒ ปี จะต้องเจ็บ ๆ หาย ๆ อยู่อย่างนี้ไปอีก ๑๒ ปี ท่านก็ตัดสินใจไม่ขอกลับเข้าไปอยู่ในกายเนื้ออีก เพราะออกมาแล้วขอไปพระนิพพานเลย

ต่อมาสามีของท่านคือ คุณสุวรรณ วีระผล มาฝึกมโนมยิทธิกับหลวงพ่อก็ฝึกได้ดีจึงใช้วิชชามโนมยิทธินี้ไปพบภรรยา ซึ่งเป็นพระอรหันต์ เท่ากับเป็นสังฆานุสสติคุณจันทนา สอนสามีให้จงอย่ากลัวตาย เราคือจิตเป็นอมตะไม่เคยตาย ผู้ตายคือร่างกาย (ขันธ์ ๕) มันหาใช่เรา-หาใช่ของเราไม่ ท่านสอนสามี ๒ ครั้ง ย้ำธรรมะจุดนี้ คุณสุวรรณ รักภรรยามาก ก็เชื่อฟังและปฏิบัติตามทุกประการ คือ วางร่างกาย (ขันธ์ ๕ ) ได้ตัวเดียวก็ไปพระนิพพานได้ เพราะสิ่งที่เรารักที่สุดในโลก ก็คือตัวเรา หากวางมันได้ก็จบกิจหลวงพ่อฤๅษีท่านคงมาบอกว่า คุณสุวรรณไปพระนิพพานได้ เพราะรักเมียมาก

รายละเอียดเป็นอย่างไรท่านลองอ่านดูนะครับ

......................................

๑๕.ภรรยานุสสติความโดยย่อมีดังนี้ คุณจันทนา วีระผล ในอดีตชาติเป็นพี่สาวของท่านแม่ศรี ซึ่งขณะนี้อยู่พระนิพพานแล้ว เจ๊จันทนา ท่านทำบุญหนักมาทุกๆ ชาติ โดยเฉพาะท่านชอบทำบุญเรื่องแสงสว่างให้กับพระพุทธศาสนา มีผลทำให้จิตใจท่านสว่าง-ฉลาด-มีปัญญาตัดกิเลสได้คล่องตัว ในชาติสุดท้ายท่านก็ทำบุญแสงสว่าง คือ พวงแก้วเจียรนัย ขนาดใหญ่และเล็กในวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร ของหลวงพ่อท่านเป็นส่วนใหญ่ หากหลวงพ่อไม่ห้ามไว้ เจ๊จันทนา ก็จะขอจองไว้ทั้งหมด เมื่อหลวงพ่อฝึกมโนมยิทธิให้ ก็สามารถปฏิบัติได้ทั้งมโนเล็ก และมโนใหญ่คล่องตัวเมื่อร่างกายเจ็บป่วย เจ๊ก็ใช้มโนใหญ่ออกไปหาลงุพุฒิ หรือเจ้าพระยายมราช ขอดูบัญชีบุญและบาป ปรากฎว่าบัญชีบาปปิดไปนานแล้ว คือพ้นนรกนานแล้ว จึงขอดูบัญชีอายุขัยว่า อีกกี่ปีจึงจะตาย ในบัญชีบอกว่า อีก ๑๒ ปี จะต้องเจ็บ ๆ หาย ๆ อยู่อย่างนี้ไปอีก ๑๒ ปี เจ๊ก็ตัดสินใจว่าหากเป็นเช่นนั้นก็ไม่ขอกลับเข้าไปอยู่ในกายเนื้ออีก เพราะออกมาแล้วขอไปพระนิพพานเลย

ท่านมีมรณากับอุปมานุสสติทรงตัว จึงเข้าสู่พระนิพพานได้แบบง่ายๆ สามีของท่านคือ คุณสุวรรณ วีระผล มาฝึกมโนมยิทธิกับหลวงพ่อก็ฝึกได้ดีจึงใช้วิชชามโนมยิทธินี้ไปพบเมีย ซึ่งเป็นพระอรหันต์ เท่ากับเป็นสังฆานุสสติเมียสอนสามีให้จงอย่ากลัวตาย เราคือจิตเป็นอมตะไม่เคยตาย ผู้ตายคือร่างกาย (ขันธ์ ๕) มันหาใช่เรา-หาใช่ของเราไม่ เจ๊สอนสามี ๒ ครั้ง ย้ำธรรมะจุดนี้ คุณสุวรรณ รักเมียมาก ก็เชื่อฟังเมียและปฏิบัติตามเมียทุกประการ คือ วางร่างกาย (ขันธ์ ๕ )ได้ตัวเดียวก็ไปพระนิพพานได้ เพราะสิ่งที่เรารักที่สุดในโลก ก็คือตัวเรา หากวางมันได้ก็จบกิจหลวงพ่อฤๅษีท่านคงมาบอกว่า คุณสุวรรณไปพระนิพพานได้ เพราะรักเมียมาก มีภรรยานุสสติ (ภรรยาเป็นพระอรหันต์ จึงเป็นสังฆานุสสติด้วย และเป็นพระรัตนตรัยด้วย) 

.......................................

ผู้แสดงความคิดเห็น ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-16 20:03:49


ความคิดเห็นที่ 3 (1571546)

 นักปฏิบัติที่แท้จริงเขาไม่หวังผลพรุ่งนี้เขาเอามรรคเอาผลกันที่ขณะจิตนี้
พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

........................................

ที่ผมขึ้นหัวข้อไว้ว่า นักปฏิบัติที่แท้จริงเขาไม่หวังผลพรุ่งนี้เขาเอามรรคเอาผลกันที่ขณะจิตนี้” เป็นพระเมตตาของพระพุทธเจ้าองค์ปฐม ที่ทรงกล่าวสอนไว้อย่างน่าฟังและควรพิจารณาทำตามเป็นอย่างยิ่ง และอีกเรื่องในตอนนี้คือเรื่อง “อารมณ์จิตของคนเรามันไวยิ่งกว่าลิง” ตอนนี้องค์ที่เมตตาสอนคือหลวงปู่บุดดารายละเอียดเป็นอย่างไรลองอ่านนะครับ พระธรรมในชุดนี้ผมนำมาจากหนังสือธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๕ เดือนมิถุนายน ๒๕๓๖ ตอน ๑ รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกๆท่านครับ

...............................................


เรื่องอารมณ์จิตของคนเรามันไวยิ่งกว่าลิง

ที่มาของพระธรรมเรื่องนี้มีความสำคัญโดยย่อ ๆ ดังนี้ เพื่อนผู้ปฏิบัติธรรมของผม ๒ ท่าน สมมุติชื่อเธอ จอ กับ มอท่านมาร่วมสนทนาธรรมกับผม แล้วผมสังเกตดูความสามารถของเธอทั้งสองต่างกัน มีความดีก็ต่างกัน ตามจริตนิสัยและกรรมที่สะสมกันมาในอดีตชาติ โดยย่อดังนี้

๑. จอ มีสมถะภาวนาดี เข้มแข็งแต่วิปัสสนาภาวนาอ่อนมีผลทำให้เมื่อถูกกระทบโดยอายตนะสัมผัสภายนอก (รูป - เสียง - กลิ่น - รส - สัมผัส และธรรมารมณ์) มากระทบกับอายตนะสัมผัสภายใน (ตา - หู - จมูก - ลิ้น - กายและใจ) แล้วมักจะหวั่นไหวไม่มั่นคง จึงทำให้เกิดอารมณ์ ๒ (พอใจกับไม่พอใจ หรือราคะกับปฏิฆะ) ง่าย หรือเป็นอยู่เกือบปกติธรรมดา

๒. มอ สมถะภาวนาก็ดี แต่ยังสู้ จอ ไม่ได้แต่สิ่งสำคัญ คือ วิปัสสนาภาวนา ซึ่งสามารถใช้ตัดกิเลสให้ตายได้ ท่านดีกว่าจอมาก(ตัวสมถะภาวนาไม่สามารถจะฆ่ากิเลสได้ ได้แค่ระงับกิเลสไว้ชั่วคราวเท่านั้น)

๓. จากเหตุผลในข้อ ๒ทำให้ มอ หวั่นไหวต่ออายตนะสัมผัสที่เข้ามากระทบใจเธอมีน้อย เพราะกำลังของวิปัสสนามีมาก เธอจึงจับทุกสิ่งที่กระทบมาพิจารณาเป็นวิปัสสนาได้เมื่อเธอมีปัญญาบารมีดีกว่า จึงทำให้สัจจะบารมีของเธอเข้มแข็งมากตั้งใจจะทำสิ่งใด เธอก็ไม่พลาดในสิ่งที่เธอตั้งใจไว้ 

๔. มอ ใช้อริยสัจเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา หรืออุปสรรคใด ๆ ที่เข้ามากระทบอารมณ์ของเธอ (กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ)

๕. มอ ตื่นเช้าขึ้นมาก็ใช้บารมี ๑๐ ให้เกิดประโยชน์แก่เธอ โดยใช้อธิษฐานบารมีว่า จะทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพานจุดเดียว เป็นต้น

๖. มอ ใช้วิปัสสนาญาณ ๙ ข้อที่ ๑ - ๔ อยู่เป็นปกติ คือ ขั้น ๑ มองทุกสิ่งในโลกล้วนไม่เที่ยง เพราะตกอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์ ขั้น ๒ มองทุกสิ่งในโลกนี้ที่สุดพังหมดไม่มีอะไรเหลือ ขั้น ๓ มองหาทุกข์จากความไม่เที่ยง ทั้งโลกภายนอกและโลกภายใน คือ ขันธโลก หรือขันธ์ ๕ ที่จิตเธออาศัยอยู่ชั่วคราว ขั้นที่ ๔ พิจารณาถึงภัยอันเกิดจากกฎของกรรม ซึ่งตามมาให้ผลกับร่างกายที่จิตเธออาศัยอยู่ ซึ่งไม่มีใครจะหนีภัยตัวนี้พ้นได้ เพราะกฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอ และให้ผลไม่ผิดตัวด้วย เป็นต้น 

๗. ทั้ง จอ และ มอ พูดถึงหลวงปู่บุดดา มอ ว่าหลวงปู่ท่านเมตตาให้เห็นจิตของท่านซึ่งใสเป็นแก้ว ข้างในมีลิงตัวเล็ก ๆ สีขาว แต่ใสเป็นแก้วนั่งอยู่ ลิงขยับหน้าตาแบบลิงอยู่ข้าง ใน น่ารักมาก

เมื่อสนทนากันมาถึงจุดนี้ หลวงปู่บุดดา ท่านก็เมตตามาสอน จอ ว่า

๑. ข้าก็ให้มันเห็นว่า อารมณ์จิตของคนเรามันไวยิ่งกว่าลิง ปุถุชนตามจับลิงไม่ทัน บัดเดี๋ยวส่งออกนอกจิตไปโน่นไปนี่ ทั้งวันทั้งปีไม่รู้เรื่อง มันออกไปตีกับชาวบ้าน กับวัตถุสิ่งของ กับสัตว์ต่าง ๆ อยู่เรื่อย ลิงมันไปไว เพราะ ราคะ - โทสะ - โมหะ มันเข้ามาจูงจมูก ทางอายตนะทั้ง ๖ ไปมีเรื่องกับเขาทั้งปี ทั้งชาติแต่อย่างพระอริยเจ้าเขาอบรมลิง จับลิงมาขังไว้ในจิตได้ตามลำดับ จนในที่สุด ถ้าจิตใสเป็นแก้วอย่างข้านี้ ลิงมันก็เคลื่อนไหวได้ คือมีอารมณ์รับรู้ธรรมภายนอกที่มากระทบ

๒. เอ็งอย่าว่าพระอรหันต์ไม่มีอารมณ์ไม่ได้นารู้แต่รู้อยู่ในจิต ลิงมันรับรู้ แต่ไม่มีกำลังวิ่งออกไปเต้นอยู่นอกจิตมันจะรับรู้อย่างสงบอยู่ในจิต อายตนะ ๖ ยังคงมีวิญญาณสัมผัส รายงานมาให้ทราบตามปกติรูปสวย-รูปไม่สวย เสียงเพราะ - ไม่เพราะ กลิ่นหอม - ไม่หอม รสอร่อย - ไม่อร่อย กายสัมผัสดี - ไม่ดีรู้หมด ไม่ใช่ไม่รู้ มันรู้ดีเสียด้วยซิ ตาเห็นรูป เห็นตามปกติ เพราะตาท่านไม่บอด หูไม่หนวก จมูกไม่ตัน ลิ้นไม่พิการ ร่างกายก็ปกติ รู้เท่าที่อายตนะสัมผัสยังดีอยู่ รู้ตามกำลังของอายตนะนั้นและรู้ด้วยจิตหมดอุปาทานหมดไฟราคะ-โทสะ-โมหะปรุงแต่งลิงหรืออารมณ์ของจิตมันก็หลอกเราไม่ได้ จึงออกไปอาละวาดไม่ได้ หมดเรื่องพอดี ๆ (จอคิดอยากมีอารมณ์หมดเรื่องพอดีอย่างหลวงปู่บ้าง)

๓. ก็เอ็งก้มหน้าก้มตาขังลิงเข้าไว้ซิ อย่าปล่อยให้มันถูกจูงจมูกเพ่นพ่านออกไปข้างนอกจิตให้มากนักขยันตามจับมันกลับมาให้บ่อย ๆ อย่าปล่อยให้ลิงมันวิ่งไปตามไฟราคะ - โทสะ - โมหะให้มากนัก ถ้ามันดื้อก็ลงแส้ ลงศอกเข้ากับมันให้บ้าง หนัก ๆ เข้ามันก็จะหมดฤทธิ์ วิ่งช้าลง ๆ ตามลำดับ อย่าขี้เกียจตามลิงสักวันหนึ่ง ถ้าเอ็งไม่ทิ้งความเพียร เอ็งก็จะจับลิงขังไว้ในจิตได้อย่างข้านี่แหละ

 



เรื่องประมาทในความตายเสียอย่างเดียว


เท่ากับประมาทในธรรมทุกอย่าง

ในคืนวันนั้น สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตามาสอน จอ มีความสำคัญดังนี้

๑. เจ้าดูตัวอย่างความเพียรของ มอ ไว้ให้ดี จงหมั่นคำนึงถึงอารมณ์อันเด็ดเดี่ยวของเพื่อนร่วมเส้นทางของพระโยคาวจรของเธอเอาไว้ เพื่อให้เกิดหิริ-โอตตัปปะขึ้นในจิต ละอายในความชั่ว ความขี้เกียจคือความชั่วการทำจิตให้ไม่มีกำลังคือความชั่ว จึงพึงละความชั่วนี้ให้ออกไปจากจิต มีความละอายที่พระท่านช่วยสงเคราะห์มากมาย

๒. เจ้ายังทำอารมณ์ใจได้ไม่เท่าเขา จึงเท่ากับเจ้ายังมีความประมาทในชีวิตเป็นอย่างยิ่งเพราะกาลเวลายิ่งล่วงเลยไปมากเท่าไหร่ ความตายก็จักยิ่งใกล้เข้ามาเท่านั้นมัวแต่มีอารมณ์ท้อถอย ทำจิตให้สิ้นความเพียรอยู่เนือง ๆ แล้วเมื่อไหร่จักถึงจุดหมายปลายทางที่มุ่งหวังไว้

๓. ประมาทในความตายเสียอย่างเดียว เท่ากับประมาทในธรรมทุกอย่างนักปฏิบัติที่แท้จริงเขาไม่หวังผลพรุ่งนี้ มะรืนนี้เขาเอามรรคเอาผลกันที่ขณะจิตนี้กาลเวลาอื่น ๆ สำหรับผู้เอาจริงในธรรมปฏิบัติ เขาไม่มีเวลา มีอยู่เวลาเดียว คือ ขณะจิตนี้

๔. หมั่นคิดถึงขณะจิตนี้ หรือธรรมในปัจจุบันนี้ให้มาก ๆ อย่าปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ พิจารณาธรรมด้วยศีล - สมาธิ - ปัญญา ให้รู้เท่าทันความจริงในธรรมสัมผัสนั้น ๆ

รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
.....................................


ที่มาของข้อมูล
ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๕ เดือนมิถุนายน ๒๕๓๖ ตอน ๑
หนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น ทุกเล่ม
หาข้อมูลศึกษาได้จาก.......
http://www.tangnipparn.com/page_book_all.html>
ต้องขอโมทนาทุกท่านที่ช่วยเผยแพร่ผลงานของพระพุทธเจ้าหรือหลวงพ่อในทุกรูปแบบทั้งทางหนังสือและอินเตอร์เน็ต ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกๆท่านครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-16 20:05:12


ความคิดเห็นที่ 4 (1571549)

 พวกเจ้าฟังพระธรรมคำสั่งสอนมาแล้วเป็นแสนๆ องค์
พระพุทธเจ้าองค์ปฐม
............................
ข้อความนี้เป็นพระธรรมที่พระพุทธเจ้าองค์ปฐมทรงเตือนคุณหมอและสหายธรรมของท่าน พวกเจ้าฟังพระธรรมคำสั่งสอนมาแล้วเป็นแสนๆ องค์ พระธรรมที่นำเสนอในชุดนี้ มีความประทับใจทุกตอนเช่น ถ้าตั้งใจทำจริงๆ ไม่มีอะไรที่จักยาก,การต่อสู้กับกิเลสต้องรู้วิธีต่อสู้ด้วยมัชฌิมาปฏิปทาของร่างกาย,เรื่องกิจของงานทางโลก ให้ทำไปเรื่อยๆ ในทางสายกลาง,เวลานี้ให้ดูที่อารมณ์ของจิตตัวเดียว ดูความเลวของตนเองมิใช่ให้ดูความดีเป็นต้น พวกเราโชดดีมากที่มีโอกาสศึกษาพระธรรมด้วยภาษาไทยปัจจุบัน เพียรกันให้มากนะครับ สิ่งนี้หาได้ยากในโลก พระธรรมชุดนี้ผมนำมาจาก ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๗ กรกฏาคมตอน ๓ รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน เช่นเคย


...............................................



ไม่ต้องไปห้ามใคร ให้ห้ามใจตนเอง





สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอน โดยให้หลักไว้ดังนี้
๑. ให้เก็บแต่สิ่งที่ดีสำหรับสิ่งเลวๆ จงตัดทิ้งไป วางอารมณ์ให้ลงตัวธรรมดา

๒. กระทบกับสิ่งใด แล้วรู้ว่าไม่เที่ยง - เป็นทุกข์ ก็จงอย่ายึดสิ่งนั้นมาเป็นอารมณ์

๓. ไม่เพียงแต่วัตถุเท่านั้น แม้คนหรือสัตว์มาแสดงความโกรธ - โลภ - หลง แสดงอารมณ์ให้เห็นว่ามีความพอใจหรือไม่พอใจออกมาทางกาย - วาจา - ใจก็จงเห็นเป็นธรรมดาของคนและสัตว์นั้นๆ ซึ่งเขาก็แสดงออกมาถึงความไม่เที่ยงแห่งจิต ที่ยังตัดสังโยชน์ ๑๐ ประการไม่ได้หมดสิ้น

๔. จงอย่ายึดการแสดงออกแห่งอารมณ์นั้นๆ ของเขามาเป็นสาระเพราะอารมณ์เขานั้นยังไม่เที่ยง เราไปเกาะติดอยู่กับการแสดงออกของเขา จึงได้ชื่อว่าเกาะทุกข์

๕. จงเห็นเป็นธรรมดาเจ้าเองยังไม่สามารถจักบังคับจิตของตนเองได้ ห้ามไม่ให้มีอารมณ์พอใจหรือไม่พอใจยังไม่ได้หรือไฉนจึงจักไปห้ามคนอื่นหรือสัตว์อื่นไม่ให้มีอารมณ์ได้เล่า

๖. เพราะฉะนั้น จึงพึงลงความเห็นเป็นตัวธรรมดาให้มากๆใครจักนินทาหรือสรรเสริญ ก็เป็นเรื่องธรรมดา เราไปห้ามปากเขาใจเขาได้อย่างไรกัน เมื่อห้ามไม่ได้ เพราะเป็นกฎธรรมดาเจ้าก็จงอย่าฝืนกฎธรรมดา ไม่ต้องไปห้ามใคร ให้ห้ามใจของเราเองดีกว่า นั่นแหละเป็นของจริงของแท้

๗. อย่าไปห้ามคนอื่นให้ฝืนกฎธรรมดาของชาวโลก พวกเจ้าปรารถนาอยากจักเข้าพระนิพพาน จักต้องห้ามกาย-วาจา-ใจของตนเอง ไม่ให้ชั่วไปในสังโยชน์ ๑๐ ประการ ค่อย ๆ ทำไป ถ้าตั้งใจทำจริงๆ ไม่มีอะไรที่จักยาก ขอให้ทำให้จริงก็แล้วกัน


 


ให้ดูอารมณ์จิตตัวเดียว ดูแต่ความเลวของตนเอง

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

๑. กิจ ๒ ประการที่ต้องจำไว้ให้ดี ๆ คือ เรื่องกิจของงานทางโลก ให้ทำไปเรื่อยๆ ในทางสายกลาง ใครจักว่าอย่างไรก็ช่างเขา ให้ถือเอาเจตนาบริสุทธิ์เป็นหลักสำคัญกับเรื่องกิจของงานทางธรรม ซึ่งทำที่จิตเพื่อพระนิพพานจุดเดียวปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนเพื่อความหลุดพ้นหรือพ้นทุกข์เป็นครั้งสุดท้าย เป็นชาติสุดท้าย ในทางสายกลางเช่นกัน

๒. เวลานี้ให้ดูที่อารมณ์ของจิตตัวเดียว ดูความเลวของตนเองมิใช่ให้ดูความดี ถ้าระมัดระวังความเลวไม่ให้เกิดขึ้นในจิตได้เพียงประการเดียว ความดีก็จักเกิดขึ้นได้โดยง่ายเพียงแต่บังคับจิตให้คิดอยู่ในกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง หรือ มหาสติปัฎฐาน ๔ กองใดกองหนึ่งก็ย่อมได้ตลอดเวลา สำคัญคือต้องใช้อารมณ์ให้เป็นมวย ต้องรู้เท่าทัน มีชั้นเชิงชกให้เป็น

๓. การต่อสู้กับกิเลส มิใช่จักมานั่งประมาทเฉยๆ นั้นก็ชนะกิเลสไม่ได้ จักต้องรู้วิธีต่อสู้ด้วย โดยใช้จริตหกนั่นแหละเป็นอาวุธ หากใช้เป็น ผลที่ได้รับก็คือมีแต่ชัยชนะลูกเดียว

๔. อย่าสนใจร่างกายจนเกินพอดี บางคนห่วงกาย ปรนเปรอร่างกายจนเกินพอดี เป็นการเพิ่ม สักกายทิฎฐิ มิใช่ลด สักกายทิฎฐิ แต่บางคนก็ไร้ปัญญาเบียดเบียนร่างกายจนเกินไป แม้กายจักหิว - กระหายก็ไม่ให้กิน ไม่ให้ดื่ม ทั้งๆ ที่พระตถาคตเจ้าทุกๆ พระองค์ อนุญาตให้บริโภคเภสัชทั้ง ๕ ได้ในยามวิกาล รวมทั้งน้ำปานะด้วย(เภสัชทั้ง ๕ มีนมสดนมส้มหรือนมเปรี้ยวเนยแข็งเนยเหลว คือพวกน้ำมันจากพืชและสัตว์น้ำผึ้ง - น้ำอ้อย - น้ำผลไม้ที่ลูกเล็กกว่ากำปั้นมือคนโบราณ)

๕. บางคนป่วยแต่ไม่ยอมรับการรักษาคิดว่าตนเองทนสู้โรคได้ ทั้งๆ ที่เป็นความโง่ หลงผิด รู้เท่าไม่ถึงการณ์ นี่ตถาคตมิได้ตรัสเพื่อให้พวกเจ้าไปตำหนิพระ เพียงแต่ตรัสเพื่อเป็นอุทาหรณ์เตือนใจแก่พวกเจ้า ให้รู้เท่าทันสภาวะของร่างกายตามปกติอย่าฝืนโรคจนเกิดเป็นภัยเบียดเบียนตนเอง ในขณะที่ร่างกายมันยังทรงชีวิตอยู่ ให้รู้จักรักษาร่างกายไว้ เพื่อไม่เป็นที่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้มากจนเกินไป

๖ . การรู้เท่าทันสภาวะตามความเป็นจริงของร่างกายเสมือนหนึ่งเราได้เรียนรู้สภาวะของอักขระ พยัญชนะของตัวหนังสือ เราเข้าใจตามความเป็นจริงก็อ่านออกเขียนได้ มีความเข้าใจไม่ผิดพลาดฉันใด ร่างกายนั้นก็เช่นเดียวกันเราเรียนรู้ว่ามันเสื่อมมันพร่องลงไปทุกวัน มันอยู่ได้ด้วยสันตติ เราก็เรียนรู้สันตตินั้น เห็นความเกิด - แก่ - เจ็บ - ตาย เป็นของธรรมดา

๗. เมื่อยังไม่ตาย ร่างกายมันก็มีเวทนาทุกวัน เราก็มีหน้าที่บรรเทาทุกเวทนาให้มันทุกวัน แต่เพียงพอดี นี่ก็เข้าหลักเหมือนกัน พระตถาคตเจ้าทุก ๆ พระองค์ สอนเหมือนกันหมด เรื่องทางสายกลางคือความพอดีไม่เบียดเบียนทั้งกาย วาจา ใจ ของตนเองและผู้อื่น ศีล สมาธิ ปัญญา กำหนดลงอยู่ตรงนี้เช่นกัน บุคคลผู้สิ้นความเบียดเบียนทั้งกาย วาจา ใจ คือ ผู้เข้าถึงอรหัตผล

๘. ตัวอย่างธรรมะมีให้พวกเจ้าเห็นอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าคนหรือสัตว์ วัตถุธาตุ สุดแล้วแต่พวกเจ้าจักเห็น หรือสามารถนำมาพิจารณาลงในแง่ไหนได้เท่านั้นเองพยายามเลิกเบียดเบียนตนเองเสียให้ได้ โดยใช้สังโยชน์เป็นหลักปฏิบัติหมั่นถามจิตตนเองว่า การคิด การพูด การกระทำในทุก ๆ ขณะจิตนั้น เบียดเบียนตนเองหรือไม่ จักต้องศึกษาให้ได้โดยละเอียด

๙. อย่าลืมธรรมะทุกข้อจักต้องเกิดขึ้นกับตนเองก่อน จึงจักเป็นของแท้ตนเองจักต้องเลิกเบียดเบียนตนเองก่อน จึงจักเลิกเบียดเบียนบุคลอื่นได้ พรรษานี้จักทำความเพียรได้สักแค่ไหน พวกเจ้าทั้งสองจงถามจิตตนเองดู อายุล่วงไปใกล้ความตายเจ้าไปทุกที ยังจักประมาทกันอยู่อีกหรือ มีสติไม่ตั้งมั่น สัมปชัญญะไม่แจ่มใส จำได้บ้าง เพียรได้บ้าง ลืมเสียบ้าง เผลอปล่อยความเพียรเสียมากเพราะอ่อนใน อานาปาสัสสติ กันทั้ง ๒ คน ชอบให้อารมณ์อื่น ๆ มาแย่งเวลาของการเจริญพระกรรมฐานไปเสียมากต่อมาก เหมือนคนไม่ตั้งใจทำจริง จึงดูคล้ายกำลังใจไม่เต็มกระนั้น นี่จงอย่าโทษใครให้โทษใจตนเองที่ไม่ใคร่จักเตือนตนให้เดินตรงทาง

๑๐. พวกเจ้ายังมีอารมณ์ขี้เก็บ ชอบเก็บทุกข์เอาไว้ไม่ยอมวางจิตคนช่างจดจำอยู่แต่ความชั่วดีแท้ ๆ คำด่า คำนินทาใครว่ามาหลายสิบปียังอุตส่าห์เก็บเอามาจำได้ ไม่ใคร่จักลืม ต่างกับคำสอนของตถาคตเจ้า พวกเจ้าฟังแล้วไม่ใคร่จักจำนี่แต่ละรายไม่ได้พบพระพุทธเจ้ามากันน้อยๆ นะ พบกันมาแล้ว ฟังพระธรรมคำสั่งสอนมาแล้วเป็นแสนๆ องค์ แต่ก็ไม่ค่อยจักจำไม่นำมาประพฤติปฏิบัติให้เกิดผลอย่างนี้กันมาโดยตลอด พวกเจ้าไม่เสียดายกาลเวลากันบ้างหรือ เกิดตายๆ ทนทุกข์อยู่ในวัฏฏะสงสารอย่างนี้ดีหรือ (ก็ยอมรับว่าไม่ดี) รู้ว่าไม่ดี ก็จงพยายามทำให้พ้นจากความไม่ดีนี้ ไม่มีใครช่วยพวกเจ้าได้ พวกเจ้าแต่ละคนจักต้องช่วยตนเองให้พ้นทุกข์ คิดถึงจุดนี้เอาไว้ให้ดีๆ

 



วิธีรักษาโรคเหนื่อยใจ

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

๑. ขณะใดจิตเหนื่อยใจ มีความอ่อนใจ ไร้กำลังต่อต้านกิเลส ขณะนั้นไม่สมควรใช้อารมณ์คิด ให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเป็นกรณีสำคัญ จักช่วยให้หายเหนื่อยใจได้

๒. อย่าลืม อานาปานัสสติ นอกจากระงับกายสังขาร คือ ระงับทุกขเวทนาแล้ว ก็ยังระงับอารมณ์ฟุ้งซ่าน นิวรณ์ทั้ง ๕ ประการ ก็สามารถระงับได้ชั่วคราว

๓. จงหมั่นเรียนรู้ประโยชน์ของ อานาปานัสสติ ให้มาก และจงหมั่นทำหาความชำนาญใน อานาปานัสสติ ให้มากเพราะจักทำให้จิตมีกำลัง เมื่อถอนออกมาจากฌานแล้ว จักใช้กำลังมาทำวิปัสสนาญาณจักมีปัญญาคมกล้ามาก

 



อากาศธาตุกับธาตุลมต่างกันอย่างไร

สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

๑. อากาศก็คือลมที่เคลื่อนไหวน้อยหรือไม่เคลื่อนไหวเลยถ้าหากมองด้วยตาเปล่า เหมือนกับเรามองสภาพท้องฟ้าที่เวิ้งว้าง ไม่มีเมฆหมอก สภาพที่เราเห็นโล่งๆ เวิ้งว้างนั้นคืออากาศ (ทางโลกเขาพยากรณ์อากาศกันทุกวัน ว่าวันนี้อากาศดี เลว ก็โดยอาศัยดูเมฆและหมอกเป็นหลัก)

๒. แต่ถ้ามีเมฆหมอกถูกลมพัดกระจัดกระจาย เราก็ว่ามีลมบนพัดอยู่ในอากาศหรือท้องฟ้าส่วนนั้น คำว่าธาตุลมก็คือลมที่พัดไหวๆ ลมหายใจที่ไหลเข้าไหลออกตามปกติของร่างกายที่ยังมีชีวิตอยู่ มีการเคลื่อนไหวที่เห็นได้ชัด จึงกำหนดเรียกว่าธาตุลม

รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

...............................
ที่มาของข้อมูล
ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๗ กรกฏาคมตอน ๓

หนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น ทุกเล่ม

หาข้อมูลศึกษาได้จาก.......

http://www.tangnipparn.com/page_book_all.html>
ต้องขอโมทนาทุกท่านที่ช่วยเผยแพร่ผลงานของพระพุทธเจ้า และหลวงพ่อในทุกรูปแบบทั้งทางหนังสือและอินเตอร์เน็ตครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-16 20:06:51


ความคิดเห็นที่ 5 (1571585)

อนุโมทนาครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น คมกริช นามมงคุณ (เบลล์) (komkom-dot-ko-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-16 20:17:23


ความคิดเห็นที่ 6 (1571590)

‎"..ขึ้นชื่อว่าความชั่วที่ทำมาแล้วในกาลก่อน จงอย่าตามนึกถึงมัน นึกถึงความดีที่ทำไว้แล้วเท่านั้น ผลของความดีจะส่ง

 

ผลให้เป็นสุข.."

พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมย
าน 


(หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)

ผู้แสดงความคิดเห็น ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-16 20:20:09


ความคิดเห็นที่ 7 (1571596)

  คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

เกาะสุขก็เป็นทุกข์ เพราะสุขทางโลกก็ไม่เที่ยง หากไม่เข้าใจจุดนี้ จิตก็จักมีอุปาทาน หลงแสวงหาสุขที่ไม่เที่ยงนั้นๆ

 

ซึ่งต่างกับสภาวะจิตที่

เข้าถึงพระนิพพาน

 

ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่เกิด ไม่ดับ เป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง

ผู้แสดงความคิดเห็น ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-16 20:21:48


ความคิดเห็นที่ 8 (1571605)

 สำหรับ กรรมบถ ๑๐ ที่บอกแล้วว่ามีทั้งศีลและธรรม ศีลก็คือว่าศีลข้อที่ผ่านมาแล้วฝ่ายธรรมชัดๆ

 

ก็คือ มโนกรรม ที่ไม่อยากได้ทรัพย์สมบัติของใครอย่าง

 

หนึ่ง ไม่พยาบาทจองล้างจองผลาญอย่างหนึ่ง มีความเห็นถูกตามพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอย่าง

 

หนึ่ง ความจริงธรรมทั้ง ๓ ประการนี้ถ้าอย่าง

 

อ่อน ๆ ก็เป็น  พระสกิทาคามี ถ้าปฏิบัติได้อย่างกลางๆ ก็เป็นอนาคามี ถ้าปฏิบัติได้อันดับสูงสุด เป็น

 

อรหันต์เลย ธรรมะ ๓ ประการนี้ไม่ใช่ของเล็กน้อย หนักมาก ใหญ่มาก มีคุณมีประโยชน์มาก.."


(หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)

ผู้แสดงความคิดเห็น ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-16 20:24:21


ความคิดเห็นที่ 9 (1571608)

 หนักใจอะไร จะนินทาสักเท่าไหร่ก็ตาม ก็แก่ลงไปทุกวัน ใครเขาสรรเสริญยังไงก็ตาม ก็ยังแก่ลง

ทุกวัน นินทาก็แก่ สรรเสริญก็แก่ ฉะนั้น คำนินทาและสรรเสริญทั้ง ๒ ประการนี้ ท่านพุทธบริษัท

 

องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ทรงแนะนำว่า จงอย่าถือเอาเลยทั้ง ๒ อย่าง.."

พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมย
าน 
(
หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)

ผู้แสดงความคิดเห็น ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-16 20:25:56


ความคิดเห็นที่ 10 (1571612)

 อย่าไปคิดตำหนิใคร ให้ตำหนิใจของตนเองก่อน และอย่าไปคิดแก้ไขกิเลสของใคร ให้คิดแก้ไขกิเลสของตนเองก่อน


 

ท่านบอกว่าการพิจารณาหาความทุกข์ให้มองดูอาหารเป็นสำคัญ ว่าข้าวที่เรากินเข้าไปหนึ่งคำนี่ เอาเฉพาะข้าวอย่าง

 

เดียวยังไม่ถึงกับข้าว ท่านถามว่ามัน


 

มาจากความสุขหรือความทุกข์.."

 

เราเกิดมาเพื่อประสบกับความทุกข์ คนที่เกิดมาแล้วทุกคนจะไม่มีทุกข์เป็นไม่มี ถ้าหากว่าเรายังยึดถือว่า ร่างกายเป็น

 

 

ของเรา ทรัพย์สินเป็นของเรา ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเป็นของเราอารมณ์ทุกข์มันก็เกิด เกิดเพราะว่าเราเกาะ ที่เรียกว่า

 

อุปาทาน.." 


อย่าเหนื่อยใจ เหนื่อยกายช่างมัน เพราะเป็นธรรมดาของการมีขันธ์ ๕ จักต้องเหนื่อยเช่นนี้ แต่การเหนื่อยใจ คือ

 

 

อารมณ์หดหู่ เป็นโมหะจริต จักต้องพยายามระงับอย่าให้อารมณ์นี้กำเริบอยู่นาน


.ถ้าเราเกิดแล้วเราก็ต้องทุกข์ ถ้าเราตายไปแล้วจะต้องเกิดใหม่ มันก็เป็นทุกข์อีก การที่เราจะหนีความทุกข์ ที่เรามา

 

 

ปฏิบัติความดีกันนี่เรามาปฏิบัติเพื่อหนีทุกข์ เราจะพ้นจากความทุกข์ได้ ก็ต้องถึงพระนิพพานเป็นสำคัญ แต่ถ้าขณะ

 

ใดที่จิตใจของเรา ยังเข้าไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด เราก็เป็นผู้ไม่พ้นจากความทุกข์ การที่จะทำจิตใจของเราให้เข้า

 

 

ถึงพระนิพพาน มันก็เป็นของไม่ยาก...พยายามตัดอารมณ์ของความชั่วให้หมด


จงมีความรู้สึกอยู่เสมอว่า ถ้าเรายังไม่เป็นพระอรหันต์เพียงใด ในเวลานั้นก็ชื่อว่าเรายังไม่เป็นคนดี...เราจะพยายาม

 

 

เก็บความชั่วทุกอย่างที่มันขังอยู่ในจิต ทำลายให้มันตายสนิท อย่าให้เกิดขึ้นมา เมื่อกิเลสคือความชั่วตายหมด ชื่อว่า

 

 

จิตว่างจากความชั่ว จงทรงไว้แต่ความดี และก็ว่างจากความทุกข์ จะทรงไว้แต่เพียงความสุขอย่างเดียว หวังว่าลูกรัก

 

 

ของพ่อคงจำไว้.


 

หัวใจการเจริญพระกรรมฐาน

 



ให้ระงับความคิด 

 


ที่จะไปนั่งเพ่งเล็งชาวบ้านเขา คนนั้นดี คนนี้เลว 



ดูใจเราเฉพาะ เท่านั้น

 

 

ว่าใจของเรามันดี หรือว่าใจของเรามันเลว 

 


ใช้สติสัมปชัญญะควบคุม 

 

 

ให้มีศีลบริสุทธิ์ ระงับนิวรณ์ห้าประการได้ทุกขณะ ทรงพรหมวิหารสี่


 

 คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

 



ทำงานทุกอย่าง อย่าหวังผลตอบแทน ให้มุ่งตัดกิเลสเป็นสำคัญ การทำงานไม่หวังผลตอบแทน จิตก็จักสงบเยือกเย็น

 

 

ไม่เร่าร้อนไปด้วยอารมณ์กิเลส ทำด้วยจิตเป็นสุข ทำเต็มความสามารถ เพื่อเป็นพุทธบูชา-ธรรมบูชา-สังฆบูชา

 

 

ทำอย่างนี้ไปพระนิพพานได้ง่าย


 

 อย่าคิด อย่ามองคนอื่นในแง่ไม่ดีเด็ดขาด เขาจะดีจะชั่วก็เป็นเรื่องของเขา ต่างก็มีกรรมเวรเป็นของตน ไม่ต้องสนใจ

 

 

ใคร หากสนใจความไม่ดีของคนอื่น ระวังตัวเราเองอาจจะต้องลงอเวจี ปฏิบัติมาถึงป่านนี้แล้วใครทำไม่ดีกฎของกรรม

 

 

งโทษเอง...   ระวังจิตของเราให้ดีที่สุด ทำจิตให้สะอาด เอาจิตที่ดียกไปไว้บนพระนิพพาน มีพระบรมศาสดาสัมมาสัม

 

 

พุทธเจ้าอยู่ในใจตลอดเวลาที่มีลมหายใจเข้าออก .."


 

การเจริญพระกรรมฐานที่จะให้ได้ดี 


ไม่ใช่ว่าเราจะตั้งหน้าตั้งตาทำ
แต่สมาธิอย่างเดียว

 

 
หรือว่าจะทำแต่วิปัสสนาญาณอย่าง
เดียว..ถ้าทำแบบนี้ไม่มีผล 


การที่จะปฏิบัติให้มีผลจริงๆ นั่นก็คือ ต้องมีอารมณ์สำรวมอยู่เสมอ

 


คำว่าสำรวม ก็ได้แก่ การระมัดระวัง คือ..


หนึ่ง ระวังศีล อย่าให้บกพร่อง 

 


สอง ระวังสมาธิ อย่าให้เคลื่อน 

 


สาม ระวังปัญญา อย่าให้ใช้ไปในด้านของอกุศล 




ถ้าท่านทั้งหลายระวังอยู่อย่างน
ี้เป็นปรกติ...ผลแห่งการปฏิบัติไม่เป็นของยาก


คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

 


อย่าลังเลใจในการประกอบคุณงามคว
ามดี ทำเท่าที่จักทำได้ อย่าคิดว่าจักไม่มีผล เพราะบุญทำให้จิตเยือกเย็น

 

 

มีความสุข คบกับบุญดีกว่าคบกับบาป 

 

ในขณะเดียวกันการทำบุญเพื่อบูชาพระคุณของท่านฤๅษี ยิ่งมีค่าหาประมาณมิได้ แต่จุดใหญ่คืออย่าลืมปฏิบัติบูช

 

 

ำเพื่อให้จิตเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน คือ ชำระจิตให้พ้นจากอำนาจของกิเลส นั่นแหละถือเป็นพุทธบูชา ธัมมบูชา สังฆ

 

 

บูชา อย่างแท้จริง เป็นสุขที่สุดเนื่องจากจิตบริสุทธิ์ วิมุติพ้นจากอำนาจของกิเลสทั้งปวง เป็นสุขที่ไม่อิงอามิสใดๆ ทั้งหมด

ผู้แสดงความคิดเห็น ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-16 20:40:08


ความคิดเห็นที่ 11 (1571613)

สามารถอ่าน ได้ที่  http://www.facebook.com/BuddhaSattha


ธรรมเพื่อความหลุดพ้น จากพระนิพพาน  http://www.tangnipparn.com/


วัดท่าขนุน http://watthakhanun.com/webboard/forumdisplay.php?f=43


ผมคงลงไม่หมดหรอกนะครับ ต้องศึกษาตามอัธยาศัย ถ้ามีเวลา จะมาลงใหม่คร๊าบ ^^


โมทนาบุญกุศลทั้งหมดตั้งแต่ตั้นจนถึงนิพพานซึ่งกันและกัน ครับ


สาธุ


 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทศวรรษ ฉิมวงศ์ (amilk_tza-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-16 20:57:01


ความคิดเห็นที่ 12 (1571645)

สาธุ ขออนุโมทนาครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น วีร์พสุตม์ ลิ้มสกุลภักดี (เอิ้น) (weepasuth-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-16 21:10:07


ความคิดเห็นที่ 13 (1571836)

ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ  สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น รัตนา จันทร์อ่อน (pouging1-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-17 14:12:32



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.