ReadyPlanet.com


การไหว้พระ บูชาพระ‏


การไหว้พระ บูชาพระ‏
 

 

 

 


การไหว้พระนั้น มีอยู่ ๔ อย่างคือ

๑. ลาภวันทนา ไหว้เพราะอยากได้ลาภ

๒. ภยวันทนา ไหว้เพราะกลัวภัย

๓. กุลาจารวันทนา ไหว้ตามจารีตประเพณี

๔. อภิวันทนา ไหว้พิเศษยิ่ง โดยระลึกถึง ศีล สมาธิ ปัญญา ระลึกถึงพระรัตนตรัยจริง ๆ



การบูชานั้นมีอยู่ ๒ อย่างคือ


๑. อามิสบูชา บูชาด้วยสิ่งของ

๒. ปฏิบัติบูชา บูชาด้วยการปฏิบัติ แบ่งเป็น ๓ อย่างคือ

๑. ขั้นต่ำ ได้แก่ให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม เรียนธรรม ไหว้พระ สวดมนต์ป็นต้น

๒. ขั้นกลาง ได้แก่เจริญสมถกรรมฐาน

๓. ขั้นสูง ได้แก่เจริญวิปัสสนากรรมฐาน



เพราะ ฉะนั้น การไหว้พระบูชาพระนับเป็นบุญเป็นกุศล มีผลให้ไปเกิดเป็นมนุษย์และเทวดาได้ในเมื่อแตกตายทำล ายขันธ์ไปแล้ว ถึงผู้นั้นจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม เมื่อทำลงไปอย่างนี้ ย่อมได้บุญอยู่ อุปมาเหมือนกับนาที่มีดินดี เวลาจะปลูกข้าวลงไป เราจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ข้าวของเราต้องงามเป็นแน่ เพราะ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นรัตนะ คือแก้วอันประเสริฐแท้ และเป็นเนื้อนาบุญของชาวโลก

 

 

 

 

  พระสงฆ์พุทธสาวกทั้งหลาย ย่อมดำรงอยู่ได้ ด้วยปัจจัยที่ทายกอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายจัดถวาย ตราบใดที่ทายกอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายยังบริจากปัจจัยช่วยอุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์อยู่ พระสงฆ์ก็ยังศึกษาเล่าเรียน

ทรงจำรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้ตราบนั้น

คำอธิษฐานก่อนใส่บาตร

 

เมื่อนั่งกระหย่ง ยกขันข้าวด้วยมือทั้งสองข้างขึ้นเสมอหน้าผากแล้ว ตั้งจิตกล่าวคำอธิษฐานว่า
   ‘ ข้าวขาวเหมือนดอกบัวยกขึ้นทูนหัว ตั้งใจจำนง ตักบาตรพระสงฆ์ ขอให้ทันพระศรีอารย์ ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วบ่วงมาร ขอให้บรรลุพระนิพพาน ในอนาคตกาล เทอญ

  เมื่ออธิษฐานจบแล้ว ลุกขึ้นยืน มือซ้ายถือขันข้าว มือขวาจับทัพพี ( ถ้าคนถนัดซ้าย ก็ถือขันข้าวด้วยมือขวา จับทัพพีด้วยมือซ้าย ) ขักข้าวให้เต็มทัพพี บรรจงใส่ให้ตรงบาตร อย่าให้เมล็ดข้าวหล่นออกมานอกบาตร

  ถ้าเมล็ดข้าวติดทัพพี อย่าเอาทัพพีเคาะกับขอบบาตร กิริยาอาการที่ตักข้าวใส่บาตรนั้น อย่าตักแบบกลัวข้าวสุกจะหมด เพราะมีคำพังเพยอยู่ว่า อย่าแสดงความขี้เหนียวขณะทำบุญ

  ขณะที่ใส่บาตรนั้น อย่าชวนพระสนทนา อย่าถามพระ เช่น ถามว่า ท่านชอบฉันอาหารอย่างนี้ไหม ท่านต้องการเพิ่มอีกไหม ? เป็นต้น เพราะมีคำพังเพยอยู่ว่า ‘ตักบาตรอย่าถามพระ’

  การทำบุญในพระพุทธศาสนา ที่มีผลานิสงส์มาก เช่นการทำบุญใส่บาตรพระสงฆ์เป็นต้น จะต้องประกอบพร้อมด้วยองคุณ ๓ ประการ คือ:-
  ๑. ปัจจัยวัตถุสิ่งของสำหรับทำบุญบริสุทธิ์
  ๒. เจตนาของผู้ถวายบริสุทธิ์ และ
  ๓. พระภิกษุสามเณรเป็นผู้บริสุทธิ์

ปัจจัยวัตถุสิ่งของสำหรับทำบุญบริสุทธิ์

  ความบริสุทธิ์ของปัจจัยวัตถุสิ่งของที่นำมาทำบุญ

นั้นมีลักษณะดังนี้:- 


  ๑. เงินที่จับจ่ายใช้สอยซื้อหาวัตถุสิ่งของเหล่านั้นต้องเป็นเงินที่ได้มาด้วยการะประกอบสัมมาอาชีวะ เกิดขึ้นจากหยาดเหงื่อแรงงานของตนโดยตรง
  ๒. สิ่งของที่นำมาทำบุญนั้นเป็นของบริสุทธิ์ คือ มิได้เบียดเบียนชีวิตคนและสัตว์อื่น เช่น ฆ่าสัตว์มาทำบุญ เป็นต้น
  ๓. วัตถุสิ่งของที่นำมาทำบุญนั้นเป็นของมีคุณภาพดีและเป็นส่วนดีที่สุดในบรรดาสิ่งของที่มีอยู่ เช่น ข้าวสุก ที่นำมาใส่บาตรนั้น ก็เป็นข้าวปากหม้อ แกงก็เป็นแกงถ้วยแรกที่ตักออกจากหม้อ เป็นต้น
  ๔. วัถุสิ่งของนั้นสมควรแก่สมณบริโภค ไม่เกิดโทษแก่พระภิกษุสามเณร และมีประมาณเพียงพอแก่ความต้องการ

 

เจตนาของผู้ถวายบริสุทธิ์

  เจตนา คือ ความตั้งใจของผู้ทำบุญนั้น ต้องบริสุทธิ์ในกาลทั้ง ๔ คือ:-
  ๑. ปุพพเจตนา ความตั้งใจก่อจะทำบุญ มีความเลื่อมใสศรัทธา ไม่มีความตระหนี่ถี่เหนี่ยว ไม่มีความเสียดาย
  ๒. มุญจนเจตนา ความตั้งใจขณะทำบุญ มีความเลื่อใสศรัทธา มีความปลาบปลื้มปีติยินดีในการทำบุญนั้น
  ๓. อปรเจตนา ความตั้งใจหลังจากทำบุญไปแล้ว ภายใน ๗ วัน หวนระลึกถึงการทำบุญที่ล่วงมาแล้ว มีความปีติโสมนัสในบุญกุศลนั้น ไม่มีคววามเสียดาย
  ๔. อปราปรเจตนา ความตั้งใจภายหลังจาก ๗ วันไปแล้วแม้เป็นเวลานาน ๆ หวนระลึกนึกถึงการทำบุญ ครั้งใดก็ปลาบปลื้มปีติโสมนัส

ผลานิสงส์เจตนาบริสุทธิ์

  บุคคลที่ทำบุญด้วยเจตนาความตั้งใจบริสุทธิ์ ทั้ง ๔ กาลดังกล่าวแล้ว ต่อไปในอนาคตเมื่อเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ ย่อมจะมีความสุขความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่เกิดจนตลอดอายุขัยในภพและชาตินั้น

โทษของเจตนาไม่บริสุทธิ์

  ถ้าปุพพเจตนา ความตั้งใจก่อนจะทำบุญไม่บริสุทธิ์ เมื่อเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ เบื้องต้นแห่งชีวิต คือ ตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ ๒๕ ปี จะมีแต่ความทุกข์ยากลำบาก เดือดร้อน จะหาความสุขได้ยาก จะเริ่มมีความสุขความเจริญ ตั้งแต่อายุ ๒๕ ปี เป็นต้นไปจนตลอดอายุขัย

  ถ้ามุญจนเจตนาความตั้งใจขณะทำบุญไม่บริสุทธิ์จะทำให้เกิดความทุกข์ยากลำบากเดือดร้อนตั้งแต่ อายุ ๒๖ ปี จนถึงอายุ ๕๐ ปี หลังจากนั้นจึงจะมีความสุขตั้งแต่อายุ ๕๑ ปี เป็นต้นไป จนตลอดหมดอายุขัย

  ถ้าอปรเจตนา ไม่บริสุทธิ์ คือนึกเสียดาย จะทำให้เกิดความทุกข์ยากลำบากเดือดร้อนตั้งแต่อายุ ๕๑ ปี เป็นต้นไป จนถึงอายุ ๗๕ ปี หลังจากนั้นจะมีความสุขจนตลอดอายุขัย

  ถ้าอปราปรเจตนา ไม่บริสุทธิ์ จะทำให้เกิดความทุกข์ยากลำบากเดือดร้อนตั้งแต่อายุ ๗๖ ปี เป็นต้นไปจน ตลอดอายุขัย

  อนึ่ง บุคคลที่ทำบุญให้ทานแล้ว นึกเสียดายในภายหลังคือ อปรเจตนาและอปราปรเจตนาไม่บริสุทธิ์ เมื่อ เกิดในภพใหม่ชาติใหม่ แม้จะเป็นคนร่ำรวยเป็นเศรษฐี แต่ก็เป็นเศรษฐีขี้เหนียวเพราะโทษที่เกิดจากการทำบุญให้ทานแล้วนึกเสียดายในภายหลัง

พระภิกษุสามเณรเป็นผู้บริสุทธิ์

  พระภิกษุสามเณรเป็นผู้บริสุทธิ์นั้น ได้แก่ พระภิกษุสามเณรอันเป็นบุญเขตนั้น เป็นผู้บริสุทธิ์ คือปราศจากราคะ โทสะ โมหะ โดยสิ้นเชิง หมายถึงพระอริยบุคคล หรือ พระภิกษุสามเณรเป็นผู้มีศีลบริสุทธและเป็นผู้กำลังปฎิบัติเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ

  เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้จะทำบุญในพระพุทธศาสนา จึงนิยมพิจารณาเลือกบุญเขตที่เหมาะสม ดังพระบาลีว่า ‘ วิเจยฺยทานํ ทาตพฺพํ วิเจยฺยทานํ สุคตปฺปสฏฐํ’ แปลว่า ‘พึงเลือกให้ทาน การเลือกให้ทาน พระตถาคตเจ้าทรงสรรเสริฐไว้แล้ว’ ดังนี้

วิธีปฎิบัติในการใส่บาตรพระสงฆ์

  เมื่อนำภัตตาหารออกจากบ้าน ไปรอคอยการใส่บาตรอยู่นั้นนิยมตั้งใจว่าจะทำบุญใส่บาตรแก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณรในพระพุทธศาสนา โดยไม่เฉพาะเจาะจงแก่พระภิกษุสามเณรรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อพระภิกษุหรือสามเณรรูปใดผ่านมา ณ ที่นั้น ก็ตั้งใจใส่บาตรแก่พระภิกษุหรือสามเณรรูปนั้น และรูปอื่น ๆ ต่อไปตามลำดับ

  การตั้งใจใส่บาตรแบบไม่เป็นการเจาะจงอย่างนี้มีผลานิสงส์มากกว่าการตั้งใจใส่บาตร โดยเจาะจงแก่พระภิกษุหรือสามเณรรูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะ

  ก่อนใส่บาตรอย่าลืมถอดรองเท้าออกก่อนแล้วลงยืนที่พื้นดินอย่ายืนบนรองเท้าถึงแม้ว่าจะถอดรองเท้าแล้วก็ตาม เพราะจะทำให้ผู้ที่ใส่บาตรจะยืนสูงกว่าพระภิกษุสามเณรที่มารับบิณฑบาต ซึ่งพระภิกษุสงฆ์สามเณรนั้นจะเดินเท้าเปล่ามารับบิณฑบาต จึงเป็นการไม่เหมาะสมที่คฤหัสจะยืนสูงกว่าพระภิกษุสามเณร

 

http://ufokaokala.com/index.php?topic=494.msg30151;topicseen#msg30151



ผู้ตั้งกระทู้ อาริยา รัตนพรศิริ (procoachariya-at-gmail-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2011-06-14 18:39:24


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1552280)

อนุโมทนาบุญในธรรมทานครั้งนี้ด้วยครับ

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทนามิ

ผู้แสดงความคิดเห็น วิจิตร เขตเจริญ (jit7777-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-06-15 14:07:16


ความคิดเห็นที่ 2 (1552330)

อนุโมทนาสาธุค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น Pattanan (pattanan_ya-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-06-15 19:20:54


ความคิดเห็นที่ 3 (1552603)

ขออนุโมทนาบุญในธรรมทานด้วยค่ะ  สาธุ  สาธุ  สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น รัตนา จันทร์อ่อน (pouging1-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-06-17 11:32:30


ความคิดเห็นที่ 4 (1552735)

 ขออนุโมทนาบุญในธรรมทานค่ะ สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น วราภรณ์ หล่าบรรเทา (iceteaza-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-06-17 23:08:51


ความคิดเห็นที่ 5 (1552770)

อนุโมทนาค่ะคุณ อาริยา

 

และถึงคุณ Pattanan ค่ะ ขอให้คุณปฏิบัติตามกฏ ของเว็บบ้านสวนฯ

ตามที่เบื้องบนและอ.อุบลได้กำหนดไว้ด้วยค่ะ

ว่าให้ใช้ชื่อที่แสดงในเว็บไซต์เป็นชื่อและนามสกุล

เป็นภาษาไทยอย่างครบถ้วน ถ้าสามารถเปลี่ยนชื่อ

และสกุลเป็นภาษาไทยได้ ก็"เปลี่ยน"เถอะนะคะ 

 

และฝากถึงทุกๆท่านที่เข้ามาเยือนเว็บไซต์นี้ทุกๆท่านนะคะ

ว่าขอให้เปลี่ยนทันที เพราะท่านพระยายมราช ก็ได้เมตตามาเตือน

อีกครั้งแล้วเมื่อวันก่อน...

มิเช่นนั้น ก็กรรมใคร กรรมมัน

พวกเรา..ก็พยายามเตือนทุกคนและทุกครั้งที่เจอแล้ว

แต่ก็ยังมีคนที่เพิกเฉยและไม่ปฏิบัติตามอยู่...เนืองๆ

แต่ยังไง..ก็จะเตือนกันไปเรื่อยๆ แบบนี้แหล่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ชนิดา เชิงสะอาด/CHANIDA ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-06-18 06:00:35


ความคิดเห็นที่ 6 (1553005)
ความโกรธ เกิดจากความคิดปรุงแต่ง
(สมเด็จพระญาณสังวรฯ)



ความปรุงใจเป็นสิ่งสำคัญ

ทำความรู้ความเข้าใจใน

เรื่องความปรุงของใจเสียก่อน

ให้เห็นแน่ชัดเสียก่อนว่า

ความโกรธหรือไม่โกรธ

ไม่ได้เกิดจากเสียงภายนอก

ที่มากระทบประสาทหู

แต่ ความโกรธ หรือ ไม่โกรธ ชอบ หรือ ไม่ชอบ

เกิดจากความปรุงคิดแท้ๆ

ความปรุงคิดของในเรานี้แหละ

ที่ทำให้เกิดความชอบหรือไม่ชอบ

ความโกรธหรือไม่โกรธ

เมื่อความชอบหรือไม่ชอบ

โกรธหรือไม่โกรธเกิดได้เพราะความปรุงคิด

จึงมิได้เพราะบุคคลภายนอก  

แต่

เกิดจากตัวเองเท่านั้น

ตัวเองนี้แหละเป็นเหตุให้ชอบหรือไม่ชอบ

โกรธหรือไม่โกรธ

เวลาเกิดความไม่ชอบหรือความชอบ

ความโกรธก็เกิดขึ้นจึง

ควรมีสติรู้ว่าตนเองเป็นผู้ทำให้เกิด

ไม่มีผู้อื่นมาทำ เมื่อใจไม่ส่งออกไป

โทษผู้อื่นว่าเป็นเหตุ ใ

จรับความจริงว่าตนเองเป็นเหตุ

ความโกรธก็จะลดน้อยถึงหยุดลงได้

สำคัญต้องมีสติรู้ว่าความโลภ

ความโกรธ ความหลง

เกิดขึ้นเพราะความปรุงใน

จิตใจของเราเอง

มิได้เกิดขึ้นเพราะบุคคล

หรือวัตถุภายนอก

นี่พูดถึงเมื่อความโกรธเกิดขึ้นแล้ว

ให้ดับด้วยการมีสติรู้ความจริง

ว่าตนเองเป็นผู้ทำ

แต่ถ้าพูดถึงการป้องกัน

มิให้ความโกรธเกิด

จะต้องฝึกให้สติเกิดเร็วขึ้นอีก

และดังกล่าวแล้วในตอนต้น ๆ

จะต้องฝึกให้เกิดเหตุผลและปัญญา

รวมทั้งเมตตากรุณาด้วย

การฝึกในเรื่องเหล่านั้นจำเป็นต้องทำเมื่อความโกรธยังไม่เกิดขึ้นในจิตใจ

หรือเมื่อเกิดแล้วแต่ดับแล้ว

เมตตากรุณา

เป็นความรู้สึกตรงกันข้ามกับความโกรธ

ผู้ที่มีเมตตากรุณาในผู้ใดอยู่

ความโกรธในผู้นั้นจะเกิดไม่ได้

เพราะเมตตาหมายถึง

ความปรารถนาให้เป็นสุข

กรุณาปรารถนาจะช่วยให้พ้นทุกข์

เมื่อมีความรู้สึกดังกล่าวอยู่ในใจ

ความโกรธย่อมเกิดไม่ได้เป็นธรรมดา

การเจริญเมตตา

จึงเป็นการแก้ความโกรธที่ได้ผล

ผู้เจริญ เมตตาอยู่เสมอ

เป็นผู้ไม่โกรธง่าย

ทั้งยังมีจิตใจเยือกเย็นเป็นสุข

ด้วยอำนาจของเมตตาอีกด้วย

ผู้ใดรู้สึกว่าจิตใจเร่าร้อนนัก

เมื่อเจริญเมตตาจะได้รู้สึกว่าเมตตามีคุณแก่ตนเองเพียงไร

แม้เมื่อเจริญเมตตาจะปรารถนา

ให้ผู้อื่นเป็นสุข

แต่ผู้จะได้รับผลแห่งความสุข

ก่อนใครทั้งหมด

คือตัวผู้เจริญเมตตาเอง

เช่นเดียวกันการคิดดีพูดดีทำดีทุกอย่าง

ผู้ที่ได้รับผลของความดีก่อนใครทั้งหมด

คือตัวผู้ทำเอง

และได้รับผลของความดี

มากกว่าใครทั้งหมดก็คือตัวผู้ทำเอง

จึงควรคิดดูน่าจะคิดดี

พูดดีทำดีกันเพียงใดหรือไม่

 

: ฝึกใจไม่ให้โกรธ
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก




 


 

ผู้แสดงความคิดเห็น อาริยา รัตนพรศิริ (procoachariya-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-06-20 01:21:00


ความคิดเห็นที่ 7 (1564846)

ขออนุโมทนาในธรรมทานกับคุณอารียา

สวดมนต์เป็นนิจ อธิษฐานจิตเป็นประจำ

อโหสิกรรม ก่อนค่อยแผ่เมตตา

สวดมนต์เป็นยาทา

วิปัสสนาเป็นยากิน

ทั้งกินทั้งทา ท่านจะมีความสุข

สบายมากมายหลายประการ

มีความสุขถึงลูกหลานของท่านทั้งหลาย

จะทำกิจการอะไรก็สำเร็จเสร็จทันเวลา

เช้าแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์

ก่อนนอนแผ่เมตตาให้สรรสัตว์

ตื่นก็นเป็นสุข หลับก็เป็นสุข

ผู้แสดงความคิดเห็น ศุภรัฐ ปานธุเดช ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-08-19 18:15:29


ความคิดเห็นที่ 8 (1564861)

 โมทนาสาธุบุญบารมีที่คุณพี่อาริยาและทุกๆท่านได้กระทำมานะครับสาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น คมกริช นามมงคุณ (เบลล์) (komkom-dot-ko-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-08-19 20:07:05



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.