ReadyPlanet.com
dot
dot
พระรัตนตรัย และ ครูบาอาจารย์
dot
bulletสมเด็จองค์ปฐม
bulletหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ
bulletพระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ
bulletดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
dot
รายการคุยไปแจกไป
dot
bulletรายการคุยไปแจกไป
dot
ข่าวสารประชาสัมพันธ์
dot
bulletข่าวสารประชาสัมพันธ์
dot
กิจกรรมบ้านสวนพีระมิด
dot
bulletค่ายบ้านสวนพีระมิด
bulletภาพและคลิปวิดิโอจากบ้านสวนพีระมิด
dot
บทความที่น่าสนใจ
dot
bulletบทความที่น่าสนใจ
bulletคู่มือหนีกรรมผิวพรรณ
bulletคำสารภาพบาป และ ประสบการณ์กฏแห่งกรรม
dot
International Version (ภาคภาษาต่างประเทศ)
dot
bulletEnglish Articles (บทความภาษาอังกฤษ)


อ.อุบล ศุภาเดชาภรณ์  บ้านสวนพีระมิด


คำสอนของสมเด็จองค์ปฐม article

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม ชุดที่ ๑

สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้
มีความสำคัญดังนี้

๑.จงอาศัยการกระทบให้เป็นประโยชน์ของการตัดกิเลส เห็นทุกข์มากเท่าไหร่ ยิ่งเบื่อทุกข์มากขึ้นเท่านั้น จิตจักปล่อยวางทุกข์ลงได้ในที่สุด แต่ต้องอาศัยปัญญาพิจารณาประกอบไปด้วย มิฉะนั้น เห็นทุกข์ก็จักเกาะทุกข์ ก็ยิ่งทุกข์ใหญ่ ถ้าหากมีปัญญาก็จักปล่อยวาง เนื่องด้วยเห็นทุกอย่างตามความเป็นจริง การที่จักพ้นทุกข์ได้ จักต้องรู้จักพิจารณาใช้ปัญญาใคร่ครวญอยู่เสมอ จึงจักปล่อยวางได้.

๒.พิจารณาร่างกาย พิจารณาอารมณ์ ทุกอย่างเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วก็ดับไป อย่าเอาความไม่เที่ยงมาเกาะติดอยู่ในจิตให้เป็นทุกข์ พยายามรักษาอารมณ์เกาะพระนิพพานให้มาก ๆ อย่าห่วงใคร อย่ากังวลกับเหตุการณ์ใด ๆ ทั้งปวง ตั้งใจทำทุกอย่างเพื่อพระศาสนา เพื่อพระนิพพานจุดเดียว ปล่อยวางเรื่องภายนอกลงเสียบ้าง แม้ชั่วขณะหนึ่งก็ยังดี เพราะยังไม่ใช่พระอนาคามีผล การเจริญพระกรรมฐานให้หมั่นฝึกให้ได้ทุกอิริยาบถ ไม่ว่าทำอะไรอยู่ก็ให้จิตจับมาเป็นกรรมฐานให้ได้ การเผลอนั้น ย่อมยังมีอยู่เป็นธรรมดา พยายามประคองจิตอย่าให้หวั่นไหวกับเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบมากนัก แล้วจักมีความสุขขึ้นในจิต.

๓.ร่างกายไม่ใช่สาระแก่นสารที่สำคัญก็จริงอยู่ แต่บุคคลใดจักพ้นไปจากร่างกายได้ ก็จักต้องพิจารณาให้เห็นความจริงของร่างกาย จักพูดแต่ปากหรือพูดเอาแต่สัญญานั่นย่อมไม่ได้ เพราะเท่ากับมีแต่ความจำ ไม่ช้าไม่นานก็ลืม ผิดกับคำว่าอธิปัญญา คือ เห็นอยู่ในความเป็นจริงตามปกติ บุคคลใดที่จักพ้นจากร่างกายได้ ตถาคตขอยืนยันว่าจักต้องพิจารณาร่างกายให้เห็นตามความเป็นจริง จนกระทั่งจิตเข้าถึงคำว่า เอกัตคตารมณ์ หมายความว่าเห็นจริงตามนั้นอยู่เป็นปกติ จึงจักพ้นจากร่างกายนี้ไปได้.

๔.มองเห็นร่างกายแล้ว ให้ดูอารมณ์ของจิต ที่ยึดเกาะร่างกายในส่วนไหนบ้าง การมีอาการถูกกระทบกระทั่งใจ ก็เนื่องด้วยร่างกายเป็นเหตุ ใครจักเกลียด จักโกรธ จักแกล้ง จักติ จักชม ก็เนื่องด้วยร่างกายเป็นต้นเหตุทั้งสิ้น ดังนั้นการพิจารณารูปและนาม จักต้องย้อนไปย้อนมา จึงจักเกิดปัญญารู้เท่าทันรูป-นามตามความเป็นจริงได้ จงอย่าละความเพียรในการปฏิบัติ พึงเร่งรัดกำลังใจของตน ให้ตั้งมั่นอยู่ในการพิจารณารูป-นามอยู่เสมอ นั่นแหละคือหนทางที่จักไปพระนิพพานได้.

๕.การป้องกันคุณไสยทำร้ายกายและจิตไม่ให้สงบ จักต้องไม่มีอารมณ์ปฏิฆะหรือโกรธ เพราะการภาวนาคาถาต่าง ๆ เพียงเพื่อป้องกันเท่านั้น เจ้าไม่ได้ต่อสู้เพื่อทำร้ายเขา ให้ทำจิตให้สงบ ไม่คิดเป็นศัตรูกับใครเข้าไว้ อย่าโกรธ อย่าอาฆาต ภาวนาเพื่อต่อสู้ไป เพื่อป้องกันเท่านั้นเป็นพอ และจำไว้ อย่าใช้บารมีของตนเองในขณะที่ภาวนาต่อสู้ ให้กำหนดจิตขอบารมีพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ หรือพระอริยสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งก็ได้ จักทำให้เจ้าปลอดภัยจากอำนาจคุณไสยทั้งปวง และจงอย่าคิดว่าตนเองเก่ง ถ้าคิดว่าตนเองเก่งเมื่อไหร่ ดีเมื่อไหร่ พระทุกองค์ก็จักไม่ช่วยเจ้า.

๖.ร่างกายที่เห็นอยู่นี้เป็นสมบัติของโลก ไม่มีใครสามารถเอาไปได้ โลกนี้ทั้งโลกกอปรไปด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเสื่อมไปในท่ามกลาง มีความสลายตัวไปในที่สุด เจ้าจักยึดถือร่างกายเป็นสรณะที่พึ่งก็ไม่ได้ จักยึดถืออะไรในโลกเป็นที่พึ่งก็ไม่ได้ พิจารณาถึงจุดนี้ ฝึกฝนจิตให้รู้จักกับคำว่าธรรมดาให้มาก และยอมรับคำว่าธรรมดาให้มาก และจงรู้จักคำว่าไม่เบียดเบียนร่างกายตนเองให้มากจนเกินไป และรู้จักเมตตาร่างกายตนเองด้วย เพื่อความอยู่เป็นสุขของจิตผู้อาศัยอยู่ในร่างกายนี้ และอย่ากังวลกับสิ่งภายนอกให้มาก จงเป็นผู้มีธุระน้อย หาความพอดีให้กับกายและจิตให้มาก ๆ จึงจักพบกับความสุขอย่างแท้จริง.

๗.การอาศัยความกระทบกระทั่งของอารมณ์เป็นเครื่องวัดกำลังใจที่จักตัดกิเลส นั่นแหละเป็นของจริง ได้ก็รู้ ตกก็รู้ ใช้อริยสัจเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหา อะไรที่เข้ามาในชีวิตก็จักต้องทนได้ เพราะต้องการที่จักไปพระนิพพาน ต้องทนได้กับทุก ๆ สภาวะ ให้ตรวจบารมี ๑๐ เข้าไว้ ขาดตัวใดตัวหนึ่งก็ต้องทำตัวนั้นให้เต็ม อย่าให้พร่องแม้แต่หนึ่งนาที แล้วการเจริญพระกรรมฐานก็จักคล่องตัวเอง ทำกำลังใจให้สงบ แล้วทุกสิ่งทุกอย่างจักดีขึ้นเองอย่าหวั่นไหวในการกระทบ สิ่งใดรู้ว่าแพ้ก็ให้แพ้ไป ตั้งกำลังใจกันใหม่ แผ่เมตตาให้มาก ๆ การปฏิบัติอย่าเครียด คือเอาจริงเอาจังเกินไป อารมณ์ต้องเบา ๆ สบาย ๆ จงอย่าสนใจกรรมหรือการกระทำของผู้อื่น ให้ดูแต่กรรมของตนเองเป็นที่ตั้ง ดูกาย-วาจา-ใจของตนเอง เพียรให้อยู่ในศีล-สมาธิ-ปัญญา เท่านั้น อารมณ์เผลอย่อมมีบ้างเป็นธรรมดา ได้สติก็ตั้งต้นดึงเข้ามาใหม่.

๘.เหตุการณ์บ้านเมืองเวลานี้ไม่ดี ไม่ต้องไปวิพากษ์วิจารณ์ว่าใครดีใครเลว เพราะกฎของกรรมเป็นของตายตัว จึงมิใช่ของแปลก เป็นเรื่องธรรมดาของกฎของกรรม นักปฏิบัติเพื่อต้องการพ้นทุกข์ จงเห็นกฎของธรรมดาเหล่านี้ให้มาก และยอมรับนับถือกฎของธรรมดาด้วย จิตจึงจักสงบเย็นลงไม่โทษเขาหรือโทษใคร ให้เห็นทุกอย่างตามความเป็นจริงไว้เสมอ และจงอย่าได้มีความประมาทในชีวิต พร้อมตายและซ้อมตาย เพื่อเอาจิตเข้าสู่พระนิพพานไว้ ด้วยความไม่ประมาท ให้จิตยอมรับนับถือกฎของธรรมดาให้มาก แล้วจิตจักเป็นสุข.

รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น
ที่มา: เว็ปไซต์ศูนย์พุทธศรัทธา

 

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม ชุดที่ ๒

สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้
มีความสำคัญดังนี้

๑.ร่างกายที่เห็นอยู่นี้ อยู่ได้เพราะธาตุ ๔ เป็นเครื่องหล่อเลี้ยง ทั้งภายนอก-ภายใน และเป็นภาระที่หนักหนา (ภาราหะเวปัญจักขันธา) อันทำให้จิตต้องดิ้นรนเสาะหาปัจจัย ๔ มาหล่อเลี้ยงห่อหุ้มร่างกายนี้ บุคคลใดเห็นทุกข์ของการมีภาระอันเนื่องจากร่างกายนี้ บุคคลนั้นย่อมเข้าถึงอริยสัจข้อต้น และจากการพิจารณาจนเห็นสาเหตุของจิตดิ้นรนด้วยตกอยู่ในห้วงของ กามตัณหา-ภวตัณหา-วิภวตัณหา ก็ได้ชื่อว่าเข้าถึงอริยสัจข้อสมุทัย และเมื่อได้ปฏิบัติในมรรคปฏิปทาอันมีองค์แปด หรือศีล-สมาธิ-ปัญญา จนจิตเข้าถึงนิโรธ ก็ได้ชื่อว่าเข้าถึงอริยสัจ ๔ อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นบุคคลใดทิ้งอริยสัจ ๔ บุคคลนั้นไม่สามารถที่จักเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าได้เลย.

๒.การเจ็บป่วยไม่สบายเป็นกฎของธรรมดา เพราะไม่มีใครหนีการเจ็บไข้ไปได้ ให้พยายามแยกกาย แยกเวทนา แยกจิต (เจตสิกหรืออารมณ์ของจิต)แยกธรรมหรือกรรม ว่าไม่ใช่เรา ไม่มีในเรา เราคือผู้อาศัยในสิ่งเหล่านี้อยู่ ก็ให้สักแต่ว่าเป็นเพียงผู้รู้ เป็นเพียงผู้อาศัย อย่าไปยึดมาเป็นตัวตนของใคร เพราะสิ่งเหล่านี้มีเกิดขึ้นมาได้ เพราะการมีร่างกายอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าไม่มีร่างกาย ความร้อน-หิว-กระหาย-เจ็บป่วย-ไม่สบาย-การถูกกระทบกระทั่งใจก็ไม่มีแล้ว อะไรเป็นเหตุของการมีร่างกาย ต้นเหตุคือตัณหา ๓ กามตัณหา-ภวตัณหา-วิภวตัณหา ในเมื่อความเป็นจริงของร่างกายเป็นเช่นนี้ เราไปฝืน ไม่อยากให้มันเป็นไป ก็เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะความโง่ที่ไม่รู้เท่าทันสภาวะธรรม หากขยันพิจารณาธรรมจุดนี้ให้ดีๆ อย่างต่อเนื่อง สักวันหนึ่งข้างหน้าก็จักตัดอารมณ์ของการเป็นทาสของตัณหาได้.

๓.จิตที่ไปติดข้องอยู่กับกรรม จึงต้องไปเสวยกรรมดีและกรรมชั่ว สภาวะกรรมหรือธรรม เกิดแล้วก็ดับไป จิตที่ยังเกาะกรรมดี คือ บุญ ก็ไปสู่สุคติ คือสวรรค์-พรหม เป็นต้น จิตที่เกาะกรรมชั่ว คือ บาปอกุศล ก็ไปสู่ทุคติ คืออบายภูมิ ๔ จึงเวียนว่ายตายเกิดไปตามกฎของกรรมที่ตนกระทำไปนั้นๆ สำหรับพระอรหันต์ ชื่อว่าหมดกรรม เพราะท่านเห็นทั้งสภาวะโลก และ สภาวะธรรม ล้วนไม่เที่ยง เกิด-ดับๆ อยู่อย่างนั้น กรรมที่เป็นอกุศลท่านไม่ทำอีกต่อไป หมดกรรมเพราะไม่มีการจุติเกิดขึ้นกับท่านอีก ทุกอย่างท่านทำไปตามหน้าที่ สงเคราะห์คน-สัตว์ ชี้หนทางพ้นทุกข์ เผยแพร่ธรรมไปตามหน้าที่ แต่ท่านหาได้ติดอยู่ในบุญเหล่านี้ไม่ บุญหรือบาปก็ไม่ข้องอยู่ กรรมก็ไม่ข้องอยู่ ยังมีร่างกายอยู่กฎของกรรมเก่าๆ ตามมาสนองก็เรื่องของมัน บุญหรือบาปไม่มีสิทธิ์ที่จักนำท่านไปเกิดอีก.

๔.อนึ่ง คำว่า จิตไม่ใช่เรา จุดนี้คือนาม หรือเจตสิก อันมี เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ (ทรงอธิบายถึงกาย(รูป)-เวทนา-จิต-ธรรม ซึ่งไม่เที่ยงเกิดดับๆ ตลอดเวลา คำว่าจิต คือเจตสิกหรืออารมณ์ของจิต มิใช่ตัวจิต หรือนาม ๔ ตัวที่อาศัยรูปอยู่ ซึ่งจริงๆ ก็คือขันธ์ ๕ หรือร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยรูปหนึ่งกับนามอีก ๔ คือ เวทนา-สัญญา-สังขาร และวิญญาณ) ธรรมอีกจุดหนึ่งที่เข้าใจยาก คือ อทิสสมานกายนี้ไม่ใช่เรา ธรรมในพระพุทธศาสนา เป็นปัจจัตตัง ปฏิบัติถึงแล้วจึงจะรู้ได้เอง หรือถึงแล้วรู้เอง ยังไม่ถึงก็ยังรู้ไม่ได้จริง และรู้ได้เฉพาะตนของใครของมัน ตามระดับของจิตในจิต และธรรมในธรรม ผมขออนุญาตอธิบายว่า ให้ยึดพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นหลัก เพราะเที่ยงแล้ว ไม่เปลี่ยนแปลงอีก ที่ทรงตรัสไว้ว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ควรยึดว่ามันเป็นเรา เป็นของเรา

เรื่องกายของจิต หรือรูปในนามนี้ก็เช่นกัน ทรงตรัสเป็นสมมุติธรรมว่า อทิสสมานกาย กายของจิต หรืออทิสสมานกายนี้มันก็ไม่เที่ยง ตราบใดที่ยังตัดกิเลสไม่หมดเป็นสมุจเฉทปหาน คือสังโยชน์ ๑๐ ประการยังไม่หมด หรือความโลภ-โกรธ-หลงยังไม่หมด หรือตัณหา ๓ ยังไม่หมด อทิสสมานกายก็ยังไม่เที่ยง ยังเปลี่ยนแปลงไปตามกรรมที่จิตทำไว้ เช่น อทิสสมานกายเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน หรืออบายภูมิ ๔ ในฝ่ายกรรมชั่วที่เป็นอกุศล ในฝ่ายกรรมดีที่เป็นกุศล อทิสสมานกายก็เปลี่ยนแปลงไปตามกรรมดี เป็นมนุษย์-เป็นเทวดา-เป็นนางฟ้า-เป็นพรหมตามกรรมดี ก็ล้วนยังไม่เที่ยง ไม่ทรงตัว ยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเราไม่ได้ จนกว่าจิตดวงนั้นจะอยู่เหนือกรรม ทั้งดี ทั้งชั่วอย่างถาวร มิใช่ชั่วคราว แค่หลุดพ้นได้ชั่วคราวเป็นปทังควิมุติ เช่น ระงับนิวรณ์ทั้ง ๕ ได้ชั่วคราว จิตเป็นฌาน เป็นสมาธิ แต่ยังฆ่ายังตัดกิเลสไม่ได้จริงๆ

ขอสรุปว่า พระอรหันต์เท่านั้นที่จิตท่านพ้นดี-พ้นชั่วอย่างถาวร จิตท่านก็มีสิทธิ์เข้าสู่แดนพระนิพพานได้อย่างถาวรเช่นกัน อทิสสมานกายของท่านจึงจะเที่ยง ไม่มีเปลี่ยนแปลงอีก เป็นพระวิสุทธิเทพ เทพที่มีอทิสสมานกายบริสุทธิ์คงทน-ถาวร-มั่นคง เที่ยงตลอดกาล ภูมิจิต-ภูมิธรรมของผม มีแค่ระดับสัญญาและปัญญา ยังมิใช่ตัวปัญญาแท้ๆ ยังมีสัญญาปนอยู่ เพราะยังตัดสังโยชน์ ๑๐ ประการไม่ได้หมด ก็อธิบายได้แค่นี้.

๕.สถานที่วิเวกก็มีความสำคัญในการปฏิบัติธรรม จิตที่มีสมาธิคือจิตวิเวกที่ต้องอาศัยสถานที่วิเวกด้วย จึงจักมีความตั้งมั่นอยู่ในใจ ฟังอะไรก็รู้เรื่อง ไม่เสียสมาธิไปกับเสียงจ๊อกแจ๊กจอแจ แต่ก็พึงเห็นเป็นของธรรมดา เลี่ยงได้ก็พึงเลี่ยง แต่ในเมื่อเลี่ยงไม่ได้ ก็จำเป็นที่จักต้องชน ชนในที่นี้ มิได้หมายความถึงการไปสู้รบตบมือ หรือไปพอใจหรือไม่พอใจกับเหตุการณ์ที่สับสนวุ่นวายนั้น แต่หมายถึง รักษาอารมณ์ของใจให้เห็นเป็นเรื่องธรรมดา จิตสงบจิตเป็นสุขไม่ดิ้นรนเดือดร้อนไปด้วยกรณีทั้งปวง

อนึ่งให้รู้ความสำคัญในความวิเวกนั้น มีความสำคัญในการปฏิบัติมากขนาดไหน พึงดูตถาคตเจ้าก่อนที่จักบรรลุอภิเษกพระสัมมาสัมโพธิญาณ พระปัญจวัคคีย์ได้หลีกห่างออกไป ทรงอยู่ตามลำพังพระองค์เดียว พราหมณ์ถวายหญ้าคาเป็นที่รองนั่ง หลังจากรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดาแล้ว สถานที่นั้นก็วิเวก มิได้ประกอบด้วยคนหมู่ใหญ่ เมื่อกำหนดกายตั้งตรง กายก็วิเวก ปราศจากกิจอื่นๆ ที่ต้องทำโน่นทำนี่อีก แล้วดำรงจิตให้มั่นกำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออก จุดนี้จิตก็วิเวกอีก จึงต้องมีความสำคัญในการบรรลุโมกขธรรม

ที่ตรัสนี้เพื่อให้พวกเจ้าได้พิจารณาและปฏิบัติตามแบบอย่างจึงจักได้ผล หากยังชมชอบคลุกเคล้าอยู่ด้วยคนหมู่มาก ด้วยเพลิดเพลินไปด้วยคำสรรเสริญหรือนินทา หรือการสนทนาธรรม ด้วยอารมณ์ปรุงแต่ง จุดนั้นกายปราศจากการวิเวก วจีกรรมก็มาก เพราะมโนกรรมเป็นผู้ปรุงแต่งคำพูดออกมา ความสงบของใจก็ไม่มี การปฏิบัติก็บรรลุได้ยาก ตรัสเท่านี้ก็ให้พิจารณาดูตัวเอง ดูกาย ดูวาจาของตนเอง อย่าลืมมโนเป็นใหญ่ กายกับวาจาย่อมมีใจเป็นผู้บงการ ดีหรือเลวก็สำเร็จที่ใจนั่นแหละ.

๖.ให้เห็นธรรมดาของคนอันแปลว่าวุ่นวาย และเป็นธรรมดาอยู่ดีที่คนเมื่อได้ยินที่ไหนว่ามีของดี มีพระดีก็จักแห่ไปที่นั่น แล้วคนมีมารยาทก็มีมาก คนไม่มีมารยาทก็มีมาก การรู้กาลเทศะก็มิใช่ว่าจักมีได้ง่ายในคน เรื่องเหล่านี้จักต้องใช้การพิจารณา แล้วหมั่นปล่อยวาง อย่าไปคิดหรือกล่าวตำหนิเอาไว้ในใจ จักไปเอาอะไรกับคน เสียผลของการปฏิบัติธรรมเปล่าๆ.

๗.ให้มั่นใจในพุทธคุณ-ธรรมคุณ-สังฆคุณ ปัญหาใดๆ ถ้าหากไม่เกินวิสัยในกฎของกรรม ให้ขอบารมีพุทธคุณ-ธรรมคุณ-สังฆคุณ ย่อมขจัดปัดเป่าแก้ไขได้ พุทธคุณ คือคุณของผู้รู้ อันหมายถึงพระตถาคตเจ้า เป็นผู้รู้-ผู้ตื่น-ผู้เบิกบาน ดังนั้น บุคคลใดไม่ลืมพุทธคุณ ก็พึงกระทำตาม ให้ถึงซึ่งพุทธคุณด้วยธรรมคุณ คุณของพระธรรม อันหมายถึงทุกข์-สมุทัย-นิโรธ-มรรค นั่นแหละ บุคคลผู้ปฏิบัติถึงซึ่งพุทธคุณและธรรมคุณ อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ด้วยกำลังใจเต็ม ก็ได้ชื่อว่าถึงซึ่งสังฆคุณใน ๔ ระดับ คือ พระโสดาบัน-พระสกิทาคา-พระอนาคา-พระอรหันต์

คุณทั้งสามประการของพระรัตนตรัยในบวรพระพุทธศาสนานี้ ผู้ใดถึงแล้ว ผู้นั้นย่อมมีความสุข และจักสุขยิ่งๆ ขึ้นไป จนกระทั่งเข้าถึงซึ่งแดนเอกันตบรมสุข คือพระนิพพานเป็นที่ไปนั่นแหละ ให้มองดูจิต-ดูกายของตนนั่นแหละเป็นสำคัญ ถ้ามุ่งต้องการปฏิบัติให้พ้นทุกข์ได้จริง อย่าเพ่งโทษในจริยาของผู้อื่น ให้เห็นความร้อนในจิตของตนเองให้มาก และเห็นโทษของความร้อนในจิตนั้น ก็จักปฏิบัติฝึกจิตของตนให้พ้นไปจากความร้อนได้ในที่สุด.

๘.อารมณ์เบื่อจัดเป็นปฏิฆะ เพราะจิตไม่ยอมรับกฎของธรรมดา (จิตฝืนโลก-ฝืนธรรม) ให้ค้นคว้าหาสาเหตุของอารมณ์เบื่อ (ด้วยอริยสัจ หรือด้วยสังฆคุณ) แล้วจักมีกำลังใจพิจารณาไปจนถึงที่สุดของสาเหตุนั้น ถ้าจิตยอมรับจักวางอารมณ์เบื่อหน่ายนั้นลงไป จนถึงยอมรับกฎของธรรมดา จิตสงบไม่ดิ้นรน มีความสุขมาก ค่อยๆ ทำไปด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ แล้วจักได้ผลตามนั้น.

๙.อย่ากังวลใจกับการเดินทาง เมื่อย่างเท้าออกจากวัด-จากบ้าน-จากที่อยู่อาศัย ให้ตัดอารมณ์กังวลทิ้งไปทันทีทันใด ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง การเดินทางให้รักษาอารมณ์จิตให้ดีๆ กำหนดพุทธคุณ-ธรรมคุณ-สังฆคุณ หรือพระไตรลักษณ์เป็นที่พึ่ง รู้พระนิพพานเข้าไว้เป็นอารมณ์ รู้โทษของการมีกังวล แม้แต่เล็กน้อยก็ไม่สามารถเข้าสู่พระนิพพานได้ เพราะขาดความผ่องใสของจิต ผู้ปฏิบัติธรรมที่ดีจักต้องหมั่นตรวจสอบอารมณ์อยู่เสมอ หมั่นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดใจกังวลโดยเร็วที่สุด ด้วยอริยสัจหรือธรรมคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอา มรณานุสสติขึ้นมาตั้งมั่น คอยเตือนตนอยู่เสมอว่า ความเศร้าหมองของจิต (จิตไม่ผ่องใส) ทำให้ไปพระนิพพานไม่ได้.

๑๐.คนจักพ้นทุกข์ได้ก็ต้องเห็นทุกข์ก่อน คนเห็นกิเลสที่ยังเกาะกินใจตนอยู่ ก็คือคนเห็นทุกข์ เห็นปัญหา เห็นอุปสรรค ก็คือคนเห็นอริยสัจ หรือเห็นพระธรรม เห็นธรรมคุณ ผู้มีปัญญาทุกคนจักเอาทุกข์ เอาปัญหา เอาอุปสรรคทุกอย่างมาเป็นกรรมฐานได้หมด หาประโยชน์ได้หมด ในทุกสภาวะการณ์ โดยนำมาพิจารณาเข้าหาอริยสัจหมด เป็นธรรมคุณ ก็จักตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานได้ในที่สุด.

๑๑.รักษาอารมณ์ของจิตให้ดีๆ ประคองใจไว้เป็นสำคัญ อย่าไปฝืนกรรมของใคร แล้วอย่าไปแก้ไขคนอื่น ให้แก้ไขใจตนเองนี้แหละ จึงจักถูกต้องตามหลักการของพระพุทธศาสนา จุดนี้มีความจำเป็นต้องพูดซ้ำ เพราะพวกเจ้าส่วนใหญ่มักจักไปแก้ไขบุคคลอื่น ผิดหลักธรรมอย่างยิ่ง ไปทำอย่างนั้นก็เท่ากับไปเพิ่มกิเลสให้กับจิตของตนเอง จักต้องพยายามมีสติให้ตั้งมั่น ถือธุระไม่ใช่เข้าไว้ให้มาก ๆ ไม่ใช่หน้าที่ให้ปล่อยวางทันที ยกเว้นมีการเกี่ยวข้องโดยกรรมต่อกัน ก็พึงกระทำกันเพียงแต่หน้าที่เท่านั้น สำหรับทางจิตใจ พยายามไม่เกี่ยวข้องกับใคร ปล่อยวางเพื่อความผ่องใสของจิตให้มากที่สุดเท่าที่จักมากได้ กฎของกรรมใดๆ เข้ามาถึง ก็ถือว่าชดใช้กรรมเก่าให้เขาไป อย่าไปต่อกรรมในเมื่อปรารถนาจักไปพระนิพพาน แม้จักทำได้ยาก ก็จักต้องทำให้ได้.

๑๒.พวกโทสะจริต ให้พยายามฝึกจิตให้เยือกเย็น แล้วพึงพิจารณาโทษของ โทสะจริตให้มาก พยายามทรงอารมณ์จิตให้อยู่ในคำภาวนาให้มาก พร้อมกำหนดอานาปาให้มากด้วย หลังจากรู้ลม-รู้ภาพพระแล้ว ก็จักมีอารมณ์เย็นขึ้น อย่าลืมจิตต้องเย็น สงบก่อน จึงค่อยพิจารณาทุกข์อันเกิดจากโทสะจริตนั้น จิตยิ่งเย็นก็ยิ่งเห็นทุกอย่างได้ชัดขึ้นเท่านั้น และจงอย่าลืมว่า พุทธานุสสติ พุทโธอัปมาโณ คุณของพระพุทธเจ้าหาประมาณมิได้ คนฉลาดไม่มีใครทิ้งพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะพระอรหันต์ท่านยังไม่ทิ้ง แล้วพวกเจ้าเป็นใคร ให้คิดเอาเอง.

๑๓.ร่างกายไม่ดี ก็ให้เห็นเป็นธรรมดา หรือร่างกายดีอันเนื่องจากธาตุ ๔ มีความทรงตัวแค่ระยะหนึ่ง ก็ให้เห็นเป็นของธรรมดา แล้วจงอย่าคิดว่าร่างกายจักทรงตัวอยู่อย่างนั้นเสมอไป ร่างกายไม่ดีก็ไม่เที่ยง ร่างกายดีก็ไม่เที่ยง มันมีแต่ความแปรปรวนหมุนเวียนเปลี่ยนไปทุกวัน หรือทุกขณะจิต นั่นคือธรรมดาของร่างกาย แล้วในที่สุดร่างกายนี้ก็มีความแก่และมีความตายเป็นธรรมดา หมั่นพิจารณาให้เห็นกฎของธรรมดาให้มาก จิตใจจักได้มีความสุข หรือแม้กระทั่งการถูกด่า-ถูกนินทา หรือถูกสรรเสริญยินยอ ก็เป็นเรื่องธรรมดา เหล่านี้ หมั่นพิจารณาธรรมดาให้มาก แล้วจักมีการยอมรับ ในกฎของธรรมดาทั้งปวง จิตใจจักสงบและเป็นสุข ให้พยายามรักษาอารมณ์พิจารณาเหล่านี้ให้มาก.

รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น
ที่มา: เว็ปไซต์ศูนย์พุทธศรัทธา

 

คำสอนสมเด็จองค์ปฐม ชุดที่ ๓

สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนปกิณกะธรรมไว้
มีความสำคัญดังนี้

๑.ให้เห็นธรรมดาของกฎของกรรม ไม่มีใครพ้นกฎของกรรมไปได้ พังแล้วหรือประสบกับเหตุการณ์ทั้งหลายแล้ว จงรักษาอารมณ์ของจิตเข้าไว้ อย่าให้เศร้าหมองหรือสลดหดหู่ เมื่อใดเกิดอารมณ์เช่นนี้ ให้รู้เอาไว้ว่าผิดพลาดไปเสียแล้ว จักต้องเร่งปรับปรุงแก้ไข ทำใจให้เป็นธรรมดาดีกว่ากังวล อย่างพระเจ็บ แม้จักห่วงกังวลอย่างไรก็ยังเจ็บอยู่ดี แต่พระองค์ไหนถ้าปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้ว กฎของกรรมมันเข้าก็จริงอยู่ แต่อาศัยคุณพระพุทธ-พระธรรม-พระอริยสงฆ์ จักช่วยให้เบาบางไป โดยชดใช้เพียงเศษของกรรมเท่านั้น ขอให้อดทนแล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็จักผ่านไป.

๒.อย่าท้อแท้หรือหมดกำลังใจ ในเมื่อร่างกายเกิดอาการไม่ทรงตัวขึ้นมา ทางที่ดีคือ นำอาการไม่ทรงตัวขึ้นมาเป็นวิปัสสนาญาณ ให้รู้ตามความเป็นจริงของร่างกาย (ใช้วิปัสสนาญาณ ๙ เป็นหลัก) อย่าเกาะร่างกาย ให้รู้ว่าชาติก่อน ๆ เพราะเราเกาะร่างกายอย่างนี้แหละ ปกติธรรมของร่างกายคือความไม่เที่ยง ธาตุ ๔ แปรปรวนอยู่เสมอ ไม่ธาตุลมกำเริบ ก็ธาตุไฟกำเริบ หรือบางขณะธาตุน้ำกำเริบ ธาตุดินเสื่อม กระดูกขัดกระดูกชำรุด (ข้อต่างๆ) กระดูกงอกก็ธาตุดินกำเริบ ดังนั้น ทุกอย่างหาความทรงตัวไม่ได้เป็นปกติ แต่จิตใจของเราในอดีตชาติผิดปกติ คือไม่ยอมรับความเป็นปกติธรรมของร่างกาย จักฝืนให้มันทรงตัวดีอยู่ตลอดกาลตลอดสมัย ซึ่งจุดนี้แหละ เป็นตัณหาพาให้จุติมามีร่างกายแล้วมีร่างกายอีก ร่างกายนี้ที่สุดมันก็ต้องตายเป็นปกติ จิตใจโง่ไม่อยากให้มันตาย จักให้มันทรงตัว จึงตกเป็นทาสของตัณหา ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย หาที่สิ้นสุดไม่ได้ มาบัดนี้แสวงหาความจริงของร่างกาย ก็จักต้องฝึกฝนจิตใจให้ยอมรับนับถือความปกติธรรมของร่างกายเข้าไว้ ยอมรับมากเท่าไหร่ ยิ่งพ้นเกิด-พ้นตายมากเท่านั้น เพียรพิจารณาจุดนี้เอาไว้ให้ดี.

๓.เรื่องนอกตัวไม่สำคัญ อย่าเอามาคุย ดูเรื่องในตัวให้มาก ยกตัวอย่างเช่น เห็นคนอื่นคุยกันขณะฟังธรรม การคุยกันทำให้ไม่มีสมาธิในการฟังและพิจารณาธรรมนั้นๆ เป็นเรื่องจริง เนื่องจากการคุยทำให้จิตจดจ่อไปในเรื่องที่พูดอยู่ มากกว่าจักนำคำสั่งสอนมาพิจารณาเป็นวิปัสสนาญาณ แต่เรื่องนี้จงอย่าตำหนิกรรม เนื่องด้วยบุคคลใดยังไม่ชำนาญในอานาปา หรือฌานใดฌานหนึ่งแล้ว บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้พูดมากอยู่ ยกเว้นผู้เข้าถึงฌาน หรือเข้าสู่พระอนาคามีมรรค หรือพระอนาคามีผล บุคคลนั้นจักสำรวมวาจาเป็นอย่างยิ่ง แต่ถ้าถึงพระอรหันต์ปล่อยตามปกติธรรม แต่ไม่เพ้อเจ้อเหลวไหล จักพูดก็ด้วยเหตุด้วยผล หรือด้วยสงเคราะห์ผู้ฟัง ท่านเป็นผู้พูดด้วยสติ-สัมปชัญญะสมบูรณ์ มิใช่พูดโดยไม่คำนึงว่าใครจักเสียหายด้วยคำพูดของตน หรือพูดโดยคิดว่าเป็นความจริง แต่เจือไปด้วยกิเลส อาทิประจานคนทำไม่ดีนั้นไม่มีในพระอรหันต์ มีแต่พูดโดยธรรม เป็นประโยชน์ และเห็นโทษในคำพูดอย่างแท้จริง พระอรหันต์ไม่ตำหนิใคร เนื่องด้วยเคารพในกฎของกรรม แต่ตำหนิเพื่อก่อ หรือตำหนิเพื่อกันไม่ให้คนอื่นเลวไปยิ่งกว่านั้นมี ศึกษาปฏิปทาในเรื่องวาจาเอาไว้ให้ดี เนื่องจากยังบกพร่องกันอยู่มาก วาจานี้สำคัญ ปลูกมิตรก็ได้ สร้างศัตรูก็ได้ คนพังเพราะคำพูดมีมาก.

๔.การปฏิบัติธรรมให้สังเกตอารมณ์ของจิตใจเป็นสำคัญ อย่าให้เสียท่าต่อกิเลส พึงใส่ใจแก้ไขอารมณ์ของจิตใจเอาไว้เสมอ กรรมบางอย่างฝืนได้ กรรมบางอย่างฝืนไม่ได้ มโนกรรมบางขณะเกิดขึ้นอย่างรุนแรง เมื่อระงับได้ ก็พึงดูอาการของการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่และดับไป แล้วก็พึงเห็นกองสังขารมันปรุงแต่งอยู่อย่างนั้น ความเป็นสาระในสังขารปรุงแต่งนั้นไม่มี จงอย่ายึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเรา พึงละซึ่งอุปาทานขันธ์อย่างจริงจัง แต่ทำไปอย่างสบายๆ อย่าเครียด.

๕.บุคคลใดเจริญพระกรรมฐาน โดยไม่จับเอาให้ตรงกับจริตของตนเองก็ดี หรือจับเอาทุกกองเพียงฉาบฉวยก็ดี มักจักหาความบรรลุมรรคผลได้ยาก ให้สังเกตว่า บุคคลผู้รู้พระกรรมฐานหลายกองโดยสัญญา มักจักมีความทะเยอทะยานอวดอ้างคุณวิเศษของตน เป็นที่ให้ผู้อื่นสรรเสริญ-ยกย่อง-เยินยอ จงประมาณตนเอาไว้ให้ดี อย่าได้เป็นเช่นนั้น มิใช่ของดีเลย ให้ดูท่านพระเรวัตเป็นหลัก หรือพระอรหันต์ต่างๆ ในพระสูตร พระอริยเจ้าจักมีแต่ความถ่อมตน ไม่ยกตนข่มท่าน อยู่อย่างเป็นสุข ไม่เดือดร้อนด้วยประการใดๆ ทั้งปวง เนื่องจากกิเลสในจิตของท่านทุเลาเบาบางลง หรือหายไป ไม่มีอำนาจมาทำให้จิตใจของท่านต้องเดือดร้อนอีก.

๖.การบริโภคอาหารและยา พึงพิจารณาผลที่เกิดคุณและเกิดโทษแก่ร่างกาย เป็นการยังอัตภาพให้เป็นไป มิใช่เพื่อความเอร็ดอร่อย หรือเพื่อความอ้วนพีผ่องใส คนส่วนใหญ่กินอาหารด้วยความติดรส กินยาเพื่อหวังจักให้ร่างกายไม่ตาย แต่ตามความเป็นจริง อาหารชนิดใด ยาชนิดใดก็ตาม ไม่สามารถที่จักยับยั้งความแก่-ความเจ็บ-ความตายของร่างกายไปได้ เพียงแต่ระงับทุกขเวทนา บรรเทาการเสียดแทงของร่างกายไปได้ชั่วคราวเท่านั้น และคนส่วนใหญ่ไม่ชอบกินยา ซึ่งเป็นปกติธรรมของคนทั่วไป แต่ถ้าผู้ที่เข้าใจในธรรมปฏิบัติ จักรู้ซึ่งเข้าไปถึงคำว่า ปัจจัย ๔ ที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ของร่างกาย คำว่ายารักษาโรคจึงต้องอยู่คู่กับร่างกายที่เป็นรังของโรค เมื่อร่างกายมีโรคจึงจำเป็นต้องกินยารักษาโรค เป็นการระงับทุกขเวทนา เป็นการยังอัตภาพให้เป็นไปเช่นเดียวกันกับอาหาร บุคคลผู้ฝืนไม่กินยา ก็คือผู้ไม่ยอมรับความเป็นจริงว่าร่างกายนี้เป็นโรคนั่นเอง ต่างกับผู้ที่รักษาโรคให้กับร่างกาย จักกินยาโดยไม่ต้องฝืนใจ ยิ่งรู้ว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา เป็นเพียงที่อาศัยชั่วคราว ก็จักทำการเยียวยารักษา โดยไม่ให้เกิดเวทนาเข้ามารบกวนจิตผู้อาศัยร่างกายนี้อยู่ โดยจิตผู้รู้จักทำตามหน้าที่ของผู้อยู่ อันต้องซ่อมแซมบ้านที่ชำรุดทรุดโทรมไปทุกๆ ขณะ กินยาก็คือซ่อมแซมบ้าน โดยที่จิตผู้รู้จักไม่ทุกข์-ไม่ร้อนไปด้วย บ้านนี้อยู่ได้ก็อยู่ไป แต่ก็รู้อยู่ตลอดเวลาว่า สักวันหนึ่งบ้านนี้พังสลายอย่างแน่นอน ถึงวาระนั้นจิตผู้รู้ก็จักจากบ้านนี้ไปอย่างเป็นสุข มีบ้านอยู่ก็เป็นสุข บ้านพังไป จากบ้านก็สุข พิจารณาปัจจัย ๔ เอาไว้ จักได้มีความสุขทั้งปัจจุบันและสัมปรายภพ.

๗.เจ้ารู้สึกลำบากใจในการกำหนดกำลังใจให้เต็ม ในการรู้ปฏิบัติกรรมฐานอยู่ตลอดเวลาหรือ (ก็รับว่าใช่) จักต้องแยกแยะว่า อันไหนเป็นกิเลส อันไหนเป็นสิ่งจำเป็นที่จักต้องทำ มิใช่เหมาเอาไปเสียหมดว่าเป็นกิเลสบังคับ อย่างนั้นก็ไม่ถูก อย่างกรณีมีร่างกายไม่หุงหาให้มันกินก็ไม่ได้ แต่ก็ทำไปตามหน้าที่ มิใช่เอากิเลสไปปรุงว่าจักต้องกินแต่ของดีๆ ของแพงๆ กินแล้วดี ร่างกายอ้วนพี-ผ่องใสกินเพื่อรสอร่อย การปฏิบัติจักต้องแยกแยะออกมาให้ถูกทางด้วย.

๘.การฝึกฝนกำลังใจก็คือ หมั่นตรวจบารมี ๑๐ ให้ครบ มิใช่ท่องเพื่อจำบารมีได้ การทำบารมี ๑๐ ให้ครบอยู่ที่กำลังใจ พยายามฝึกฝนทรงตัวอยู่ให้ได้ ค่อยๆ ทำไปให้จิตมันชิน อะไรกระทบก็ให้นึกถึงบารมี ๑๐ เข้าไว้ เพียรอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา อย่าท้อแท้ อย่าท้อถอย ทำให้มันครบทั้ง ๑๐ ประการในคราวเดียวกัน แล้วเมื่อนั้นแหละคำว่าเต็มกำลังในการปฏิบัติธรรมก็จักมีได้ตลอดเวลา และให้จำไว้ว่า ไม่มีงานใดที่จักทำได้โดยราบรื่น งานทุกอย่างย่อมวัดกำลังใจ ไม่เฉพาะงานทางโลกเท่านั้น งานทางธรรมก็เหมือนกัน ไม่มีใครหนีอุปสรรคพ้น เพียงแต่ว่าถ้าหากกำลังใจดี ก็สามารถฝ่าฟันอุปสรรคให้พ้นไปได้ อนึ่งการทำงาน พึงพิจารณาในแง่ลบบ้าง อย่าคิดแต่ด้านบวกอย่างเดียว เช่นเดียวกับการพิจารณาพระกรรมฐาน พึงมองโทษและมองคุณให้ทั่วถ้วน แล้วการดำเนินงานก็จักมีความผิดพลาดได้น้อย.

รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน
เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น
ที่มา: เว็ปไซต์ศูนย์พุทธศรัทธา

 




สมเด็จองค์ปฐม

ประชาสัมพันธ์บอกบุญโครงการสร้างพระสมเด็จองค์ปฐมจากที่ต่างๆทั่วประเทศ article
พระคาถาบูชาองค์ปฐมพระพุทธเจ้า article
พระองค์ที่ ๑๑ (สมเด็จองค์ปฐมในกายมนุษย์) article
รวมภาพสมเด็จองค์ปฐม article
ประวัติและการสร้างสมเด็จองค์ปฐม article



[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (138040)

.พิจารณาร่างกาย พิจารณาอารมณ์ ทุกอย่างเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วก็ดับไป อย่าเอาความไม่เที่ยงมาเกาะติดอยู่ในจิตให้เป็นทุกข์ พยายามรักษาอารมณ์เกาะพระนิพพานให้มาก ๆ อย่าห่วงใคร อย่ากังวลกับเหตุการณ์ใด ๆ ทั้งปวง ตั้งใจทำทุกอย่างเพื่อพระศาสนา เพื่อพระนิพพานจุดเดียว ปล่อยวางเรื่องภายนอกลงเสียบ้าง แม้ชั่วขณะหนึ่งก็ยังดี เพราะยังไม่ใช่พระอนาคามีผล การเจริญพระกรรมฐานให้หมั่นฝึกให้ได้ทุกอิริยาบถ ไม่ว่าทำอะไรอยู่ก็ให้จิตจับมาเป็นกรรมฐานให้ได้ การเผลอนั้น ย่อมยังมีอยู่เป็นธรรมดา พยายามประคองจิตอย่าให้หวั่นไหวกับเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบมากนัก แล้วจักมีความสุขขึ้นในจิต.

สาธุ สาธุ สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น ดวงรัตน์ จันทร์ใสย์ วันที่ตอบ 2011-04-06 17:31:48


ความคิดเห็นที่ 2 (138041)

.พิจารณาร่างกาย พิจารณาอารมณ์ ทุกอย่างเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วก็ดับไป อย่าเอาความไม่เที่ยงมาเกาะติดอยู่ในจิตให้เป็นทุกข์ พยายามรักษาอารมณ์เกาะพระนิพพานให้มาก ๆ อย่าห่วงใคร อย่ากังวลกับเหตุการณ์ใด ๆ ทั้งปวง ตั้งใจทำทุกอย่างเพื่อพระศาสนา เพื่อพระนิพพานจุดเดียว ปล่อยวางเรื่องภายนอกลงเสียบ้าง แม้ชั่วขณะหนึ่งก็ยังดี เพราะยังไม่ใช่พระอนาคามีผล การเจริญพระกรรมฐานให้หมั่นฝึกให้ได้ทุกอิริยาบถ ไม่ว่าทำอะไรอยู่ก็ให้จิตจับมาเป็นกรรมฐานให้ได้ การเผลอนั้น ย่อมยังมีอยู่เป็นธรรมดา พยายามประคองจิตอย่าให้หวั่นไหวกับเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบมากนัก แล้วจักมีความสุขขึ้นในจิต.

สาธุ สาธุ สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น ดวงรัตน์ จันทร์ใสย์ วันที่ตอบ 2011-04-06 17:32:26


ความคิดเห็นที่ 3 (139198)

  

         ขออนุญาตคัดลอกนำไปอ่านเพื่อปฏิบัติ ขออนุโทนาบุญ  สาธุ  สาธุ  สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น ศุภรัฐ ปานธุเดช (Suparath36-at-yahoo-dot-co-dot-th) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-06-13 17:03:14


ความคิดเห็นที่ 4 (139200)

ขออนุโมทนาบุญdy[ท่าน พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ที่ได้ลงในเวปไซต์เผยแพร่ธรรมที่นำไปสู่การหลุดพ้น สาธุ..สาธุ...สาธุ...

ผู้แสดงความคิดเห็น พรเพชร ทามนตรี (นครพนม) (tamontree555-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-06-13 18:50:03


ความคิดเห็นที่ 5 (140237)

ขออนุญาตคัดลอกนำไปอ่านเพื่อปฏิบัติ ขออนุโทนาบุญ  สาธุ  สาธุ  สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น มยุรฉัตร สุดจิตต์ ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-09-07 15:54:53


ความคิดเห็นที่ 6 (140770)

โมทนาสาธุ

กับคำสอนของสมเด็จพ่อองค์ปฐม

เจ้าค่ะ

สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น กมลลักษณ์ โปษณกุล อ๊อด (aod5961-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-11-10 15:30:25


ความคิดเห็นที่ 7 (141014)

อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น อนุกูล นุชตะยะ (anukull-at-hotmail-dot-co-dot-th)วันที่ตอบ 2011-12-06 11:16:20


ความคิดเห็นที่ 8 (141142)

โมทนาสาธุ ในทุกๆธรรมทานค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น สุริวรรณ์ ตีรวัฒนประภา (สุ) (namo353-at-gmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2011-12-21 23:00:23


ความคิดเห็นที่ 9 (141205)

ออนุโมทนาบุญค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ

ขออนุญาตคัดลอกจดไว้เพื่อจำ และให้ผู้สนใจอ่านค่ะ ขอบพระคุณค่ะ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ละม่อม ทองเจือ (ohm-dot-lamom-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-01-02 19:38:22


ความคิดเห็นที่ 10 (141261)

อนุโมทนาสาธุ ด้วยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น สกุลรัตน์ ปินคีรี (pin_khiri-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-01-10 12:49:59


ความคิดเห็นที่ 11 (142044)

อนุโมทนา สาธุ

กราบขออนุญาตินำหน้านี้ทั้งหน้าไปพิมพ์เป็นหนังสือธรรมะทานค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น อารียา ตันยาลักษณ์ (areeya_bkk10-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-03-31 11:53:53


ความคิดเห็นที่ 12 (142050)

ขอร่วมอนุโมทนาสาธุด้วยคน นะคะ สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น park boom lee วันที่ตอบ 2012-03-21 00:35:06


ความคิดเห็นที่ 13 (143302)

ชออนุโมทนาในคำสอนขององค์พระปฐมลูกจะจดจำไปใช้ในชีวิตประจำวันของลูกต่อไป สาธสาธุ สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น ชุติกาญจน์ โนวรรณา (chutikan-no-at-hotmail-dot-com) ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-19 13:10:16


ความคิดเห็นที่ 14 (143413)

ขออนุโมทนากับคำสอนของสมเด็จพ่อองค์ปฐมเจ้าค่ะ 

ลูกจะจดจำไปใช้ในการปฏิบัติตนต่อไป ตลอดชีวิตค่ะ

 สาธุ  สาธุ  สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น ศรีสมัย ฉวีศักดิ์ ตอบโดยสมาชิกวันที่ตอบ 2012-07-26 12:45:20



[1]


Copyright © 2010 All Rights Reserved.