ReadyPlanet.com


มุมรักสุขภาพรู้ทันโรค


 กระทู้นี้ตั่งไว้สำหรับดูแลสุขภาพแก่ทุกคนลูกบ้านสวน อาจจะช่วยดูแลชึ้งกันและกัน อย่าให้เจ็บป่วยใครมีอะไรก็ช่วยกันมาบอกเล่าเก้าสิบกันได้ ในกระทู้นี้นะค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ โซบิเดย์ ยมโดย กระทู้ตั้งโดยสมาชิก โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2012-08-25 23:54:58


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1626260)
image

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-25 23:58:37


ความคิดเห็นที่ 2 (1626262)
image

 

กระทู้นี้ตั่งไว้สำหรับดูแลสุขภาพแก่ทุกคนลูกบ้านสวน อาจจะช่วยดูแลชึ้งกันและกัน อย่าให้เจ็บป่วยใครมีอะไรก็ช่วยกันมาบอกเล่าเก้าสิบกันได้ ในกระทู้นี้นะค่ะ

โรคต่างๆเกี่ยวกับผู้สูงอายุ

 
ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-26 00:10:07


ความคิดเห็นที่ 3 (1626263)

 โรคความดันโลหิตสูง

      โรคความดันโลหิตสูง หรือความดันเลือดสูง เป็นโรคเรื้อรัง และพบได้บ่อยในคนไทย สามารถตรวจได้ง่าย โดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตด้วยตัวเอง เครื่องดังกล่าวจะแสดงค่า ความดันโลหิตสองตัว คือ ความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง ในคนปกติจะมีค่าความดันโลหิตไม่เกิน 140 มิลลิเมตรปรอท และความดันตัวล่างไม่เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท และความดันเลือดปกติ จะมีค่าความแตกต่างกัน ในแต่ละคนแต่ละอายุ
      ถ้าอายุมากขึ้น ความดันเลือดจะสูงขึ้น หรืออาจจะเปลี่ยนแปลงได้ในเวลาต่างกันเช่น เมื่อมีอารมณ์เครียด ความดันเลือดอาจจะสูงขึ้นได้ คนปกติ ขณะพัก (จิตใจสงบ ไม่ได้ออกกำลังกายมาใหม่ ๆ ) จะมีค่าสูงสุดของความดันเลือดตามเกณฑ์อายุดังนี้
ในผู้ใหญ่ถ้าความดันเลือดสูงกว่า 160/95 มิลลิเมตรปรอท ควรนอนพัก 5-10 นาที แล้ววัดใหม่ ถ้าได้ค่าความดันเท่าเดิม หรือใกล้เคียงครั้งก่อน ถ้าสูงตลอดจึงถือว่า เป็นความดันเลือดสูงได้
เมื่อไหร่จึงเริ่มรักษา ? 
      โรคความดันโลหิตสูง ตรวจพบได้ง่าย รักษาไม่ยาก แต่ส่วนใหญ่ละเลยกัน คนทั่วไปเข้าใจว่า ถ้าป่วยเป็นโรคนี้ต้องปวดหัว ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด โรคความดันโลหิตสูงมักไม่มีอาการ เมื่อไหร่ที่มีอาการเช่น ปวดหัว ก็จะพบว่า เป็นโรคความดันโลหิตสูงมานานแล้วหรือเป็นมากแล้ว

อาการความดันโลหิตสูง

      ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ แต่อาการที่พบได้ทั่วไปคือ
ปวดศีรษะ มักปวดบริเวณท้ายทอย จะเป็นในช่วงเช้า พบใน คนที่มีอาการรุนแรง อาการนี้จะหายไปเองได้แต่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง และอาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น เหนื่อยง่าย ความรู้สึกทางเพศลดลง เลือดกำเดาออก ปัสสาวะเป็นเลือด ตาพร่ามัว
สาเหตุของโรค
ร้อยละ 85-90 ไม่ทราบสาเหตุ ที่เหลือเท่านั้นจึงทราบสาเหตุ อาจเกิดจาก
  - โรคไต จะเป็นทั้งโรคไตอักเสบเฉียบพลัน หรือไตวายเรื้อรัง 
  - โรคเนื้องอกของต่อมหมวกไตบางชนิด 
  - โรคครรภ์เป็นพิษ แต่เมื่อคลอดบุตรแล้ว ความดันโลหิตจะลดลง 
  - การใช้ยาสเตียรอยด์หรือสตรีที่ใช้ยาคุมกำเนิด เมื่องดยาคุมกำเนิดแล้วก็จะเป็นปกติ 
  - โรคกล้ามเนื้อหัวใจบางชนิด หรือโรคลิ้นหัวใจเออร์ติกรั่ว
ข้อปฏิบัติตัว
      ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ดูแลน้ำหนัก ให้พอดี เพราะน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความดันโลหิตที่สูงขึ้น คนที่น้ำหนักตัวมาก (ถ้ามากเกินร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น) ควรพยายามลดน้ำหนัก เพราะจะช่วยลดความดันลงได้ โดยใช้วิธีการควบคุมปริมาณอาหาร และหมั่นออกกำลังกายพอดีและเหมาะสม 
ควรลดปริมาณแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เดิน วิ่ง ฯลฯ โดยเริ่มฝึกจากวันละน้อยแล้วค่อย ๆ เพิ่มวันละ 2 นาทีทุกวัน จนครบ 30 นาที การวิ่งหรือออกกำลังกาย ควรปรึกษาแพทย์ที่ให้การรักษาอยู่ ไม่ควรออกกำลังกายประเภท ที่ต้องกลั้นหายใจและเบ่ง ยกน้ำหนัก ชักเย่อ วิดน้ำ
   งดเหล้าและบุหรี่ 
   หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำให้คุณหงุดหงิด โมโห ตื่นเต้น 
   ลดปริมาณไขมันในอาหาร ถ้ามีโรคเบาหวานต้องควบคุมและรักษาเบาหวานให้ดี 
   รับประทานยาตามแพทย์สั่งสม่ำเสมอและไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง    ไม่ควรหยุดหรือเปลี่ยนยาด้วยตนเอง
   สำหรับผู้ป่วยที่กินยาขับปัสสาวะ ควรกินส้มหรือกล้วยเป็นประจำ เพื่อทดแทนโพแทสเซียมที่เสียไปในปัสสาวะ
   ผู้ที่ป่วยแล้วไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตนเองไม่ถูกต้อง จะมีผลกับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้เช่น 
   สมอง - เมื่อความดันโลหิตสูงมาก หลอดเลือดในสมองก็ตีบตันหรือแตกได้ง่าย ทำให้ตกเลือดในสมองได้ง่าย และบ่อยกว่าคนปกติ ทำให้เกิดโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ ถ้าความดันสูงมาก ๆ ในทันที อาจจะทำให้ผู้ป่วยปวดศีรษะ ไม่รู้สึกตัวและชักได้ ถ้ารักษาไม่ทันอาจถึงตาย 
   ตา - ทำให้ตามัวถึงตาบอดได้ 
   หัวใจ - เป็นผลให้หัวใจโต ถ้าเป็นมาก อาจถึงกับหัวใจล้มเหลว มีโอกาสเกิดโรคเส้นเลือดในหัวใจตีบ และกล้ามเนื้อหัวใจตายมากกว่าคนที่มีความดันปกติ

ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-26 00:30:02


ความคิดเห็นที่ 4 (1626264)

 เบาหวานกับต้อกระจก


      โรคต้อกระจก ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ และเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของโรคเบาหวาน แม้ว่าต้อกระจกไม่ใช่โรคทางพันธุกรรมโดยตรง แต่ปัจจุบันพบว่า มีปัจจัยทางพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่รู้จักกันดี เป็นเรื่องของยีนควบคุมการสร้างโปรตีน ส่วนประกอบของเลนส์ตา ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานที่มีความผิดปกติของยีนดังกล่าว จะทำให้เลนส์ตาเริ่มขุ่นมัว และเกิดเป็นโรคต้อกระจกขึ้นในที่สุด
      เลนส์ตาของมนุษย์ มีพัฒนาการมาจากการกลุ่มเซลล์อ่อนที่อยู่ชั้นนอก หรือที่เรียกว่า surface ectoderm กลุ่มเซลล์เหล่านั้น จะยื่นเว้าเข้าไปในบริเวณอวัยวะรับประสาทสัมผัสการมองเห็น ขณะที่อยู่ในครรภ์มารดา พบว่าส่วนของเลนส์ตาเริ่มเกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อตัวอ่อนในครรภ์มีอายุได้ 6 สัปดาห์ เรียกว่า "เอ็มบริโอนิกนิวเคลียส" embryonic nucleus ต่อมารอบๆ เอ็มบริโอนิกนิวเคลียสจะเป็นส่วนที่เรียกว่า "ฟีทัลนิวเคลียส" fetal nucleus และในที่สุดเมื่อทารกแรกคลอด ทั้งสองส่วนจะรวมกันและกลายเป็นส่วนประกอบเกือบทั้งหมดของเลนส์ตาทารก ภายหลังคลอดแล้วถึงจะมีเนื้อเยื่ออีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นไฟเบอร์จับกันเป็นกลุ่มๆ เริ่มพัฒนาเปลี่ยนไปเป็นส่วนเปลือกนอกของเลนส์ตา 
ความก้าวหน้าของวิทยาการสมัยใหม่ ที่น่าสนใจที่สุดอย่างหนึ่งในปัจจุบัน คือ การที่แพทย์สามารถตรวจรหัสพันธุกรรม หรือยีนในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งเป็นการตรวจวินิจฉัยระดับโมเลกุล ที่สามารถทำนายล่วงหน้าได้ว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใดจะเป็นต้อกระจกหรือไม่ ซึ่งก่อนหน้านี้เราไม่สามารถทราบได้เลย จนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการปรากฎอย่างเด่นชัด 
เป็นที่ทราบกันดีว่า ต้อกระจก จัดเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเบาหวานตาบอดมากที่สุด จากการศึกษากลไกการเกิดโรค พบว่าการที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ทำให้น้ำตาลกลูโคสเปลี่ยนไปเป็นสารซอร์บิตอล (sorbitol) การเปลี่ยนกลูโคสเป็นซอร์บิตอลผ่านทางปฎิกิริยาเคมีที่ใช้เอ็นซัยม์ ชื่อ อัลโดสรีดักเตส (aldose reductase) ปริมาณของสารซอร์บิตอลที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง ที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดต้อกระจก 
เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีคณะวิจัยศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างยีนของเอ็นซัยม์อัลโดสรีดักเทส กับการเกิดต้อกระจกในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน หรือที่เรียกว่า type 2 diabetes เทคนิคการตรวจหาไมโครเซทแทลไลท์อัลลีล โดยใช้วิธีโพลีเมอเรสเชนรีแอกชัน ตามด้วยโพลีอะคริลลาไมด์เจลอิเลคโทรโฟริซิส จากการศึกษาครั้งนี้ได้ข้อมูลที่สำคัญ และจะเป็นประโยชน์อย่างมากในอนาคตอันใกล้ ข้อสรุปที่สำคัญ คือ การค้นพบว่า ยีน allele Z เกี่ยวข้องกับการเกิดต้อกระจก และ allele Z-4 ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคตาในผู้ป่วยเบาหวาน 
การตรวจ allele Z และ allele Z-4 จึงเริ่มถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ถือเป็นการตรวจทางพันธุกรรม ที่ช่วยทำนายโอกาสที่จะเกิดเป็นต้อกระจก ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่สอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนเอเชีย และคาดว่าจะมีประโยชน์อีกประการหนึ่ง คือ สามารถนำยากลุ่มออกฤทธิ์ต้านเอ็นซัยม์อัลโดสรีดักเตส มาใช้เพื่อเป็นการรักษาผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง และเป็นการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ที่เชื่อว่าจะมีประสิทธิภาพมากอย่างหนึ่ง
ยีนที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน
       ปัจจัยทางพันธุกรรมที่มีผลทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน เป็นยีนควบคุมปริมาณของฮอร์โมนที่มีชื่อว่า growth hormone ในร่างกาย ฮอร์โมนนี้มีบทบาทสำคัญในการเจริญเติบโตของกระดูก การศึกษาวิจัยในประเทศอังกฤษโดย Professor Cyrus Cooper แห่งมหาวิทยาลัย Southampton พบว่ายีนดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน โดยพบว่าผู้ป่วยโรคนี้จำนวนมากถึงร้อยละ 15 เกิดการกลายพันธุ์ของยีนที่มีชื่อเรียกว่า GH1 gene
กระดูกพรุน จัดเป็นภาวะที่มีเนื้อกระดูกบางตัวลง เนื่องจากมีการสร้างกระดูกน้อยกว่าการทำลายกระดูก ทำให้มีความเสี่ยงต่อการหัก หรือยุบตัวได้โดยง่าย จุดที่มีการหักบ่อย ได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ ก่อให้เกิดปัญหาในผู้สูงอายุ 50%ของสตรีที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปเป็นโรคกระดูกพรุน
สำหรับการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนในปัจจุบัน แพทย์ส่วนใหญ่จะใช้วัดความหนาแน่นของกระดูกในร่างกายคนเราโดยวิธีการทางเอกซเรย์ ในขณะนี้การวัดความหนาแน่นของกระดูกจะวัดที่กระดูกสันหลัง กระดูกต้นขา กระดูกข้อมือ หรือกระดูกหน้าแข้ง อันใดอันหนึ่ง แล้วแต่ว่าเครื่องวัดความหนาแน่นของกระดูกเครื่องนั้นออกแบบมาวัดที่ตำแหน่งใด

        การที่จะรักษากระดูกที่พรุนแล้วให้กลับเข้าสู่สภาพเดิมนั้น ไม่ค่อยได้ผล ดังนั้นการรักษาให้กระดูกคงสภาพ ไม่บางและพรุน ควรจะเน้นหนักที่การป้องกัน ซึ่งมี 2 วิธี คือการเสริมสร้างให้เนื้อกระดูกมีความหนาแน่นมากก่อนเข้าสู่วัยหมดระดู และการให้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งเป็นเพียงการชะลอการเสื่อม และบางพรุนของกระดูกเท่านั้น ร่วมกับการให้โภชนาการที่ถูกต้อง หมายถึง อาหารที่อุดมไปด้วยแคล เซียม เช่น นมและเนื้อสัตว์ รวมกับวิตามินที่เร่งการดูดซึมคือ วิตามิน ดี และ ซี และร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งข้อแนะนำดังกล่าวจะขอรับบริการได้จากคลีนิควัยทอง ซึ่งเป็นคลีนิคที่ให้การบริการดูแลรักษาสำหรับสตรีวัยหมดระดูโดยเฉพาะ
การป้องกันกระดูกบางหรือพรุน อาจจะทำได้โดยการเพิ่มต้นทุนของเนื้อกระดูก ให้หนาแน่นมากขึ้น โดยการบริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ และทานอาหารที่มีส่วประกอบของแคลเซี่ยม ร่วมกับการให้วิตามินดี และวิตามิน ซี เพื่อเพิ่มการดูดซึมแคลเซี่ยม และสารที่จะชะลอการดูดซึมแคลเซียม คือกาแฟ บุหรี่ และแอลกอฮอล์ ซึ่งจะต้องทำตั้งแต่ก่อนเข้าสู่วัยหมดระดู ก็จะเป็นการป้องกัน โดยการชะลอให้เกิดภาวะกระดูกพรุนช้าออกไปอีกได้


ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-26 00:31:28


ความคิดเห็นที่ 5 (1626265)

 หกล้มในผู้สูงอายุ


         หกล้มเป็นปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ สาเหตุของการหกล้มในผู้สูงอายุมักมีมากกว่าหนึ่งสาเหตุ โดยอาจเป็นผลรวมของปัญหาสุขภาพและสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม อาทิเช่น แสงสว่างที่ไม่เพียงพอภายในบ้าน พื้นไม่เรียบ ขรุขระ มีน้ำ ลื่น บรรดาสิ่งกีดขวางได้แก่สายไฟฟ้า ของเล่น พรมย่นพับ วัสดุของใช้ เช่น โต๊ะหรือเก้าอี้ไม่เหมาะสม ผนังหรือที่จับยึดไม่เหมาะสม ส้วมไม่เหมาะสม เช่น เป็นส้วมแบบนั่งยองๆ ไม่มีราวยึดหรือที่จับเกาะที่บันไดแม้กระทั่งภายในห้องสุขา
ผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัวหรือความผิดปกติต่างๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาที่ได้รับอยู่ ถ้าได้รับยาจำนวนมากเท่าไร โอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงยิ่งมากเท่านั้น ยาที่พบว่าเป็นปัญหา ได้แก่ ยาที่ทำให้ง่วงซึมเป็นผลให้การรับรู้ลดลงและการควบคุมการทรงตัวด้อยลง เช่นยาลดน้ำมูก ยาแก้แพ้ ยานอนหลับ เป็นต้น ยาที่ทำให้ความดันโลหิตลดลงเมื่อเปลี่ยนท่าจากท่านอนหรือนั่งมาเป็นท่ายืน ก็พบว่าเป็นสาเหตุสำคัญของการหกล้มเช่นกัน ตัวอย่างที่พบได้บ่อยคือการให้ยาลดความดันโลหิตในกลุ่มที่เป็นยาขับปัสสาวะ
ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่เกิดการหกล้มจากโรคหลอดเลือดสมอง บางครั้งอาจเป็นไม่มากและอาการไม่ชัดเจน ขนาดของเนื้อสมองที่ผิดปกติไม่กว้างและเกิดขึ้นมาแล้วหลายๆครั้งโดยตรวจพบความผิดปกติ
          จากการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอ
หรือการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของสมอง สาเหตุทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยอีกชนิดหนึ่งคือโรคพาร์กินสัน แพทย์อาจตรวจความสมดุลของร่างกายโดยให้ผู้ป่วยหลับตาในท่ายืนตรงและผลักเบาๆที่หน้าอกและ
ทำอีกครั้งที่กลางหลัง จะพบว่าผู้ป่วยทรงตัวไม่ดีหรือจะล้มหงายหลังเมื่อผลักที่หน้าอก ในขณะที่จะทรงตัวได้ดีกว่าเมื่อผลักที่กลางหลัง
ความผิดปกติของหัวใจ และระบบไหลเวียนโลหิต เป็นสาเหตุสำคัญของการหกล้มในผู้สูงอายุ การเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายโดยไม่มีอาการเจ็บหน้าอกพบได้บ่อย และมักจะทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวนำไปสู่การหกล้ม อาจเป็นอาการนำที่ทำให้ผู้ป่วยถูกนำตัวมาพบแพทย์ ภาวะหัวใจเต้นช้าและความดันตกทำให้ปริมาณเลือดไปเลี้ยงสมองลดลง ผู้ป่วยเกิดอาการวิงเวียนหรือแม้กระทั่งหมดสติ ในขณะที่เกิดอาการวิงเวียนหรือเป็นลมหมดสติผู้ป่วยมักจะทรุดลงนั่งหรือหกล้มก็ได้ ผู้ป่วยบางรายเกิดอาการหมดสติขณะที่กำลังเบ่งปัสสาวะและเป็นเหตุให้หกล้มตามมา ความผิดปกติของการเต้นของหัวใจไม่ว่าจะเป็นประเภทเต้นช้าหรือเต้นเร็วก็สามารถนำ
ไปสู่การหกล้มได้ ถ้าหากปริมาณเลือดที่สูบฉีดออกจากหัวใจลดลงและเกิดความดันโลหิตตก ภาวะความดันโลหิตตกเมื่อเปลี่ยนท่าพบได้บ่อยในผู้สูงอายุและจำนวนไม่น้อยที่มีอาการจากปริมาณเลือด
ไปเลี้ยงสมองลดลง
          สาเหตุของการหกล้มจากโรคข้อและกระดูกมักจะตรวจพบได้โดยง่าย และไม่มีปัญหาในการวินิจฉัย ข้อที่พบว่าเป็นปัญหาบ่อยคือข้อเข่าและข้อสะโพกโดยมักเกิดจากโรคข้อเสื่อม สาเหตุอื่นๆ ที่อาจพบได้คือผู้สูงอายุอาจหกล้มหรือทรุดตัวลงนั่งหรือนอนกับพื้น เนื่องจากขาไม่มีแรงและไม่สามารถลุกขึ้นยืนได้ ผู้ป่วยพบว่าขาของตนเองไม่ทำงานตามปกติโดยอาจเป็นอยู่ได้นานเป็นนาทีจนถึงนานหลายๆ ชั่วโมง

ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-26 00:32:02


ความคิดเห็นที่ 6 (1626266)

 อัลไซเมอร์กับผู้สูงอายุ


          ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์การแพทย์มีความเจริญก้าวหน้าไปมาก ทำให้คนมีอายุยืนยาวขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้พบโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมของร่างกายมากขึ้นในผู้สูงอายุ เช่น โรคหลอดเลือดแข็งตัวที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือแตก (ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ หรืออัมพาตครึ่งซีก) โรคไขข้ออักเสบจากความเสื่อม โรคกระดูกพรุน และโรคสมองเสื่อมโดยไม่มีสาเหตุ เราเรียกโรคโรคนี้ว่า โรคอัลไซเมอร์ โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสลายของระบบประสาทส่วนกลาง พบว่าทั่วโลกมีคนเป็นโรคนี้กว่า 20 ล้านคน โดยเฉลี่ยผู้ป่วยจะมีอายุสั้น และเสียชีวิตภายใน 10 ปีหลังเกิดโรค            จนถึงปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ได้
           อัลไซเมอร์ พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยสูญเสียความทรงจำ มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจนไม่สามารถดูแลตนเองได้ อาการของผู้ป่วยอาจแบ่งได้เป็น 4 ระยะ
     1. ระยะที่หนึ่ง ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาเรื่องของความทรงจำ มีอาการลืมในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ โดยเฉพาะเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น ในขณะที่ความทรงจำในอดีตยังดีอยู่ ผู้ป่วยจะดูเชื่องช้าลง ไม่กระฉับกระเฉง เริ่มจำหนทาง หรือชื่อคนบางคนไม่ได้ ในช่วงนี้ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์โกรธง่าย หรือซึมเศร้า การดูแลผู้ป่วยในระยะนี้ เริ่มตั้งแต่การให้เวลาผู้ป่วยในการตอบคำถาม หรือการตอบสนองกับสิ่งรอบข้าง เนื่องจากผู้ป่วยจะเชื่องช้าลงจากการทำงานของสมองที่เสียไป ควรจะช่วยให้ผู้ป่วยคลายความกังวลโดยบอกขั้นตอนทีละลำดับช้า ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยทำตามได้ และควรจัดให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนเป็นช่วง ๆ จะทำให้ผู้ป่วยอารมณ์ดีขึ้น
     2. ระยะที่สอง ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาในการตัดสินใจ อาจคิดหรือพูดอะไรซ้ำ ๆ เริ่มมีปัญหาเรื่องการรับรู้ เช่น ผู้ป่วยอาจจะทำน้ำร้อยลวกมือตนเองแล้วมองบาดแผลเฉย ๆ โดยไม่เข้าใจว่าทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น นอกจากนี้ยังสูญเสียความสามารถทางคำพูด ไม่สามารถบ่งบอกในสิ่งที่ตนเองคิดหรือเข้าใจผ่านทางภาษาได้ การดูผู้ป่วยในระยะนี้ ควรดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดมากขึ้น โดยจัดกิจวัตรประจำวันให้กับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยปรับตัวได้ง่ายขึ้น บางครั้งควรทบทวนในสิ่งที่ผู้ป่วยพูด และเน้นสรุปในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการจะสื่อ เพื่อช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้ปฏิทินตัวใหญ่ ๆ การแขวนนาฬิกาให้ผู้ป่วยเห็นได้ง่าย นอกจากนี้ญาติและครอบครัวของผู้ป่วย ต้องช่วยกันสังเกต และประเมินในเรื่องความสามารถด้านต่าง ๆ และพฤติกรรมของผู้ป่วยโดยเทียบกับพฤติกรรมเดิม เพื่อให้ทราบความสามารถที่ลดลงในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้จัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้ป่วยในช่วงนั้น ๆ ได้
     3. ระยะที่สาม ผู้ป่วยมีความบกพร่องในเรื่องความรู้ความสามารถมากขึ้น ไม่สามารถจดจำสถานที่ต่าง ๆ ได้ เริ่มบกพร่องในการดูแลสุขอนามัยของตนเอง และไม่สามารถทรงตัวได้ดีขณะยืนหรือเดิน ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการโรคจิตหวาดระแวง หรือมีหูแว่วได้ การดูแลผู้ป่วยในระยะนี้จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ ญาติจะต้องคอยดูแล และปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้ป่วยที่ถดถอยลง ในรายที่มีอาการโรคจิต หูแว่ว จำเป็นต้องพบแพทย์ และรับประทานยาเพื่อควบคุมพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
     4. ระยะที่สี่ ผู้ป่วยอาจออกจากบ้าน เร่ร่อนบ่อยขึ้น และอาจมีพฤติกรรมซ้ำ ๆ หรือพูดซ้ำ ๆ ตลอด นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการขับถ่ายที่ไม่เป็นที่เป็นทาง ผู้ป่วยอาจจะจำใครได้ได้เลย หรือจำเรื่องรายบางสิ่งได้เป็นนาที และลืมภายในไม่กี่นาที การดูแลผู้ป่วยระยะนี้ จำเป็นต้องดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองได้เลย รวมถึงเรื่องกิจวัตรประจำวัน เช่น การรับประทาน ซึ่งผู้ป่วยอาจเคี้ยวหรือกลืนอาหารเองไม่ได้ การเตรียมอาหารที่บดหยาบ และไม่เหลวจนเกินไป จะช่วยให้ผู้ป่วยรับประทานได้ง่ายขึ้น พยายามป้อนน้ำทีละน้อย แต่บ่อยขึ้นเพื่อลดภาวะการขาดน้ำของผู้ป่วย        นอกจากนี้การดูแลเรื่องการขับถ่ายเป็นสิ่งสำคัญต้องพยายามพาผู้ป่วยเข้าห้องน้ำให้ถี่ขึ้น เพื่อลดการถ่ายเรี่ยวราด รวมทั้งเรื่องการดูแลความสะอาดของร่างกาย เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางผิวหนัง
โรคอัลไซเมอร์รักษาหรือป้องกันได้หรือไม่
ในปัจจุบันยังไม่มียาที่ได้ผลจริงจังในการป้องกันการเสื่อมของสมอง หรือหยุดยั้งการตายของเซลล์สมองที่เป็นเร็ว และมากกว่าปกติในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ การรักษาผู้ป่วยมี 2 อย่าง คือ
     1. การรักษาตามอาการ ได้แก่ ยาที่ควบคุมจิตใจ และพฤติกรรมที่ก้าวร้าว การให้ยานอนหลับสำหรับผู้ป่วยที่ไม่หลับเวลากลางคืน ยาแก้เกร็งสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการพาร์คินสันร่วมด้วย และให้อาหารทางสายยางในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารเองไม่ได้
     2. การรักษาอาการสมองเสื่อม เนื่องจากผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มีการขาดสาร Acetylcholine ในสมอง ยาที่ได้ผลในการรักษาอาการเป็นยาที่เพิ่มสาร Acctylcholine ในสมอง ยาตัวแรกชื่อ Tacrine แต่ไม่นิยมใช้ เนื่องจากมีผลข้างเคียงมาก ที่พบบ่อยคือ ตับอักเสบ ยาเพิ่มสาร Acetylcholine ในสมองรุ่นที่สอง ได้แก่ Donepezil เป็นยาที่ผลข้างเคียงน้อย และช่วยลดอาการสมองเสื่อมได้อย่างมีนับสำคัญในผู้ป่วยที่มีอาการระยะที่ 1 และ 2 (อาการน้อยถึงปานกลาง)
หากญาติผู้ใหญ่ของท่านเริ่มมีอาการโรคอัลไซเมอร์ ควรจะดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นกำลังใจที่ดีต่อผู้ป่วย


ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-26 00:32:52


ความคิดเห็นที่ 7 (1626268)

 ข้อเสื่อมในผู้สูงอายุ


       เมื่อกล่าวถึงโรคในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ หรือคนในวันทองด้วยแล้ว ส่วนใหญ่มักจะนึกถึงภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง โดยสาเหตุหลักอันหนึ่งเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งมีผลทำให้การดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายได้น้อยลง        ดังนั้นการแนะนำให้ทานแคลเซียมเสริมในผู้สูงอายุจึงนับว่าเป็นทางออกที่ดีทางหนึ่งได้ แต่ยังมีปัญหาอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถละเลยในผู้สูงอายุได้ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานอย่างหนักมาตลอดชีวิต นั้นคือภาวะข้อเสื่อม (Deterioration of Joints) ซึ่งเป็นภาวะที่ข้อต่อโดยเฉพาะข้อเข่า และข้อเท้า ซึ่งต้องรองรับน้ำหนักมากที่สุดเสื่อมสภาพไป ทำให้เยื่อเมือกหล่อเลี้ยงข้อต่อ (Synovial Fluid) ลดน้อยลง        เกิดการเสียดสีของกระดูกในขณะที่มีการเคลื่อนไหว
ระบบโครงสร้างร่างกาย (Skeleton Structure) ของมนุษย์เรานั้น ประกอบด้วยกระดูกแข็ง (Bones) ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียม และฟอสฟอรัสเป็นแกนหลัก โดยส่วนปลายกระดูก หรือบริเวณข้อต่อจะมีส่วนที่เรียกว่าปลายกระดูก (Cartilages) ครอบอยู่ ซึ่งกระดูกอ่อนส่วนนี้จะทำหน้าที่เสมือนเป็นเกราะป้องกันการเสียดสีของกระดูกแข็งเวลามีการเคลื่อนไหวของร่างกาย และบริเวณข้อต่อนี้เองจะมีเอ็นยึดกระดูก (Tendons) ที่ทำหน้าที่ยึดกระดูกให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย นอกจากนี้เนื้อเยื่อบริเวณข้อต่อกระดูกดังกล่าว ยังสามารถสร้างเยื่อเมือกหล่อเลี้ยงข่อต่อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดการเสียดสีกันทั้งของกระดูกแข็ง และกระดูกอ่อนบริเวณข้อต่ออีกทางหนึ่งด้วย
       ปัญหาเรื่องข้อเสื่อมนี้        ในทางการแพทย์พบว่าเป็นปัญหาที่สามารถพบได้บ่อยมาในผู้สูงอายุทีผ่านการทำงานมาอย่างหนัก ทั้งเพศชาย และเพศหญิง และจะก่อให้เกิดภาวะกระดูกแข็ง แตกหักง่าย หรือเดินไปไหนมาไหนลำบาก เกิดภาวะข้อแข็ง เกร็ง และปวดข้อย่างรุนแรงตามมา ในปัจจุบันพบว่ามีการใช้ยาในการรักษาภาวะข้อเสื่อมนี้เป็นจำนวนมากรองจากยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) โดยเฉพาะยาแก้อักเสบในกลุ่ม NSAIDs (Non-Steroid Anti-inflammatory Drugs) ซึ่งส่วนมากเป็นการรักษาอาการปวดที่ปลายเหตุเสียมากกว่า และมักจะมีผลเสียในการก่อให้เกิดปัญหาเรื่องแผลในกระเพาะอาหารตามมา
ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาเรื่องข้อเสื่อมนี้คือ         การป้องกันหรือชะลดไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าวนี้ให้นานที่สุด โดยข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยยืดอายุของข้อต่อ และระบบโครงสร้างของร่างกายเราให้ใช้งานได้เนิ่นนานขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น
   1. หมั่นออกกำลังกายในลักษณะการยืดเส้นยืดสาย พร้อมการฝึกสมาธิ หรือลมปราณควบคู่กันไป เช่น การวิ่ง การว่ายน้ำ การรำมวนจีน การฝึกโยคะ ฯลฯ เพื่อเป็นการบริหารข้อต่อให้ใช้งานที่ไม่หนักแต่ใช้สม่ำเสมอ เพื่อให้มีเยื่อเมือกหล่อเลี้ยงข้อต่อตลอดไป และป้องกันไม่ให้ข้อยึดติดกัน 
   2. ฝึกท่าทางการนั่ง การยืน การเดิน ให้ถูกสุขลักษณะที่ดี คือ ไม่ให้ข้อส่วนใดส่วนหนึ่งแบกรับน้ำหนักมากเกินไป การยืนตรง การนั่งหลังตรงไม่นั่งหลังงอ การยกของหนักด้วยท่าที่ถูกต้อง ห้ามใช้หลังรับน้ำหนักในการยกเป็นอันขาด การใช้ที่นอนที่นุ่มจนเกินไปอาจทำให้กระดูกสันหลังงอ แลรับน้ำหนักมากไปจนเกิดอาการปวดหลัง และกลายเป็นหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมได้ 
   3. ควบคุมน้ำหนัก ไม่ปล่อยให้ร่างกายโภชนาเกินจนอ้วนได้ จะเป็นภาระกับกระดูกหัวเข่าทั้งสองข้างที่ต้องแบกรับน้ำหนักร่างกาย 
   4. งด หรือลดการบริโภคแอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่ที่มีผลต่อสุขภาพของกระดูก และข้อต่อในระยะยาว หรือแม้กระทั่งการใช้ยาบางประเภท เช่น Steroids ซึ่งมีผลให้ข้อเสื่อม และกระดูกผุได้ หากจำเป็นต้องใช้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ 
   5. รับประทานอาหารที่มีส่วนในการเสริมสร้าง และซ่อมแซมกระดูกอ่อนที่ข้อต่อ คือ Glucosamine Sulfate และ Chondroitin Sulfate ร่วมกัน เพื่อร่างกายนำไปใช้ในการสร้างโปรตีน คอลลาเจน (Collagen) สำหรับกระดูกอ่อน และเอ็น รวมถึงกระตุ้นการสร้างเยื่อเมือกหล่อเลี้ยงข้อต่อ 
พึงระลึกเสมอว่าข้อต่อที่ขาดปลายกระดูกอ่อน และเยื่อเมือกหล่อเลี้ยงนั้นย่อมไม่สามารถใช้งาน หรือเคลื่อนตัวได้อย่างง่ายดาย ยิ่งถ้าเกิดการอักเสบ และปวดบวมด้วยแล้ว ประสิทธิภาพของร่างกาย และสุขภาพของคุณคงจะถดถอยลงไปมาก ส่งผลให้การดำรงชีวิตประจำวัน การทำงาน การใช้ความคิดความอ่าน และสมาธิได้ไม่เต็มที่ ฉะนั้นบริหารข้อวันละนิด จะมีผลดีต่อสุขภาพร่างกายของคุณไปได้อีกนาน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-26 00:33:32


ความคิดเห็นที่ 8 (1626269)

 โรคเก๊าท์


        "โรคเก๊าท์" เป็นอาการผิดปกติของร่างกายอันเนื่องมาจากการกินชนิดอิ่มหมีพีมันเกินไป กินดีอยู่ดีเกินไป และไม่ค่อยไม่ออกกำลังกาย ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับผู้ชายในวัยประมาณ 40 ปี แต่ถ้าเกิดในผู้หญิงมักจะพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนแล้ว

สาเหตุของโรค

        เกิดจากกระบวนการใช้ และขับถ่ายสารพวกพิวรีนของร่างกายผิดปกติไป พิวรีนเป็นธาตุอาหารที่พบได้ในเนื้อสัตว์ ข้าวสาลี เครื่องในสัตว์ (ตับ, เซี่ยงจี้) เป็นต้น ซึ่งจะถูกย่อยจนกลายเป็นกรดยูริค และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการสร้างขึ้นพอดี สำหรับบางรายที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้น แต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้า หรือเร็วก็ตามจะทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกาย เป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บปวดอย่างรุนแรงในข้อกระดูกหรือรอบ ๆ ข้อกระดูก โรคนี้สามารถถ่ายทอดกันได้ทางกรรมพันธุ์

อาการของโรค

        มีอาการปวด บวม แดง ร้อนตามข้อ และเจ็บ อาจรุนแรงจนถึงกับเดินไม่ได้ก็มี อาการนี้จะเป็น ๆ หาย ๆ จะทิ้งช่วงระยะเวลาเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน หรือเป็นปีก็ได้ ซึ่งอาการปวดอาจจะเป็นข้อเดียวหรือหลายข้อพร้อมกันก็ได้ ข้อที่เป็นบ่อย เช่น ข้อเท้า ข้อหัวแม่เท้าหรือหัวข้อเข่า นอกจากอาการปวดตามข้อแล้วอาจมีอาการของนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้เช่นกัน

การรักษา

         โรคนี้เป็นแล้วโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้มีน้อย ต้องรับการรักษาไปตลอดชีวิต ทั้งนี้เพราะเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม วิธีที่จะช่วยได้ดีที่สุด คือ พยายามปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ และทานยาตามที่แพทย์สั่ง

ข้อพึงปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

          เป็นที่น่าแปลกใจไม่น้อยที่ท่านสามารถจะอยู่เป็นปกติสุขได้ ถ้าเพียงแต่ท่านจะปฏิบัติตนกลาง ๆ อย่างพอสัณฐานประมาณ เพื่อบรรเทา และควบคุมอาการของโรคเก๊าท์ ท่านควรปฏิบัติตน ดังนี้
รับประทานอาหารตามปกติ และให้ร่างกายได้รับคุณค่าอาหารที่เพียงพอ ไม่ควรรับประทานมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ไม่ควรรับประทานชนิดของอาหารตามที่แพทย์สั่งห้าม 
นอนหลับให้เพียงพอ การที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดฉับพลันได้ง่าย 
สวมรองเท้าขนาดพอเหมาะ ความชอกช้ำที่ร่างกายได้รับ เช่น จากการสวมรองเท้าที่คับเกินไป จะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้ 
ควบคุมน้ำหนักของร่างกาย การที่น้ำหนักตัวมากเกินไปหรืออ้วนเกินไปจะทำให้การรักษาโรคเก๊าท์ยุ่งยากซับซ้อน และอาจทำให้อาการโรครุนแรงยิ่งขึ้น 
ควรดื่มน้ำมาก ๆ ผู้ป่วยด้วยโรคเก๊าท์มักจะมีก้อนนิ่วเกิดขึ้นในไตได้ง่าย การดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว (ประมาณ 2 ลิตร) จะช่วยได้มากในเรื่องนี้ 
ใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง เมื่อจะเดินทางไกล ควรนำยาติดตัวไปด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงจากปัญหายาหมด 
ควรแจ้งให้ศัลยแพทย์ทราบว่าท่านเป็นโรคเก๊าท์ ในกรณีที่ท่านจะได้รับการผ่าตัด แม้การผ่าตัดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อาจจะกระตุ้นให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้ จึงควรแจ้งให้ศัลยแพทย์ทราบก่อนทำการผ่าตัด เพื่อศัลยแพทย์จะได้หามาตรการบางอย่างเพื่อปฏิบัติต่อไป 

ข้อพึงงดเว้น

          อย่าเอาความวิตกกังวลไปเป็นเพื่อนนอน เพราะความวิตกกังวลจะทำให้เกิดอาการโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้ 
อย่างออกกำลังกายหักโหม ควรปฏิบัติหน้าที่การงานหาความเพลิดเพลิน และออกกำลังกายตามที่ท่านเคยปฏิบัติมา แต่อย่าให้มากเกินไป 
อย่าปล่อยให้ร่างกายได้รับความเย็นมากเกินไป ผู้ป่วยด้วยโรคเก๊าท์มักทนต่อความเย็นไม่ค่อยได้ ฉะนั้น จึงควรใช้เครื่องนุ่งห่มที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายพอสมควร
อย่างรับประทานยาอื่นใดนอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง ก่อนที่จะปรึกษากับแพทย์ของท่าน เพราะยาบางอย่างอาจออกฤทธิ์ตรงข้ามกับฤทธิ์ของยารักษาโรคเก๊าท์ 
อย่าดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์มากจนเกินไป ปริมาณแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคเก๊าท์ชนิดเฉียบพลันขึ้นได้ ขอให้ท่านปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์ 

อาหารกับโรคเก๊าท์
          เป็นหลักที่ถือปฏิบัติกันทั่วไปว่าผู้ป่วยด้วยโรคเก๊าท์ ควรหลีกเลี่ยงจากของรับประทานที่มีธาติอาหารพิวรีน (Purines) สูง อาหารพวกนี้ เช่น ตับอ่อน (Sweetbreads) ตับ เซ่งจี๊ ม้าม ลิ้น นอกเหนือไปจากนี้แล้วก็ไม่มีกฎตายตัวอะไรสำหรับผู้ป่วยด้วยโรคเก๊าท์ ผู้ป่วยบางรายอาจรับประทานได้เช่นปกติ แต่บางรายอาจต้องจำกัดการรับประทานพวกธาติอาหารพิวรีนดังกล่าว ซึ่งก็สุดแต่แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินว่าท่านจะต้องปฏิบัติตนอย่างไร ต้องการหรือต้องจำกัด หรือต้องงดอาหารประเภทใดบ้าง ก็ขอให้ท่านปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ข้อแนะนำในการจำกัดสารอาหารพิวรีน

อาหารที่ต้องงด 

   พวกเครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ตับอ่อน หัวใจ ไส้ สมอง เซ่งจี๊ 
   กะปิ
   ปลาซาดีน, ปลาซาดีนกระป๋อง 
   ไข่ปลา 
   น้ำซุบสกัดจากเนื้อสัตว์, น้ำเคี่ยวเนื้อ (Meat extracts) 
   น้ำเกรวี (Gravies) 

อาหารที่ต้องลด (ต้องจำกัด)
   เนื้อสัตว์ (เหลือวันละมื้อ) 
   ปลาทุกชนิด และอาหารทะเลอื่น ๆ เช่น กุ้ง หอย ปู (เหลือวันละมื้อ) 
   เบียร์ และเหล้าต่าง ๆ 
   ถั่วบางอย่าง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา 
   ผักบางอย่าง เช่น หน่อไม้ฝรั่ง, แอสพารากัส, กระหล่ำดอก, ฝักขม, เห็ด 
   ข้าวโอ๊ต 
   ข้าวสาลีที่ไม่ได้สีเอารำออก (Whole-wheat cereal) 

อาหารที่รับประทานได้ตามปกติ
   ข้าวต่าง ๆ (ยกเว้นข้าวโอ๊ต, ข้าวสาลีที่ไม่ได้สีเอารำออก) 
   ผัก (ยกเว้นชนิดที่ระบุให้จำกัด) 
   ผลไม้ 
   น้ำนม 
   ไข่ 
   ขนมปังเสริมวิตามิน 
   เนย และเนยเทียม 
าหารอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุให้งด หรือให้จำกัด

 

ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-26 00:34:13


ความคิดเห็นที่ 9 (1626270)

 กระดูกสันหลังเสื่อม


         กระดูกสันหลังเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อย เหมือนกับบรรดาข้อกระดูกเสื่อมทั้งหลาย เช่น ข้อเข่าเสื่อม ข้อสะโพกเสื่อม
ก่อนอื่นขออธิบายถึงลักษณะของข้อกระดูกสันหลังก่อนว่า กระดูกสันหลังมี 3 ระดับ ระดับคอมีกระดูกสันหลัง 7 ชิ้น ระดับกลางหลัง 12 ชิ้น ระดับบั้นเอวมี 5 ชิ้น กระดูกสันหลังแต่ละอันมาเรียงต่อกันเป็นปล้องๆ โดยด้านหน้ามีหมอนรองกระดูกกั้นอยู่ ส่วนด้านหลังเป็นข้อต่อเล็กๆ 2 ข้าง ทำให้ข้อกระดูกสันหลังมีการเคลื่อนไหวได้ เช่นการก้ม การเงย ของคอ การก้มหลังและแอ่นหลัง เป็นต้น
ข้อกระดูกสันหลังเสื่อมที่พบได้บ่อย ได้แก่ ข้อกระดูกสันหลังระดับบั้นเอว และระดับคอ สำหรับการเสื่อมของกระดูกสันหลัง จะมีความแตกต่างกว่าข้อเข่าและข้อสะโพกคือ การเสื่อมส่วนใหญ่จะเริ่มเกิดขึ้นที่หมอนรองกระดูกซึ่งเป็นตัวกั้นระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละปล้อง หมอนรองกระดูกสันหลังมีลักษณะคล้ายเยลลี่ที่มีความยืดหยุ่น ทำหน้าที่เหมือนโช็คอัพ กระดูกสันหลังระดับบั้นเอวและระดับคอมีการใช้งานมากกว่าระดับอื่น จึงเสื่อมง่ายกว่า หมอนรองกระดูกบางส่วนอาจจะมีการเคลื่อนที่ไปกดทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวดร้าวไปตามแขนหรือขาที่เส้นประสาทนั้นๆ ไปเลี้ยงก็ได้ ในกรณีที่หมอนรองกระดูกเสื่อม แต่ไม่ไปกดเส้นประสาท จะมีผลทำให้ข้อกระดูกสันหลังที่อยู่ด้านหลังมีการเปลี่ยนแปลง โดยมีการอักเสบหรือขรุขระหรืออาจมีกระดูกงอก ทำให้เกิดมีอาการเจ็บปวดขึ้นบริเวณหลังและปวดร้าวลงมาบริเวณกระเบนเหน็บ หรือสะโพกทั้ง 2 ข้างได้ คนอ้วน คนที่ใช้หลังไม่ถูกต้อง เช่น ก้มๆ เงยๆ ยกของหนัก มีโอกาสข้อกระดูกสันหลังเสื่อมได้เร็วกว่าคนอื่น
สำหรับการรักษาส่วนใหญ่คือการนอนพัก การรับประทานยาแก้อักเสบของกระดูกและข้อ การระมัดระวังไม่ใช้หลังอย่างผิดๆ ถ้าไม่ดีขึ้นอาจต้องทำกายภาพบำบัด เนื่องจากโรคนี้จะมีโอกาสเป็นเรื้อรังในระยะยาวควรที่จะลดน้ำหนัก และบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังให้แข็งแรง การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่นการฉีดยา และการผ่าตัด ขึ้นอยู่ในวิจารณญาณของแพทย์ผู้รักษา

ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-26 00:35:01


ความคิดเห็นที่ 10 (1626271)

 ข้อกระดูกเสื่อม


          ข้อกระดูกเสื่อมเป็นโรคที่พบบ่อยสุดในบรรดาโรคที่เกี่ยวกับข้ออักเสบ ข้อกระดูกเสื่อมมีสาเหตุมาจากการใช้งานข้อนั้นๆ มาเป็นเวลานาน เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวข้อกระดูก ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับการย่างเข้าสู่วัยสูงอายุ
การเปลี่ยนแปลงของข้อกระดูกเสื่อม จะเกิดขึ้นกับกระดูกอ่อนของปลายกระดูกที่มาประกอบกันเป็นข้อ ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้ชัดเจนว่า กระดูกอ่อนคือส่วนปลายกระดูก สีขาวมัน เหมือนเช่น เวลาเรารับประทานขาไก่ เราจะเห็นกระดูกอ่อนที่เป็นส่วนปลาย สีขาวมัน ผิวมีลักษณะเรียบ ซึ่งลักษณะแบบนี้ก็เหมือนกระดูกอ่อนในคนอายุไม่มาก เวลาข้อกระดูกเสื่อม ผิวที่เรียบนี้จะขรุขระ เพราะมีการทำลายกระดูกอ่อน จนลงไปถึงตัวกระดูกข้างใต้ เวลามีการเคลื่อนไหวจะมีอาการปวด และจะขัดเวลาเริ่มมีการเคลื่อนไหว ข้อกระดูกที่เคยได้รับอุบัติเหตุมาก่อนก็จะเสื่อมเช่นนี้ได้เร็วกว่าปกติ
ข้อกระดูกเสื่อมเป็นโรคที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะไม่มีทางหายขาด ถือเป็นโรคเรื้อรังที่จะต้องคอยประคับประคอง ไม่ให้มีการเสื่อมมากขึ้นไปอีก ดังนั้นถ้าท่านยังไม่มีภาวะข้อกระดูกเสื่อม ท่านคงจะต้องระมัดระวังและปฏิบัติตนเพื่อชะลอการเสื่อม            โดยหลักของการปฏิบัติตนคงจะไม่พ้นการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะน้ำหนักเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้อกระดูกเสื่อมได้ เนื่องจากรับแรงมากกว่าปกติ นอกจากนี้ท่านจะต้องทราบว่า ท่าทางต่างๆ ในชีวิตประจำวันท่าใดที่ไม่ควรกระทำเพราะจะทำให้ข้อเข่า ข้อกระดูกสันหลังรับแรงมากเกินไป การบริหารร่างกายเฉพาะส่วนเช่น การบริหารกล้ามเนื้อหลัง จะช่วยชลอข้อสันหลังเสื่อมได้
สำหรับรายละเอียดการดูแลรักษา หรือการตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกระดูกเสื่อม ท่านสามารถสอบถามได้จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคกระดูกและข้อ หรือที่เรียกว่าศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์นะคะ


ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-26 00:36:14


ความคิดเห็นที่ 11 (1626272)

 ข้อเข่าเสื่อม


             ข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคข้อกระดูกเสื่อม ที่พบได้บ่อยมาก ในบรรดาข้อกระดูกเสื่อมทั้งหลาย จะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุเกือบทุกคนก็ว่าได้ เพราะการใช้งานตั้งแต่คนเราเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 1 ขวบ เดิน วิ่ง กระโดดโลดเต้น ล้วนแล้วแต่มีแรงไปกระทำที่ข้อเข่าทั้งสิ้น ซ้ำร้ายบางคนน้ำหนักตัวมากเกินกว่าปกติขึ้นไปอีก ยิ่งทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้รวดเร็วกว่าวัยอันสมควรนอกจากนี้ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่า เช่น กระดูกบริเวณข้อเข่าหัก หรือเอ็นที่ยึดข้อเข่าขาด แล้วไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็มีส่วนทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้นไปอีก
การเปลี่ยนแปลงของข้อเข่าเสื่อมที่เกิดขึ้นคือ ผิวของกระดูกอ่อนหายไป จนทำให้ผิวข้อส่วนนั้นกลายเป็นเนื้อกระดูก ไม่ใช่กระดูกอ่อนที่มาสัมผัสกันเวลาข้อเข่าเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้เกิดความเจ็บปวดมาก และบางครั้งทำให้ข้ออักเสบ บวม มีน้ำในข้อเข่า และต้องไปรับการเจาะเอาน้ำออก ข้อเข่าที่เสื่อมนี้เวลางอเข่ามากๆ เช่นนั่งยองๆ นั่งพับเพียบ หรือนั่งขัดสมาธิ ผิวข้อยิ่งเบียดกันมากจะยิ่งมีอาการปวดมากจนบางครั้งผู้ป่วยไม่สามารถงอเข่ามากๆ ได้
ท่านพอที่จะทราบการเปลี่ยนแปลงและอาการของข้อเข่าเสื่อมแล้ว สำหรับท่านที่ยังไม่มีอาการหรือเริ่มมีอาการ ท่านสามารถป้องกันไม่ให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วได้ โดยการระมัดระวังในการใช้เข่า ไม่ปล่อยให้มีน้ำหนักตัวมากกว่าที่ควรเป็น การบริหารกล้ามเนื้อต้นขาโดยการเหยียดเข่าตรงแล้วยกขึ้น เพื่อให้กล้ามเนื้อต้นขาแข็งแรง จะช่วยลดแรงที่ลงไปที่กระดูกข้อเข่าได้บ้าง สำหรับท่านที่มีอาการแล้ว ควรลดกิจกรรมลง ถ้าไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการรักษาด้วยยาลดการอักเสบของข้อ และการอธิบายให้ระวังการใช้ข้อเข่า บางรายอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมด้วย และถ้าไม่หาย การรักษาอาจจะใช้วิธีส่องกล้องเข้าไปในข้อเข่า เพื่อผ่าตัดทำให้ข้อเข่าเรียบขึ้น หรืออาจใช้การผ่าตัดจัดข้อเข่าให้ตรงขึ้นในรายที่ข้อเข่าโก่ง และบางรายที่ข้อเข่าเสื่อมมากๆ อาจจำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจึงจะทำให้หายปวดได้

 

 

ปัญหาการใช้ยาในคนสูงอายุ


            ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะต้องรับประทานยาไม่มากก็น้อย ยาบางอยางไม่ใช่ยาอันตราย เช่น วิตามิน ยาบำรุงต่างๆ แต่ยาบางอย่างก็เป็นยาอันตราย ซึ่งต้องการความระมัดระวัง ทั้งจำนวนและเวลาที่ควรรับประทาน เนื่องจากการออกฤทธิ์ของยานั้นมีความแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของยา แพทย์ผู้ให้การรักษาจะคำนวณแล้วว่า ควรจะให้รับประทานกี่มื้อ ห่างกันทุกกี่ชั่วโมง ดังนั้นการเลื่อนเวลาออกไปเพราะลืม หรือเลื่อนเวลาออกไปเพราะมื้ออาหารไม่แน่นอน หรือด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม ถ้าเป็นยาที่ต้องการความแน่นอนของระยะเวลา ซึ่งผู้สูงอายุเองหรือลูกหลาน อาจจะต้องทำความเข้าใจ และถามแพทย์ผู้รักษาให้แน่ใจในวิธีการรับประทานที่ถูกต้องและควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด จึงจะได้ผลดีต่อตนเอง
สิ่งที่ควรจะกระทำอย่างยิ่งคือการจดรายละเอียด วิธีการรับประทานยาของยาแต่ละชนิดที่แพทย์สั่งไว้ให้ชัดเจน พร้อมกับชื่อยาแต่ละอย่างถ้าท่านทราบ ซึ่งในปัจจุบันโรงพยาบาลเกือบทุกแห่งจะเขียนชื่อยาติดไว้ที่ข้างซองเสมอ การเตรียมยาไว้ให้พร้อมทุกมื้อใน 1 วัน จะช่วยป้องกันไม่ให้ลืมรับประทานยา และจะได้ไม่สับสนว่ารับประทานมื้อนี้แล้วหรือยัง ท่านอาจจะเตรียมใส่ซอง หรือกล่องพลาสติก ซึ่งเดี๋ยวนี้กล่องสำหรับใส่ยาโดยเฉพาะ มีขายตามท้องตลาดทั่วไป จะยังมีความสะดวกมากขึ้น ยาก่อนอาหาร ยาหลังอาหาร หรือยาก่อนนอน เตรียมไว้ให้พร้อมในตอนเช้า แล้วท่านจะไม่ลืมรับประทานยา แต่มีข้อควรระวังในกรณีที่บ้านท่านมีเด็กเล็กๆ ที่กำลังซนอยู่ด้วย ท่านต้องเก็บยาเหล่านี้ให้พ้นมือของหนูน้อยเหล่านี้ด้วย ถ้าท่านเผลอ เด็กเหล่านี้อาจรับประทานยาของท่านเข้าไป ซึ่งยาบางอย่างจะมีอันตรายต่อเด็กอย่างมากด้วย


ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-26 00:37:01


ความคิดเห็นที่ 12 (1626273)

 สมองฝ่อในผู้สูงอายุ


           สมองฝ่อเป็นความผิดปกติของสมอง โดยเฉพาะด้านความจำที่เสื่อมลงไปทีละน้อย มีการเสื่อมของเซลล์สมอง มีจำนวนเซลล์น้อยลง สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ แต่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุประมาณ 75 ปีขึ้นไป สภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองน้อย ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคสมองฝ่อ ในคนสูงอายุที่มีอาการนี้ อาจเกิดจากการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองหลายๆ เส้น เกิดการตายของเซลล์สมองหลายๆ ตำแหน่ง ขนาดไม่ใหญ่ถึงกับทำให้คนสูงอายุนั้นเป็นอัมพาต ไม่มีอาการอะไรรุนแรง นอกจากความจำเสื่อม ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มทีมีแอลกอฮอล์มาก มีส่วนทำให้เกิดโรคสมองฝ่อได้มากกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม
สำหรับอาการของโรคสมองฝ่อ จะเริ่มต้นจากการลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้น ต่อมาจะเกี่ยวข้องกับสมองในด้านการรับรู้ การเข้าใจและการมีเหตุผล ขาดความสนใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมรอบๆ ตัวเอง และถ้าเป็นมากขึ้น บุคลิกภาพของผู้สูงอายุนั้นจะเสียไป บางรายมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อแขนและขา ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก
สำหรับการรักษาโรคสมองฝ่อนั้น จะเห็นได้ว่าสาเหตุบางอย่างสามารถแก้ไขได้ เช่น สภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองลดน้อยลงในระยะเริ่มต้น และได้รับการรักษาทันท่วงที ก็อาจป้องกันการเกิดโรคสมองฝ่อได้ หรือการรับประทานยาบางอย่าง เช่น ยานอนหลับ ยาแก้ปวด ก็อาจมีส่วนทำให้มีอาการโรคสมองฝ่อได้ ส่วนโรคสมองฝ่อที่เกิดขึ้นแล้วไม่ทราบสาเหตุ การรักษาคงเป็นการรักษาตามอาการ

ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-26 00:37:46


ความคิดเห็นที่ 13 (1626274)

 ภาวะกระดูกพรุน


        ภาวะกระดูกพรุนเป็นภาวะที่ร่างกายมี Calcium น้อยกว่าปกติ หรือร่างกายมีการดูดซึม Calcium ได้น้อยกว่าปกติ การที่จะหลีกเลี่ยงภาวะกระดูกพรุนนี้ มีวิธีต่าง ๆ ดังนี้
    1. เน้นการรับประทานอาหารประเภทผัก และผลไม้เพื่อให้ได้ Vitamin และเกลือแร่ที่เพียงพอในการป้องกันภาวะกระดูกพรุน 
    2. ออกกำลังกายให้เหมาะสม เพื่อเป็นการเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก และยังมีความสำคัญต่อความแข็งแร่งของกล้ามเนื้อ รวมถึงความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้ออีกด้วย 
    3. ลดปริมาณบุหรี่ กาแฟ และความเครียด หรือสิ่งที่มาให้เกิดภาวะวิตกกังวล เนื่องจากเป็นการกระตุ้นให้เกิดการหลั่ง Adrenaline ซึ่งจะไปมีผลทำให้เกิดการย่อยสลายกระดูกในร่างกายมากขึ้น อีกทั้งความเครียดยังมีผลทำห่างกายต้องการแมกนีเซียม และวิตามินซีเพิ่ม เพื่อนำไปใช้สร้างมวลกระดูก 
    4. พยายามหลีกเลี่ยงอาหารประเภท fast-food หรือยาที่มีผลต่อระบบต่อมไร้ท่อในร่างกาย รวมถึงอาหารที่ผานขบวนการผลิต เช่น กาแฟ น้ำตาลทรายขาว เกลือ รวมถึงเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งมีผลทำให้เกิดภาวะความเป็นกรดในกระเพาะมากขึ้น ทำให้ร่างกายดูดซึม Calcium ได้น้อยลง 
    5. อย่างพยายามลดความอ้วนมากเกินไป เนื่องจากพบว่า Estrogen มักจะเก็บสะสมในไขมัน ดังนั้นแม้ว่าจะอยู่ในวัยทองแล้วก็ตาม คนอ้วนจึงยังคงมี Estrogen มากกว่า ภาวะกระดูกพรุนจึงเกิดได้ช้ากว่า 
    6. พยายามรับประทานอาหารที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่ง Calcitonin ซึ่งเป็นฮอร์โมนช่วยในการสร้างกระดูกให้แข็งแรงขึ้น เช่น Salmon


ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-26 00:38:34


ความคิดเห็นที่ 14 (1626275)

 เกลือแร่แคลเซียม


         ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตรควรรับประทานอาหารที่ให้เกลือแร่แคลเซียม เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ป้องกันภาวะกระดูกบาง เปราะหักง่าย และลดอัตราเสี่ยงของโรคมะเร็ง
เกลือแร่แคลเซียม (Calcium) เป็นเกลือแร่ที่ทุกท่านทราบกันดีอยู่แล้วว่ามีความสำคัญต่อร่างกายของเราอย่างมาก โดยปกติร่างกายจะเก็บเกลือแร่แคลเซียมไว้ที่กระดูก และฟัน          เมื่อใดที่ร่างกายต้องการนำแคลเซียมไปใช้ก็จะมีการสลายเอาออกมาจากกระดูก และฟันของเราเป็นหลัก ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หลายท่านเชื่อว่า คนไทยไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการขาดแคลเซียมมากนัก เนื่องจากลักษณะการบริโภคของคนไทย นิยมรับประทานอาหารที่ให้แคลเซียมสูง เช่น ผลิตภัณฑ์จากปลา กะปิ กุ้งแห้ง ผักชนิดต่าง ๆ ที่มีแคลเซียมสูง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผลการสำรวจจากหลายสถาบัน พิสูจน์ว่าคนไทยมีแนวโน้มในการขาดเกลือแร่แคลเซียมมากขึ้น โดยเฉพาะคนในสังคมเมือง เนื่องจากสาเหตุ คือ
การรับประทานอาหารที่ให้แคลเซียมอย่างไม่สม่ำเสมอ ทานเป็นบางมื้อ หรือทานตามฤดูกาล ตามสภาวะเศรษฐกิจ 
ภาวะความบกพร่องในร่างกาย โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร เช่น การมีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ท้องเสียหรือติดเชื้อในทางเดินอาหาร มะเร็งลำไส้ที่ทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลงอย่างมาก 
การขาดวิตามินดี เนื่องจากวิตามินดีเป็นวิตามินที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม หากร่างกายขาดวิตามินดี ก็จะทำให้ขาดแคลเซียมตามไปด้วย 
          การรับประทานอาหารจำพวกไขมัน โปรตีน หรืออาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น ผักโขม หรือโกโก้ ทำให้ร่างกายลดการดูดซึมเกลือแร่แคลเซียมได้ 
ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงในเพศหญิง โดยเฉพาะในวัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน ส่งผลให้ร่างกายลดการดูดซึมแคลเซียมลง 
สารคาฟอีนจากกาแฟ นิโคตินจากบุหรี่ และแอลกอฮอล์จากสุราเป็นสารเคมีที่ลดการดูดซึมเกลือแร่แคลเซียมทั้งสิ้น 
ความเครียดส่งผลให้กระเพาะอาหารมีการหลั่งกรดสูง ทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง 
          อาการเมื่อขาดแคลเซียม
ทำให้กระดูกอ่อนหรือหักง่าย กระดูกพรุน ฟันโยกหรือหลุด ปวดหลัง หลังโก่งงอ ทำให้เกิดอาการปวดเกร็งในช่องท้องมากผิดปกติในระหว่างมีประจำเดือนของผู้หญิง 
กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ เกิดอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ 
ชาตามปลายมือปลายเท้า หรืออาการเจ็บกล้ามเนื้อ 
ดังนั้นทุกท่านควรป้องกันอาการดังกล่าว โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ควรรับประทานอาหารที่ให้เกลือแร่แคลเซียมประมาณ 1,000-1,2000 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ป้องกันภาวะกระดูกบาง เปราะ หักง่าย และลดอัตราเสี่ยงของโรคมะเร็งอีกด้วย

ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-26 00:39:07


ความคิดเห็นที่ 15 (1626276)

 โรคพาร์กินสัน (Parkinson"s Disease)


         เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท เนื่องจากการขาดสารโดปามีนในสมอง พบได้บ่อยในผู้สูงอายุทั้งเพศชายและหญิง โรคนี้เกิดขึ้นจากการเสื่อม และตายไปของเซลล์สมอง ในตำแหน่งที่สร้างสารโดปามีน จนไม่สามารถสร้างสารโดปามีนได้เพียงพอ สารโดปามีนนี้มีความสำคัญต่อ การควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีอาการสั่นขณะอยู่เฉยๆ เกิดขึ้นที่มือหรือเท้า ซีกใดซีกหนึ่งหรือทั้ง 2 ซีก เคลื่อนไหวช้าลง เช่น เดินช้าลง แขนไม่แกว่ง พูดเสียงเบา มักมีอาการแข็งตึงของแขนขา และลำตัว ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก นอกจากนี้ยังพบความผิดปกติของท่าทาง และการทรงตัว เช่น หลังค่อม แขนงอ หกล้มง่าย นั่งตัวเอียง ส่วนอาการอื่นๆ ที่มักพบร่วมด้วย ได้แก่ อาการปวดตามกล้ามเนื้อ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ สีหน้าเฉยเมย ไม่แสดงอารมณ์ น้ำลายไหลบ่อย ไม่สามารถควบคุมได้ ลายมือเปลี่ยนไป

          ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาใดที่จะทำให้โรคพาร์กินสันหายขาดได้ เนื่องจากไม่สามารถหยุดยั้งความเสียหายที่เกิดกับเซลล์สมอง อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีหลายวิธีในการบำบัดรักษาเพื่อควบคุมอาการหรือชะลอไม่ให้โรคเลวลงเร็วนัก เมื่อวินิจฉัยได้แล้วว่าผู้ป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน แพทย์จำเป็นต้องวางแผนการรักษา ติดตามอาการ และประเมินผลการรักษาเป็นระยะๆ แตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย 
หลักการใช้ยาก็เพื่อระงับและยับยั้งอาการสั่น การเคลื่อนไหวผิดปกติและปรับความสมดุลของร่างกาย ทั้งนี้คนไข้คนหนึ่งอาจต้องให้ยามากกว่าหนึ่งขนาน ยาที่ใช้บ่อยๆ ได้แก่ เลโวโดป้า (levodopa) ซึ่งเมื่อยาเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกแปลงเป็นสารโดปามีน เพื่อเสริมให้เซลล์สมองที่ไม่สามารถผลิตสารนี้ได้มากพอ          ยานี้มักจะต้องให้ควบคู่กับยาขนานอื่นเพื่อช่วยขนส่งยาไปถึงสมองได้มากขึ้น ผู้ป่วยบางรายใช้ไปนานๆ แล้วพบว่ายาเสื่อมฤทธิ์ลง ยากลุ่มใหม่ๆ ที่นำมาใช้รักษาโรคพาร์กินสัน ได้แก่ dopamine agonists ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์เลียนแบบผลของโดปามีน ตัวอย่างเช่น pergolide และ bromocriptine อีกกลุ่มหนึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์ต้านเอ็นซัยม์ MAO-B ทำให้โดปามีนออกฤทธิ์ได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น selegiline และยาที่ออกฤทธิ์ต้านเอ็นซัยม์ COMT ช่วยเสริมฤทธิ์เลโวโดปา ตัวอย่างเช่น entacapone เป็นต้น
การรักษาโดนการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในสมอง เรียกว่า deep brain stimulation (DBS) ได้ผลดีในผู้ป่วยจำนวนมาก และการศึกษาวิจัยปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด หรือ stem cell therapy เชื่อว่าจะประสบความสำเร็จในไม่ช้านี้ อย่างไรก็ตามพบว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยป้องกันการเกิดโรคพาร์กินสันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศชายที่ฟิตร่างกายตั้งแต่อายุยังน้อย จากการคำนวณทางสถิติและวิเคราะห์ผลการศึกษา พบว่าสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคพาร์กินสันได้มากถึงร้อยละ 50


ออกกำลังกายป้องกันโรคพาร์กินสัน


           รายงานการศึกษาวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ตีพิมพ์ในวารสารประสาทวิทยาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2005 พบว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอช่วยป้องกันการเกิดโรคพาร์กินสันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศชายที่ฟิตร่างกายตั้งแต่อายุยังน้อย            จากการคำนวณทางสถิติและวิเคราะห์ผลการศึกษา พบว่าสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคพาร์กินสันได้มากถึงร้อยละ 50
โรคพาร์กินสัน (Parkinson"s Disease) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท เนื่องจากการขาดสารโดปามีนในสมอง พบได้บ่อยในผู้สูงอายุทั้งเพศชายและหญิง โรคนี้เกิดขึ้นจากการเสื่อม และตายไปของเซลล์สมอง ในตำแหน่งที่สร้างสารโดปามีน จนไม่สามารถสร้างสารโดปามีนได้เพียงพอ สารโดปามีนนี้มีความสำคัญต่อ             การควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีอาการสั่นขณะอยู่เฉยๆ เกิดขึ้นที่มือหรือเท้า ซีกใดซีกหนึ่งหรือทั้ง 2 ซีก เคลื่อนไหวช้าลง เช่น เดินช้าลง แขนไม่แกว่ง พูดเสียงเบา มักมีอาการแข็งตึงของแขนขา และลำตัว ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก นอกจากนี้ยังพบความผิดปกติของท่าทาง และการทรงตัว เช่น หลังค่อม แขนงอ หกล้มง่าย นั่งตัวเอียง ส่วนอาการอื่นๆ ที่มักพบร่วมด้วย ได้แก่ อาการปวดตามกล้ามเนื้อ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ สีหน้าเฉยเมย ไม่แสดงอารมณ์ น้ำลายไหลบ่อย ไม่สามารถควบคุมได้ ลายมือเปลี่ยนไป
             ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาใดที่จะทำให้โรคพาร์กินสันหายขาดได้ เนื่องจากไม่สามารถหยุดยั้งความเสียหายที่เกิดกับเซลล์สมอง อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีหลายวิธีในการบำบัดรักษาเพื่อควบคุมอาการหรือชะลอไม่ให้โรคเลวลงเร็วนัก เมื่อวินิจฉัยได้แล้วว่าผู้ป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน แพทย์จำเป็นต้องวางแผนการรักษา ติดตามอาการ และประเมินผลการรักษาเป็นระยะๆ แตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย
หลักการใช้ยาก็เพื่อระงับและยับยั้งอาการสั่น การเคลื่อนไหวผิดปกติและปรับความสมดุลของร่างกาย ทั้งนี้คนไข้คนหนึ่งอาจต้องให้ยามากกว่าหนึ่งขนาน ยาที่ใช้บ่อยๆ ได้แก่ เลโวโดป้า (levodopa) ซึ่งเมื่อยาเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกแปลงเป็นสารโดปามีน เพื่อเสริมให้เซลล์สมองที่ไม่สามารถผลิตสารนี้ได้มากพอ              ยานี้มักจะต้องให้ควบคู่กับยาขนานอื่นเพื่อช่วยขนส่งยาไปถึงสมองได้มากขึ้น ผู้ป่วยบางรายใช้ไปนานๆ แล้วพบว่ายาเสื่อมฤทธิ์ลง
ยากลุ่มใหม่ๆ ที่นำมาใช้รักษาโรคพาร์กินสัน ได้แก่ dopamine agonists ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์เลียนแบบผลของโดปามีน ตัวอย่างเช่น pergolide (Permax) และ bromocriptine (Parlodel) อีกกลุ่มหนึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์ต้านเอ็นซัยม์ MAO-B ทำให้โดปามีนออกฤทธิ์ได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น selegiline (Carbex) และยาที่ออกฤทธิ์ต้านเอ็นซัยม์ COMT ช่วยเสริมฤทธิ์เลโวโดปา ตัวอย่างเช่น entacapone (Comtan) เป็นต้น


วิธีรับมือกับอาการเจ็บแน่นหน้าอกเฉียบพลัน


              ภาวะเจ็บแน่นหน้าอกเฉียบพลัน อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคที่เกิดจากระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร กล้ามเนื้อหัวใจ หรือหลอดเลือดตีบ
สาเหตุที่สำคัญ คือ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต

              สัญญาณอันตรายจากภาวะหัวใจขาดเลือด
อาการเจ็บแน่นหน้าอกระหว่างราวนม ลิ้นปี่ คล้ายมีอะไรบีบรัดหรือกดทับ อาจร้าวไปที่คอ กราม แขนซ้ายด้านใน และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก ตัวเย็น เวียนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ใจสั่น เป็นลักษณะเฉพาะของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ที่เป็นผลจากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจจะตายในเวลาอันรวดเร็วภายใน 6 ชั่วโมง กล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ขาดเลือดอาจตายมากถึง 90% และส่วนที่ดีอีกประมาณ 10% ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นบริเวณกว้าง จะทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน หัวใจวายเฉียบพลัน และเสียชีวิตในที่สุด 
               โอกาสในการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป และผู้หญิงอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป โดยมีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ เครียด ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือมีประวัติสมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ความเสี่ยงจะยิ่งสูงขึ้น 
               การรักษาเพื่อเปิดหลอดเลือดที่ตีบตัน อาจทำได้โดย
      - การให้ยาละลายลิ่มเลือด (ดีที่สุดภายใน 30 นาที หลังผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล) 
      - การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (ดีที่สุดภายใน 90 นาที หลังผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล) 
      - การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ 
               จะเห็นได้ว่าการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ญาติหรือคนใกล้ชิด ควรรีบส่งผู้ที่มีอาการสงสัยว่าอยู่ในภาวะหัวใจขาดเลือด พบแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด ซึ่งแพทย์จะรักษาโดยการเปิดหลอดเลือดหัวใจทันที เพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจเสียหายน้อยที่สุด ลดอัตราการตาย และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-26 00:39:56


ความคิดเห็นที่ 16 (1626277)

 วัยหมดระดูกับฮอร์โมนทดแทน


               วัยหมดระดู หรือ วัยทอง (Menopause) เป็นวัยที่สิ้นสุดการมีระดูอย่างถาวรเนื่องจากรังไข่สร้างฮอร์โมนลดลง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับสตรีทุกคน โดยส่วนใหญ่สตรีจะเข้าสู่วัยหมดระดูเมื่ออายุ 47-50 ปี เริ่มจากรังไข่เริ่มทำงานไม่ปกติ ซึ่งทำให้มีระดูถี่ขึ้นจากช่วงห่าง 28 วัน เป็นประมาณ 21 วัน หรือมีระดูไม่สม่ำเสมอ ระยะเวลาระหว่างรอบระดูจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น จนกระทั่งไม่มีระดูอย่างถาวร โดยทั่วไปช่วงนี้ใช้เวลา 2-8 ปี เราเรียกช่วงเวลานี้ว่าวัยใกล้หมดระดู (Perimenopause) หรือวัยเปลี่ยน (Climacteric)
การเปลี่ยนแปลงในวัยหมดระดูเกิดขึ้นได้หลากหลาย ส่วนใหญ่ดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในสตรีบางคนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างราบรื่นและไม่พบปัญหา แต่ในสตรีบางคนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงทำให้มีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ ซึ่งต้องการการดูแลรักษา ความแตกต่างในสตรีแต่ละคนนั้นอาจเนื่องจากความแตกต่างในพื้นฐานพันธุกรรม การดำเนินชีวิตที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ มีปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งแตกต่างกันไปตามภูมิภาคและชุมชน ดังนั้นจึงควรทราบว่าการเปลี่ยนแปลงในวัยหมดระดูนั้นมีอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเข้าสู่วัยหมดระดู
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในวัยหมดระดูสามารถแบ่งอย่างง่ายๆ ออกเป็น 2 อย่าง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น และการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว
                 การเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวัยใกล้หมดระดู และวัยหมดระดูช่วงต้น เกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดอาการต่างๆ ได้แก่
1. อาการของระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบตามตัว (Hot Flashes) มักจะมีอาการร้อนซู่ขึ้นมาทันทีบริเวณหน้า ลำคอ และหน้าอก มักเกิดอาการอยู่นานประมาณ 3 - 5 นาที แล้วก็หายไป บางคนพบมีเหงื่อออกมากร่วมด้วย ส่วนใหญ่มักมีอาการในช่วงกลางคืน ทำให้นอนไม่หลับตามมา
2. อาการของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ ได้แก่ ช่องคลอดอักเสบ คันช่องคลอด ช่องคลอดแห้ง ทำให้เจ็บเวลามีการร่วมเพศ
3. อาการช่องระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย
4. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์ ได้แก่ หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เครียด กังวล เหนื่อย เพลีย หมดความต้องการทางเพศ เป็นต้น
5. การเปลี่ยนแปลงทางผิวหนัง ในวัยหมดระดูผิวหนังจะบางลง ความยืดหยุ่นลดลง
6. การเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อและข้อ พบว่า กำลังของกล้ามเนื้อลดลง มีอาการปวดตามข้อ
                  การเปลี่ยนแปลงในระยะยาว เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในวัยหมดระดูช่วงหลัง มักเกิดจากความเสื่อมถอยของร่างกาย ได้แก่
1. การเปลี่ยนแปลงทางกระดูก เมื่อเข้าสู่วัยหมดระดูจะมีการสูญเสียกระดูกมากขึ้น แต่ละคนจะมีอัตราการสูญเสียกระดูกที่เร็วช้าแตกต่างกันไป ประมาณ 1 ใน 3 จะสูญเสียเนื้อกระดูกอย่างรวดเร็ว เกินกว่าร้อยละ 3 ต่อปี ทำให้มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้เร็ว การสูญเสียกระดูกที่รวดเร็วในอัตรานี้อาจคงอยู่นาน 10-15 ปี หลังจากนั้นจะเริ่มลดลง
2. การเปลี่ยนแปลงของหัวใจและหลอดเลือด พบว่าในวัยหมดระดูจะมีอุบัติการณ์และความชุกของโรคหัวใจ และหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น มีไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น
ในปัจจุบันมีการใช้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อป้องกัน และรักษาอาการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในวัยหมดระดูกันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามผู้ที่ใช้ฮอร์โมนทดแทน หรือผู้ที่อยู่ในวัยหมดระดูควรมีความรู้ และความเข้าใจในฮอร์โมนทดแทน และการปฏิบัติตัวในช่วงวัยหมดระดู เพื่อสามารถใช้ชีวิตในช่วงวัยหมดระดูได้อย่างมีความสุข และสุขภาพที่ดี
                  ฮอร์โมนทดแทนในวัยหมดระดู แบ่งตามลักษณะการใช้ออกเป็น
1. ฮอร์โมนทดแทนสำหรับผู้ที่ผ่าตัดมดลูกออกไปแล้ว จะเป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วย เอสโตรเจนเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยบรรเทาอาการของวัยหมดระดู มีทั้งชนิดรับประทาน ชนิดทาบริเวณผิวหนังชนิดแผ่นแปะ
2. ฮอร์โมนทดแทนสำหรับผู้ที่ยังมีมดลูกอยู่ เป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วย เอสโตรเจน และโปรเจสโตเจน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติ หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ฮอร์โมนชนิดนี้สามารถแบ่งได้เป็น
- ชนิดที่ใช้เป็นรอบๆ (Cyclic regimen) เป็นการให้เอสโตรเจน 21 วันและใน 12 วัน หลังจะมีโปรเจสโตเจนร่วมด้วย จะมีช่วงที่ไม่ต้องใช้ฮอร์โมน 7 วัน ทำให้มีระดูสม่ำเสมอ ชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้กับผู้ที่อยู่ในวัยเปลี่ยน หรือวัยหมดระดูช่วงต้น
- ชนิดที่ต้องใช้ต่อเนื่อง (Continuous combined regimen) เป็นการให้เอสโตรเจนในปริมาณที่เท่ากันทุกวันเพื่อให้ไม่ต้องมีระดู ชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่หมดระดูมานานมากกว่า1ปีขึ้นไป
3. ฮอร์โมนทดแทนอื่นๆ เป็นฮอร์โมนที่ไม่ใช่เอสโตรเจน แต่สามารถป้องกันและรักษาการเปลี่ยนแปลงในวัยหมดระดูได้ ได้แก่
     Tibolone
     Raloxifene
สารสกัดจากพืช (Phytoestrogen)
 
อาการข้างเคียงของฮอร์โมนทดแทน


1. เลือดออกทางช่องคลอด เป็นสิ่งที่พบได้บ่อย และทำให้ไม่อยากใช้ฮอร์โมนทดแทน ส่วนใหญ่พบได้ในช่วง 3 - 6 เดือนแรกที่เริ่มใช้ฮอร์โมนทดแทน และเมื่อใช้ฮอร์โมนทดแทนอย่างสม่ำเสมอ เลือดที่ออกทางช่องคลอดจะหายไปเอง แต่ถ้ามีเลือดออกปริมาณมากหรือเลือดออกนานเกิน 6 เดือนแรก ควรปรึกษาแพทย์ 
2. อาการเจ็บคัดเต้านม พบในสตรีที่หมดระดูมานานได้มากกว่าสตรีที่หมดระดูไม่นานอาการนี้จะเป็นเฉพาะช่วงแรกที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนเท่านั้น หลังจากนั้นอาการจะลดลงและหายไป 
3. อาการปวดศีรษะไมเกรน การให้ฮอร์โมนทดแทนชนิดต่อเนื่อง จะทำให้อาการนี้ลดลง แต่การให้ฮอร์โมนทดแทนชนิดเป็นรอบ อาจทำให้อาการดีเพิ่มขึ้นได้ 
4. น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น การให้ฮอร์โมนทดแทนไม่ได้ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น การที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในวัยหมดระดูนั้น สาเหตุหนึ่ง มาจากการดำเนินชีวิตประจำวันโดยเฉพาะความไม่สมดุลระหว่างอาหาร และการออกกำลังกาย รวมทั้งอัตราการเผาผลาญอาหารในร่างกายลดลง 
               การปฏิบัติตัวในวัยหมดระดู
1. ควบคุมอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง
2. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
4. ตรวจเต้านมด้วยตนเอง และตรวจ Mammogram ในรายที่จำเป็น
5. ตรวจร่างกาย และตรวจภายในประจำปี
6. ปรึกษาแพทย์ และใช้ฮอร์โมนทดแทนในรายที่จำเป็น
สตรีทุกคนจะต้องผ่านเข้าสู่วัยหมดระดู เมื่อมีความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการปฏิบัติตัวในวัยหมดระดูจะทำให้มีคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดี สำหรับในผู้ที่จำเป็นต้องใช้ฮอร์โมนทดแทน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ และควรติดตามผลการใช้ฮอร์โมนทดแทนอย่างสม่ำเสมอ โดยการดูแลของแพทย์ เพื่อที่จะได้ใช้ฮอร์โมนทดแทนที่เหมาะสมในแต่ละคน


 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-26 00:40:52


ความคิดเห็นที่ 17 (1626756)

 

***ความเจ็บป่วย คือความเมตตาและการทดสอบจากพระองค์ 
มันคือกัฟฟาเราะฮ์ ที่เป็นเครื่องไถ่โทษความผิดบาป
ต่าง ๆ ในดุนยา แต่หน้าที่ของมนุษย์ที่ไม่ควรละเลย ก็คือการรักษาเยียวความเจ็บป่วยนั้น และมอบหมายความสำเร็จไปยังพระองค์ เฉพาะพระองค์เท่านั้น คือผู้ทรงสิทธิ และพระองค์เท่านั้น คือผู้ที่ทรงล่วงรู้ดีที่สุดในบ
่าวของพระองค์
                                        ** ใครรู้จักโรคมะเร็งไทรอยด์บ้าง?? **
คนเขียน page ของ KAMIL HABBATUSSAUDA ป่วยเป็นมะเร็งไทรอยด์ มาเป็นเวลา 11 ปีแล้วค่ะ ผ่าตัดมาแล้ว 2 ครั้ง ตัดต่อมไทรอยด์ทิ้งหมด เพราะมีเนื้อร้ายแผ่กระจายออกมาเป็นก้อนข้าง ๆ ลูกกระเดือกประมาณขนาดเท่าเม็ดขนุน หลังจากผ่าตัดครั้งแรกต้องกลืนแร่รังสีไอโอดีน 1 ครั้ง เพื่อให้เจ้ารังสีไอโอดินไปจับกับเซลล์มะเร็งที่อาจจะหลงเหลืออยู่ แล้วกำจัดมันทิ้งซะ ครั้งนั้นต้องนอนอยู่
โรงพยาบาล 3 วัน ภายในห้องกักกันบุด้วยตะกั่ว ถึงเวลาอาหารคนส่งข้าว ส่งอาหารต้องใส่ถุงพลาสติกมาวางไว้ที่หน้าประตู เข้ามาในห้องของเราไม่ได้ เพราะรังสีที่เรากลืนเข้าไปจะเป็นอันตรายสำหรับผู้อื่น คุณพยาบาลก็เข้ามาไม่ได้ และปัจจุบันต้องทานฮอร์โมนไทรอยด์ หรือเอลท็อกซินตลอดชีวิต เพราะว่าเราไม่มีต่อมไทรอยด์มาทำหน้าที่เผาผลาญสารอาหารในร่างกาย และอยู่ในความดูแลของแพทย์ตลอดเวลาค่ะ 

ตอนครบปีที่ 6 ต้องกลืนน้ำแร่อีกครั้ง แต่คราวนี้กลับบ้านได้ แล้วก็มาทำสแกนถ่ายภาพทั้งต
ัว เพื่อดูว่ายังมีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่อีกหรือเปล่า? และหลังผ่าตัดก็ได้อยู่ในความดูแลของคุณหมอ ทั้งคุณหมดที่ผ่าตัดและคุณหมอด้านไทรอยด์มาตลอด ด้วยการตรวจเลือดเป็นระยะ ๆ เพื่อตรวจดูค่าฮอร์โมนไทรอยด์และปรับขนาดยาตามความเหมาะสม เพื่อผลการรักษาที่ดี อัลฮัมดุลิลลาฮ์ ขอบคุณพระผู้เป็นเจ้าที่ผลการรักษาตลอดเวลาที่ผ่านมาดีไม่มีสิ่งใดน่าเป็นห่วงค่ะ

พอมาถึงวันนี้เข้าปีที่ 11 แล้ว (ตอนครบ 10 ปีนึกว่าเข้าสู่ระยะปลอดภัย
แล้ว) ปรากฏว่าคุณหมอสั่งให้กลืนแร่และทำสแกนอีกครั้ง เพื่อดูว่ายังมีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่ หรือการกระจายไปที่ส่วนอื่นของร่างกาย หรือไม่? ก่อนจะมากลืนแร่ในเช้าวันนี้ และเจาะเลือดเพื่อตรวจดูระดับไทรอยด์ฮอร์โมน คุณหมอได้สั่งหยุดทานยาไทรอยด์มา 1 เดือน และห้ามทานอาหารทะเลก่อนมากลืนแร่ 1 สัปดาห์ วันนี้ได้ผลเลือดออกมาใช้ได้ค่ะ จึงได้กลืนแร่ แล้วอีก 3 วัน คือวันพฤหัสที่ 30 สิงหาคม นี้ ถึงจะนัดมาถ่ายภาพทำสแกนทั้งตัว ช่วงนี้ห้ามเข้าใกล้เด็ก และหญิงมีครรภ์ เพราะรังสีไอโอดีนที่เรากลืนเข้าไปอาจจะเป็นอันตรายต่อเด็กเล็ก ๆ และทารกในครรภ์ แล้วให้ดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อขับสารพิษออกไป 

วันนี้ก็เลยนำเรื่องนี้มาเล
่าสู่เพื่อน ๆ และแฟน page เพื่อเป็นประสบการณ์ เพื่อน ๆ จะเห็นได้ว่าจริง ๆ แล้วคนเขียน page เอง ก็ไม่ใช่คนที่มีสุขภาพแข็งแรงเลย มีโรคประจำตัวหลายโรค แต่ก็ต้องอยู่กับมันและสู้กับมันให้ได้ เพราะแท้จริงแล้ว เรานั้นเป็นเพียงบ่าวคนหนึ่งของพระองค์ จึงต้องยอมรับในทุกสิ่งที่พระองค์ทรงกำหนด ยินดีปรีดา (ริฎอ) กับทุกสิ่งที่เป็นการกำหนดของพระองค์ และก็จะต้องมีหน้าที่ดูแลรักษาสุขภาพและร่างกายของตัวเอง ซึ่งเป็นของฝากของขวัญที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานมาให้อย่างดีที่สุด อย่าปล่อยปละละเลยต่อร่างกายของเรา เพราะถ้าหากเราทำเช่นนั้นแล้ว เราก็คือผู้ที่อกตัญญูไม่รู้จักบุญคุณ หรือสิ่งดีงามที่พระองค์ทรงประทานมาให้แก่เรา

ตอนนี้ขออนุญาตกลับมาที่เรื
่องของ KAMIN HABBATUSSAUDA นะคะ หลังจากออกบวชแล้วรู้สึกว่าเจริญอาหารหิวบ่อย และก็รู้สึกว่า 2-3 วันมานี่น้ำหนักจะขึ้น เมื่อเช้าไปโรงพยาบาลชั่งน้ำหนักเพิ่มมาอีก 1 กิโลกรัม ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะหยุดยาไทรอยด์ด้วย เลยไม่มีตัวช่วยเผาผลาญ และระหว่างเดินทางก่อนกลับมาถึงบ้าน คิดได้ว่าช่วงหลังกลืนแร่รังสีไอโอดีน และรอถ่ายภาพสแกน เราควรงดรับประทานฮับบาตุซเซาดะฮ์ (black seed oil) เพราะจากการที่นั่งแปลงานวิจัยมา เราก็พอจะรู้ได้ว่า Thymoquinone หรือสารสกัดในฮับบาตุซเซาดะฮ์นั้น มีประสิทธิภาพหรือฤทธิ์เดชอย่างไรบ้าง?!! 

 
 
 
เรารู้มาว่ามันมีฤทธิ์ช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการให้เคมีบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่รักษาด้วยเคมีบำบัดภายหลังผ่าตัด เราก็เลยคิดว่า มันอาจจะไปจัดการทำลายรังสีที่เรากลืนเข้าไปซะ ถ้าเช่นนั้นจุดประสงค์ที่คุณหมอให้กลืนรังสี เพื่อให้รังสีไอโอดีนไปจับกับเซลล์มะเร็ง แล้วจะได้เห็นเมื่อเวลาถ่ายภาพ ว่ามันยังคงมีเซลล์มะเร็งหลงเหลืออยู่อีกหรือเปล่า?? ก็จะไม่ประสบผลที่ต้องการ เพราะถูก Thymoquinone ในฮับบาตุซเซาดะฮ์ (black seed oil) กำจัดไปซะแล้ว รอสักหน่อยก่อนดีกว่า อีกแค่ 3 วันเอง ให้ถ่ายภาพเสร็จก่อน เดี๋ยวเราก็ได้กลับไปทานกามิลฮับบาตุซเซาดะฮ์ (black seed oil) เหมือนเดิมแล้ว งดไปแค่ 3 วันเท่านั้นเอง..
 
 —
   
ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-28 20:28:11


ความคิดเห็นที่ 18 (1626834)

ขอบคุณ คุณหมอโซบิเดย์ ด้วยค่ะ

ที่นำข้อมูลมาแบ่งปัน

 

ถึงแม้ว่า ลูกบ้านสวนฯส่วนใหญ่

จะนิยมการรักษาโรค

ด้วยการ สารภาพบาป

ด้วยจิตที่สำนึกอย่างแท้จริง

 

แต่ข้อมูลเหล่านี้

ก็เป็นประโยชน์อย่างยิ่งยวดต่อผู้อ่านจ๊า

.............................

คุณโซบิเดย์ ลืมซ่อนอีเมลอีกแล้วจ๊า

ผู้แสดงความคิดเห็น ชนิดา เชิงสะอาด/CHANIDA ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-29 07:33:10


ความคิดเห็นที่ 19 (1627036)

 

 
เลือกรองเท้าให้เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน
 
 
 
  • เท้าเป็นอวัยวะที่สำคัญ ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักและเคลื่อนไหว แต่เรามักไม่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเท้าอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีเริ่มมีอาการเท้าชา เท้าผิดรูปจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพเท้าและเลือกรองเท้าสวมใส่อย่างถูก ต้องและเหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้า และลดอัตราการสูญเสียเท้าหรือถูกตัดขา

    ข้อแนะนำการเลือกรองเท้าที่ดีและเหมาะสม 

          - รองเท้าควรทำด้วยวัสดุที่มีความยืดหยุ่นเช่น หนังแท้ หนังสังเคราห์ และผ้าบางชนิดเป็นต้น 
          - รองเท้าควรจะพอดีทั้งขนาดและรูปร่างไม่คับหรือหลวม สังเกตความกว้างภายในให้เหมาะกับเท้า โดยเฉพาะส่วนหน้า ควรเลือกชนิดหัวโต กว้างพอให้นิ้วเท้าสามารถขยับได้ 
          - รองเท้าต้องมีสายรัดส้นหรือหุ้มส้น เพราะผู้เป็นเบาหวานที่มีปัญหาเท้าชาว่าเวลาเดินใส่รองเท้าแตะแล้วจะหลุด ง่าย ต้องปรับตัวโดยการจิกนิ้วเท้ากับรองเท้าทำให้มีแรงกดมากมีโอกาสเกิดแผลได้ 
          - ควรเป็นชนิดที่มีเชือกผูก เพื่อให้ปรับได้ง่าย เวลาเท้าขยายตัว 
          - ด้านในรองเท้าควรบุให้นิ่มและเรียบ โดยเฉพาะส่วนพื้นที่รับเท้าต้องยืดหยุ่นเช่น รองเท้ากีฬา รองเท้าวิ่ง ส่วนนี้ควรหนา 5-10 มิลลิเมตร

    เทคนิคการเลือกซื้อรองเท้า 

          - เลือกซื้อให้เหมาะกับการใช้งานเช่น รองเท้ากีฬา รองเท้าใส่ในบ้าน 
          - ควรเลือกซื้อรองเท้าในช่วงเวลาบ่าย เนื่องจากขนาดเท้าจะขยายมากในช่วงบ่าย 
          - รองเท้าแต่ละแบบ มีส่วนหน้ารองเท้ากว้างไม่เท่ากัน ควรทดสอบโดยใช้กระดาษแข็งวาดรอบเท้าแล้วสอดแผ่นกระดาษเข้าไปในรองเท้า ถ้าแผ่นกระดาษม้วนตัวหรือมีรอยย่นแสดงว่าแคบไป

    วิธีใช้รองเท้าคู่ใหม่ 

          - เมื่อได้รองเท้าคู่ใหม่ ควรเริ่มต้นใส่เดินในวันแรกประมาณ 30 นาที จากนั้นให้ตรวจว่ามีรอยแดงถลอกหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่ารองเท้านี้คับไปควรนำไปแก้ไข หรือหาคู่ใหม่ 
          - ในกรณีรองเท้าไม่มีปัญหา ให้ค่อยๆ เพิ่มเวลาการใช้รองเท้าในวันที่ 2 เป็น 1 ชั่วโมง แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาการใช้งาน ทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ 
          - ก่อนใส่รองเท้าทุกครั้ง ให้เคาะรองเท้าและตรวจดูว่ามีสิ่งแปลกปลอมอยู่ภายในรองเท้าหรือไม่ เช่น เศษดิน หิน 
          - ต้องสวมใส่รองเท้าตลอดเวลาทั้งในและนอกบ้าน 
          - ห้ามสวมใส่รองเท้าเปิด โดยเฉพาะแบบคีบ 
          - สวมถุงเท้าทุกครั้งที่ใส่รองเท้า

    ที่มา ... โรงพยาบาลรามาธิบดี รูปภาพ-thaifootcare 
ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-29 22:16:43


ความคิดเห็นที่ 20 (1627038)

 

 
"ไข่ลวก" มื้อเช้า แก้ปัญหาท้องผูก
 
 
 
  •  ไข่เป็นอาหารที่เพียบพร้อมด้วยโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ มากมายหลากหลาย ทั้งราคาก็ถูกปรุงเป็นอาหารอะไรก็ดูน่ากินไปหมด


              นอกจากนี้ไข่ยังเป็นอาหารที่เหมาะมากสำหรับคนที่มีปัญหาท้องผูก แต่มีข้อแม้ว่า ต้องรับประทานในช่วงเช้าขณะที่ท้องกำลังว่างเท่านั้น และไข่ที่รับประทานก็จะต้องเป็นไข่ลวก หรือไข่ที่ต้มไม่นาน เพียง 2-3 นาที ในน้ำเดือด ๆ ซึ่งรับรองว่า หากได้รับประทานไข่ต้มดังกล่าวไปสัก 1-2 ฟอง อาการท้องผูกที่ขมวดเป็นเงื่อนปมมาหลายวัน จะขับถ่ายออกได้อย่างง่ายดายทันที


            ทั้งนี้ เพราะไข่ลวกมีเอนไซม์บางอย่างที่จะไปช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ทำงาน และช่วยหล่อลื่นให้กากอาหารเคลื่อนตัวไปสู่ปากทวารหนัก ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

    ที่มา ... Lisa
ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-29 22:22:21


ความคิดเห็นที่ 21 (1627039)

 

 
น้ำในหูไม่เท่ากัน ... จริงหรือ
 
 
 
  • อาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน ไม่ใช่จะเป็นน้ำในหูไม่เท่ากันเสมอไป อาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น จากโรคของหูชั้นนอก โรคของหูชั้นกลาง หรือ โรคของทางเดินประสาท และสมอง ดังนั้นเมื่อท่านมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน จึงควรมาพบแพทย์ เพื่อแพทย์จะได้ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งการสืบค้นเพิ่มเติม เพื่อให้ได้การวินิจฉัย สาเหตุของอาการเวียนศีรษะ และการรักษาที่ถูกต้อง

               มาทำความรู้จักโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือโรคมีเนีย (Meniere’s disease) กัน

              โรคมีเนีย เป็นโรคที่มีความผิดปกติของหูชั้นใน โดยมีน้ำในหูชั้นในมากผิดปกติ หูชั้นในของคนเรามีเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวและการได้ยิน อยู่ โดยปกติจะมีน้ำในหูชั้นใน ปริมาณที่พอดีกับการทำงานของเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว และการได้ยินดังกล่าว และมีการไหลเวียนถ่ายเทเป็นปกติ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของน้ำในหู ขณะเคลื่อนไหวศีรษะ จะกระตุ้นเซลล์ประสาทดังกล่าวให้มีการส่งสัญญาณไปยังสมองเกี่ยวกับการ เคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อใดก็ตามมีความผิดปกติของการไหลเวียนของน้ำในหู เช่นการดูดซึมของน้ำในหูไม่ดี ทำให้น้ำในหูชั้นในมีปริมาณมากขึ้นกว่าปกติ (endolymphatic hydrops) จะส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทรงตัว และการได้ยิน ทำให้เซลล์ดังกล่าวทำงานผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มีอาการ

            - ประสาทหูเสื่อม ผู้ป่วยจะมีการเสียการได้ยินแบบประสาทเสียงเสีย (sensorineural hearing loss) ทำให้หูอื้อ ได้ยินไม่ชัด รู้สึกแน่นในหูเป็นๆหายๆ บางครั้งการได้ยินดีขึ้น บางครั้งการได้ยินเลวลง ในระยะแรกเริ่มมักมีการเสียของประสาทหูที่ความถี่ต่ำก่อน แต่ในระยะยาวแล้วระดับการได้ยินจะแย่ลงเรื่อยๆ อาจถึงขั้นหูหนวกได้ ในระยะแรกอาจมีอาการที่หูข้างเดียว ในระยะหลังอาจมีอาการที่หูทั้งสองข้าง อาจมีอาการปวดหู หรือปวดศีรษะข้างที่เป็นด้วยได้
            - มีเสียงดังในหู 
            - อาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน บางครั้งอาจมี คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกร่วมด้วย อาการเวียนดังกล่าวมักเป็นๆหายๆ ส่วนใหญ่มักเวียนศีรษะไม่เกินครึ่งชั่วโมง แต่อาจเวียนเป็นชั่วโมงได้ เมื่อมีอาการเวียนศีรษะ มักมีอาการทางหู เช่น หูอื้อ เสียงดังในหูร่วมด้วย อาการเวียนศีรษะเป็นอาการที่รบกวนผู้ป่วยมากที่สุด ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ต้องนอนพัก

              โรคนี้พบมากในคนอายุ 30-60 ปี พบได้ทั้งเพศชาย และเพศหญิง โดยมากอาการมักจะเริ่มเมื่ออายุ 30 ปี ในประเทศไทย ข้อมูลทางระบาดวิทยาของโรคนี้ยังมีน้อย โรคนี้มักเป็นในหูข้างเดียว แต่อาจเป็นทั้งสองหูได้ร้อยละ 30 อาการของโรคนี้มักจะเกิดขึ้นทันทีทันใด อาจมีอาการทุกวัน หรือนานๆครั้งก็ได้ ซึ่งไม่สามารถทำนายได้ว่าจะเกิดอีกเมื่อไร แต่ละครั้งที่มีอาการ อาจมีอาการเป็นระยะเวลาสั้นๆ เป็นนาที หรือมีอาการเป็นระยะเวลานานเป็นชั่วโมงได้ หรืออาจมีอาการน้อย หรือมากได้ นอกจากนั้นผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดท้อง หรือท้องเสียร่วมด้วยได้

              การวินิจฉัยโรคนี้ประกอบด้วย การซักประวัติ อาการที่สำคัญ 3 อาการดังกล่าว ซึ่งมักจะเป็นๆหายๆ และการตรวจระบบประสาทการทรงตัว และการตรวจการได้ยิน รวมทั้งการตรวจรังสีวินิจฉัย รวมทั้งการเจาะเลือด และตรวจปัสสาวะเพื่อวินิจฉัย แยกจากโรคอื่นๆ การรักษาประกอบด้วย การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเวลาเวียนศีรษะ, การให้ยาบรรเทาอาการ และการผ่าตัด

          1. การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเวลาเวียนศีรษะ 

            เมื่อมีอาการเวียนศีรษะขณะเดิน ควรหยุดเดิน และนั่งพัก เพราะการฝืนเดินขณะเวียนศีรษะ อาจทำให้ผู้ป่วยล้ม เกิดอุบัติเหตุได้ เช่นกัน ถ้าอาการเวียนศีรษะเกิดขณะขับรถ หรือขณะทำงาน ควรหยุดรถข้างทาง หรือหยุดการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักรกล ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุได้ ถ้าเวียนมากควรนอนบนพื้นราบที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่นพื้น และ ผู้ป่วยควรมองไปยังวัตถุที่อยู่นิ่ง ไม่เคลื่อนไหว 
            รับประทานยาที่แพทย์ให้รับประทาน เวลาเวียนศีรษะ 
            พยายามอย่ารับประทาน หรือดื่มมากนัก จะได้มีโอกาสอาเจียนน้อยลง 
            หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยทางเรือ เพราะจะทำให้มีอาการเวียนศีรษะมากขึ้นได้ 
            ถ้าอาการเวียนศีรษะน้อยลง ค่อยๆลุกขึ้น แต่อาจรู้สึกง่วง หรือเพลียได้ แนะนำให้นอนหลับพักผ่อน ถ้าง่วง หลังตื่นนอน อาการมักจะดีขึ้น

          2. การให้ยาบรรเทาอาการ และรักษา 

            ควรจำกัดความเค็ม เพราะความเค็มหรือ เกลือโซเดียมที่มีปริมาณมากขึ้นในร่างกาย จะทำให้มีน้ำคั่งในร่างกาย และในหูชั้นในมากขึ้น อาจทำให้อาการผู้ป่วยแย่ลงได้  
            การรับประทานยาขับปัสสาวะ อาจทำให้น้ำคั่งในหูชันในน้อยลง ผู้ป่วยอาจมีอาการดีขึ้นได้ 
            ให้ยาบรรเทาอาการเวียนศีรษะ หรือคลื่นไส้ อาเจียน 
            การรับประทานยาขยายหลอดเลือด (ฮิสตะมีน) จะช่วยให้การไหลเวียนของน้ำในหูดีขึ้น 
            ถ้าผู้ป่วยหายเวียนศีรษะแล้ว ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน 
            หลีกเลี่ยงสารคาเฟอีน (ชา เครื่องดื่มน้ำอัดลม และกาแฟ) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และความเครียดซึ่งจะทำให้อาการของผู้ป่วยโรคนี้แย่ลง เนื่องจากจะไปลดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน

         3. การผ่าตัด เพื่อระบายน้ำที่คั่งอยู่ในหูชั้นใน จะทำเมื่อให้ยารักษาเต็มที่แล้ว อาการของโรคโดยเฉพาะอาการเวียนศีรษะไม่ดีขึ้น และรบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมาก การผ่าตัดได้แก่

            การทำลายอวัยวะควบคุมการได้ยิน และการทรงตัวในหูชั้นใน (labyrinthectomy) ซึ่งจะช่วยควบคุมอาการเวียนศีรษะได้ดี แต่ผู้ป่วยจะสูญเสียการได้ยินในข้างนั้นด้วย มักจะทำในผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินในหูข้างนั้นมากแล้ว แต่ยังมีอาการเวียนศีรษะมากอยู่ 
            การตัดเส้นประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวในหูชั้นใน (vestibular neurectomy) มักจะทำในผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะมาก แต่ยังมีการได้ยินดีอยู่ 
            การฉีดยาที่มีพิษต่อระบบประสาทหูและการทรงตัวเข้าไปในหูชั้นกลาง เพื่อให้ดูดซึมเข้าไปในหูชั้นใน เช่น gentamycin ซึ่งเป็นยาต้านจุลชีพกลุ่ม aminoglycoside เพื่อทำลายระบบประสาททรงตัว ทำให้อาการเวียนศีรษะน้อยลง แต่การได้ยิน อาจเสียไปด้วย


            ถึงแม้โรคมีเนีย จะไม่มีวิธีรักษาที่ทำให้โรคหายขาด แต่อาการของผู้ป่วย ส่วนใหญ่สามารถควบคุมได้ด้วยยา และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง

    ที่มา ... ราชวิทยาลัย โสต สอ นาสิกแพทย์ 
ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-29 22:26:09


ความคิดเห็นที่ 22 (1627041)

 

 
สมอง ได้อะไรจาก การออกกำลังกาย
 
 
 
  • การเคลื่อนไหวด้วยการออกกำลังกาย เปรียบแล้วก็เหมือนกับยารักษาโรคและนี่คือประโยชน์ที่สมองของคุณจะได้รับทุกครั้งที่คุณเริ่มออกกำลังกาย

                        
              1.ช่วยให้สมองเจริญเติบโต
                  ยิ่งเราเเก่ตัวลงเท่าไหร่ การเกิดของเซลล์สมองก็จะยิ่งช้าลงเท่านั้น และเนื้อเยื่อในสมองของเราก็จะค่อย ๆ หดตัวลง แต่การออกกำลังกายจะช่วยเหลือในส่วนนี้ได้ จากการศึกษาผลการสแกนสมองของคนอายุ 60-79 ปี ที่มีสุขภาพดี แต่ไม่ชอบเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายนั้น ได้เเสดงให้เห็นว่า สมองของพวกเขามีขนาดที่ใหญ่ขึ้นภายใน 6 เดือน หลังจากที่ออกกำลังกายเเบบเต้นแอโรบิก แต่คนที่ออกกำลังกายเเบบยืด หรือคลายกล้ามเนื้อ จะได้รับผลน้อยมาก ๆ

               2.ช่วยให้สมองสร้างฮอร์โมนได้มากขึ้น
                   การที่เราออกกำลังกาย ก็เหมือนกับการที่เราเอาสารอาหารที่จำเป็นไปใส่ไว้ในพืช ซึ่งช่วยให้พืชเจริญเติบโตรวดเร็วเเละอุดมสมบูรณ์ นักเคมีรับรู้ว่า การที่สมองได้รับสารที่มีส่วนช่วยบำรุงสมอง หรือที่เรียกว่า BDNF จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของสมองและเพิ่มจำนวนเซลล์สมอง นี่เป็นความจริงที่สุด โดยเฉพาะกับสมองส่วนฮิปโปเเคมปัส ซึ่งเป็นหน่วยความจำของสมอง และสมองส่วนนี้จะเสื่อมตัวลงได้ง่ายเมื่ออายุมากขึ้น ยิ่งคุณออกกำลังกายมากเท่าไหร่ ร่างกายก็ยิ่งหลั่งสารบำรุงสมองมากเท่านั้น

               
                3.ช่วยลดความหดหู่และอาการวิตกกังวล
                     ความโศกเศร้าหดหู่ จะส่งผลให้ความสามารถในการประมวลผลของสมองทำงานได้ช้าลง และทำให้เราไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อและตัดสินใจอะไรได้ รวมทั้งก่อปัญหาต่อความจำของเราอีกด้วย และหากใครที่หดหู่อย่างรุนแรง คุณหมอก็อาจจะออกใบสั่งยาแก้อาการซึมเศร้าให้ สำหรับคนที่ซึมเศร้าไม่หนักมาก การออกกำลังกายจะช่วยให้คุณอารมณ์ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการผลิตสารเซโรโธนิน และสารโดพามีน ซึ่งเป็นสารสำคัญที่สมองหลั่งออกมาเมื่อกำลังมีความสุข นอกจากนี้ การออกกำลังกาย ยังช่วยเพิ่มระดับของสารเอ็นโดรฟิน สารแห่งความสุขอีกด้วย
       

                4.ช่วยลดผลจากความเครียด
                      ถ้าฮอร์โมน BDNF จะช่วยให้สมองของคุณดูหนุ่มขึ้น ก็มีสารตรงข้ามแบบอื่น ๆ ที่ทำให้สมองของคุณแก่ตัวลงเช่นกัน นั่นรวมไปถึงฮอร์โมนที่มีชื่อว่า คอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนเเห่งความเครียด การทำอะไรช้า ๆ การที่มีความคิดกระจัดกระจาย และอาการขี้หลงขี้ลืม ล้วนแล้วแต่เกิดจากความเครียดมากกว่าที่เราจะตระหนักซะอีก 
     

                 5.ช่วยพัฒนาฟังก์ชันการทำงานของสมอง
                      ฟังก์ชั่นการทำงานของสมอง หมายถึงความสามารถในกระบวนการคิด เช่น สามารถที่จะจดจ่ออยู่กับการทำงานที่ซับซ้อน สามารถจัดการ คิดอย่างเป็นนามธรรม และวางแผนเพื่อเหตุการณ์ในอนาคตได้ นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการทำงานของหน่วยความจำ เช่น ความสามารถในการจดจำหมายเลขโทรศัพท์ในหัวในระหว่างที่คุณกำลังกดโทรศัพท์
     

                  6.ช่วยสร้างเพิ่มความไวต่อการรับสารอินซูลินในร่างกาย
                         เมื่อคุณรับประทานอาหาร ร่างกายของคุณจะเปลี่ยนอาหารเหล่านั้นให้กลายเป็นน้ำตาลกลูโคส ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย รวมทั้งสมองด้วย การที่จะทำให้กลูโคสสามารถแทรกซึมเข้าไปในเซลล์ได้ กลูโคสต้องมีสารอินซูลินเป็นตัวช่วย แต่น่าเสียดาย ที่ร่างกายของคนบางคนมีปฏิกิริยาต่อต้านอินซูลิน ทำให้ร่างกายยิ่งเพิ่มสารอินซูลินมากขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง ก็จะทำให้กลายเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 และหากว่าคุณไม่ได้เป็นเบาหวานประเภทที่ 2 การที่ร่างกายต่อต้านอินซูลิน ก็ส่งผลเสียต่อตัวคุณอยู่ดี และเมื่อเซลล์สมองเต็มไปด้วยกลูโคส ก็จะส่งผลต่อระบบความจำและการคิด

                          การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายต่อต้านสารอินซูลินได้ ยิ่งความไวในการรับสารอินซูลินมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงสภาพมากขึ้นเท่านั้น อย่างน้อยก็ 16 ชั่วโมงหลังจากการออกกำลังกาย และยิ่งร่างกายของคุณสามารถควบคุมระดับปริมาณน้ำตาลในเลือดได้มาก ก็จะช่วยเพิ่มการปกป้องต่อการเสื่อมของกระบวนการคิดของสมองได้ด้วย
ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-29 22:32:58


ความคิดเห็นที่ 23 (1627042)

 

 
ตากระตุก ( Benign Essential Blepharospasm
 
 
 
  • ตากระตุก ( Benign Essential Blepharospasm )

                 เชื่อว่าหลายคนคงจะเคยมีอาการตาเขม่น หรือ ตากระตุกมาบ้าง พอเกิดอาการนี้ขึ้นมาก็จะรู้สึกรำคาญและกังวลขึ้นมาว่าจะมีอันตรายหรือไม่ ดังคำพูดที่เราได้ยินกันบ่อยๆว่า “ขวาร้ายซ้ายดี” เราจะมาดูกันว่าจะดีจะร้ายอย่างไรกันแน่

                 ตากระตุกเป็นภาวการณ์เกร็งตัวของกล้ามเนื้อหนังตา ( orbicularis oculi ) โดยไม่ตั้งใจ ( involuntary ) ในสหรัฐอเมริกาพบประมาณ 5 คน ใน 1 แสนคน โดยพบผู้ป่วยใหม่ประมาณ 2,000 คนทุกปี มักเป็นในช่วงอายุ 50-60 ปี พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 1.8 เท่า

                 สาเหตุยังไม่เป็นที่ทราบแน่นอน จากการศึกษาคาดว่าน่าจะเกิดจากการประสานงานผิดปกติ ( miscommunication ) ของเซลล์สมอง ( ส่วน basal ganglion ) และอาจมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย

                 อาการเริ่มต้นอาจมีแค่เขม่นๆหรือมีการกระตุกเกร็งของกล้ามเนื้อไม่มาก ทำให้กระพริบตาถี่ขึ้นกว่าปกติ ต่อมาถ้าเป็นมากขึ้นจะมีกล้ามเนื้อหนังตาเกร็งจนต้องกระพริบตาแรงๆ บางคนถึงกับลืมตาไม่ขึ้นและมีกล้ามเนื้อใบหน้ากระตุกเกร็งร่วมด้วย อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้

                 ภาวะที่จะทำให้อาการแย่ลงได้ เช่น ความเครียด อ่อนเพลีย แสงสว่างจ้าๆ ส่วนภาวะที่จะทำให้อาการดีขึ้น เช่น การนอนหลับ การใช้สมาธิมุ่งมั่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การพูด การร้องเพลง ในบางคนหายเองได้ บางคนจะเป็นๆหายๆ บางคนเป็นเรื้อรัง ถ้ามีอาการมากก็รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพได้

                 การวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ จะต้องได้รับการตรวจตาโดยละเอียดจากจักษุแพทย็ก่อน ว่าการเกิดตากระตุกนี้ไม่ได้เป็นผลต่อเนื่องมาจากโรคตาอื่นๆ เพราะมีโรคตาบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการนี้ได้ เช่น เปลือกตาอักเสบ ตาแห้ง ขนตาผิดปกติ การติดเชื้อของตา กระจกตาอักเสบ ต้อหิน ต้อกระจก โรคจอประสาทตา ซึ่งถ้าตรวจพบและรักษาโรคเหล่านี้ ฏ็จะทำให้อาการตากระตุกหายไปได้

                 แต่ถ้าไม่พบโรคตาอื่น ก็แสดงว่าเป็นตากระตุกชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ ( Benign Essential Blepharospasm ) จะให้การรักษาโดยใช้ยากิน ซึ่งมีให้เลือกใช้หลายกลุ่ม แล้วแต่แพทย์จะเลือกใช้ ถ้าใช้ยากินไม่ได้ผลก็จะพิจารณาใช้ยาฉีด ที่นิยมในปัจจุบันคือ การฉีด botulinum toxin บริเวณที่มีอาการ เพื่อลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งได้ผลดีมาก ประมาณ 95% ของผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น โดยจะมีอาการดีขึ้นภายใน 2-3 เดือน ก็จะต้องฉีดซ้ำ แต่บางคนอาจอยู่ได้ 6-9 เดือน ผลข้างเคียงพบได้บ้าง แต่เป็นอยู่ชั่วคราวจะหายไปเองได้ เช่น หนังตาตก ตาปิดไม่สนิท หนังตาม้วนเข้าในหรือม้วนออกนอก มองเห็นภาพซ้อน เป็นต้น

                  ถ้าใช้ยาฉีดไม่ได้ผลถึงจะใช้วิธีผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเอากล้ามเนื้อหนังตาออก ( myectomy ) ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้มากกว่าการผ่าตัดเส้นประสาท ( neurectomy ) ที่พบภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่า

     


     โดย : คณะอนุกรรมการวิชาการ ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย

ผู้แสดงความคิดเห็น โซบิเดย์ ยมโดย ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-08-29 22:37:22



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.