ReadyPlanet.com


คู่มือดับทุกข์


คู่มือดับทุกข์

 

1. จงประพฤติศีล 5 ให้สมบูรณ์ ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์

ทุกชนิด ไม่ขโมยสิ่งของ ๆ ใคร ไม่ประพฤติผิดใน

กาม ไม่โกหกหลอกลวงใคร แลไม่ดื่มหรือเสพสิ่ง

เสพติดมึนเมา

 

2. แบ่งเวลาในแต่ละวันให้พอเหมาะพอดีแก่สภาพ

ชีวิตของตัวเอง มีเวลาทำงานเพียงพอ มีเวลาพัก

ผ่อนเพลิดเพลินในครอบครัวตามสมควร สำหรับ

ผู้ที่เป็นฆราวาสและมีเวลาฝึกสมาธิเพื่อทำจิตให้สงบ

 

3.ในการฝึกสมาธินั้น ให้นั่งอยู่อย่างสงบสำรวมอย่า

เคลื่อนไหวอวัยวะมือเท้า จะนั่งกับพื้นเอาขาทับขา

ข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ หรือจะนั่งพับเพียบก็ได้ หรือจะ

นั่งบนเก้าอี้ตามสบายก็ได้ ไม่มีปัญหา

 

4. วิธีการฝึกสมาธินั้น ขอให้เข้าใจว่า ท่านจะทำจิต

ให้สงบ ปราศจากความคิดนึกปรุงแต่งในเรื่องภาย

นอก ทุกอย่างชั่วระยะเวลาที่ทำสมาธินั้น ท่านจะไม่

ปรารถนาที่ จะพบเห็นรูป สี แสง เสียง สวรรค์นรก

หรือเทวดาอินทร์ พรหมที่ไหน เพราะสมาธิที่แท้จริง

ย่อมจะไม่มีสิ่งเหล่านั้นอยู่ในจิตใจ สมาธิที่แท้จะมีแต่

จิตที่สะอาดบริสุทธิ์ และสงบเย็นเท่านั้น

 

5. พอเริ่มทำสมาธิโดยปกติแล้วให้หลับตาพอสบาย

สำรวมจิตเข้านับที่ลมหายใจ ทั้งหายใจเข้าและหาย

ใจออก โดยอาจจะนับอย่างนี้ว่า หายใจเข้านับ 1

หายใจออกนับ 2 อย่างนี้เรื่อยไป ทีแรกนับช้า ๆ เพื่อ

ให้สติต่อเนื่องอยู่กับการนับนั้น แต่ต่อไปพอจิตสงบ

เข้าที่ล้ว มันก็จะหยุดนับของมันเอง



ผู้ตั้งกระทู้ สมจิต โพธิ์นิล (shindo_ploy-at-hotmail-dot-com) กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2012-06-01 14:15:54


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1613517)

อนุโทนาบุญสำหรับธรรมทานดี ๆ

ของพี่สมจิต ด้วยนะค่ะ

สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ

..........

ผู้แสดงความคิดเห็น น้องทราย (นางสาวลักขณา ศรประสิทธิ์) (noosineni-at-hotmail-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-06-01 14:18:45


ความคิดเห็นที่ 2 (1613525)

6. หรือบางทีอาจจะกำหนดพุทโธก็ได้ หายใจเข้ากำหนดว่า

พุท หายใจออกกำหนดว่า โธ อย่างนี้ก็ได้ ไม่ขัดแย้งกันเลย

เพราะการนับอย่างนี้มันเป็นเพียงอุบายที่จะทำให้จิตหยุด

คิดนึกปรุงแต่งเท่านั้น

7. แต่ในการฝึกแรก ๆ นั้น ท่านจะยังนับ หรือกำหนดไม่ได้

อย่างสม่ำเสมอ หรือ อย่างตลอดรอดฝั่ง เพราะมันมักจะมี

ความคิดต่าง ๆ แทรกเข้ามาในจิต ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ช่างมัน

ให้เข้าใจว่า ฝึกแรก ๆ มันก็เป็นอย่างนี้เอง แต่ให้ท่านตั้ง

นาฬิกาเอาไว้ตามเวลาที่พอใจว่าจะทำสมาธินานเท่าไร

เริ่มแรกอาจจะทำสัก 15 นาที อย่างนี้ก็ได้ และให้เฝ้านับ

หรือกำหนดอยู่จนครบเวลาที่ตั้งไว้ จิตมันจะมีความคิด

มากหรือน้อย ก็ช่างมัน ให้พยายามกำหนดนับตามวิธี

การที่กล่าวมาแล้วจนครบเวลา ไม่นานนัก จิตมันก็จะ

หยุดคิดและสงบได้เองของมัน

8. การฝึกสมาธินี้ให้พยายามทำทุกวัน ๆ ละ 2 - 3 ครั้ง

แรก ให้ทำครั้งละ 15 นาที แล้วจึงค่อยเพิ่มมากขึ้น ๆ

จนถึงครั้งละ 1 ชั่วโมง หรือกว่านั้น ตามที่ปรารถนา

9. ครั้นกำหนดจิตด้วยการนับอย่างนั้นจนมีประสบการณ์

พอสมควรแล้ว ท่านก็จะรู้สึกว่า จิตนั้นสะอาด สงบ เย็น

ผ่องใส ไม่หงุดหงิด ไม่หลับไหล ไม่วิตกกังวลกับสิ่งใด

นั่นแหละคือสัญญลักษณ์ที่แสดงว่า สมาธิกำลังเกิดขึ้นในจิต

 

10. เมื่อจิตสงบเย็น ไม่หงุดหงิดเช่นนั้นแล้ว อย่าหยุดนิ่งเฉย

เสีย ให้ท่านเริ่มน้อมจิตเพื่อพิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ ต่อไป

ถ้ามีปัญหาชีวิต หรือปัญหาใด ๆ ที่กำลังทำให้ท่านเป็นทุกข์

กลัดกลุ้มอยู่ ก็จงน้อมจิตเข้าไปคิดนึกพิจารณาปัญหา

ด้วยความสุขุมรอบคอบ ด้วยความมีสติ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น สมจิต โพธิ์นิล (shindo_ploy-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-06-01 15:00:57


ความคิดเห็นที่ 3 (1613531)

11. จงยกเอาปัญหานั้นขึ้นมาพิจารณาว่า ปัญหานี้มันมา

จากไหน? มันเกิดขึ้นเพราะอะไร? เพราะอะไรท่านจึงหนัก

ใจกับมัน? ทำอย่างไรท่านจึงจะสามารถแก้ไขมันได้?

ทำอย่างไรท่านจึงจะเบาใจและไม่เป็นทุกข์กับมัน?

 

12. การพิจารณาอยู่ด้วยจิตอันสงบอย่างนี้ การถามหา

เหตุผลกับตัวเองอย่างนี้ จิตของท่านมันจะค่อย ๆ รู้เห็น

และเกิดความนคิดนึกครู้สึกอันฉลาดขึ้นมาโดยธรรมชาติ

ของมัน จิตจะสามารถเข้าใจต้นสายปลายเหตุของปัญหา

ต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง นักปฏิบัติจริงจึงต้อง

พยายามพิจารณาปัญหาต่าง ๆ อย่างนี้เรื่อยไป หลังจากที่

จิตสงบแล้ว

 

13. ในกรณีที่ยังไม่มีปัญหาความทุกข์เกิดขึ้น หลังจากที่ทำ

จิตให้สงบเป็นสมาธิแล้ว จงพยายามคิดหาหัวข้อธรรมะหัว

ข้อใดหัวข้อหนึ่งมาพิจารณา เช่น ยกเอาชีวิตของตัวเองมา

พิจารณาว่ามันมีความมั่นคง จีรังยั่งยืนอะไรเพียงไหน?

ท่านจะได้อะไรจากชีวิตคือร่างกายและจิตใจนี้? ท่านจะอยู่

ไปในโลกนี้นานเท่าไหร่? เมื่อท่านตาย ท่านจะได้อะไร?

ให้พยายามถามตัวเองเช่นนี้อยู่เสมอ

 

14. หรือท่านอาจจะน้อมจิตไปสำรวจการกระทำของตัวเอง

เท่าที่ผ่านมา พิจารณาดูว่า ท่านได้ทำประโยชน์ อะไรให้

แก่ส่วนรวมหรือไม่?  หรือท่านได้ทำอะไรผิดพลาดไปบ้าง?

และตั้งใจไว้ว่า ต่อไปนี้ท่านจะไม่ทำสิ่งผิด จะไม่พูดสิ่งที่ไม่ดี

ที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนและไม่สบายใจ ท่านจะพูด จะทำแต่

สิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกนี้ ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

เพื่อความสะอาดบริสุทธิ์ของชีวิตของท่านเอง

 

15. จงเข้าใจว่า เป้าหมายที่ถูกต้องของการฦฝึกสมาธินั้น

คือท่านจะฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบจากอารมณ์ภายนอกชั่ว

ระยะเวลาหนึ่ง เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้ว จิตนั้นจะมีกำลัง

และมั่นคงสภาวจิตเช่นนั้นเองที่มันจะมีความพร้อมในการที่

จะรู้ จะเข้าใจปัญหาต่าง ๆ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่แวดล้อมตัวท่าน

อยู่ ได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง

ผู้แสดงความคิดเห็น สมจิต โพธิ์นิล (shindo_ploy-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-06-01 15:41:24


ความคิดเห็นที่ 4 (1613566)

โมทนาค่ะ

คุณสมจิต

ผู้แสดงความคิดเห็น หมวย พรรณสรลี ชูตระกูล (wattanachai-dot-chut-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-06-01 21:51:29


ความคิดเห็นที่ 5 (1613723)

อนุโมทนากับพี่สมจิต

ที่ส่ง"คู่มือดับทุกข์"

มาให้ทุกๆคนถึงบ้านเลยนะค๊า...

ถ้าทำได้ ทุกข์ก็ดับ

ได้ง่ายๆ เช่นกัน สาธุ สาธุ ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ชนิดา เชิงสะอาด/CHANIDA ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-06-04 03:59:04


ความคิดเห็นที่ 6 (1613877)

 

ขออนุโมทนาบุญกับคุณพี่สมจิตค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น นางยุวรัตน์ พันธุวงษ์ ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-06-05 01:15:48


ความคิดเห็นที่ 7 (1613932)

 

ขออนุโมทนาบุญกับพี่สมจิตร ด้วยค่ะ

 

ที่สรรหาธรรมะดี ๆ มีประโยชน์

ง่ายต่อการปฏิบัติื มาบอกกับพี่ ๆ น้อง ๆ ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น แสงเดือน ปิ่นสุวรรณ (sangduan_k-at-hotmail-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-06-05 11:54:35


ความคิดเห็นที่ 8 (1613956)

อนุโมทนา ค่ะ พี่สมจิต

ผู้แสดงความคิดเห็น อร อุ่นศรี (aon_aunsri-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-06-05 14:30:29


ความคิดเห็นที่ 9 (1613963)

16. สรุปว่า ท่านจะฝึกสมาธิเพื่อจะเรียกกำลังจิตจากสมาธินั้นไป

พัฒนาความคิดนึก หรือความรู้สึกของท่านให้ถูกต้อง ซึ่งความรู้

สึกคิดนึกที่ถูกต้องนั้น แท้จริงแล้วก็คือ " ปัญญา " นั่นเอง

 

17. จงจำไว้ว่า ปัญหาอันยิ่งใหญ่ในชีวิตของท่านก็คือความทุกข์

ความกลัดกลุ้มใจ และความทุกข์นั้นก็จะไม่หมดไปได้เพราะการ

ไหว้วอนบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ แต่มันจะหมดไปจากใจของ

ท่านได้ ถ้าท่านมีปัญญารู้เท่าทันตามความเป็นจริงในสิ่งที่ทำให้

ท่านเป็นทุกข์นั้น

 

18. ดังนั้น ในการฝึกสมาธิทุกครั้ง ท่านจึงต้องกำหนดจิตให้สงบ

เสียก่อน จากนั้นจึงเอาจิตที่สงบนั้นมาพิจารณาทบทวนปัญหาที่

ทำให้ท่านเป็นทุกข์

 

19. ท่านจะต้องรู้ความจริงด้วยว่า ปัญหาหลาย ๆ อย่างท่านไม่

สามารถจะแก้ไขมันได้ เพราะมันเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ตามสภาวะ

แวดล้อมของมัน แต่หน้าที่ของท่านคือท่านจะต้องพยายามหาวิธี

ทำกับมันให้ดีที่สุด โดยคิดว่าท่านทำได้ดีที่สุดเพียงเท่านี้ ผลจะ

เกิดขึ้นอย่างไรก็ช่างมันปัญหามันจะหมดไปหรือไม่ก็ช่างมัน ท่าน

จะได้หรือจะเสียก็ช่างมัน ท่านทำหน้าที่ของท่านได้ดีที่สุดแล้ว

ท่านก็ถูกต้องแล้ว เรื่องจะดีร้ายได้เสียมันก็ไม่ใช่เรื่องของท่าน

 

20. ท่านจะต้องเปิดใจให้กว้าง  ให้ยอมรับในทุกสิ่งที่เกิดขึ้นว่ามัน

เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตามเหตุปัจจัยของมันเช่นเรื่องไม่ดีที่ไม่น่า

ปรารถนา มันก็อาจจะเกิดขึ้นกับท่านได้ตามเหตุปัจจัยของมัน

เพราะทุกสิ่งเป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอนอะไร บางทีมันก็ดี บางที

ก็ไม่ดี มันเป็นอยู่อย่างนี้เอง เรื่องที่ไม่ดีที่ไม่น่าปรารถนานั้น แท้

จริงแล้วมันเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่โลกนี้มานานแล้ว ทุกคนที่เกิดมาใน

โลกก็ล้วนแต่จะต้องประสบกับมันทั้งนั้น แม้ว่าอาจจะมีลักษณ

แตกต่างกันบ้างก็ตาม เรื่องไม่ดีไม่น่าปรารถนานั้น ไม่ใช่เกิด

มาจากำนาจของเทวดาฟ้าดินที่ไหนเลย มันเป็นของธรรมดา

ที่มีอยู่ในโลกอย่างนี้เอง มันเป็นไปตามกรรม

 

21.  จงรู้จักธรรมะข้อที่ว่า " อนิจจัง " ซึ่งแปลว่าความไม่เที่ยง

สิ่งที่มีเหตุปัจจัย ปรุงแต่งทั้งหลายในโลกนี้ล้วนแต่เป็นของไม่

เที่ยงทั้งนั้น ความเปลี่ยนแปลงจากดีไปเป็นเลว เปลี่ยนจาก

ความสมหวังไปเป็นความผิดหวัง ฯลฯ ก็ล้วนแต่เป็นเพราะความ

เป็นของไม่เที่ยงของมันนั่นเอง ดังนั้นจงอย่าเป็นทุกข์เศร้าโศก

ไปกับเรื่องดี ร้าย ได้เสีย ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่จงรู้จักมันว่า

มันเป็นอย่างนี้เอง มันไม่เที่ยงแท้แน่นอนเลยสักสิ่งเดียว ถ้าท่าน

รู้อย่างนี้ด้วยความสงบของสมาธิ จิตของท่านก็จะไม่เป็นทุกข์เลย

 

22. จงรู้จักธรรมะข้อที่ว่า " ทุกขัง " ซึ่งแปลว่า ความเป็นทุกข์

จงจำไว้ว่า ชีวิตของคนเรานั้นล้วนแล้วแต่มีความทุกข์ด้วยกัน

ทั้งนั้น ลักษณะของความทุกข์นั้นได้แก่ ความเกิด ความแก่

ความตาย ความเศร้าโศก ความอาลัยอาวรณ์ ความไม่สบายกาย

ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความที่ได้รับสิ่งที่ไม่น่า

ปรา -รถนา ความพลัดพรากจากคนรักหรือของรัก และความ

ผิดหวังเหล่านี้แหละคือความทุกข์ที่คนทุกชาติทุกภาษาในโลก

นี้กำลังประสบอยู่

 

23.  จงรู้จักธรรมะข้อที่ว่า " อนัตตา " ซึ่งแปลว่าความไม่ใช่ตัวเรา

หรือของเรา หรือความปราศจากแก่นสารที่ยั่งยืนถาวร ข้อที่ว่า

สิ่งทั้งหลายไมมีตัวตนแก่นสารที่ถาวรนั้น หมายความว่า สิ่งเหล่า

นั้นมันจะมีอยู่ในโลกนี้เพียงระยะเวลาหนึ่ง จะนานหรือไม่นานก็แล้ว

แต่เหตุการณ์ของมันเท่านั้นเอง มันไม่มีสิ่งใดจะคงอยู่ในโลกนี้ได้

ตลอดไป ดังนั้น ตัวตนที่เป็นของยั่งยืนถาวรของมันจึงไม่มีซึ่งสิ่ง

เหล่านั้น มันหมายรวมทั้งร่างกายและจิตใจของเราทุกคนด้วย

 

24. เมื่อทุกสิ่งเป็นของไม่เที่ยง ชวนแต่จะทำให้เราเป็นทุกข์กับมัน

และไม่ใช่สิ่งที่เป็นแก่นสารถาวรเช่นนั้นแล้ว เราจะมัวไปหลงใหล

อยากได้อยากเป็นอะไรในมันให้มากเรื่องไปโดยเปล่าประโยชน์

อีกเล่า?

 

25. ในการฝึกสมาธินั้น ให้แบ่งเวลาออกเป็น 2 ช่วง คือช่วงแรก

ต้องกำหนดจิตให้สงบ ไม่ต้องคิดเรื่องอะไร ส่วนช่วงที่ 2 จึง

อาศัยจิตที่สงบเป็นตัวพิจารณาสิ่งต่าง ๆ อย่างรอบคอบ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น สมจิต โพธิ์นิล (shindo_ploy-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-06-05 15:23:03


ความคิดเห็นที่ 10 (1614195)

26.  พอครบเวลาที่กำหนดไว้แล้ว เมื่อจะเลิกนั่งสมาธิ ก็ให้ตั้งความ

รู้สึกไว้ว่า ต่อจากนี้ไปท่านจะมีสติพิจารณาสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา

ซึ่งการพิจารณานั้น ท่านจะพิจารณา ให้เห็นสภาพที่เป็นจริงของสิ่ง

เหล่านั้น ซึ่งล้วนแต่ตกอยู่ภายใต้กฏแห่ง ความไม่เที่ยง ความเป็น

ทุกข์และความไม่มีแก่นสารถาวรทั้งสิ้น หรือกฏแห่กรรม

 

27. จงเตือนตัวเองว่า ทุกสิ่งกำลังเปลี่ยนแปลงมันไม่เที่ยงแท้แน่

นอน มันจะเกิดเรื่องดีที่ถูกใจเราเมื่อไหร่ก็ได้เพราะสิ่งเหล่านั้นมัน

ไม่เที่ยง ดังนั้นเราจึงต้องทำจิตให้พร้อมรับสถานการณ์เหล่านั้น

อยู่เสมอ โดยไม่ต้องดีใจหรือเสียใจไปกับเรื่องเหล่านั้น

 

28. จงพยายามทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ หมายความว่า ท่านจะ

ต้องพยายาม รักษาจิตให้สะอาด อย่าคิดอะไรให้ตัวเองทุกข์ อย่า

อยากได้อยากเป็นอะไรจนเกินพอดี อย่าถือตัว อย่าถือทิฏฐิมานะ

รักษาจิตให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ จงน้อมจิตให้มองเห็นสภาวะที่สงบ

และสะอาดอยู่เสมอ วิธีนี้จะทำให้จิตของท่านสงบเย็น ผ่องใสและ

ไม่เดือดร้อนได้เป็นอย่างดีที่สุด

 

29. จงตั้งใจไว้ว่า แม้ท่านจะออกมาจากการนั่งสมาธิแล้ว แต่ท่าน

ก็จะรักษาจิตให้สะอาดผ่องใสและไม่ถือมั่น ไม่แบกเอาสิ่งต่าง ๆ

มาไว้ในใจให้หนักใจเปล่า ๆ เลยซึ่งวิธีนี้จะทำให้สมาธิเกิดอยู่ใน

จิตตลอดเวลา

 

30. จะคิดเรื่องอะไรก็จงคิดด้วยปัญญา คิดเพื่อที่จะทำให้เกิดความ

ถูกต้อง คิดเพื่อจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายให้พวก

เขาได้รับความสุขสงบในชีวิต คิดเพื่อจะทำหน้าที่ของท่านให้ดีที่

สุด คิดจะทำให้ตัวเองและคนอื่น สัตว์อื่นมีความสุขและไม่มีทุกข์

อยู่เสมอ

ผู้แสดงความคิดเห็น สมจิต โพธิ์นิล (shindo_ploy-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-06-06 14:16:09


ความคิดเห็นที่ 11 (1614215)

 อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ฉันทนา ชูนุ่น ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-06-06 15:57:33


ความคิดเห็นที่ 12 (1614328)

 อนุโมทนากับพี่สมจิตด้วยค่ะ

อ่านแปปเดียวก็จบ

แต่เวลาทำจริงๆ

มันไม่ง่ายเหมือนเวลาอ่านเอาซะเลย 

แต่ถ้าทำได้ ก็ดับทุกข์ได้จริง

นี่แหละเนอะ คือความจริง

ที่เราต้องทำให้ได้

สาธุ สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น หญิง < นันทนา แหกาวี > ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-06-07 04:01:10


ความคิดเห็นที่ 13 (1614425)

โมทนาบุญกับน้องสมจิตค่ะสาธุๆๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น บุญภิบาล คงเขียว ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-06-07 13:51:25


ความคิดเห็นที่ 14 (1614550)

 โมทนาธรรมทานด้วยค่ะ คุณสมจิต

ผู้แสดงความคิดเห็น ปุณญิสา พูลชื่น (Ratanapoolchuen-at-yahoo-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-06-07 22:38:02


ความคิดเห็นที่ 15 (1614551)

 โมทนาธรรมทานด้วยค่ะ คุณสมจิต

ผู้แสดงความคิดเห็น ปุณญิสา พูลชื่น (Ratanapoolchuen-at-yahoo-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-06-07 22:38:03



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.