ReadyPlanet.com
dot
dot
พระรัตนตรัย และ ครูบาอาจารย์
dot
bulletสมเด็จองค์ปฐม
bulletหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ
bulletพระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ
bulletดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
dot
รายการคุยไปแจกไป
dot
bulletรายการคุยไปแจกไป
dot
ข่าวสารประชาสัมพันธ์
dot
bulletข่าวสารประชาสัมพันธ์
dot
กิจกรรมบ้านสวนพีระมิด
dot
bulletค่ายบ้านสวนพีระมิด
bulletภาพและคลิปวิดิโอจากบ้านสวนพีระมิด
dot
บทความที่น่าสนใจ
dot
bulletบทความที่น่าสนใจ
bulletคู่มือหนีกรรมผิวพรรณ
bulletคำสารภาพบาป และ ประสบการณ์กฏแห่งกรรม
dot
International Version (ภาคภาษาต่างประเทศ)
dot
bulletEnglish Articles (บทความภาษาอังกฤษ)


อ.อุบล ศุภาเดชาภรณ์  บ้านสวนพีระมิด


348 อมร ศิริมาศกูล article

น้อมกราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเศียรเกล้า
น้อมสักการะองค์เสด็จพ่อท้าวเวสสุวรรณ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์บ้านสวนพีระมิด
น้อมกราบนมัสการหลวงพ่อปาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
ขอแสดงความเคารพ อาจารย์อุบล แห่งบ้านสวนพีระมิด       
(ขอเล่านาทีชีวิต เพื่อเป็นธรรมทาน)

ผมชื่อ นายอมร ศิริมาศกูล             พำนักอาศัยอยู่ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา 
ผมมีโอกาสมาบ้านสวนพีระมิด ด้วยมีความตั้งใจจะมาบำบัดอาการปวดหลัง เส้นยึด เวลาตื่นนอนตอนเช้า ตอนนี้หายป็นปรกติ น่าอัศจรรย์มากไม่มีอาการเหล่านั้นหลงเหลืออีกเลย  มีความสุขกายสบายใจ ที่ได้รับธรรมโอสถ อยู่เนือง ๆ และได้ร่วมกิจกรรมบุญ ทำสมาธิอุทิศบุญ และเข้าค่ายรุ่น 2 ,4,5,6,7 เรื่อยมา ผมมีศรัทธาอย่าเต็มเปรี่ยม และไม่รังเลสงสัย  ในพระพุทธองค์ เสด็จพ่อท่านท้าวเวสสุวรรณ สิ่งศักดิ์สิทธิ์บ้านสวนพีระมิด หลวงพ่อปาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ พลังแห่งพีระมิด ตลอดจนอาจารย์อุบลผู้เป็นสื่อสวรรค์
ผมได้พา ไปบ้านสวนพีระมิด ร่วมกิจกรรม ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่  ซึ่งมีญาติธรรมร่วมกิจกรรมครั้งจำนวนมาก ช่วงเย็นวันที่ 31 ธันวาคม ได้นำคณะญาติธรรม ร่วมทำสมาธิ และอุทิศบุญ และหลังจากนั้น  อาจารย์อุบล เมตตาให้ถามคำถามที่สงสัยทุกเรื่อง(ข้อธรรมมะ)  อ.อุบล   บอกว่าจะตอบทุกคำถาม  มีผู้ที่ถามหลายคำถามด้วยกัน หลายคำถามผ่านไป    ผมตื่นเต้น เตรียมคำถามตัวเอง จนฟังคำถามและคำตอบคนอื่นไม่รู้เรือง ผมทั้งกล้าและกลัวคำถามตัวเอง แต่อยากให้มันคลายความสงสัยที่แบกไว้ หลายปี และ อาจารย์อุบล ก็เมตตาให้ผมเล่าในสิ่งที่ผมสงสัย จึงได้เล่า ดังนี้
 
เมื่อปลายปี 2548 ผมมีโอกาสไปทำบุญที่ วัดป่าหนองบัว อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี        เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว รถหลายคันไปกันหลายคน แต่ต่างคนต่างไปและได้ถวายผ้าป่าร่วมกัน เวลากลับก็คนละเวลา ผมกับภรรยา อยู่สนทนาธรรมกับเจ้าอาวาสต่อ เลยจะขอกลับทีหลังไม่รีบร้อน   เจ้าอาวาสบอกให้นอนก่อนตีสองตีสามค่อเดินทาง จะได้ไปสว่างที่บ้าน แยกจากพระคุณเจ้า และเข้านอนตอน สามทุ่มครึ่ง ซึ่งวัดนี้เป็นป่าช้าห่างจากหมู่บ้านประมาณ สองกิโลเมตร บรรยากาสเย็นเยือก ไม่มีญาติโยมผู้อื่นอยู่เลย ซึ่งกุฏิพระสงฆ์ก็อยู่ไกลออกไป มีแนวหลุมฝังศพ เป็นแบ่งเขตพระสงฆ์ เขตอุบาสิกา
คืนนั้นเอง ผมได้ฝันว่ามีบุคคล จำนวน 2 ท่านเดินมาหาผม ผมมองดูว่าคุ้น ๆ แต่ก็ไม่คุ้นนัก สังเกตและจำได้แม่นยำมากคือใส่ผ้าเตี่ยวสีแดงข้ม แต่จำไม่ได้ว่าถืออะไรมาด้วย ผมถามว่า “ท่านจะไปไหนกันหรือครับ”
ท่านตอบแบบสวนทันทีว่า “ก็มาเอาชีวิตนี่ไง” ผมอึ้งไปขณะหนึ่ง และก็ตอบได้ทันทีว่า “ผมก็พร้อมอยู่นะครับ แต่เดี๋ยวก่อนครับ ผมขอกรายพระรัตนตรัยงามงามก่อนนะครับ” การกราบพระของกระผมสามครั้ง ผมมีปิติมาก ผมลุกขึ้นและเอ่ยชวน “เราไปกันเถอะ”  แต่สองท่านดูเหมือนรีบเดินจากไปแล้วพูดว่า “ไม่เอาแล้วล่ะ”
ผมสดุ้งตื่นลุกขึ้นนั่ง อาการตอนนั้น งง สั่น ขนลุก เหงื่อไหล ร้อนวูบเย็น มือจับ สัมผัสตัวเอง และหยิกแขนตัวเองจนเจ็บและตั้งสติได้ ดูนาฬิกา เที่ยงคืนครึ่ง นั่งสยบความสั่น ขนลุก เหงื่อไหล ร้อนวูบวาบเย็น พักหนึ่ง กะว่าจะนอนต่อให้ตีสาม เปลี่ยนใจทันที เรียกภรรยาให้ตื่น และอาบน้ำเดินทางกลับ ผมยังไม่เล่าอะไรให้ภรรยาฟังในตอนนั้น ผมขับรถถึง แยก อ.ขุขันธ์ จ.สีษะเกษ ผมจึงเริ่มเล่าความฝันให้ภรรยาฟัง ผมไม่รู้เหมือนกันว่าภรรยาผมกำลังคิดอะไร หรือคิดอย่างไร เพราะเล่าให้ฟังแบบไม่ต้องการให้เกิดตำตอบ และก็จริง ๆ ไม่มีคำตอบ แม้แต่ หือ หรือ อือ และเธอก็ดูเหมือนหลับแต่ก็ไม่หลับ รถผมแล่นเข้าเขตระหว่างอำเภอปราสาท และอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ถนนไม่ดีนัก ยังไม่ปรับปรุงไหล่ทาง ทางข้อนข้างแคบเมื่อวิ่งสวนกัน ผมมองดูไฟรถข้างหน้าเป็นไฟดวงใหญ่ และชินตามากว่าเป็นรถทัวร์โดยสาร กำลังวิ่งอยู่ในเลนเดียวกับรถผมวิ่ง ในใจคิดว่า ถ้ามองไกลๆ ดูว่าเหมือนว่าเป็นธรรมดา ไฟจะอยู่เลนเดียวกันกับเราอยู่แล้ว แต่มันไม่ใช่อย่างนั้น ระยะไฟไกล้เข้ามาไฟก็ไม่เปลี่ยน มันตรงเข้ามา ตรงเข้ามา ผมต้องชลอความเร็ว แอบข้างทาง ขอวัดดวงดีกว่า ในใจคิดขึ้นมาทันที่ว่า “นี่ไงที่เราฝัน ท่าจะเป็นจริงแฮะ” นึกขึ้นได้ เลยพูดว่า “พุทธัง ธัมมัง สังฆัง ให้ปลอดภัย” เราจะไม่หลบ ถ้าหากว่าหักหลบ คงแช่น้ำให้ปลาดูดสเลดแน่นอน ถ้ามันชนก็ขอให้มันชนกระเด็น แบบไม่ต้องกำหนดทิศทางดีกว่าไหม ผมดูภรรยาผมนั่งเอามือดันคอนโซนหน้า ดูเหมือนกำลังช๊อค และแล้วรถทัวร์คันนั้นก็หักหลบรถของผมที่จอดแอบไหล่ทางลูกรัง พร้อมกับบีบแตร ดังสนั่นเลย ตกลงมันอะไรกันนี่ สื่อความหมายภาษาแตรรถไม่ออกหมายถึงอะไร
            ผมอึ้งเป็นครั้งที่สอง ซึ่งห่างจากครั้งแรกไม่กี่ชั่วโมง นั่นเป็นนาทีชีวิต ที่ผมแทบจะไม่มีเวลาได้สั่งลา สั่งเสีย พูดคำขอบคุณและขอโทษ หรือแม้แต่ได้รับฟังคำแก้ตัว ใดใด
ต่อมาเมื่อปลาย 2549 ผมได้ฝันอีกครั้ง เป็นชายผู้คุ้นเคย คนเดิม เดินเข้ามาหา แล้วพูดชัดเจนว่า “ให้เวลา 5 ปีนะ” แล้วจากไป ทิ้งไว้ความงุนงง สงสัย ดูท่าจะไม่เลิกลา เราจะปรับกระบวนการดำเนินชีวิตเราอย่างไรดี หากวันนั้นมันมาถึง คงไม่มีใคช่วยเราได้ คงต้องตายมันจะต้องตาย เริ่มเข้าถึงสัจธรรม ของพระพุทธองค์ เคยจำลองเหตุการณ์ดูเล่น ๆว่าถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ตัวเราไม่มีสิทธิ์ที่จะทำอไรได้ แม้แต่กระแอม ไอ หากจิตดวงนี้หลุดไปจะก้าวไปที่ไหนบ้าง ต้องเผชิญอไรบ้าง คนบาปหนาอย่างเรา ก็เคยสร้างเวรกรรมมาเยอะแยะเหมือนกัน ว่ากันว่าศืล ห้าข้อไม่บริสุทธิ์สักข้อเดียว
เมื่อปลาย 2551 ก็ได้มีชายดังกล่าว คนเดิม แต่ใส่ชุดไม่เหมือนเดิมแต่งตัวเหมือนเราๆ นี่แหละ พูดจาสุภาพมาก ว่า “ลืมหรือยัง สองปีนะ ให้เต็มที่เลย อีกสองปีครึ่ง” และเขาก็จากไป ยิ่งทำให้ผมใจหายแวบ นึกเห็นที่ไร มันร้อนๆ หนาวๆ เย็นๆ บอกไม่ถูก จะถามตัวเองกี่ครั้ง ว่าจะทำอย่างไรดี มันก็ได้คำตอบเดียว นั่นแหละ คือ การตายเป็นเรื่องธรรมดา เพราะมันต้องตาย ต้องยอมจำนนแต่โดยดี ผมไม่สงสัยแม้แต่นิดเดียวเรื่องของการตาย    (31 ธันวาคม 2553) ซึ่งนับจากวันนี้ผมคงเหลือเวลาไม่ถึง 180 วัน
 
และแล้วการไต่สวนก็เริ่มขึ้น อาจารย์อุบลบอกว่า “อายุของงคุณหมดลงแล้ว” และได้ถามผมต่อว่า “อยากอยู่ต่อไหม ถ้าอยู่จะอยู่เพื่ออะไร”       หากมีผู้ให้โอกาสผม ให้ผมอยู่ต่อ ผมมีเหตุผลในการอยู่ คือ ผมเป็นหนี้ใหญ่หลวงมาก ที่ต้องชำระทั้งต้นและดอก สามอย่าง ดังนี้ 
1. ผมเป็นหนี้แผ่นดิน
2. ผมเป็นหนี้พระพุทธศาสนา
3. ผมเป็นหนี้บุคคลผู้มีคุณ
ผมปรารถนาที่จะต้องชำระ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
เพื่อให้มีคำตอบ คือ คุณจะอยู่ต่อหรือไม่   “YES OR NOW” เท่านั้น  คำนี้มันเหมือนไฟฟ้าช็อดตัวผมชาทั้งตัว บีบหัวใจผมมาก
ผมสับสนมาก เพราะว่าผมคิดเสมอว่าผมจะต้องตาย และไม่รู้ว่าจะมีใครที่จะบอกให้ผมไม่ต้องตายได้ (ต้องกราบขอโทษอาจารย์อุบลด้วยครับที่ผมตอบไม่ตรงประเด็น ในตอนนั้น) “ตกลงครับผมขออยู่ครับ” อาจารย์อุบล บอกว่า “อายุของคุณหมด แต่คุณยังไม่หมดอายุไขคุณสามารถอยู่ต่อสามารถสร้างประโยชน์ได้หากคุณมีเหตุผลเพียงพอ” (ในใจแอบนึกว่าจะเชื่อได้อย่างไรว่าป็นเสด็จพ่อท้าวเวสสุวรรณ สื่อมา หากจริงขอให้ข้าพเจ้าสัมผัสได้ ) ในขณะที่อาจารย์อุบล กล่าว ขอบารมีพระพุทธเจ้า เสด็จพ่อท่านท้าวเวสสุวรรณเจ้า ขอต่ออายุ ให้ชายผู้นี้มีร่างกายสังขารแข็งแรง อายุยืนยาว จนกว่าจะไม่อยากครองร่างสังขารนี้ ได้อยู่ร่วมสืบต่อและเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นกำลังในการดำเนินกิจกรรมบุญของอาจารย์อุบล และบ้านสวนพีระมิด สืบต่อไป ขณะนั้น ผมรู้สึกถึงความหนาวเหน็บ เย็นเยือก ตัวชา สั่นสะท้าน ไม่สามารถควบคุมอาการหนาวสั่นนั้นได้ ราวกับถูกแช่แข็งในตู้เย็น จนสิ้นเสียงสาธุ ความหนาวเย็น สั่นสะท้านค่อยทุเลาลง
 
กระผมขอนอบน้อมกราบขอบพระคุณ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เสด็จพ่อท่านท้าวเวสสุวรรณ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์บ้านสวนพีระมิด หลวงพ่อปาน
 หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ครูบาอาจารย์ของอาจารย์อุบล   และกราบขอบพระคุณ อาจารย์อุบล ผู้เป็นทูตจากสวรรค์  สื่อทำให้ผมได้เข้าใจ และให้โอกาสผมได้มีชีวิตร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง เพื่อเพ็ญประโยชน์ในการสืบต่อและเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นกำลังในการดำเนินกิจกรรมบุญของอาจารย์อุบล และบ้านสวนพีระมิด   และขอน้อมรับ ด้วยการ มอบกายถวายชีวิต ที่ได้รับโอกาสนี้
 
ผมขอกราบด้วยความนอบน้อมผมขอเป็นลูก หลาน เคลือพันธุ์ ของพระพุทธองค์ เสด็จพ่อท่านท้าวเวสสุวรรณ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์บ้านสวนพีระมิด หลวงพ่อปาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ และอาจารย์อุบล
 
  
ขอแสดงเความเคารพด้วยความนอบน้อม
 
อมร ศิริมาศกูล
  
 
กรรมหนักที่ผมต้องสารภาพ
1. ให้เว้นจากการฆ่าหรือเบียดเบียนผู้อื่น ข้อนี้หนักครับ สั่งและบงการ ให้ทำแท้ง รู้เห็น แนะนำผู้อื่นทำ เพราะสถานที่ทำแท้งอยู่ใกล้บ้านเอารถไปส่งด้วยซ้ำ ทั้งๆ ที่ไม่มีส่วนได้ หรือส่วนเสียใด ๆ กับเขาเลย ช่วงนั้นอายุ 22-24 ปี เท่านั้น หลังจากนั้น ขีดเส้นแดงไม่ทำอีกแล้ว แม้แต่ความคิด เพราะเห็นตัวอย่างคนที่ ทำเหมือนเรา และเราทำเหมือนเขา ต้องประสบเคราะห์กรรม ในการดำเนินชีวิต ทุกข์ทั้งกายและใจ ไม่รู้ว่าทุกข์อะไรนักหนา ไม่มีความสุข
            2. ตอนเด็กเป็นแรงงานสำคัญของพ่อแม่ ประกอบอาชีพเลี้ยงไหม เป็นเวลาเกือบ 10 ปี  มีคัวไหมจำนวนมากหลายล้านตัว ต้องตายเลงเพื่อตัดวงจรชีวิต บางที่ไหมที่เลี้ยง ติดโรคไหม ต้องนำตัวไหมทั้งหมดที่ติดโรค และบางตัวก็ไม่ติดโรค ต้องถูกนำ ไปทำลายทิ้ง เพื่อสกัดโรคติดต่อ ซึ้งมากครับ รู้ว่าบาปมาก
            3. เคยดูเขาฆ่าวัว, ฆ่าหมู ไม่ได้เป็นผู้เชือด แต่ก็เท่ากับรู้เห็นเป็นใจ ตลอดตนอยากให้เขาตายแล้วจะได้นำมาเป็นอาหาร ภาพวัวถูกเชือดมันยังติดตจนทุกวันนี้เลย
            4. เป็นผู้ลงมือเชือดไก่ เป็ด ต้วยตนเอง ครั้งหนึ่งที่ฝีมือการเชือดตก เชือดเป็ดแล้วไม่ตาย มันบินหนีไป ต้องตามมล่าทุกวิถีทาง เพื่อให้เขาตายให้ได้
            5. เคยยิงนกที่กำลังบิน แม่นมาก ยิงตก แต่นกที่เกาะกิ่งไม้ ยิงไม่โดน ดูอเหมือนมันจำภาพนั้นไม่ลืมเลย ดูมันเจ็บมาก
            6. ฆ่างู ตีงู ด้วยเจตนา นำมาเป็นอาหาร และฆ่าเพราะกลัว ตลอดจนขับรถทับงู เคยซื้อชีวิตงูเอาไว้แล้วไปมอบให้สวนสัตว์ ผมคิดว่าแทนที่เขาจะมีอิสระ เขาต้องถูกกักขังในกงให้คนดู มันเป็นบุญหรือบาป แต่ผมทุกข์ใจ
            7. เคยเลี้ยงนกเขา เลี้ยงนกในกง เขาอยู่ในกงกินอาหารที่เราให้ทุกวัน
บางทีไม่อยู่บ้านหลายวัน ไม่มีคนให้อาหารและน้ำ สงสารนก เราต้องการปล่อยเขาให้เป็นอิสระ เราปล่อยเขาไป เขาไปหากินเหยื่อเองไม่เป็น ต้องบินวนเวียนมากินอาหารที่เราเหมือนเดิม เขาโดยแมวกัดตายผมทุกข์ใจมาก ที่เรามีส่วนให้เขาตาย
            8. ครั้งหนึ่ง พี่ชายทำอาหารมา ชวนให้ผมกินด้วย มี สองจาน หนึ่งจานผัดแผ็ด และอีกจานเป็นทอดกระเทียม พี่เขาชวนกินและพูดยิ้ม ๆ ผมหยิบมาดมแล้วกัดกิน มันเหนียวรสชาดไม่คุ้น ได้คำเดียวกินต่อไม่ได้ พี่เขาบอกว่า เป็นเนื้อแมว ผมแย่มาก พี่เขาอธิบายวิธีการฆ่าเขาบอกว่าตายยากมา จนเขาท้อจะเลิก และก็ต้องทำให้ตายให้ได้ ผมฟังแล้วผมนึกเห็นตอนผมตีแมวที่มันขโมยปลาทูผมไปกิน ผมตีมันแรง มันดิ้นสุดฤทธิ์ มันคงเจ็บมาก  มันกลัวจนตัวสั่น วันหลังผมเห็นมันเดินเดินอยู่ พอมันเห็นผมมันหยุดนิ่งละหมอบลง พอเดินไปใกล้ ๆ มั่นสั่นไม่ยอมวิ่งไปไหน มันคงยอมจำนนจะให้ผมฆ่ามันให้ตายหรือเปล่าไม่รู้ ก็นึกสงสารมันมากเหมือนกัน
            9. เบียดเบียนสัตว์มาเป็นอาหาร และไม่เป็นอาหาร ฆ่าหนู กุ้ง หอย ปู ปลา (ยกเว้นน้ำเต้า) ไปจนถึงสัตว์เล็กสัตว์น้อย เอาสัตว์ที่ไม่เป็นอาหาร ล่อเป็นสัตว์อื่นมาติดกับแล้วนำมาเป็นอาหาร ครั้งหนึ่งเคยใช้จั่นดัดปลาช่อนไข่ ปลาติดจั่น มันดิ้นสุดฤทธิ์ เกิดนึกสงสารมัน ปล่อยมันไปเฉย ๆอย่างนั้น จากนั้นได้ปิดฉากการเป็นนักล่า ฆ่ากระปอม และสัตว์ทุกชนิดที่เป็นอาหาร (ผมคนอิสานโดยกำเหนิด มีความชำนาญพิเศษในการหาเมนูพิศดาร) การเบียดเบียนผู้อื่น เห็นเห็นคือเป็นกรรมตัวเราต้องถูกเบียดเบียน ด้วยคน ด้วยสัตว์
โรคภัยไข้เจ็บ จนต้องเบียดเบียนตนเอง แล้วถูกทวงถามเอาชีวิตในที่สุด   ทุกข์ไหมล่ะ 
ขออโหสิกรรมด้วย มีสำนึกกรรมชั่วในบาปอกุศลที่ทำทั้งปวง

พฤติกรรมเลวแย่ แย่ อย่างนี้ห้ามลอกเลียนแบบเด็กขาด : อมร ศิริมาศกูล




คำสารภาพบาป และคำขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์

560 คุณหมอศิริพร ธนินทรานนท์ article
559 กันยภัทร เฟื่องฟู article
558 ศศิธร แก้วพิชัย article
557 นายมงคล ธงยศ article
556 พิบูลย์ คำศักดิ์ article
555 พรเพชร ทามนตรี article
554 ผดุงศักดิ์ มูลเชื้อ article
553 อารีวรรณ หิรัญเรือง article
551 ประไพ ศรีวิสิทธิกุล article
550 นนลณีย์ พงศ์วุฒิภรณ์ article
548 กัญญานี ถือธรรม article
547 วัฒนา ชัยจำรูญพันธุ์ article
546 นรีพัฒน์ ภู่สาย article
545 เกสร ศรประสิทธิ์ article
544 กมลลักษณ์ โปษณกุล article
543 อาจินต์ ภิรมย์รักษ์ article
542 สมจิต โพธิ์นิล article
541 อนุชิต กาลมัชฌิมา article
540 ธนากร โตสุวรรณ article
539 ไตรศักดิ์ ตันกูล article
538 เจริญ สินธนบูรณ์ article
537 เกรียงไกร สุดใจ article
536 อร่ามศรี สุวัตถิกุล article
535 อรัญญา คะโยธา (แอน) article
534 สุรชา มหาคุณอมร (เปลว) article
533 สายรุ้ง ศรีแตง article
532 วรินทร คัดชา (อุ๊) article
531 รุ่งสุภารัตน์ รุ่งเรือง article
530 เพชรดา วรรณรักษ์ article
529 พรรณี ศรีทะชะ article
528 ช่อแก้ว สารขวัญ article
527 สว่าง คงประโคน article
526 สมพร ขำนิ่ม article
525 รุ่งทิพย์ มุสิกรักษ์ article
524 ภัคจิรา ทามนตรี article
523 ประภาศรี อริยะอุดมกิจ article
522 ปนัดดา ฤกษ์ใหญ่ article
521 บุญเรือง ทะวงษา article
520 บงกชกร ละออจันทร์ article
519 ณัฐนันท์ พวงประโคน article
518 ชนกพร เอี่ยมชัย (แป้น) article
517 จีระวรรณ มูลสังข์ article
516 จันทิรา กาลมัชฌิมา article
515 จรัล มีศิลป์ (ปาน) article
514 กิ้น มิลิพันธ์ article
513 กันต์สินี อัครวิชนนท์ article
512 กอบกาญจน์ มะลอทอง article
511 เด็กหญิงวสุมา กาลมัชฌิมา article
510 เด็กหญิงเบญจมภร ครองยุติ article
509 เด็กหญิงกิรณา ครองยุติ article
508 เด็กชายธนาธิป มุสิกรักษ์ article
507 เด็กชายกิตติธัช กาลมัชฌมา article
506 ญาณิศา ครองยุติ article
505 อร อุ่นศรี article
504 สิริพร ศศิธรเวชกุล article
503 หงษ์สุดา นัตราพงษ์ article
502 พิชญ์นันท์ สุขวัจนี article
501 นิรมล นิมิตรมงคล article
500 วัณณิตา นันทะโรหิต article
499 จรรจิรา แก้วมณีรัตน์ article
498 สมคิด งามสมบัติ
497 รชยา ดำรงงามสมบัติ
496 พยอม ศรีนวล article
495 ปภาดา ธรรมนูญรัตน์
494 ธัญญารัตน์ พงศ์ศุภโรจน์ article
493 จิรพัชร์ ดวงมาลา (ป้าเตือน) article
492 เด็กหญิงศศรส สุวัฒนาพร article
491 จรัสศรี เที่ยงตรง article
490 กมลลักษณ์ โปษณกุล (อ๊อด) article
489 ประภา เงยวิจิตร article
488 อรวรรณ ยงยุทธ – สมิท article
487 พสิษฐ์ รัศมีจรัสฐากร article
486 สำราญ สหนาวิน article
485 วลัญช์ชิตา ชูนุ่น article
484 วิลาสินี ศิลารัตน์ article
483 ผกาพันธ์ ศรีสวัสดิ์ article
482 ณัฏฐ์นิธิมา แจ้งประจักษ์ article
481 ฉันทนา ชูนุ่น article
480 นรีพัฒน์ ภู่สาย article
479 กรศิริ ภู่สาย article
478 พร ปันธกา article
477 ผกาพรรณ ศรีสวัสดิ์ article
476 อมร ศิริมาศกูล article
475 สุรสิทธิ์ ศรประสิทธิ์ article
474 พงษ์เดช ชาวไทย article
473 ประพันธ์ ภู่สาย article
472 ใบ สิงห์นาคลอง article
471 เทวฤทธิ์ ท้าวคำ article
470 ทวี อิสระพายัพ article
469 ณัฐธีร์ รัศมีจรัสฐากร article
468 อัญชลา บุตรโส article
467 พญ. วัฒนา ชัยจำรูญพันธุ์ article
466 วรินทร พดด้วง article
465 ศิริพร โฉมจันทร์ (ตุ้ย) article
464 วีรดา อยู่นวล article
463 ภารดี ลลิตกิตติกุล article
462 พรรณี ศรีทะชะ article
461 วินิตา สุธิวรา (ก้อย) article
460 ปาริชาติ เฟื่องไพบูลย์ article



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.