ReadyPlanet.com


อนุสาสนีปฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์อันเลิศ


อนุสาสนีปฏิหาริย์
 
ปาฏิหาริย์อันเลิศ
 
 
 
ในปาฏิหาริย์ 3 อย่าง
พระพุทธเจ้าทรงโปรด
อนุสาสนีปฏิหาริย์กว่า
ปาฏิหาริย์อื่นอีกสองอย่าง
เพราะอะไร ?
เพราะ
ไม่ใช่ตัวแท้
ของพระพุทธศาสนา
และ
ไม่จำเป็นสำหรับ
การเข้าถึงพระพุทธศาสนา

สิ่งที่เกิดขึ้นด้วย
การเกิดของพระพุทธศาสนา
และ
เป็นตัวพระพุทธศาสนา
คือ
ความรู้ที่ทำให้ดับกิเลส
ดับทุกข์ได้
เรียกชื่ออย่างหนึ่ง
ว่า
อาสวักขยญาณ
แปลว่า
ญาณที่ทำอาสวะให้สิ้นไป
แต่
มนุษย์จะสนใจปาฏิหาริย์
ข้อ 1- 2 มากว่า





ปาฏิหาริย์ 3 อย่างดังนี้

1. อิทธิปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือ การแสดงฤทธิ์ต่างๆ

2. อาเทศนาปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือ การทายใจคนอื่นได้

3. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือ
คำสอนที่เป็นจริง สอนให้เห็นจริงและนำไปปฏิบัติได้ผลสมจริง

การปฏิบัติ
ตามหลักการและ
การเข้าถึงจุดหมายของ
พระพุทธศาสนา
ย่อมเป็นไปได้
โดย
ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งเหนือวิสัย
และอิทธิปาฏิหาริย์เลย
พึงอ้างพุทธพจน์นี้

พระพุทธเจ้า:
 
นี่แน่ะสุนักขัตต์ เธอเข้าใจว่าอย่างไร ?
เมื่อเราทำอิทธิปาฏิหาริย์ซึ่ง
เป็นธรรมของมนุษย์ยิ่งยวดก็ตาม
ไม่ทำก็ตาม
ธรรมที่เราแสดงแล้ว
เพื่อประโยชน์มุ่งหมายใด
ะนำออกไป
เพื่อประโยชน์ที่มุ่งหมายนั้น
คือ
ความหมดสิ้นทุกข์โดยชอบ
ได้หรือไม่ ?

สุนักขัตต์:
พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อพระองค์ทรงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์
ที่เป็นธรรมของมนุษย์
ที่ยิ่งยวดก็ตาม ไม่กระทำก็ตาม
ธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงแล้ว เพื่อประโยชน์มุ่งหมายใด ก็ย่อมจะนำออกไป
เพื่อประโยชน์ที่มุ่งหมายนั้น
คือ
ความหมดสิ้นทุกข์โดยชอบได้


1.อิทธิปาฏิหาริย์:
“บางท่านประกอบฤทธิ์ต่างๆ
ได้มากมายหลายอย่าง
คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้
ทำให้ปรากฏก็ได้
ทำให้หายก็ได้
ทะลุฝา กำแพง ไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้
ผุดขึ้นดำลง
แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้
เดินบนน้ำไม่แตก
เหมือนเดินบนดินก็ได้
เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้
ใช้มือจับต้องลูบคลำ
พระจันทร์พระอาทิตย์
ซึ่งมีกำลังฤทธิ์เดชมากมาย
ถึงเพียงนี้ก็ได้
ใช้อำนาจทางกาย
จนถึงพรหมโลกก็ได้”

2
. อาเทศนาปาฏิหาริย์
“ภิกษุย่อมทายใจ
ทายความรู้สึกในใจ
ทายความนึกคิด
ทายความไตร่ตรองของสัตว์อื่น
บุคคลอื่นได้ว่า
ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใ
จของท่านเป็นไปโดยอาการนี้
จิตของท่านเป็นดังนี้
อย่างนี้ว่า
ตามเกวัฏฏสูตรในทีฆนิกาย

แต่ในที.ปา.11/78/112 ฯลฯ
ให้ความหมายละเอียดออกไปอีกว่า “บางท่านทายใจได้
ด้วยสิ่งที่กำหนดเป็นเครื่องหมาย (นิมิต) ว่า
ใจของท่านเป็นอย่างนี้
ใจของท่านเป็นไปโดยอาการอย่างนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้
ถึงหากเธอจะทายเป็นอันมาก
ก็ตรงอย่างนั้นไม่พลาดเป็นอื่น

บางท่าน
ไม่ทายด้วยสิ่งที่กำหนดเป็น
เครื่องหมายเลย
แต่พอได้ฟังเสียงของมนุษย์
อมนุษย์ หรือเทวดาแล้ว
ก็ทายใจได้ว่า
ใจของท่านเป็นอย่างนี้...
บางท่านไม่ทายด้วยนิมิต
ไม่ฟังเสียง...แล้วจึงทาย
แต่ฟังเสียงวิตกวิจารของคน
ที่กำลังตรึกกำลังตรองอยู่
ก็ทายใจได้ว่า
ใจของท่านเป็นอย่างนี้...
บางท่านไม่ทายด้วยนิมิต
ไม่ฟังเสียง...แล้วจึงทาย
แต่ใช้จิตกำหนดใจของคน
ที่เข้าสมาธิซึ่งไม่มีวิตกไม่มีวิจารแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า
ท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขารไว้อย่างไร
ต่อจากความคิดนี้แล้ว
ก็จะคิดความคิดโน้น ถึงหากเธอจะทายมากมาย
ก็ตรงอย่างนั้น ไม่พลาดเป็นอื่น”

(อาเทศนาปาฏิหาริย์นี้
ดูคล้ายเจโตปริยญาณ
หรือปรจิตตวิชานน์
แต่ไม่ตรงกันทีเดียว
เพราะยังอยู่ในขั้นทาย ยังไม่เป็นญาณ)


3. อนุสาสนีปาฏิหาริย์
“บางท่านย่อมพร่ำสอนอย่างนี้ว่า
จงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึกอย่างนี้
จงมนสิการอย่างนี้
อย่ามนสิการอย่างนี้
จงละสิ่งนี้
จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่เถิด”

(เฉพาะในเกวัฏฏสูตร
ในทีฆนิกาย
อธิบายเพิ่มเติมโดยยกเอา
การที่พระพุทธเจ้าอุบัติในโลกแล้วทรงสั่งสอนธรรม
ทำให้คนมีศรัทธาออกบวชบำเพ็ญศีล สำรวมอินทรีย์
มีสติสัมปชัญญะ สันโดษ
เจริญฌาน บรรลุอภิญญาทั้ง 6
ซึ่งจบลงด้วยอาสวักขัยเป็นพระอรหันต์ ว่าการสอน
ได้สำเร็จผลอย่างนั้นๆ ล้วนเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์)

ในสมัยพุทธกาล
เคยมีบุตรคฤหบดีผู้หนึ่ง
ทูลให้พระพุทธเจ้าแสดงอิทธิปาฏิหาริย์เขากราบทูลว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมืองนาลันทานี้เจริญรุ่งเรือง
มีประชาชนมาก
มีผู้คนกระจายอยู่ทั่ว
ต่างเลื่อมใสนักใน
องค์พระผู้มีพระภาค
ขออัญเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรดทรงรับสั่งพระภิกษุ
ไว้สักรูปหนึ่ง
ที่จะกระทำอิทธิปาฏิหาริย์
ซึ่งเป็นธรรมเหนือมนุษย์
โดยการกระทำเช่นนี้
ชาวเมืองนาลันทานี้ ก็จักเลื่อมใสยิ่งนักในองค์พระผู้มีพระภาคเจ้า
สุดที่จะประมาณ”

พระพุทธเจ้าได้ตรัสตอบบุตรคฤหบดีผู้นั้นว่า

“นี่แน่ะเกวัฏฏ์
เรามิได้แสดงธรรม แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า
มาเถิดภิกษุทั้งหลายพวกเธอ
จงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์
ซึ่งเป็นธรรมเหนือมนุษย์
แก่คนนุ่งขาวชาวคฤหัสถ์”

พระองค์ได้
ตรัสแสดงเหตุผลต่อไปว่า
ในบรรดาปาฏิหาริย์ 3 อย่างนั้น
ทรงรังเกียจ
ไม่โปรดไม่โปร่งพระทัย
ต่ออิทธิปาฏิหาริย์
และอาเทศนาปาฏิหาริย์
เพราะ
ทรงเห็นโทษว่า
คนที่เชื่อก็เห็นจริงตามไป

ส่วน
 
คนที่ไม่เชื่อได้ฟังแล้ว
ก็หาช่องขัดแย้ง
 
คัดค้านเอาได้ว่า
ภิกษุที่ทำปาฏิหาริย์นั้น
 
คงใช้คันธารีวิทยา
และมณิกาวิทยา
ทำให้คนมัวทุ่มเถียง
ทะเลาะกันและ
ได้ทรงชี้แจงความหมาย
และคุณค่าของ
อนุสาสนีปาฏิหาริย์
ได้เห็นว่า
เอามาใช้ปฏิบัติเป็นประโยชน์ประจักษ์ได้
ภายในตนเองจนบรรลุถึง
อาสวักขัย
อันเป็นจุดหมาย
ของพระพุทธศาสนา

นอกจากนั้น ยังได้ทรงยกตัวอย่าง ภิกษุรูปหนึ่งมีฤทธิ์มาก อยากจะรู้ความจริงเกี่ยวกับจุดดับสิ้นของโลกวัตถุธาตุ จึงเหาะเที่ยวไปในสวรรค์ ดั้นด้นไปแสวงหาคำตอบจนถึงพระพรหม ก็หาคำเฉลยที่ถูกต้องไม่ได้
ในที่สุดต้องเหาะกลับลงมาแล้วเดินดินไปทูลถามพระองค์เพื่อความรู้จักโลกตามความเป็นจริง และถึงความที่อิทธิปาฏิหาริย์มีขอบเขตจำกัด อับจนและมิใช่แก่นธรรม


พระพุทธเจ้าได้ตรัสปาฏิหาริย์ 3 อย่าง คือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ในที่สุดได้ตรัสถามพราหมณ์ว่า ชอบใจปาฏิหาริย์อย่างไหน ปาฏิหาริย์ใดดีกว่า ประณีตกว่า

พราหมณ์ได้ทูลตอบว่า อิทธิปาฏิหาริย์และอาเทศนาปาฏิหาริย์ คนใดทำ คนนั้นจึงรู้เรื่อง คนทำได้ก็เป็นของคนนั้นเท่านั้น มองดูเหมือนเป็นมายากล อนุสาสนีปาฏิหาริย์จึงจะดีกว่า ประณีตกว่า* คนอื่นพิจารณารู้เข้าใจ มองเห็นความจริงด้วยและนำไปปฏิบัติได้ แก้ทุกข์แก้ปัญหาได้
........
* ดู องฺ.ติก.20/500/217-220


ผู้ตั้งกระทู้ อาริยา รัตนพรศิริ (procoachariya-at-gmail-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-22 21:51:35


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1559518)

 อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ 

คือ

คำสอนที่เป็นจริง สอนให้เห็นจริง
และนำไปปฏิบัติได้ผลสมจริง 

การปฏิบัติ
ตามหลักการและ
การเข้าถึงจุดหมายของ
พระพุทธศาสนา
ย่อมเป็นไปได้
โดย
ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งเหนือวิสัย
และอิทธิปาฏิหาริย์เลย
.......................................
อนุโมทนาครับพี่อาริยาธรรมที่ทุกคนก็เข้าถึงได้หากตั้งใจจริง  สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น คมกริช นามมงคุณ (เบลล์) (komkom-dot-ko-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-07-22 22:03:33


ความคิดเห็นที่ 2 (1559526)

โมทนาบัญกับคุณอาริยาค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ 

ผู้แสดงความคิดเห็น สมจิต โพธิ์นิล (shindo_ploy-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-07-22 22:23:32


ความคิดเห็นที่ 3 (1559540)

อนุโมทนากับคุณอาริยา ด้วยคะที่มาขยายความสำคัญในเรื่องนี้อีกครั้ง

ขยันหาสิ่งดี ๆ มาแบ่งปันกันประจำเลยนะคะ สาธุคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น พัทธ์ธีรา วังกาวันมณเฑียร (vann_ult-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-07-22 23:12:20


ความคิดเห็นที่ 4 (1559682)

ขออนุโมทนาค่ะคุณอาริยา  เห็นด้วยกับคำสอนของพระพุทธองค์  คนส่วนใหญ่สนใจแต่อิทธิปาฏิหาริย์  แม้กระทั่งคนใกล้มตัวพี่ ขออนุโมทนาสาธุด้วยค่ะ สาธุ  สาธุ  สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น ชนกพร เอี่ยมชัย (pan_cnp-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-07-23 21:40:08


ความคิดเห็นที่ 5 (1560273)

ขออนุโมทนากับธรรมทานของคุณอาริยาค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น อัญ - อนัญญา สุขถาวร (an-dot-toppost-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-07-26 12:51:25


ความคิดเห็นที่ 6 (1560376)

อนุโมทนา

 

เวลานี้ ชาวพุทธ เรา

เข้าถึงธรรม

ที่เป็นแก่นแท้ของ

พระพุทธเจ้า

แล้ว

 

สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น อ.อุบล ศุภาเดชาภรณ์ (PAMELASOAP-at-YAHOO-dot-COM) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-07-26 20:48:22


ความคิดเห็นที่ 7 (1560387)

 อนุโมทนาครับ

ท่านอาจารย์คุณแม่อุบล

อนุโมทนาครับทุกๆท่าน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น คมกริช นามมงคุณ (เบลล์) (komkom-dot-ko-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-07-26 21:12:59


ความคิดเห็นที่ 8 (1560506)

ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ  สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น รัตนา จันทร์อ่อน (pouging1-at-yahoo-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-07-27 10:46:37


ความคิดเห็นที่ 9 (1560525)

ขออนุโมทนาบุญกับคุณอาริยาด้วยค่ะ

สาธุ สาธุ สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น จันทร์เพ็ญ อังคุกานนท์ (หนิง) (janpen-dot-ank-at-rd-dot-go-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-07-27 13:10:02


ความคิดเห็นที่ 10 (1561442)

ขอร่วมอนุโมทนาบุญกับคุณอาริยาสาธุๆๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น บุญภิบาล คงเขียว ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-08-01 14:52:57



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.