ReadyPlanet.com


การให้อภัยทาน โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ


การให้อภัยทาน(ธรรมทาน)ย่อมชนะเสียซึ่งทานทั้งปวง


"อภัยทานัง อามิสทานัง ชินาติ"

ซึ่งแปลว่า "การให้อภัยทานย่อมชนะเสียซึ่งการให้ทั้งปวง" ดังนี้

คำว่า ทาน แปลว่า การให้
การให้นี้มีอยู่ ๒ อย่างด้วยกันที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านตรัสไว้
ให้สรรพสิ่งของต่าง ๆ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า อามิสทาน ได้แก่ การให้วัตถุ จะเป็นเงินหรือวัตถุสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องบริโภคก็ตาม เรียกว่า อามิสทานทั้งนั้น

ทานอีกส่วนหนึ่งที่องค์สมเด็จภควันต์ทรงกล่าวก็ได้แก่  ธรรมทาน ธรรมทานในที่นี้ก็ได้แก่ การบอกธรรม คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ชี้เหตุผล ให้รุ้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว อย่างนี้เป็นต้นอย่างหนึ่ง อย่างนี้เขาเรียกว่า ธรรมทาน

ธรรมทาน อีกส่วนหนึ่งที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่าสำคุญที่สุดจัดว่าเป็น ปรมัตถทาน คือ เป็นทานที่ไม่ต้องลงทุน คือ อภัยทาน

ทานทั้งสองอย่างนี้ คือ อามิสทานกับอภัยทานนี้มีผลต่างกัน อามิสทานนั้นให้ผลอย่างสูงก็แค่กามาวจรสวรรค์ ตามนัยที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสไว้ว่า

 

"ทานัง สังคคโส ปาณัง" คือว่า การให้ทานย่อมเป็นปัจจัยเป็นบันไดไปสู่สวรรค์ นี่สำหรับ อามิสทาน แต่สำหรับ ธรรมทาน กล่าวคือ ให้ธรรมเป็นทานก็ดี ให้อภัยทานก็ดี ให้อภัยทานก็ดี ทานทั้งสองประการนี้เป็นปัจจัยแห่งพระนิพพาน

สำหรับธรรมทาน ทานที่ ๒ นี่มีความสำคัญมาก การให้ธรรมเป็นทานกล่าวคือ นำพระคำคำสั่งสอนของสมเด็จพระชินวรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เอามาแนะนำแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าเทศน์เองไม่เป็นก็ไปหาคนอื่นมาเทศน์แทน อย่างนี้ก็ชื่อว่า เจ้าภาพเป็นผู้เทศน์เหมือนกัน เรียกว่าเอาคนมาพูดแทน

 

การให้ธรรมทานเป็นปัจจัยใหญ่ เพราะการให้ธรรมทานบุคคลได้ฟังแล้วจะเกิดปัญญา สิ่งใดที่ไม่เคยรู้มาแล้วก็จะได้มีความรู้ขึ้น เมื่อมีความรู้แล้วก็เกิดความมั่นใจ มีปัญญาเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ใด บุคคลผู้นั้นก็เป็นผู้หลีกความทุกข์ได้ ถ้าปัญญามีมาก ก็หลีกความทุกข์ได้มาก ปัญญาน้อยก็หลีกความทุกข์ได้น้อย ดีกว่าคนที่ไม่มีปัญญาเลย ไม่มีโอกาสจะหลีกความทุกข์ได้ นี่ว่ากันถึงธรรมทาน

ธรรมทานอีกส่วนหนึ่งที่มุ่งหมายจะเทศน์กันในวันนี้ก็คือ อภัยทาน อภัยทานนี้เป็นการให้ทานที่ไม่ต้องลงทุนด้วยวัตถุ แล้วก็เป็นทานสูงสุด

 

พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ใครเป็นผู้มีอภัยทานประจำใจ คนนั้นก็เป็นผู้เข้าถึงปรมัตถบารมีแล้ว คำว่า ปรมัตถบารมีนี้ เป็นบารมีสูงสุดเป็นบารมีที่จะทำให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน

 

คำว่า อภัยทาน ก็ได้แก่ การให้อภัยซึ่งกันและกัน หามายความว่าคนใดก็ตาม เขาทำให้เราขุ่นเคือง ทำให้เราไม่ชอบใจ ด้วยกรณีใดๆก็ตาม ถ้าหากเราคิดพิจารณาเข่นฆ่าจองล้างจองผลาญ ถ้าเขาด่าเรา เราคิดว่าโอกาสสักวันหนึ่งข้างหน้าเราจะด่าตอบ เขาลงโทษเรา เราจะลงโทษเขาตอบ เขาตีเรา เราคิดว่าเราจะตีตอบ แต่โอกาส มันยังไม่มี คิดเข้าไว้ในใจว่า เราจะทำอันตรายตอบ

 

อย่างนี้พระพุทธเจ้ากล่าวว่า เป็นอาฆาต คือ พยาบาท เป็นไฟเผาผลาญดวงจิต เพราะคนที่เรากำลังคิดจะฆ่าก็ดี คิดจะประทุษร้ายก็ดี นี่เขายังไม่ทันรู้ตัว เขามีความสุข เราคนที่คิดจะทำเขานั่นแหละ ตั้งแต่แรกหาความสุขไม่ได้ คบไฟแห่งความพยาบาทมันเข้าเผาผลาญ มีแต่ความร้อนรุ่มกลุ้มใจ คิดวางแผนการต่าง ๆ ว่า เราทำยังไงถึงจะแก้มือเขาได้ โดยคนอื่นเห็นว่าไม่มีความผิด

 

อารมณ์ที่คิดอยู่อย่างนี้ ยังตัดสินใจไม่ได้ ยังทำไม่ได้ มันเป็นไฟเผาผลาญคนคิดนี่แหละ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เพราะอำนาจโทสะเข้าสิงใจ นี่เอำนาจโทสะหรือพยาบาทมันเริ่มเผาผลาญตั้งแต่คิด แต่คนที่ถูกคิดประทุษร้ายนั้น เขายังมีความสุข

 

ทีนี้ถ้าเราไปทำเขาเข้าอีก ไอ้โทษมันก็จะหนักขึ้น ทำเขาเข้าอีก เขายิ่งจะแก้มือใหญ่ ถ้าเขาไม่แก้มือ ทางกฏหมายก็จะยื่นมือมาช่วยเหลือ ความทุกข์ใหญ่ก็จะเกิดขึ้น

(คำเทศนาของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ จากหนังสื ธัมมวิโมกข์ฉบับที่ ๑๐๖ หน้า ๗๕-๗๘)
------------------------------------------------- 

 

 

ทำไมองค์สมเด็จพระมหามุนีจึงไม่มีความโกรธในพระเทวทัต เพราะเขาแกล้งในทีนะ ที่เป็นคนทำความถูก

 

ท่านเลยบอกว่าไอ้การโกรธไม่มีประโยชน์ การพยาบาทไม่มีประโยชน์ มันเป็นไฟเผาผลาย เพราะเราบำเพ็ญบารมีมาก็ปรารถนาให้ถึงซึ่งพระโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า ถ้าเราไปคบกับความโกรธอยู่ก็ดี ความพยาบาทก็ดี กรรมทั้งหลายเหล่านี้มันจะกำจัดต่อความดีของเรา แม้แต่สวรรค์ชั้นกามวจรสวรรค์ก็จะไม่ได้พบ

 

จะพบแต่อบายภูมิทั้ง ๔ ประการ กล่าวคือ ตกในนรกบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นอสุรกายบ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง หรือว่าเป็นคนที่เกิดมาเต็มไปด้วยความทุกข์บ้าง


พระพุทธเจ้าจึงทรงปรารภแก่ภิษุทั้งหลายว่า เธอจงปรารภอภัยทานเป็นสำคัญ เมื่อบุคคลผู้ใดก็ดีที่เขาทำให้เราไม่ชอบใจ จงคิดเสียว่าเรามีกรรมเก่าที่เคยทำให้เขาไม่ชอบใจไว้มาชาตินี้เขาจึงได้ จองล้างจองผลาญเรา เราคิดให้อภัยเสีย มันก็จะปลอดภัย แล้วอิกประการหนึ่ง ถ้ามีการให้อภัยเกิดขึ้น ความเร่าร้อนของจิตก็จะไม่มี มีแต่ความผ่องใส

(
คำเทศนาของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ จากหนังสือธัมมวิโมกข์ฉบับที่ ๑๐๖ หน้า ๘๑)

 

ที่มา  เว็บพลังจิต



ผู้ตั้งกระทู้ ปุ้ม ณฐพลสรรค์ (nathaponson-at-gmail-dot-com) โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2010-08-07 13:13:27


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1504363)

 

แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังมุ่งมั่นและพยายามที่จะทำร้ายจิตใจตัวเอง

ด้วยการผูกจิต คิดพยาบาท เพราะคิดเองเออเองว่า คนคนนั้น ไม่สมควรให้อภ้ัย......

ขออนุโมทนาบุญกับคุณปุ้มที่นำคำสอนดีๆจากหลวงพ่อฤาษีลิงดำ มาติวเข้มให้กับพวกเราชาวบ้านสวนพีรามิดทุกคนค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ชนิดา วันที่ตอบ 2010-08-08 21:55:09


ความคิดเห็นที่ 2 (1505314)

ขออนุโมทนาบุญด้วยคนค่ะ เราใช้ความพยายามในการที่จะไม่โกรธ แต่การที่เราทำงานในสังคมที่เต็มไปด้วยคนเห็นแก่ตัว มันค่อนข้างลำบากมากค่ะ แต่จะฝึกจิต เพื่อให้อภัยทานแก่คนเหล่านั้นค่ะ ขอบคุณคุณปุ้มค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น Khwan (hun_pa-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-08-14 16:17:03


ความคิดเห็นที่ 3 (1505633)

อนุโมทนาบุญทุกคนด้วยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น thitapornkroonok วันที่ตอบ 2010-08-17 13:35:28


ความคิดเห็นที่ 4 (1505737)

ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ ขอจงปฏิบัติตามองค์สัมมาแล้วชีวิตจะมีแต่ความสุข

ผู้แสดงความคิดเห็น วุฒิศักดิ์ ศรีทับทิม (alfieman23-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-08-18 01:28:51


ความคิดเห็นที่ 5 (1507089)

ถ้าเราให้อภัยเขาทุกอย่าง ไม่ได้อาฆาต คิดชั่วอะไรกับเขา ไม่ได้แช่งเขา

แต่อธิษฐานในใจว่า

ขออย่าได้พบได้เจอกันอีกทุกชาติทุกภพ

ขอให้หลุดพ้นเวรกรรมต่อบุคคลผู้นี้ทุกอย่าง

ไม่รู้ไม่เห็น ไม่ต้องรับรู้เรื่องราวอะไรอีก

แบบนี้จะบาปไหมคะ

(คือ ถ้าจะให้ไปญาติดี คุยดี เป็นมิตร คงยากมากจริงๆ กับคนบางประเภทนะคะ)

ผู้แสดงความคิดเห็น แหวน วันที่ตอบ 2010-08-26 10:36:16


ความคิดเห็นที่ 6 (1507225)

ตอบความเห็นที่ 5 (1507089) คุณแหวน

คำอธิษฐานของคุณแหวน ประกอบด้วย โทสะ และ โมหะ หากคุณคิดแบบนี้ก่อนที่คุณจะจากโลกนี้ไป

คุณจะลงอบายภูมิครับ ขอโทษนะครับที่ต้องตอบตรงๆ ไม่ได้มีเจตนาจะแ่ช่งกัน

หากคุณยังปรารถนาที่ จะอยู่ "ในชาติในภพ "อะไรก็แล้วแต่ โอกาสที่จะเจอกันยังมีอยู่

คุณต้องทำตัวเองให้ ข้ามภพข้ามชาติ (นิพพาน) จะดีกว่า คุณจะได้พบกับ "บรมสุข" ตลอดไป

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ปุ้ม ณฐพลสรรค์ (nathaponson-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-08-26 20:08:40


ความคิดเห็นที่ 7 (1546430)

ขออนุโมทนาบุญกับคุณปุ้มด้วยคะ สาธุๆๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น บุญภิบาล คงเขียว ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-05-19 14:09:03


ความคิดเห็นที่ 8 (1546559)

ขออนุโมทนาบุญในธรรมทานของคุณปุ้มด้วยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปูค่ะ (kajadu-at-sanook-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-05-19 21:36:39


ความคิดเห็นที่ 9 (1546586)

 ขออนุโทนากับคุณปุ้มกับธรรมทานในครั้งนี้ด้วยนะคะ สาธุ สาธุ สาธุ  อ่านแล้ว เตืิอนสติำได้ดีมากเลยทีเดียว และทำให้รู้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นค่ะ ว่าควรที่จะต้องปฎิบัติยังไง ขอบพระคุณมากๆนะคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ณัชชา พรหมทองแก้ว (nut-cha2000-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-05-19 22:33:34



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.